การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรมภายใต้แนวคิด 4Cs model โดยอ.ศศิมา สุขสว่าง

ที่ผ่านมา   โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม  ได้มอบหมายให้ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ดำเนินกิจกรรมสร้างนักออกแบบ Innoneering designers ยุคใหม่ ภายใต้โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ SMEs สู่ตลาดโลก (Global Reach)  เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมจากการรับจ้างผลิตสู่ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล และของกระทรวงอุตสาหกรรม นำประเทศไทยสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนต่อไป

 

 

โครงการนี้อาจารย์ศศิมา สุขสว่าง-เก๋ ได้ไปเป็นหนึ่งในทีมที่ปรึกษา และได้รับความไว้วางใจให้เป็นที่ปรึกษาดูแลการพัฒนานวัตกรรมร่วมกันสำหรับเชนท์บริษัท 5 บริษัทในการพัฒนานวัตกรรม โดยงานให้คำปรึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "การสร้างนักออกแบบ Innoneering Designers ยุคใหม่ เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์ SMEs สู่ตลาดโลก"  และอาจารย์ศศิมา เป็นหนึ่งในทีมที่ปรึกษาของโครงการที่รับผิดชอบ 5 บริษัท จำนวน 35 man days (ในโครงการมีทั้งหมด 10 เชนท์กว่า 35 บริษัท และต้องให้คำปรึกษาแนะนำทั้งโครงการกว่า 350 man days ซึ่งทาง THTI ได้กระจายงานไปให้ทีมที่ปรึกษาและทีมงานใน THTI)

 

 

โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสถานภาพออกจากการเป็นผู้รับจ้างผลิต ไปสู่การตลาดและการผลิตแบบครบวงจรรวมทั้งการสร้างตราสินค้า (Brand Name) ของประเทศ โดยมีทิศทางที่จะพัฒนาไปสู่รูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบการออกแบบเพื่อนำเสนอลูกค้า (Original Design Manufacturer(ODM) และไปสู่การสร้างตราสินค้าเพื่อจำหน่าย (Original Brand Manufacturer (OBM) สร้างกลยุทธ์เพื่อที่จะให้บรรลุเป้าหมายในการสร้างนวัตกรรมส่งผลต่อความรวดเร็วขึ้นนั้นต้องไม่พยายามที่จะย้ำจุดเน้นเพียงแค่การผลิตสินค้าปริมาณมากและต้นทุนต่ำดังที่ผ่านมาแต่ควรต้องพัฒนาและนำเสนอคุณค่าในตัวสินค้าแก่ลูกค้า จากต้นน้ำไปยังปลายน้ำด้วยรูปแบบธุรกิจแบบใหม่ภายใต้ 4 แนวคิดคือ Co-Design, Co-Supply chain, Cross Industry และ Cross Culture ที่ผสานความร่วมมือแบบ ร่วมคิด ในโครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ SMEs สู่ตลาดโลก (Global Reach ) เพื่อออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกัน ตั้งแต่ต้นน้ำจนออกมาเป็นแบรนด์เพื่อนำเสนอสู่มือผู้บริโภคให้ตรงใจและพึงพอใจในคุณภาพ มาตรฐาน

 

 

ผลลัพธ์ของกิจกรรมประสบผลสำเร็จได้ด้วยดี ได้ผลิตภัณฑ์นวัตกรรม และการทำงานร่วมกันเป็นทีมจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ และมีการต่อยอดผลิตภัณฑ์และการร่วมมือต่อไป หลังจากจบโครงการแล้ว และอ.ศศิมา ได้รับมอบหมายให้ถอดองค์ความรู้ออกมาเป็นหนังสือ Knowledge Management เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ต่อไป

 

บทความนี้อ.ศศิมา สุขสว่าง-เก๋ อยากมาแบ่งปันเรื่องราวของ 4 แนวคิดคือ Co-Design, Co-Supply chain, Cross Industry และ Cross Culture ให้อ่านกันแบบสรุปๆค่ะ เผื่อใครจะนำไปประยุกต์ในการพัฒนานวัตกรรมในบริษัทของตัวเองได้ค่ะ

 

แนวคิดที่ 1 คือ  Co-Design : We design  the future together  ออกแบบร่วม : เราออกแบบอนาคตไปด้วยกัน

การออกแบบร่วม หรือ Co-Design เป็นแนวทางที่ดีในการสร้างสรรค์โดยเฉพาะ  มีรากฐานมาจากเทคนิคการออกแบบแบบมีส่วนร่วมที่พัฒนาขึ้นในทศวรรษที่ 1970  ซึ่งเป็นการนำกระบวนการของ 

- Product Innovation  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การเปลี่ยนรูปแบบของผลิตภัณฑ์ หรือการใช้วัตถุดิบใหม่ๆ หรือการปรับปรุงองค์ประกอบของการผลิตผลิตภัณฑ์เดิม และ

- Product Design Development  ผลิตภัณฑ์ร่วมออกแบบถูกสร้างสรรค์ จากการทำงานร่วมกันระหว่างนักออกแบบ ผู้บริโภคหรือผู้ใช้งาน มาเชื่อมโยง และทำงานร่วมกันจนออกมาเป็น Co-Design ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ

- Co-Design ผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่สำหรับลูกค้าที่ผ่านการวิจัยจากผู้ใช้หรือผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน สามารถระบุปัญหาที่เกิดขึ้นและยืนยันโดยการสังเกตและรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากผู้ใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

