Design Thinking โมเดลเครื่องมือพัฒนานวัตกรรม ตอนที่ 2

ปัจจุบัน  Design thinking เป็นกระบวนการหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรม ที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง  เพราะเป็นเครื่องมือที่มีรวมกระบวนการทั้งด้านวิทย์และธุรกิจมารวมกัน โดยโดยเน้นเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นจุดศูนย์กลาง (Human Centered) ซึ่งเป็นกระบวนการที่นำไปใช้ในองค์กรระดับโลกในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆอย่างกว้างขวาง เช่น Apple Nike google  และในเมืองไทยก็มีการนำมาใช้ในหลายๆองค์กรแล้ว เป็นต้น

 

โดยกระบวนการหลักๆของ Design Thinking คือ

 

1. การเข้าใจปัญหาของกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าในถูกต้อง (Human Centered) 

2. กระบวนการคิดและแก้ไขปัญหา (Ideation & Brainstorming) 

3. การลงมือทำและทดสอบกับกลุ่มเป้าหมาย  (Prototype and Implement)

 

หลักการทั้ง 3 ข้อนั้น หลายองค์กรได้นำแนวทางดังกล่าว  มาพัฒนาโมเดล Design Thinking ของตัวเอง เพื่อใช้ในการพัฒนานวัตกรรม ก็มีหลายๆโมเดลที่น่าสนใจ และเครื่องมือย่อยๆในแต่ขั้นตอนที่จะช่วยในการทำให้กระบวนการทั้ง 3 ข้อด้านบน  สามารถพัฒนานวัตกรรมเกิดขึ้นได้จริง 

 

จากภาพรวมของโมเดล Design Thinking ในตอนที่ 1 (อ่าน กดที่นี่)  เก๋เอารายละเอียดมาขยายเพิ่มเติม เพื่อแบ่งปันกันค่ะ

 

  (เนื้อหาโดยอ.ศศิมา สุขสว่าง - อ. เก๋ - หากนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โปรดอีเมล์แจ้งขออนุญาตก่อนที่ sasimasuk.com@gmail.com หรือใส่เครดิต อ.ศศิมา สุขสว่าง www.sasimasuk.com ด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ)

โมเดล Design Thinking ของ D.School, Stanford university 

 

Source :  D.School, Stanford university

 

 

โมเดลของ D.School, Stanford university มีกระบวน 5 ขั้นตอน ดังนี้

 

1. Empathize 

ขั้นแรก การเข้าใจกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ใช้งานจริง (Empathize) คือ การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง เข้าใจในปัญหา ความต้องการ ความจำเป็น อารมณ์ ความรู้สึก การกระทำที่ออกมา  ความหมายในสายตาของกลุ่มเป้าหมาย  วิธีการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายนี้ สามารถใช้ได้หลายวิธี เช่น การสังเกตพฤติกรรม (Observe)  การสัมภาษณ์ (Ask) การฟังอย่างลึกซึ้ง (Listen)   เพื่อให้เข้าใจเป้าหมายและประเด็นที่ต้องการแก้ไข

 

2.Define

การระบุปัญหา หรือประเด็น  (Problem statement) หลังจากที่ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายด้วยกระบวนการข้างต้นแล้ว จากนั้นคือการระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไขให้ชัดเจน และเป็นปัญหาที่แท้จริง 

 

 3. Ideate

การระดมความคิด  (Ideate)  ขั้นตอนนี้จะใช้วิธีการระดมสมอง ผสมผสานกับเครื่องมือต่างๆ เช่น 5 Why, Brain storming เป็นต้น คิดให้ได้ไอเดียให้มากที่สุด ซึ่งต้องใช้ทั้ง Creative thinking คิดนอกกรอบ, Analysis thinking วิเคราะห์ข้อมูล  จากนั้นค่อยจัดให้เหลือไอเดียที่ดี จำนวนหนึ่ง และสามารถนำมาทำเป็นต้นแบบได้จริง 

  

