ทักษะการถามเชิงบวก (Positive Questioning Skill) สำหรับผู้นำในบทบาทโค้ชหรือพี่เลี้ยง โดยศศิมา สุขสว่าง

ทักษะการถาม (Questioning skill for coach) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่สำคัญของโค้ช และผู้นำทีม ผู้จัดการ เพราะการถามที่ดีจะได้คำตอบที่หลากหลาย และสร้างสรรค์  ตัวอย่างเช่น   ถ้าเราถามว่า 5+5 ได้เท่าไร  มีคำตอบเดียว คือ  10  แต่ถ้าเราถามว่า อะไรบวกกันได้ 10    คำตอบที่ได้ จะมีความหลายหลายมาก เช่น 1+9 ,2+8, 3+7, 4+6 ,5+5  ซึ่งหากเราใช้คำถามที่ดี เราจะได้แนวคิดใหม่ๆ มากมายค่ะ    

 

การถามเชิงบวกทำให้เกิดกระบวนการคิด ตรึกตรอง และค้นหาคำตอบ  การถามจึงเป็นการกระตุ้นความคิด เมื่อเกิดการฝึกฝนคิดบ่อยๆเข้าผู้ที่ถูกถามจะสามารถคิด  และแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง คำถามที่ดีควรเป็นคำถามปลายเปิด (Open Question) เพื่อให้ผู้ถูกถามได้แสดงความคิดเห็น  เช่น ถามว่า ในเรื่องนี้คุณคิดว่า ควรแก้ไขอย่างไรบ้าง? คำถามนี้สามารถดึงความคิดเห็นออกมาได้ แต่ถ้าเป็นคำถามปลายปิด (Close question) จะทำให้จำกัดความคิด ของโค้ชชี่ได้ 

 (หมายเหตุ : ท่านสามารถอ่านบทความด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงอื่นๆได้ที่ www.sasimasuk.com ที่เป็นเวปไซต์แบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงโดยตรงของอ.ศศิมา สุขสว่างค่ะ)

 

 ประเภทของคำถามเพื่อการโค้ช (Question skill for Coaching)

 

1. คำถามปลายเปิด (Open Question)

คำถามปลายเปิดเป็นคำถามที่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบ ได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ได้คำตอบหลายแง่มุม  จากความคิดและความรู้สึกของตัวเอง   โดยเป็นคำตอบที่ทำให้ได้ใช้ความรู้ ความเข้าใจ จากตัวเอง คำถามเหล่านี้ จะเป็นกลาง ไม่ได้ชี้นำ เพื่อให้ได้คำตอบที่เปิดกว้าง และขยายความในเหตุการณ์ หรือได้ทางเลือกใหม่ๆ 

โดยประโยคคำถาม จะใช้คำว่า อะไร อย่างไร เพราะอะไร  ตัวอย่างเช่น 

- สถานการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไร

- คุณคิดอย่างไรกับปัญหาที่เกิดขึ้น 

- มีแนวทางแก้ไขหรือทำให้ดีขึ้นอย่างไรบ้าง

- เป้าหมายที่สำคัญของคุณคืออะไร

- เป้าหมายที่ต้องการสำคัญอย่างไร หรือมีคุณค่าอย่างไรกับคุณ 

คำถามปลายเปิดจะทำให้โค้ชชี่ ได้คิด ตระหนักรู้ เข้าใจตัวเอง และหาทางออกด้วยตัวเอง และเกิดความรับผิดชอบในการที่จะทำ หากต้องนำความคิดเหล่านั้นไปต่อยอดลงมือทำ

 

 

อ่านบทความ  GROW Model สำหรับการโค้ช ซึ่งมีตัวอย่างคำถามปลายเปิด  กดที่นี่ 

 

2. คำถามปลายปิด (Close Question)

คำถามปลายปิด จะเป็นคำถามที่ถามเพื่อให้ได้คำตอบว่า ใช่ หรือไม่ใช่ คำถามปลายปิดควรหลีกเลี่ยงการใช้ถามในช่วงแรก  เพราะในช่วงแรกๆควรถามคำถามปลายเปิดเพื่อให้โค้ชชี่ หรือผู้ถูกถาม ได้คิดไอเดีย ได้หาทางออกหลายๆทางก่อน  คำถามปลายปิดเมื่อใช้ในการโค้ชนั้น มักจะใช้หลังจากที่ได้มีการใช้คำถามปลายเปิดแล้ว ใช้คำถามปลายปิด เพื่อทบทวนความเข้าใจของโค้ชและโค้ชชี่ให้ตรงกัน หรือเพื่อให้เกิดการตัดสินใจ หรือให้มั่นใจในการกระทำ นั้น  เช่น

-  จากที่โค้ชได้ฟังมาถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ทางโค้ชชี่จะทำนั้น โค้ชชี่จะใช้วิธีการ A ในการแก้ไขปัญหานี้ใช่ไหมคะ

