การพัฒนาความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking) เพื่อพัฒนานวัตกรรมในองค์กร โดย ศศิมา สุขสว่าง

ความคิดเชิงนวัตกรรมเป็นอีกความจำเป็นหนึ่งที่จำเป็นต้องมีการพัฒนาบุคคลากรในองค์กร เพื่อเตรียมพร้อมในการพัฒนาองค์กรเติบโต และสร้างมูลค่าทางธุรกิจของบริษัทให้เติบโต บริษัทที่มีการพัฒนาพนักงานให้มีความคิดสร้างสรรค์และความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเป็นอีกความจำเป็นหนึ่งที่ช่วยองค์กรเติบโต และสร้างมูลค่าทางธุรกิจของบริษัทให้เติบโตด้วย 

 

การพัฒนาพนักงานให้มีความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง จะสามารถทำให้พนักงานมีแนวทางใหม่ๆในการทำงาน แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมองปัญหาเป็นสิ่งท้าทายความสามารถ ท้าทายความคิด ความสามารถพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในโลกที่มีความไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับพัฒนาไอเดียใหม่ๆที่มีประโยชน์และคุณค่าต่อองค์กร ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนานวัตกรรมในองค์กร  ซึ่งสามารถทำให้องค์กรมีความได้เปรียบทางธุรกิจอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง 

 

การพัฒนาความคิดเชิงนวัตกรรมนั้น  สิ่งสำคัญมากๆอันดับต้นๆ คือ การสร้างเสริม บ่มเพาะ บุคคลากรให้มีเข้าใจการคิดเชิงนวัตกรรม เห็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์แนวคิดในการสร้างองค์กรนวัตกรรมเช่นเดียวกับผู้นำในองค์กร จนสามารถพัฒนาการทำงาน กระบวนการทำงาน (Process Innovation) ให้ดีขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง จนสามารถต่อยอดเป็นการพัฒนานวัตกรรมทางผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Product/Service innovation)  และท้ายสุดคือการพัฒนานวัตกรรมรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ (Business Model Innovation) ได้

 

แล้วถ้าเราจะเริ่มการพัฒนาบุคคลากรให้มีทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Skill) เพื่อพัฒนานวัตกรรมในองค์กร เพื่อให้เป็นองค์กรนวัตกรรม จะเริ่มอย่างไรบ้าง เก๋มาแบ่งปันแนวคิดนี้จากประสบการณ์ทำงานตอนก่อตั้งศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ และเป็นผู้จัดการศูนย์ฯกว่า 7 ปี และประสบการณ์เป็นวิทยากร ที่ปรึกษาด้านพัฒนานวัตกรรม เผื่อเป็นประโยชน์กับผู้อ่านนะคะ

 

ก่อนอื่น เรามาเข้าใจคำสำคัญของการคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Skill) กันก่อนค่ะ

 

"การคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)" มีคำที่สำคัญคือ "การคิด หรือทักษะการคิด" กับ "นวัตกรรม"  ดังนั้นเรามาดูความหมายของแต่ละคำกันก่อน

 

"ทักษะการคิด (Thinking skill)" คือความสามารถในการคิด จากกระบวนการทำงานของสมอง ต่อการตอบสนองในเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่ง อาจจะมีการบ่มเพาะจากการเลี้ยงดู ประสบการณ์ การศึกษา เป็นต้น

 

"นวัตกรรม (Innovation)"  คือ การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาหรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เช่น บริการ ผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการใหม่ๆ (Service, Product, Process) เป็นต้น ที่มีคุณค่า(Value Creation) และมีประโยชน์ต่อผู้อื่น เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเมื่อมีคุณค่าและมีประโยชน์แล้วจะสามารถขยายผลต่อได้เชิงพาณิชย์ หรือขายได้นั่นเอง

 

Innovation = Creative + New + Value Creation (ความคิดสร้างสรรค์ + สิ่งใหม่ + มีคุณค่า)

 

ดังนั้น "การคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)" คือการคิดสิ่งใหม่ๆ ที่ช่วยแก้ปัญหา หรือพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ตอบสนองผู้คนหรือลูกค้า  ด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือบริการใหม่ๆ หรือกระบวนการใหม่ ที่มีคุณค่า และสามารถสร้างคุณค่าและประโยชน์ได้ 

