(รีวิว) หนังสือกรุณาทำสิ่งใหม่ - The A to F Model โมเดลสร้างนวัตกรรม โดย ศศิมา สุขสว่าง

การทำงานเป็นทีม (Teamwork) สิ่งนี้สำคัญมากในการสร้างนวัตกรรมในองค์กร เพราะการจะสร้างนวัตกรรมในองค์กรหรือการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพียงแค่ฝ่าย R&D หรือฝ่ายวิศวกรรมเทคโนโลยี หรือแม้แต่ผู้บริหารสูงสุดเท่านั้น  นวัตกรรมเกิดจากการร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันพัฒนา แล้วจึงเกิดนวัตกรรมที่มีระดับความใหม่ๆขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร

 (หมายเหตุ : อ.เก๋ไม่ได้ขายหนังสือค่ะ  อ่านแล้วเห็นว่าดี จึงรีวิวแบ่งปันความรู้เท่านั้นค่ะ)

 

เก๋มีหนังสือของผู้เขียน Fernando Trias de bes (เฟอร์นานโด ไตรแอส เดอ เบส) และ Philip Kotter (ฟิลิป คอตเลอร์) เล่มหนึ่งที่อยากจะแนะนำ ซึ่งเล่มนี้เป็นอีกเล่มหนึ่งที่เก๋อ่านและนำมาประยุกต์กับบทบาทผู้จัดการศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในช่วงทำงานประจำตั้งแต่เริ่มต้นต้นศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์  เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม แล้วต้องกำหนดบทบาทของทีมงาน ตลอดจนให้คำปรึกษาลูกค้าในการพัฒนาผลิตบริการหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ นั่นก็คือหนังสือเรื่อง "Winning at Innovation : The A-to-F Model" ที่มีแปลเป็นภาษาไทยแล้ว ชื่อ "กรุณาทำสิ่งใหม่"  เป็นอีกเล่มหนึ่งในดวงใจค่ะ ใครอยากจะพัฒนานวัตกรรมในองค์กรแนะนำให้อ่านเล่มนี้แล้วนำไปประยุกต์ใช้ หรือจะให้เก๋ไปแบ่งปันได้ค่ะ

 

 

 

 

ในหนังสือเล่มนี้จะพูดถึงโมเดลสำหรับการสร้างนวัตกรรมในองค์กร จาก A ถึง F เรียกว่า The A - to - F Model ซึ่งนำเสนอการสร้างนวัตกรรมอย่างเป็นระบบด้วยโมเดลที่คิดขึ้น โดยการระบุหน้าที่ของทีมงานที่ต้องร่วมมือร่วมใจในการทำงานกันอย่างเป็นทีม เพื่อสร้างนวัตกรรม  

 

The A - to - F Model เป็นบทบาทของทีมงานที่สำคัญๆ เพื่อพัฒนานวัตกรรม  โดยบทบาทเหล่านั้นประกอบด้วย

A - Activators ผู้ริเริ่ม

B - Browsers ผู้รวบรวมข้อมูล

C-Creator  ผู้สร้างสรรค์ไอเดีย

D- Developer ผู้พัฒนา

E-Executor ผู้ดำเนินการ

F- Facilitators ผู้อำนวยความสะดวก

 

แล้วแต่ละบทบาททำหน้าที่อะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

 

A - Activators ผู้ริเริ่ม

เป็นผู้ริเริ่มกระบวนการนวัตกรรม ซึ่งอาจจะเป็นคนในองค์กรหรือนอกองค์กรก็ได้  โดยหน้าที่หลักคือ เริ่มต้นกระบวนการ คิดค้น หา หรือสร้างไอเดีย เพื่อจะพัฒนานวัตกรรมในองค์กรให้เกิดขึ้น

 

 

