5 ขั้นตอนในการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ ที่ดีสำหรับผู้นำ โดยศศิมา สุขสว่าง

การตัดสินใจ เป็นอีกหน้าที่หนึ่งที่สำคัญของคนที่เป็นผู้นำ หรือหัวหน้า หรือผู้จัดการ  ในการบริหารคนและบริหารงานให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้า  สิ่งที่แย่ที่สุดที่มักจะเจอคือ การไม่ตัดสินใจในเวลาที่ต้องตัดสินใจ หรือการตัดสินใจช้าไม่ทันสถานการณ์ที่เกิดขึ้น 

 

การตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ (Creative Decision Making)  เป็นการเลือกวิธีการ หรือทางออกที่ดีที่สุดในสถานการณ์หนึ่งๆ เพื่อนำไปดำเนินการแก้ไข หรือปฏิบัติให้ดีขึ้นค่ะ

 

บทความนี้อ.ศศิมา -เก๋ มาแบ่งปันวิธีการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ (Creative Decision Making)   ด้วย 5 ขั้นตอนง่ายๆ สำหรับหัวหน้าทีม หรือผู้นำในการต้องตัดสินใจในการทำงาน หรือ การเลือกวิธีการในการปฏิบัติงานค่ะ

 

  

1. ระบุปัญหาที่ต้องตัดสินใจ

ระบุปัญหาที่ต้องตัดสินใจให้ชัดเจน ปัญหาที่ถูกระบุอย่างถูกต้องนั้น  ก็ถือว่า ได้ถูกแก้ไขไปแล้วครึ่งหนึ่ง 

 ซึ่งจะทำให้การตัดสินใจนั้นง่ายยิ่งขึ้น รวมทั้งการกำหนดขอบเขต/ความจำเป็น/ความสำคัญของการตัดสินใจ อะไรคือเป้าหมายหรือผลลัพธ์ที่อยากได้จากการตัดสินใจนี้   

 

2. กำหนดทางเลือก

ทำ list ทางเลือกหรือวิธีการแก้ปัญหาออกมา เพื่อหาว่า มีทางเลือกอะไรบ้าง ที่จะเป็นไปได้ และเป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการตัดสิน

 

3. ประเมินทางเลือก

ศึกษาแต่ละทางเลือก ว่า มีข้อดี ข้อเสีย ประโยชน์ ความเสี่ยง อย่างไรบ้าง รวมทั้งความเป็นไปได้ในแต่ละทางเลือก

 

4. ทางเลือกที่ดีที่สุด

เลือกทางเลือกที่ดีที่สุด สร้างสรรค์ที่สุด ณ ขณะนั้นและตัดสินใจเพื่อนำไปปฏิบัติและแก้ไข

 

5. ประเมินการตัดสินใจ

ประเมินการตัดสินใจ หลังจากการที่ตัดสินใจไปแล้วในแต่ละครั้งด้วย  เพื่อเรียนรู้และนำเป็นบทเรียนในการตัดสินใจในครั้งต่อไปด้วยว่าการตัดสินใจนั้นมีข้อดีอะไรบ้าง และต้องปรับปรุงพัฒนาแก้ไขอะไรบ้าง เพื่อให้ดียิ่งขึ้นไปอีก

 

วิธีการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ (Creative Problem Solving) นี้สามารถนำไปประยุกต์ในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ได้มากมาย เช่น

เพื่อใช้ในตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ไขปัญหาในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นค่ะ 

- เวลาที่เราพัฒนาสิ่งใหม่ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ บางครั้งก็มีทางเลือกหรือวิธีการหลายๆตัวเลือก  วิธีการตัดสินใจนี้จะช่วยให้สามารถเลือกแนวทางที่ดีที่สุด  ณ ตอนนั้น

- ใช้ในการตัดสินใจเพื่อเลือกคน / ระบบการทำงาน / Supplier

เป็นต้น

 

อ.เก๋หวังว่า บทความนี้จะมีประโยชน์บ้างสำหรับผู้ที่สนใจ เรื่องของการตัดสินในอย่างสร้างสรรค์นะคะ


 ......................

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

เข้าใจความหมาย และองค์ประกอบของนวัตกรรม ด้วย VIN model for Innovation อ่านต่อที่นี่  หรือกดที่รูป VIN model ด้านล่างนี้ 

 

 .....................................................

ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี  ทำงานด้าน  Research & Development Engineer มาโดยตลอด และเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรอิสระแห่งหนึ่ง  ได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน โดยยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

...........................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 (โทรกลับเฉพาะเบอร์มือถือนะคะ)

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 329,125