3 ประโยชน์ของการโค้ชต่อบทบาทผู้นำในองค์กร (Benefit of Coaching Skills for Leader) โดยศศิมา สุขสว่าง

ปัจจุบันทักษะการโค้ช (Coaching Skills) เป็นอีกเครื่องมือ (tools) หนึ่งที่สำคัญสำหรับผู้นำในองค์กรในการบริหารจัดการ และพัฒนาดึงศักยภาพของผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดีอีกเครื่องมือหนึ่ง  ซึ่งวันนี้อ.ศศิมา(เก๋) จะมาแบ่งปันประโยชน์ของการโค้ชต่อบทบาทผู้นำในองค์กร ที่ได้ใช้มาเอง รวมทั้งได้มีโอกาสไปแบ่งปันทั้งการอบรม การทำ Group Coach (การโค้ชแบบกลุ่ม) และ One on One Coaching (การโค้ชแบบตัวต่อตัว) ดังนี้ค่ะ

 

 

1. การโค้ชป็นเครื่องมือในการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ (Coaching as an Effective Leadership Tool)

ผู้นำในยุคนี้ต้องมีทักษะการโค้ชที่มีประสิทธิภาพ และมั่นใจในการนำลูกน้องในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบไดนามิกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ เพราะปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของ เทคโนโลยี การแข่งขัน สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ทำให้องค์กรต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างทั้งทางตรงและทางอ้อม สภาวะแวดล้อมภายนอกขององค์กร ณ ปัจจุบัน กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกว่า “VUCA World”  ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมอย่างพลิกผัน (Disruptive innovation) จนมีคำกล่าวหนึ่งว่า “รีบเปลี่ยนแปลงเสียก่อน มิฉะนั้นคุณก็อาจจะถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลง”  ในฐานะที่เป็นผู้นำ บางครั้งต้องใช้ศักยภาพของคนทำงานรุ่นใหม่ๆ ซึ่งมีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันไป  การใช้เครื่องมือและเทคนิคการโค้ช สามารถใช้เพื่อพัฒนาทั้งตัวเอง และพัฒนาผู้อื่นได้   ซึ่งจะทำให้สร้างวัฒนาธรรมการโค้ชในองค์กร และสามารถ ปลดล็อคศักยภาพที่ไม่ได้ใช้ของพนักงานของคุณเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมค่ะ

 

ผู้บริหารที่อ.เก๋ไปโค้ช หลายท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านโค้ชลูกน้องจนเก่งหลายคน และสามารถทำงานแทนได้ จนมีเวลาว่างไปคิดโครงการใหม่ๆ ขยายธุรกิจเพิ่ม  บางท่านได้รับเลื่อนตำแหน่งเป็นระดับ Region หลังจากที่ทางองค์กรเห็นว่าฝ่ายที่ท่านรับผิดชอบนั้น มีคนมาทำงานรับผิดแทนได้แล้วค่ะ ดังนั้นทักษะการโค้ชจึงสำคัญสำหรับผู้นำรุ่นใหม่นะคะ

 

 

2.เพิ่มเส้นทางการเติบโตในอาชีพหรือธุรกิจ  (Grow Your Career or Business)

ทักษะการโค้ช (Coaching skills) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ดึงประสิทธิภาพและพัฒนาศักยภาพจากพนักงานให้สูงขึ้นได้ด้วยทักษะต่างๆรวมทั้งสามารถพัฒนาความสามารถของตัวเองพร้อมเปิดใจ และทั้งของทีมงานในการปฏิบัติงาน โดยสามารถทำหน้าที่กระตุ้น สร้างแรงจูงใจ และเป็นกระจกเงา เพื่อให้ทีมงานมองเห็นตัวเอง และพัฒนาตัวเองในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง

 

ปัจจุบันมีองค์กรหลายองค์กรที่พิจารณาเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งให้กับระดับหัวหน้าได้  ตำแหน่งนั้นต้องมีลูกน้องที่สามารถมาทำงานในตำแหน่งนั้นแทนได้ จึงจะเลื่อนตำแหน่งให้ หากหัวหน้าคนไหนไม่พัฒนาลูกน้องให้เก่ง เก็บงานสำคัญๆไว้กับตัวเอง กอดงานยากๆไว้คนเดียว  พอหัวหน้าไม่อยู่ องค์กรไปต่อไม่ได้ หรือลูกน้องทั้งฝ่ายทำงานนั้นไม่ได้  ตัดสินใจไม่ได้ เพราะหัวหน้าไม่เคยสอนหรือไว้ใจให้ทำ ไม่เคยโค้ชให้มีศักยภาพหรือเก่งพอที่จะทำได้  กรณีแบบนี้ฉุดรั้งความก้าวหน้าเติบโตในหน้าที่การงานของคนระดับหัวหน้า/ผู้นำไม่ให้ก้าวหน้าเติบโตมานักต่อนักแล้ว ดังนั้นทักษะการโค้ชเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่หัวหน้าหรือผู้นำในสมัยนี้ต้องศึกษา และนำมาใช้งานให้ได้ ร่วมกับทักษะอื่นๆ ของการเป็นผู้นำค่ะ