B - Browsers ผู้รวบรวมข้อมูล  

เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการค้นหาข้อมูล เปรียบเทียบข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นฝ่ายวิจัยตลาด ฝ่ายการตลาด ฝ่ายวิจัยพัฒนา รวมถึงฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลในการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งต้องทำอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน มีที่มาที่ไป และตรวจสอบทั้งกระบวนการได้ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของนวัตกรรมต่อไป

 

 

C-Creator  ผู้สร้างสรรค์ไอเดีย

เป็นผู้ที่สร้างสรรค์ไอเดีย คิดนอกกรอบ คิด concept ใหม่ๆ และความเป็นไปได้ในการนำข้อมูลมาต่อยอดเป็นนวัตกรรม โดยตั้งอยู่บนปัจจุบันและความเป็นไปได้ขององค์กร คนกลุ่มนี้จะสร้างสรรค์ทำให้ไอเดีย และข้อมูลนั้นออกมาเป็นรูปธรรมได้

 

 

D - Developer ผู้พัฒนา

เป็นผู้ที่มีความสามารถจะเปลี่ยนแนวคิดออกมาให้เป็นรูปของสินค้าและบริการได้ เช่น ฝ่าย วิจัยพัฒนา ที่มักจะทำต้นแบบ (Prototype) ออกมาก่อน หลักๆคือ การพลิกไอเดียออกมาให้เป็นผลลัพธ์ที่จับต้องได้ นั่นเอง

 

 

E-Executor ผู้ดำเนินการ 

เป็นผู้ที่ดูแลทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการนำสิ่งที่เกิดจากไอเดียไปปฏิบัติ และดำเนินการ  ทำให้นวัตกรรมเกิดขึ้นในองค์กร และนำออกสู่ตลาด เกี่ยวข้องกับฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด เป็นต้น

 

 

F- Facilitators ผู้อำนวยความสะดวก 

เป็นผู้อนุมัติ และสนับสนุนในการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมให้เกิด โดยอนุมัติในด้านต่างๆ เช่น งบลงทุน การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจอนุมัติด้านต่าง ผู้บริหารระดับสูง เป็นต้น

 

ดังนั้นในการพัฒนานวัตกรรม ทีม Work และการทำงานกันอย่างเป็นทีมจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก ในการช่วยกันตั้งแต่ต้นจนจบ  คนๆเดียว หรือฝ่ายๆเดียวไม่สามารถที่จะทำให้นวัตกรรมเกิดอย่างยั่งยืนได้  

 

เวลาที่เก๋เป็นวิทยากรในหลักสูตรของการพัฒนานวัตกรรมในองค์กรต่างๆ นั้น มักจะบอกผู้จัดเสมอว่า หากสามารถจัดผู้เข้าร่วมสัมมนาที่มาจากแผนกต่างๆมาเข้าสัมมนาและทำงานกันเป็นกลุ่มได้ จะได้มุมมองต่างๆ ข้อมูลหลายด้าน การทำงานเป็นทีมขจัดการทำงานแยกส่วนเล็กๆได้ ซึ่งสามารถออกมาเป็น Mini Project ได้ ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดในพัฒนานวัตกรรมต่อได้ หากผู้บริหารพิจารณาอยากต่อยอดได้ค่ะ

 

The A - to - F Model นี้  เป็นการถอดองค์ความรู้ Knowledge Management จากการวิเคราะห์การสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมมาจากบริษัทใหญ่ๆ ทั่วโลก เช่น Apple ,Netflix, 3 M, P&G , GE, BMW , IBM, Toyota, Starbuck และอีกมากมาย    ดังนั้นหากจะนำ model นี้ไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดเป้าหมาย หน้าที่ กลยุทธ์ และสร้างทีมนวัตกรรม เพื่อคิดสร้างสรรค์พัฒนาในองค์กร ก็เป็นสิ่งที่ดี ที่จะช่วยให้องค์กรเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประโยชน์อย่างยั่งยืนนะคะ

 

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

อ.ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
วิทยากร ที่ปรึกษา โค้ช ด้านการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994 (โทรกลับเฉพาะเบอร์มือถือนะคะ) 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 328,276