การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ความจำเป็นของธุรกิจในปัจจุบัน โดย ศศิมา สุขสว่าง


ตลอดชีวิตการทำงานของ อ.เก๋ ตั้งแต่เรียนจบ ได้ทำงาน R&D Engineer มาโดยตลอด จนปัจจุบัน เป็นวิทยากรความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม  เลยอยากจะแบ่งปันเรื่องราวของการความคิดสร้างสรรค์ที่ เป็นต้นกำเนิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นของธุรกิจในปัจจุบันที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นและสามารถแข่งขันได้อย่างต่อเนื่องค่ะ

 

ช่วงล่าสุด ปี 2560 นี้ เก๋ได้รับงาน จากทางสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต (SMI) ภายใต้สภาอุตสาหกรรม (http://www.smi.or.th) และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นที่ปรึกษา และโค้ชสำหรับให้คำปรึกษาแนะนำและช่วยผู้ประกอบการ SMEs ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสำหรับ SMEs ให้สามารถยกระดับความสามารถในการแข่งขันได้ รวมๆแล้วก็ กว่า 30 บริษัท (กว่า 100 วัน(ให้คำปรึกษา)

 

ถามว่า การให้คำปรึกษาแนะนำพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สู่นวัตกรรมนั้นมีรูปแบบอะไรบ้าง เลยมาเป็นบทความนี้ค่ะ  เนื่องจากเวลาที่เก๋เข้าไปให้คำปรึกษาความคิดสร้างสรรค์สู่นวัตกรรมนั้น แต่ละองค์กร จะมีโครงสร้าง ทรัพยากร กำลังเงิน กำลังคนที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการวางแผนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่นั้นจะไม่มีรูปแบบหรือวิธีการทำงานที่เหมือนกันเลย ในภาษาอังกฤษเรียกว่า “Fuzzy Front-End” เพราะการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้นจะสามารถพัฒนาได้ต้องใช้ข้อมูลและวิธีการที่พัฒนาแตกต่างกันไป  รวมทั้งเครื่องมือ เครื่องจักร เทคโนโลยีและวิสัยทัศน์ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณาในการทำงานเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความใหม่ (ความใหม่ระดับบริษัทหรือระดับอุตสาหกรรม)

 

ดังนั้นจึงมีหลายกลยุทธ์ที่นำไปเลือกใช้ให้เหมาะสมกับ SMEs แต่ละรายค่ะ บางลูกค้า เป็นเจ้าของคนเดียวมีพนักงานหลักสิบ ไม่เคยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่มาเลย ดังนั้นเริ่มจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในระดับบริษัท ซึ่งขั้นตอนนี้ไม่ใช่เพียงที่ปรึกษาเอาวิชาความรู้ ความสามารถ ทักษะวิชาการเข้าไปใส่เลย แต่เริ่มต้นด้วยการ Coaching จึงเป็นการเริ่มต้นที่ช่วยให้ลูกค้าเริ่มเปิดกรอบแนวคิด (mindset) ยอมรับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ และออกจาก comfort zone เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และเห็นโอกาสในการที่จะเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างคุณค่า (Value Creation) ให้กับลูกค้าของเขาอีกที

 

ส่วนบางลูกค้าที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์บ้างแล้ว ก็เริ่มจาก

* สำรวจผลิตภัณฑ์ ณ ปัจจุบัน ตัวไหนเป็น the star ตัวไหนเป็น Dead wood เพราะอะไร

* ศึกษากลุ่มลูกค้าของ The Star ว่ามีลักษณะอะไรบ้าง 

* ผลิตภัณฑ์ที่เป็น The Star นั้นไปช่วยแก้ปัญหา pain ของล/ค ข้อไหนบ้าง list ออกมาเลย

* ผลิตภัณฑ์ที่เป็น the Star นั้น ไปสร้างความพึงพอใจให้ ( gain) กับล/ค ข้อไหนบ้าง list ออกมาเลย

* เอา ข้อ กับ ข้อ 3 เรียงลำดับความสำคัญมากไปหาน้อย

* ใช้ ข้อ 4 เป็น role model วิเคราะห์ให้กับ Dead wood 

* พัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์โดยใส่ /ลด /เติม --> เทคโนโลยี หรือ function หรือสี หรือ feature หรือ story หรือส่วนผสม ฯลฯ ตาม resources ทรัพยากรต่างๆ เช่น คน เงิน เครื่องจักร ฯที่บริษัทมีและสามารถทำได้ ณ ช่วงเวลานั้น 

.* ถ้าเป็นล/ค คนละกลุ่ม ใช้เป็นแนวหรือไอเดียในการปรับปรุง deadwood ตามกระบวนการค่ะ

* ทะยอยๆทำกับผลิตภัณฑ์ที่เป็น deadwood ในสายการผลิต

* #creativity #การระดมสมอง และการสนับสนุนจาก #stakeholders สำคัญมากเช่นกันนะคะ หุหุ

* ถ้ายังไม่ลงมือทำ ก้อวางแผนเป็น #innovation #Project ไว้ก่อนค่ะ

.- การพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่ดีคือ พัฒนาแล้วขายได้และขายดี

- การขายได้และขายดี แสดงว่า ผลิตภัณฑ์นั้น ตอบโจทย์ แก้ปัญหาและสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าได้ 

 

โดยเครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 4C model, Brainstorming,COCD box, Lateral Thinking, Mind mapping, Value Proposition Canvas, BMC, Design Thinking, Ansoff Matrix ฯลฯ เป็นต้น ยังมีอีกหลายวิธีที่ใช้ เก๋จะทะยอยๆแบ่งปันไอเดียแบบย่อๆ ที่เก๋ใช้ตอนไปเป็นที่ปรึกษาและวิทยากรในหลักสูตรความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมในองค์กรค่ะ  

 

ต้องขอบคุณทางผู้ให้ทุน ผู้สนับสนุน องค์กรต่างๆและลูกค้าที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เพราะการที่วิทยากรหรือปรึกษาเข้าไป เป็นการเข้าไปแชร์ไอเดีย แบ่งปัน แนวคิดและเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ใหม่ๆในสายงานของลูกค้า รวมทั้งนำเครื่องมือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปอำนวยการเพื่อให้เกิดการระดมสมอง หาแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์  ลูกค้าจะพิจารณาแนวคิด ไอเดียต่างๆแล้วนำไปปรับใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ ตามทรัพยากรที่มี ณ ขณะนั้น หากไม่ได้รับความร่วมมือจากลูกค้า ความคิดสร้้างสรรค์และผลิตภัณฑ์ใหม่ไม่เกิดแน่นอนค่ะ

 

อีกเรื่องราวหนึ่งที่อยากแบ่งปัน และเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือประเทศไทยได้ โดยผ่านบทความเพื่อเป็นไอเดียและเเนวคิดให้กับคนคิดสร้างสรรค์ และอยากพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมทุกท่านค่ะ 

...........................

- สนใจหลักสูตร " Creative to Innovation การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่ 

...................................... 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

เข้าใจความหมาย และองค์ประกอบของนวัตกรรม ด้วย VIN model for Innovation อ่านต่อที่นี่  หรือกดที่รูป VIN model ด้านล่างนี้ 

 

....................................... 

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 328,679