 

 

 คำถามที่ควรหลีกเลี่ยงในการโค้ช

 ในการโค้ชนั้น มีคำถามที่ควรจะหลีกเลี่ยงที่จะใช้ คือ คำถามชี้นำ  หรือคำถามที่ใส่ความคิด ความรู้สึก ของโค้ชเพื่อเป็นการชี้นำโค้ชชี่ และการใช้คำถามซ้อนคำถาม จนมีคำถามมากกว่า 1 คำถามใน 1 ประโยค  เช่น 

- โค้ชคิดว่า คุณควรใช้วิธีการ A ในการแก้ปัญหา... นี้ คุณคิดว่าอย่างไร  - ปรับเป็น คุณจะใช้วิธีการอะไรในการแก้ปัญหานี้จากวิธีการทั้งหมดที่มี

- คุณชอบวิธีการแบบ A หรือแบบ B มากกว่ากัน  - ปรับเป็น คุณชอบวิธีการแก้ไขปัญหาแบบใด

 

หรือคำถามที่ขึ้นต้นด้วย "ทำไม" เพราะจะทำให้ผุ้ถูกถามรู้สึกอึดอัด กดดัน รวมทั้ง เกิดแรงสะท้อนกลับในด้านลบกับคำถามว่า ทำไม 

 

 

ตัวอย่างสถานการณ์จริง

 

หัวหน้า : ผมคิดว่าจากปัญหาที่เกิดขึ้นควรแก้ไขโดยวิธี…(ความคิดของหัวหน้า)…คุณเห็นด้วยหรือไม่ 

ลูกน้อง : (ตอบคำถามปลายปิด) “จะตอบอะไรได้ นอกจากว่า “เห็นด้วย” ทั้งที่ในใจอาจจะมีวิธีอื่นที่คิดว่าดีกว่า

หรือบางครั้งไม่เห็นด้วย อาจจะเงียบ ไม่กล้าพูดในกรณีที่ไม่สนิทกับหัวหน้า หรือถ้ามีวิธีที่ดีกว่า ก็ไม่อยากจะเสนอ เพราะเกรงว่าจะได้รับมอบหมายให้ทำ

 

 

ตัวอย่างคำถามปลายเปิด

 

หัวหน้า : จากปัญหาที่เกิดขึ้นควรแก้ไขโดย คุณคิดว่ามีวิธีการแก้ไขแก้ไขอย่างไรบ้าง? 

ลูกน้อง : ผม/ดิฉัน คิดว่า น่าจะแก้ไขดังนี้ค่ะ 1..., 2....3....

คำถามปลายเปิด คนเป็นหัวหน้า อาจจะได้คำตอบที่ให้วิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ๆ นอกเหนือจากความรู้ความสามารถของตัวเองก็ได้ ลูกน้องก็จะได้ลงมือทำในสิ่งที่ตัวเองคิด และได้รับการยอมรับจากหัวหน้าด้วย 

 
 
ในการโค้ชจะคำถามที่เรียกว่า คำถามทรงพลัง (Powerful Question) หากคำถามนั้นทำให้ผู้รับการโค้ชโดนจุดที่ลึกภายใน จนเกิดการลงมือทำ และการเปลี่ยนแปลงหลังจากการโค้ชได้ หากคำถามนั้นได้ลงลึกไปถึงความรู้สึก ความคิด และการตระหนักรู้ภายในของผู้รับการโค้ช
 
ยังมีคำถามเชิงบวกแบบอื่นๆอีกที่ใช้ในการถามเพื่อพัฒนา เดี๋ยวเก๋จะทยอยเอามาแบ่งปันกันนะคะ  
 
 
เก๋หวังว่าบทความนี้ จะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังหาแนวทางการตั้งคำถามที่ให้ได้ไอเดียใหม่ๆ ดีๆนะคะ  ลองเอาไปปรับใช้ในองค์กรหรือในส่วนงานที่รับผิดชอบดูค่ะ แล้วมาแบ่งปันกับเก๋บ้างนะคะ ว่าเป็นอย่างไรบ้างค่ะ

..................

  

สนใจหลักสูตร "ผู้นำในบทบาทของโค้ชและพี่เลี้ยงเพื่อประสิทธิภาพการทำงาน" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 


(ต้องการรายละเอียดหลักสูตรฉบับเต็ม พร้อม ใบเสนอราคา ขอกรุณาอีเมล์มาที่ sasimasuk.com@gmail.com อ.เก๋เช็คอีเมล์ทุกวันค่ะ)

.....................................................

 

 

ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี  ทำงานด้าน  Research & Development Engineer มาโดยตลอด และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรอิสระแห่งหนึ่ง  ได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล 

 

ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน โดยยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

 ...........................................

ติดตามข่าว หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training  ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 328,207