4. Prototype

ขั้นที่ 4 การสร้างต้นแบบ (Prototype)    ขั้นตอนนี้จะเป็นการเอาไอเดียที่คัดเลือกไว้แล้วมาสร้างต้นแบบนวัตกรรมที่ใช้แก้ปัญหา  ซึ่งขั้นตอนนี้สามารถอาจจะเป็นต้นแบบที่ง่ายๆก่อน เพื่อทดสอบแนวคิด เมื่อทดสอบกับผู้ใช้แล้ว ตอนหลังจะระดมใช้ทั้งเทคโนโลยี  ผู้เชี่ยวชาญ  ทรัพยากรที่มีขององค์กร  หรือบางองค์กรอาจจะเปิดรับเทคโนโลยี ความรู้ ข้อมูล จากหน่วยงานภายนอกในลักษณะ (Open Innovation)  เพื่อให้สามารถที่จะนำสร้างต้นแบบให้ออกมาทดสอบก็ได้ค่ะ

  

 5. Test

ขั้นตอนสุดท้าย การทดสอบต้นแบบเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย (Test)  แล้วเก็บข้อมูลที่ได้มา เรียนรู้ แล้ววนไปที่ขั้นตอนแรก จนกว่าจะได้นวัตกรรมที่นำไปสู่เชิงพาณิชย์ได้จริงๆ ค่ะ

 

Design thinking นี่ drive ด้วยลูกค้าหรือคนใช้งานตรงๆ คือต้องวิเคราะห์จนถึงแก่นของความต้องการผู้ใช้งานจริงๆ แล้วค่อยผลิตของออกมา ของที่ผลิต บริการที่สร้างขึ้นมาจึงตอบโจทย์คนใช้ ขายได้ขายดี ถูกอกถูกใจกลุ่มเป้าหมายที่เราเล็งไว้ 

  (เนื้อหาโดยอ.ศศิมา สุขสว่าง - อ. เก๋ - หากนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โปรดอีเมล์แจ้งขออนุญาตก่อนที่ sasimasuk.com@gmail.com หรือใส่เครดิต อ.ศศิมา สุขสว่าง www.sasimasuk.com ด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ)

 

........................................................................

 

โมเดล Design Thinking ของ The Double Diamond Design Process,UK Design Council   

Source : The Double Diamond Design Process, UK Design Council 

 

โมเดลของ The Double Diamond Design Process,UK Design Council   มี  4 กระบวนการดังนี้ เรียกว่า 4 D

 

1.Discover 

เป็นการมองโลกในรูปแบบใหม่ สังเกตสิ่งใหม่ๆ และรวบรวมข้อมูลเชิงลึก ด้วยกระบวนการวิจัย (research) แล้วนำมาวิเคราะห์ (Analysis) และสังเคราะห์ (Systhesize) ค้นหาประเด็นปัญหาที่แท้จริง ของลูกค้า

 

2. Define 

เป็นการทำความเข้าใจถึงความเป็นไปได้ทั้งหมดในขั้นตอนแรก แล้วระบุสิ่งที่เป็นไปได้ และข้อสรุปที่ชัดเจนของปัญหาของลูกค้า

 

3. Develope 

เป็นการพัฒนา สร้างทางแก้ไข หรือแนวคิดสร้างต้นแบบทดสอบแนวคิด แล้วปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ได้ต้นแบบที่จะสามารถนำไปสู่ผู้ใช้งานได้อย่างตรงใจ

 

4. Deliver

ขั้นตอนนี้คือการส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการที่พัฒนาขึ้นมา และสามารถแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้งานหรือลูกค้าได้

 

 

 ในกระบวนการ Design Thinking นี้  ใช้กระบวนการคิด 2 แบบ คือ การคิดแบบ

- Divergent thinking เป้นการคิดในมุมกว้าง ด้วยการเปิดใจ เปิดกว้าง พิจารณาเรื่องต่างๆและทุกสิ่งทุกอย่างอยากเปิดใจ 

 

- Convergent Thinking การรวมความคิด การวิเคราะห์ปัญหาเพื่อตัดสินในการประเมินผล และระบุประเด็นปัญหาและแนวทางที่สำคัญอย่างน้อยหนึ่งหรือสองประเด็น

 

เก๋หวังว่า บทความนี้จะช่วยมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจวิธีการ แนวคิดในการนำความรู้ไปพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรม ตลอดจนการพัฒนาตัวเอง ทีมงาน และประสิทธิภาพการทำงานให้กับองค์กรนะคะ

......................

- สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร " Creative to Innovation การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่  

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่   

 .......................

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 328,086