คุณค่า(Value Creation) ของนวัตกรรม โดยศศิมา สุขสว่าง

 คุณค่า(Value Creation) ของนวัตกรรม  ส่วนประกอบที่สำคัญอีกอย่างของนวัตกรรม (Innovation) คือ ต้องมีคุณค่า(Value Creation) และมีประโยชน์ต่อผู้อื่น เศรษฐกิจและสังคม หากไม่สามารถสร้างคุณค่าเพื่อแก้ปัญหาและตอบโจทย์ของกลุ่มเป้าหมายได้ จะไม่ใช่นวัตกรรมที่สมบูรณ์และมีคุณค่า 

บทความนี้เก๋มาแบ่งปันเรื่องของคุณค่า (Value) ที่เราควรรู้ก่อนที่จะพัฒนานวัตกรรม หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือบริการของเรา เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมายขององค์กรเรา หรือ Stake holder ด้วย เพราะหากสิ่งที่เราพัฒนาขึ้นมาแล้วมีคุณค่ามากพอที่จะแก้ปัญหาและตอบโจทย์แล้ว จะสามารถขายได้หรือมีประโยชน์ค่ะ

 

แล้ว คุณค่า มีอะไรบ้าง เก๋ขออ้างอิง จาก Elements of Value ของ HBR.org นะคะ เพราะดูจากรูปนี้แล้วตรงใจที่สุด และเก๋มักจะนำไปแบ่งปันในองค์กรอยู่เสมอค่ะ ทั้งนี้เก๋ได้แปลงมาเป็นภาษาไทยเพื่อให้เข้าใจง่ายๆแล้วค่ะ โดยคุณค่าแบ่งเป็น 4 ระดับตามรูปด้านล่าง  

 

 

 

 

 

• คุณค่าด้านการทำงาน (Functional Value) เป็นคุณค่าขั้นพื้นฐานคือสามารถแก้ปัญหาด้านการพื้นฐานได้  เช่น ประหยัดเวลา, การสร้างรายได้,  การลดความเสี่ยง, การลดผลกระทบต่างๆ, การลดอันตราย, คุณภาพ, ความหลากหลาย, รูปแบบที่น่าสนใจ เป็นต้น

 

• คุณค่าด้านการตอบสนองด้านอารมณ์ (Emotional) เป็นคุณค่าอีกระดับหนึ่ง ที่สามารถแก้ไขปัญหาในด้านอารมณ์ความรู้สึก เช่น การลดความกังวล, การให้รางวัล, การรู้สึกภาคภูมิใจ ,การดึงดูดความสนใจ, ความสนุกสนานบันเทิง

 

• การเปลี่ยนแปลงชีวิต (Life Changing) เช่น การสร้างความหวัง, การมั่นใจในตัวเอง, การสร้างแรงบันดาลใจ และการสร้างสถานะทางสังคม เป็นต้น

 

• ผลกระทบทางสังคม (Social impact) เช่น การสร้างคุณค่าให้กับชีวิต (Life Value), การสร้างคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ 

 

โดยคุณค่าจะมีมูลค่าแตกต่างกัน เช่น คุณค่าด้านการทำงาน (Functional Value) เป็นคุณค่าที่เป็นพื้นฐานที่ทุกผลิตภัณฑ์ต้องมี แต่หากเพิ่มคุณค่าในลำดับต่อๆไป มูลค่าและราคาจะสูงขึ้นด้วย 

 

ยกตัวอย่างเช่น นาฬิกา  คุณค่าด้านการทำงานคือ ดูเวลา ตรงเวลา แต่หากเพิ่มคุณค่าในการเปลี่ยนแปลงชีวิต (Life Changing) โดยการใส่แบรนด์หรือยี่ห้อดังๆไป จะทำให้คนใส่ดูรวย สร้างสถานะทางสังคมได้อีก  (เช่น นาฬิกาโรเล็กซ์ เป็นต้น)

 

นวัตกรรมที่ดีต้องมีคุณค่า มีประโยชน์กับสังคมนะคะ  สำหรับคุณค่าในบทความนี้ ลองเอาไปประยุกต์ในการพัฒนานวัตกรรมนะคะ

เก๋เอาใจช่วยทุกองค์กรให้สามารถพัฒนานวัตกรรม และบุคคลากรอย่างต่อเนื่อง และสามารถรับมือกับ Disruptive Innovation  ได้ค่ะ

 

 อ้างอิง

Elements of Value ของ HBR.org


........................

- สนใจหลักสูตร " Creative to Innovation การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่  

- สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่  

 

.................................

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม   โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation 

Tel. : 081-560-9994  

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 328,327