SCAMPER เครื่องมือ/เทคนิคความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม โดย ศศิมา สุขสว่าง

SCAMPER- Osborn's Idea Stimulation checklists เป็นเทคนิคที่พัฒนาขึ้นมาโดย อเล็กซ์ ออสบอร์น (Alex Osborn) เป็นเครื่องมือง่ายๆในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยวิธีการนี้ จะสร้างแนวคิด ใช้เป็นคำถาม เพื่อค้นหาแนวทางที่เป็นทางเลือกทีละแนวทางใหม่ๆในการแก้ไขปัญหา 

 

SCAMPER เป็นเครื่องมือคิดสร้างสรรค์แบบง่ายๆที่ อ.เก๋ใช้เป็นประจำเวลาที่อยากได้ไอเดียใหม่ๆ มาพัฒนาสินค้า หรือผลิตภัณฑ์  นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ในคิดสร้างสรรค์เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหา และเพิ่มประสิทธิภาพของงาน ได้อีกด้วยค่ะ

 

SCAMPER- Osborn's Idea Stimulation checklists มีอะไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ

S = Substitute

C = Combine

A = Adapt

M = Modify

P = Put to Another Use

E = Eliminate

R = Reverse

 

แนวทางการนำ SCAMPER- Osborn's Idea Stimulation checklists ไปใช้

 

1. ระบุปัญหาหรือหัวข้อที่คุณต้องการแก้ไขหรือแนวคิดที่คุณต้องการพัฒนา หรือต้องการระดมความคิดสร้างสรรค์ อาจจะเป็นชีวิตส่วนตัวหรือธุรกิจของคุณ หรือผลิตภัณฑ์บริการหรือกระบวนการที่คุณต้องการปรับปรุงหาแนวคิดใหม่ๆ  

2. หลังจากระบุหัวข้อแล้วแล้วให้ถามคำถามโดยใช้รายการตรวจสอบ SCAMPER เพื่อเป็นแนวทาง ระดมสมองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยตัวอย่างคำถาม

3. สุดท้ายดูคำตอบที่คิดออกมา อะไรที่มีแนวทางเป็นไปได้ และนำไปทำต่อได้ นำไปต่อยอดเพิ่มเติมค่ะ 

 

 

 

SCAMPER มีรายละเอียดดังนี้

 

1. การหาสิ่งใหม่ๆมาทดแทน (Substitute) การแทนที่ หรือหาส่วนใหม่ๆ หรือวิธีการใหม่มาทดแทนส่วนของปัญหา / ผลิตภัณฑ์ / กระบวนการ   เช่น ใช้กรรมวิธีการผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ใช้ระบบการทำงานใหม่ๆ ใช้วัสดุใหม่ๆ ใช้พลังงานแบบใหม่ เปลี่ยนส่วนประกอบบางส่วนใหม่ 

คำถามชวนคิด เพื่อใช้ในการระดมสมอง เช่น 

- สามารถใช้อะไรหรือวัตถุใดมาทดแทนได้บ้าง

- มีวัสดุหรือทรัพยากรอะไรบ้างที่สามารถนำมาทดแทนเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์

- สามารถใช้ผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการอื่นใดได้บ้าง

- จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณเปลี่ยนความรู้สึกหรือทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์นี้

- คุณสามารถเปลี่ยนคนที่เกี่ยวข้องได้หรือไม่

- สามารถเปลี่ยนรูปร่าง/สี/เสียง/กลิ่นได้อย่างไร

- สามารถใช้แนวคิด / ผลิตภัณฑ์ / บริการนี้ในสถานที่อื่นได้หรือไม่

 

2. การผสม (Combine) การผสมสิ่งที่คล้ายๆหรือใกล้เคียงกันเข้าด้วยกัน  แนวคิดเกี่ยวกับการรวมกันของสองส่วนหรือมากกว่าของโอกาสที่เกิดขึ้นจริงของคุณ (= ผสานคำว่า "ปัญหา" และ "โอกาส") เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ / กระบวนการที่แตกต่างกัน หรือเพิ่มประสิทธิภาพการรวมฟังก์ชั่นที่คล้ายกัน เข้าด้วยกัน รวมกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมกับอุตสาหกรรมอื่นๆ  สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดของใหม่ที่ดีกว่าของเดิม ซึ่งเยกกันอยู่

คำถามชวนคิด เพื่อใช้ในการระดมสมอง เช่น 

- ความคิดหรือส่วนใดที่สามารถรวมกันได้?