 

ถ้าเราจะเริ่มการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Skill) เพื่อพัฒนานวัตกรรมในองค์กร เพื่อให้เป็นองค์กรนวัตกรรม จะเริ่มอย่างไรบ้าง 

 

1. การพัฒนาบุคคลากรนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน (People & Process Innovation)

การพัฒนาบุคคลากรนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน  โดยเริ่มจากการพัฒนาพนักงานให้มีทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม เพื่อให้สามารถพัฒนาตัวเอง แล้วนำความสามารถไปพัฒนากระบวนการหรือวิธีการทำงานให้ดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มผลผลิต หรือลดต้นทุนได้มากขึ้น 

 

ซึ่งสามารถทำได้โดยการพัฒนาทักษะความคิดที่สำคัญ ได้แก่  ความคิดสร้างสรรค์และความคิดวิเคราะห์และคิดเชิงระบบ เป็นต้น ให้กับคนทำงาน ในด้านความคิดสร้างสรรค์ สามารถคิดสิ่งใหม่ๆได้ สามารถคิดวิธีการแก้ปัญหาและป้องกันใหม่ๆได้ ด้วยตัวเองไม่ต้องรอแต่หัวหน้า หรือผู้นำเท่านั้น  จากนั้น จึงพัฒนาความคิดวิเคราะห์และคิดเชิงระบบ เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆที่ระดมสมอง หรือคิดกันมา ให้สามารถเลือกวิธีที่ดีที่สุด ที่มาแก้ไขปัญหาได้ โดยมีเหตุผล รองรับ ซึ่งมีเครื่องมือ วิธีการ และเทคนิคต่างๆมากมาย ในการระดมความคิด   การแลกเปลี่ยนและการทำงานเป็นทีม เพื่อให้เห็นแง่มุมต่างๆครบหมดก่อนนำมาพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานหรือกระบวนการต่างๆ

 

ในขั้นตอนนี้ หากให้เกิดผลลัพธ์อย่างต่อเนื่องนั้น ที่สำคัญมากคือ ผู้นำองค์กร ต้องมีวิสัยทัศน์ (Vision) และเป้าหมายด้านการพัฒนานวัตกรรมในองค์กรอย่างชัดเจนและสม่ำเสมอ เปิดใจ (Open Mind) รับฟังความคิดเห็นอย่างจริงใจ (listen with heart)  ท้าทายความคิด (Challenge)  และเปิดโอกาสให้มีการนำความคิดเหล่านั้นมาลงมือทำ เป็นการ Learning by doing  นอกจากนั้นการเสริมแรงด้วยการให้รางวัลสำหรับความคิดที่สร้างคุณค่าให้กับบริษัทก็เป็นสิ่งจำเป็น เช่น การชื่นชม การให้เงินพิเศษ การให้วันหยุด  เป็นต้น

 

นวัตกรรมที่ เริ่มจากการพัฒนาคนให้เป็นบุคคลากรนวัตกรรม และสร้างนวัตกรรมองค์กร แล้วค่อยๆเริ่มจากการพัฒนาสิ่งเล็กๆ กระบวนการเล็กๆ แล้วค่อยๆขยายขึ้น จะสามารถทำให้องค์กรเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

 

2. การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า (Product/Service Innovation)

เมื่อบริษัทมีบุคคลากรที่มีความคิดสร้างสรรค์และการคิดเชิงนวัตกรรม รวมทั้งมีการทำงานเป็นทีมแล้ว การที่จะสามารถคิดค้น หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์/บริการใหม่ๆเพื่อตอบสนองลูกค้าได้นั้น ย่อมทำได้เพราะนวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 

ส่วนที่  1  สร้างคุณค่ากับผู้ใช้งานหรือกลุ่มเป้าหมาย (User Desirability)