 

 

3.เป็นการพัฒนาตนเอง (​Develop Yourself)

การโค้ช จะทำให้ค้นพบศักยภาพของตัวเอง เรียนรู้แลเห็นตัวเอง รวมทั้งเข้าใจผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้งด้วยทักษะการโค้ชต่างๆ เช่น  สร้างความสัมพันธ์เพื่อความเชื่อใจและความศัทธา (Trust and Engagement) , การถามเชิงบวกเพื่อพัฒนาไอเดียใหม่ๆ (Positive question) การฟังอย่างใส่ใจเชิงลึก (Empathy deep listening) การให้และรับข้อมูลป้อนกลับเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Feedback Giving and Receiving)  การเล่าเรื่องสร้างแรงบันดาลใจ (Storytelling) ฯลฯ ซึ่งทุกทักษะนั้นสามารถนำมาใช้ในการฝึกฝนพัฒนาทุกด้านในชีวิตทั้งพัฒนาตัวเอง หน้าที่การงาน  ครอบครัว ความสัมพันธ์  ให้มีความสุขและมั่นคงในชีวิตได้  เป็นต้น

 

 

การโค้ช หรือทักษะการโค้ช (coaching skills) ไม่ใช่เครื่องมือวิเศษที่เรียนรู้แล้ว จะสามารถพัฒนาคน พัฒนาตัวเองให้เพิ่มศักยภาพได้ดีปุ๊ปปั๊บ  แต่ต้องใช้ให้เหมาะสมกับช่วงเวลา และเหตุการณ์นั้นๆ  หากเราเป็นผู้นำในองค์กร เราสามารถปรับเปลี่ยนบทบาทได้ว่า

- เวลาไหนที่เราควรสวมหมวกหัวหน้าผู้นำ  สั่งงาน มอบหมายงาน 

- เวลาไหนที่เราต้องสวมหมวกที่ปรึกษา ให้คำปรึกษา สอนงาน หรือ

- เวลาไหนควรสวมหมวกโค้ช ฟัง ถาม ฟีดแบ็คเพื่อดึงศักยภาพของลูกน้องได้ค่ะ 

เอาไปประยุกต์ใช้กันนะคะ

 

 

ประสบการณ์ที่ผ่านมาของเก๋เอง ที่ได้เป็นผู้จัดการทั้งผู้จัดการโครงการ (Project Manager)  และผู้จัดการเชิงนวัตกรรมที่ศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ (Innovation Manager of Development Center) จนปัจจุบันมีบริษัทของตัวเอง  รวมทั้งได้มีโอกาสไปฝึกอบรม ทั้ง Training , Group Coaching รวมทั้งการโค้ชตัวตัวต่อ (one on One) ในองค์กรใหญ่ๆในหลายๆธุรกิจ  เช่น เป๊ปซี่ โคล่า ลอรีอัล น้ำตาลเอราวัณ รพ. BNH ฯ  คิดว่า ทักษะการโค้ชเป็นทักษะสำคัญอีก 1 ทักษะที่ผู้นำควรมีไว้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการคนทำงานค่ะ

 

 

อ.เก๋หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจในศาสตร์ของการโค้ชทุกท่านนะคะ

 ...................................... 

สนใจหลักสูตร "ผู้นำในบทบาทของโค้ชและพี่เลี้ยงเพื่อประสิทธิภาพการทำงาน" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
(ต้องการรายละเอียดหลักสูตรฉบับเต็มพร้อมใบเสนอราคา ขอกรุณาอีเมล์มาที่ sasimasuk.com@gmail.com อ.เก๋เช็คอีเมล์ทุกวันค่ะ)

 

......................................................

ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี  ทำงานด้าน  Research & Development Engineer มาโดยตลอด และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรอิสระแห่งหนึ่ง  ได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน โดยยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

...........................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com 

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 328,365