- สามารถรวมหรือผสานกับวัตถุอื่นได้หรือไม่?

- จะเกิดอะไรขึ้นถ้ารวมผลิตภัณฑ์นี้กับผลิตภัณฑ์อื่น

- สิ่งที่สามารถรวมเพื่อเพิ่มการใช้งานของผลิตภัณฑ์นี้?

- จะรวมทักษะและทรัพยากรที่มีเพื่อปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์นี้ได้อย่างไร?

 

3. ปรับวิธีการใช้ให้ต่าง ( Adapt/ use differently)  คิดว่าส่วนใดของปัญหา/ผลิตภัณฑ์/กระบวนการ สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อลบจุดอ่อน เพิ่มโอกาสหรือคิดว่าคุณสามารถเปลี่ยนลักษณะได้อย่างไร   

คำถามชวนคิด เพื่อใช้ในการระดมสมอง เช่น 

-  สามารถใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์นี้ให้ต่างออกไปจากของเดิมที่เป็นอยู่ได้อย่างไร

- สามารถใช้ประโยชน์ในลักษณะอื่นๆได้อย่างไร

- ปรับตัวหรือปรับผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์หรือการใช้งานอื่นได้อย่างไร

- ใครหรือสิ่งใดที่นำมาเป็นต้นแบบเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์นี้ได้บ้าง

- สามารถใช้ผลิตภัณฑ์หรือไอเดียอะไรเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ

- ประสบการณ์ในอดีตให้ไอเดียอะไรบ้าง

 

4. การปรับเปลี่ยน (Modify )  การดัดแปลง ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไขบางส่วนเล็กๆน้อยๆ จากของเดิม เพื่อทำให้ดีขึ้น  เช่น การปรับเปลี่ยน สี รูปทรง เสียง การเคลื่อนไหว  การใช้งาน เป็นต้น

คำถามชวนคิด เพื่อใช้ในการระดมสมอง เช่น 

-  เราจะปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์นี้ได้อย่างไรบ้าง

- สามารถดัดแปลงผลิตภัณฑ์นี้ได้ตรงส่วนไหนบ้าง

- จะเปลี่ยนรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ได้อย่างไรบ้าง

- สามารถเพิ่มอะไรในการปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์นี้ได้

- สิ่งที่สามารถขยายใหญ่ขึ้นทำให้ใหญ่ขึ้น/สูงขึ้น/แข็งแรงขึ้นได้อย่างไร

- องค์ประกอบอะไรของผลิตภัณฑ์นี้ที่ดัดแปลง/ปรับปรุง/แก้ไขได้บ้างเพื่อให้ดีขึ้น

 

5. เปลี่ยนวิธีการใช้/ใช้ในงานแบบอื่นๆ (Put to another use) สามารถนำผลิตภัณฑ์ / กระบวนการของคุณไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น    เราจะสามารถใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์นั้นให้ต่างออกไปจากของเดิมที่เป็นอยู่ได้อย่างไร  

คำถามชวนคิด เพื่อใช้ในการระดมสมอง เช่น 

- คุณสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ / บริการ / ไอเดียนี้ได้จากที่ไหน?

- ใครสามารถใช้ผลิตภัณฑ์นี้ได้บ้าง?

- ผลิตภัณฑ์นี้จะทำงานแตกต่างกันอย่างไร 

- เด็ก/หรือผู้ใหญ่จะใช้มันได้อย่างไร?

- สามารถรีไซเคิลของเสียจากผลิตภัณฑ์นี้เพื่อสร้างสิ่งใหม่ ๆ ได้หรือไม่?