Co-design เป็นกระบวนการออกแบบคิดสร้างสรรค์และพัฒนาร่วมกันที่ต้องอาศัยความร่วมมือรวมใจ และ Open Mind และ Challenge ต่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ โดยแต่ละคนจะนำจุดแข็ง และความเชี่ยวชาญของตัวเอง มาช่วยกัน เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันและออกแบบพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆได้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงมือผู้บริโภค 

 

 

แนวคิดที่ 2 คือ Co-Supply Chain : Movement with Partnership โคซัพพลายเชน : ขับเคลื่อนไปด้วยกันกับมวลมิตร

Co-Supply chain แบ่งปันและเชื่อมโยงกิจกรรมทางธุรกิจตั้งแต่ Suppliers ไปจนถึง Consumer เพื่อสร้าง โอกาส และความพึงพอใจให้กับลูกค้า ทำให้เกิดความมีประสิทธิภาพในด้านการผลิต และการจัดส่งสินค้า หรือบริการ จากผู้ผลิตสินค้า ถึงผู้ซื้อ หรือลูกค้า   ตลอดจนกระบวนการดำเนินธุรกิจทุกขั้นตอนที่เกี่ยวข้องด้วยกันเป็นห่วงโซ่หรือเครือข่ายให้เกิดการประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า/บริการ สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า แต่ละส่วนงานจึงมีความเกี่ยวเนื่องกันเหมือนห่วงโซ่  และถ้าแต่ละภาคส่วน มีการแชร์หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันจะทำให้การสั่งซื้อวัตถุดิบเป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นระบบ

 

 

แนวคิดที่ 3 คือ Cross Industry : Multi Party collaboration การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้ามอุตสาหกรรม (Cross Industry) การร่วมมือกันจากหลายหลายภาคส่วน

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้ามอุตสาหกรรม (Cross Industry) เป็นการพัฒนาโดยการผสมผสานอุตสาหกรรมต่างสาขากันมาพัฒนาทำให้เกิดการต่อยอดอย่างไม่มีที่สิ้นสุดมีนำแนวคิดใหม่ๆ จาก อุตสาหกรรมอื่นมาใช้เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆหรือมีการนำวัตถุดิบจากอุตสาหกรรมหนึ่งไปพัฒนาผสมผสานในอุตสาหกรรมอีกอันหนึ่งจนออกมาเป็นผลิตภัณฑ์

 

 

กลไกในการร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม (Co-creation) ของอุตสาหกรรมต่างสาขานั้นเป็นการ เชื่อมโยงกิจกรรมวิจัยพัฒนาในสาขาที่ต่างกัน (Cross Technology Linkage) โดย เชื่อมโยงของโซ่คุณค่า (Value Chain) และโซ่อุปทาน (Supply Chain) ของแต่ละอุตสาหกรรม แล้วสร้างสรรค์พัฒนาสิ่งใหม่ๆ   ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการสร้างความร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบการในแต่ละขั้นของห่วงโซ่คุณค่าในการวิจัยและพัฒนา ตลอดจนการผลิตสินค้าพื่อสร้างให้เกิดนวัตกรรม (Innovation) และมูลค่าเพิ่ม(Value Creation) จะเกิดการกระจายของความรู้ (Knowledge Spillover) ระหว่างนักวิจัย และการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ (Technological Invention) รวมทั้งแหล่งความรู้ด้านเทคโนโลยี ของบริษัทต่างๆ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแนวคิดและทำางานร่วมกัน จะส่งผลให้เกิดการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น 

 

 

แนวคิดที่ 4 คือ  Cross Cultural : Turn Thai Wisdom to International (ออกแบบข้ามวัฒนธรรม : ถ่ายทอดภูมิปัญญาไทยสู่สากล)

การออกแบบข้ามวัฒนธรรม (Cross Culture) เป็นการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ข้ามผ่านปัจจัยความแตกต่างด้านสังคม-วัฒนธรรม ต่างที่มา ต่างวัฒนธรรม ต่างเงื่อนไขทางสังคม ไม่ได้มีความสำคัญในการเป็นข้อกำหนดงานสร้างสรรค์อีกต่อไป โดยการนำศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของไทยที่เป็นจุดแข็ง มาออกแบบเป็นเรื่องราวทางด้านวัฒนธรรมมาบอกเล่าสร้างสรรค์งานออกแบบในมุมมองที่แตกต่างนั้น สร้างความแปลกแตกต่าง และมีความใหม่ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับคู่แข่งที่มีลูกเล่นการทำการตลาดใหม่ๆ ออกมาแทบทุกวัน

 

กระบวนการเหล่านี้เมื่อเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบจนเกิดเป็นแนวทางการพัฒนาที่มีศักยภาพและเสถียรภาพได้ ซึ่งในภาพใหญ่ก็ถือได้ว่าจะเป็นก้าวสำคัญ ในการยกระดับให้ไทยกลายเป็นศูนย์กลางการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Hub of ASEAN Industrial Design) ทางแฟชั่นได้

 

เก๋หวังว่า แนวคิด 4Cs Model  คือ Co-Design, Co-Supply chain, Cross Industry และ Cross Culture  นี้ จะช่วยกระตุ้นแนวคิด หรือเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมในองค์กรของท่านได้นะคะ

 

 

ขอขอบคุณทางผู้สนับสนุน คือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม  และสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอด้วยค่ะ ที่ได้ให้อ.ศศิมา สุขสว่าง ไปเป็นที่ปรึกษาและร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมในโครงการนี้ค่ะ

.........................................

- สนใจหลักสูตร " Creative to Innovation การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่ 

................................. 

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 328,221