การพัฒนานวัตกรรมขึ้นมานั้น จะต้องคำนึงถึงคุณค่าที่จะเกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน หรือกลุ่มเป้าหมายของเรา ซึ่งการที่จะได้มาซึ่งกระบวนการพัฒนานี้ต้องเริ่มจากการสังเกต การฟัง หรือการไปสวมบทบาทนั้นของผู้ใช้ว่า เขาต้องการอะไร เขามีปัญหาอะไร หรือ Pain point อะไร   ซึ่งเมื่อสามารถพบแล้ว และสามารถพัฒนาสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมได้ และช่วยแก้ปัญหาให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ ย่อมได้รับการยอมรับ และแน่นอนว่า จะขายได้ในอนาคตแน่นอน   ซึ่งในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับ ฝ่ายวิจัยพัฒนา ฝ่ายออกแบบ หรือฝ่ายการตลาด ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น

 

ส่วนที่ 2 สามารถขยายผลหรือสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้ (Business Viability)

การพัฒนานวัตกรรมสามารถสร้างมูลค่า หรือผลตอบแทนมาสู่ตัวเรา หรือองค์กรได้หรือไม่ สิ่งที่จะพัฒนาตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายหรือไม่ อย่างไร  ซึ่งในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง หรือติดต่อกับลูกค้าบ่อย เช่น ฝ่ายการตลาด การขาย ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น

 

ส่วนที่ 3 สามารถเป็นไปได้ทางเทคนิค  (Technical Feasibility)

นวัตกรรมบางอย่างเรียกว่า มีเวลาชีวิตของเขา เทคโนโลยีบางอย่าง หากไม่คำนวณเวลาดีๆ พอพัฒนาออกมาเสร็จก็อาจจะเป็นของที่ล้าสมัยไปแล้วก็ได้  เช่น ระบบโทรศัพท์บ้านที่ทันสมัยขึ้น แต่คนส่วนใหญ่นิยมใช้โทรศัพท์มือถือมากกว่า การไปพัฒนาระบบโทรศัพท์บ้านอาจจะไม่ตอบความต้องการของผู้ใช้งาน  หรือในปัจจุบันคนมักคุยกันทางอินเตอร์ ผ่าน line call, FB messenger Zoom ระบบต่างๆที่คุยฟรีทางอินเตอร์เนต แถมยังเห็นหน้าเห็นตากันมากกว่า ซึ่งในส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับ ฝ่ายผลิต ฝ่ายวิจัยพัฒนา ฝ่ายวิศวกรรมในองค์กรในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางเทคนิคด้วย

 

ดังนั้นในขั้นตอน การพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า นี้ จะเห็นได้ว่า การพัฒนานวัตกรรมให้มีแนวโน้มประสบความสำเร็จนั้น นอกจากจะต้องคำนึงประเด็นที่สำคัญทั้ง 3 เรื่อง คือ สร้างคุณค่ากับผู้ใช้งานหรือกลุ่มเป้าหมาย (User Desirability) สามารถขยายผลหรือสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้ (Business Viability) สามารถเป็นไปได้ทางเทคนิค  (Technical Feasibility) แล้วนั้น ยังต้องอาศัยความร่วมมือ ร่วมใจและการมีส่วนร่วม (Collaboration) ของคนในองค์กรฝ่ายต่างๆ (Cross functional teamwork) มาช่วยกันทำเป็นแผนงาน แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และดำเนินการไปอย่างเป็นทีม  นวัตกรรมในองค์กรจึงจะประสบผลสำเร็จได้  

 

3. การพัฒนานวัตกรรมรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ (Business Model Innovation)

เมื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆมาแล้ว จากนั้นคือการพัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ เพื่อขยายช่องทางในการขยายตลาด เพราะผลิตภัณฑ์หรือบริการในปัจจุบันสามารถลอกเลียนแบบกันได้  แม้บางอย่างอาจจะลอกเลียนแบบได้ยากหากใช้เทคโนโลยีสูง  แต่การพัฒนานวัตกรรมรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ นั้นจะทำให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของเราเข้าตลาดได้ก่อน  และอยู่ในใจลูกค้าได้ก่อนค่ะ

 

เก๋หวังว่า บทความนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Skill) เพื่อพัฒนานวัตกรรมในองค์กร เพื่อให้เป็นองค์กรนวัตกรรม และเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืนค่ะ

 .........................................

- สนใจหลักสูตร " Creative to Innovation การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่  

 .......................

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com  

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 328,275