 

6.การลดส่วนประกอบ/ลดคุณสมบัติ (Eliminate) การพัฒนาโดยการตัดส่วนต่างๆ หรือส่วนประกอบ หรือตัดฟังก์ชั่นที่ไม่จำเป็นออกบางส่วน หรือการทำงานบางส่วนออกมา เช่น โทรศัพท์รุ่นอาม่า ที่มีแต่ปุ่มกดขนาดใหญ่ และใช้โทรเข้าโทรออกเป็นฟังก์ชั่นหลักๆของโทรศัพท์

คำถามชวนคิด เพื่อใช้ในการระดมสมอง เช่น 

- สามารถตัด/ลด ส่วนประกอบออกได้อย่างไรบ้าง เพื่อให้ประสิทธิภาพตรงใจลูกค้า

- สามารถลดความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์นี้ได้อย่างไร

- คุณลักษณะส่วนหรือกฎที่คุณสามารถกำจัดทิ้งไป

- ส่วนใดที่สามารถตัดออกได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนฟังก์ชันของมัน

- สามารถทำให้มันเล็กลงเร็วขึ้นเบาหรือสนุกมากขึ้นได้อย่างไร

- อะไรบ้างที่จำเป็นหรือไม่จำเป็น

 

7. การกลับ (Reverse)  ถ้าส่วนหนึ่งของปัญหา/ผลิตภัณฑ์/ กระบวนการทำงานในสิ่งที่ตรงกันข้าม  หรือทำในลำดับที่แตกต่างกัน หรือในการออกแบบ กลับหน้าเป็นหลัง กลับซ้ายเป็นขวา กลับดำเป็นขาว จากบวกเป็นลบ หรือทำให้เกิดผลตรงกันข้าม สลับบทบาท เปลี่ยนสถานที่ เปลี่ยนขั้วใหม่ จากที่เคยมีอยู่หรือเป็นอยู่จะช่วยทำให้เกิดสิ่งใหม่ที่ดีกว่าเดิมขึ้นได้

คำถามชวนคิด เพื่อใช้ในการระดมสมอง เช่น 

- จะเกิดอะไรขึ้นถ้ากลับกระบวนการนี้หรือจัดเรียงลำดับตามลำดับใหม่

- เกิดอะไรขึ้นถ้าทำตรงข้ามกับสิ่งที่กำลังพยายามที่จะทำตอนนี้

- ส่วนประกอบใดที่สามารถใช้ทดแทนเพื่อเปลี่ยนลำดับของผลิตภัณฑ์นี้ได้

- เกิดอะไรขึ้นถ้าคุณคิดว่ามันถอยหลัง / ขึ้นแทนการลง

 

 

 

 

 

 

 

 เก๋ใช้คำถามง่ายๆเหล่านี้ เวลาที่ไปให้คำปรึกษาแนะนำ  รวมทั้ง เวลาไปสอนเรื่องของความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้ไอเดียใหม่ๆหลายไอเดียเลยค่ะ   ลองนำเครื่องมือ SCAMPER ง่ายๆวิธีนี้ ไปใช้ในการคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของงาน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการต่างๆได้นะคะ

 

 

เก๋หวังว่า บทความนี้จะช่วยมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจวิธีการ แนวคิดในการนำความรู้ไปพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรม ตลอดจนการพัฒนาตัวเอง ทีมงาน และประสิทธิภาพการทำงานให้กับองค์กรนะคะ

 ......................

- สนใจหลักสูตร " Creative to Innovation การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่ 

...........................

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

เข้าใจความหมาย และองค์ประกอบของนวัตกรรม ด้วย VIN model for Innovation อ่านต่อที่นี่  หรือกดที่รูป VIN model ด้านล่างนี้ 

 

 

 

...........................

หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง กดอ่านที่นี่ ค่ะ

.......................... 

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้าน การพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี  ทำงานด้าน  Research & Development Engineer มาโดยตลอด และเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรอิสระแห่งหนึ่ง  และได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน 

...........................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 328,170