กระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ Creative Problem Solving โดย ศศิมา สุขสว่าง

การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (Creative Problem Solving : CPS)  การแก้ปัญหาในกระบวนการทำงานต่างๆ ถือว่าเป็นอีกงานหนึ่งของทุกคนที่ทำงาน  หลายครั้งมีพี่ๆเพื่อนๆน้องๆมาพูดคุย กับอ.เก๋  ว่าที่ทำงานมีปัญหา  ระบบงานมีแต่ปัญหา ทั้งนั้นเลย  ประโยคหนึ่งที่อ.เก๋มักจะแนะนำ หรือบอกกลับไปคือ  เพราะมีปัญหาจึงมีเราไง  ถ้าระบบงาน การทำงานมันง่ายๆ เขาจะต้องจ้างเราไปทำไม ดังนั้น การคิดสร้างสรรค์เพื่อหาทางออกให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น  ถือเป็นอีกทักษะหนึ่งที่สำคัญที่จำเป็น และถือเป็นทักษะสำคัญสำหรับคนทำงานในยุคนี้ค่ะ  

 

การแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ นั้นจะต้องเข้าใจภาพรวมกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ (CPS) เข้าใจความคิดสร้างสรรค์ในมุมของการคิดแบบ  Divergent Thinking  หรือ การคิดวิเคราะห์เพื่อแยกแยะ หาความเป็นไปได้  หาปัญหาที่แท้จริง  และ Convergent Thinking หรือการคิดเชิงเคราะห์เพื่อคัดเลือกและตัดสินใจ ซึ่งจำเป็นในทุกกระบวนการของการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์  ซึ่งจะมีเครื่องต่างๆมากมาย ซึ่งจะกล่าวต่อไปในบทความถัดๆไปนะคะ (อ่านบทความ การคิดแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วย Divergent Thinking และ Convergent Thinkingกดที่นี่)

 

ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์นั้นมีขั้นตอนที่ สำคัญ 4 ขั้นตอนคือ  

 

 

 

ขั้นตอนที่ 1 Clarify หรือวิเคราะห์ปัญหาหรือข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์ให้ชัดเจน (Analytical the problem/data) โดยใช้เครื่องมือ/วิธีการต่างๆ

 

ขั้นตอนที่ 2 Ideate การหาไอเดียใหม่ๆในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยเครื่องมือ เทคนิค วิธีการต่างๆ  เช่น การระดมสมองเพื่อให้สามารถสร้างไอเดียด้วยวิธีคิดแบบ Divergent and Convergent Thinking

 

ขั้นตอนที่ 3 Develop หรือ การนำไอเดียต่างมาประเมิน หาจุดแข็ง จุดดี ที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร และช่วยแก้ปัญหาได้ และเลือกไอเดียที่แก้ไขปัญหาได้ดีที่สุด 

 

ขั้นตอนที่ 4 Implement กำหนดแผนงาน โดยทำวางแผนทำ Action Plan หรือ Mini Project  เพื่อกำหนดทรัพยากร และแนวทางในการทำแผนให้ปฏิบัติได้จริงเพื่อนำไปทำให้ได้จริงค่ะ

 

การเรียนรู้วิธีการ เครื่องมือ และเทคนิคของแต่ละขั้นตอนจะช่วยให้เราสามารถนำไปปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานได้ รวมทั้ง  เข้าใจคน เข้าใจทีม เข้าใจภาพใหญ่ขององค์กร ได้อย่างมีหลักการและขั้นตอนได้อย่างมีระบบ ลดความขัดแย้ง ผิดพลาด และการไม่เห็นตรงกัน  ด้วยกระบวนการคิดวิเคราะห์อย่างมีหลักการและเหตุผลมารองรับ ตลอดจนสามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในการทำงาน เพื่อให้หาข้อสรุปและแนวทางตัดสินใจได้  เพื่อการทำงานเชิงรุกขององค์กรและเติบโตอย่างต่อเนื่องได้ สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และองค์กรนวัตกรรม เพื่อเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปค่ะ

 

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการคิดแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ คือ การพัฒนาไอเดียที่มีความเป็นไปได้ให้มากที่สุดในช่วงเวลาที่กำหนด  ทำไมถึงต้องทำอย่างนี้ ผู้ชนะรางวัลโนเบลคนหนึ่ง ชื่อว่า Pauling เคยกล่าวไว้ว่าวิธีที่ดีที่สุดในการมีไอเดียที่ดี คือการมีไอเดียให้มากที่สุด ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกในการคิดสร้างสรรค์เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์  

 

ส่วนใหญ่ในการจัดสัมมนา อ.เก๋จะกระตุ้นให้ผู้เข้าสัมมนาคิดไอเดียออกมาให้มากที่สุดก่อน จากนั้นจึงค่อยๆคัดกรองไอเดียดีๆ ที่มีความเป็นไปได้ มีความคิดสร้างสรรค์และตอบโจทย์องค์กรให้ไปต่อยอดได้ต่อไปค่ะ

 

อ.เก๋หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับผู้ที่สนใจการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (Creative Problem Solving : CPS)  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานนะคะ

 

สนใจ หลักสูตร การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Creative Problem Solving for Performance working)   กดที่นี่

 

Ref.

Creative Education Foundation : http://www.creativeeducationfoundation.org/creative-problem-solving/the-cps-process/

Innovation Management Website : https://innovationmanagement.se/imtool-articles/the-basics-of-creative-problem-solving-cps/

Course Online : Coursera https://www.coursera.org/learn/creative-problem-solving (อ.เก๋เรียนคอร์สนี้จบแล้วค่ะ สนุกดีค่ะ แนะนำเลยนะคะ เรียนฟรีค่ะ)

หนังสือ 101 เทคนิคการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ Creative Problem solving Techniques                                               

...........................

ประวัติวิทยากร

 

อ.ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จากประเทศเยอรมนี ทำงานด้าน  การพัฒนานวัตกรรมมาโดยตลอด และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ ของ THTI ดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการศูนย์กว่า 8 ปี  รวมระยะเวลาในการทำงานด้านนักวิจัย ที่ปรึกษา วิทยากรด้านการพัฒนานวัตกรรมและบริหารโครงการกว่า 18 ปี 

 อ.ศศิมา ได้เรียนด้านการโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากหลายสถาบันการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล และมีประสบการณ์ด้านการโค้ชทั้ง Training และการโค้ชตัวต่อตัวในองค์กรหลายแห่ง  รวมทั้งเป็นโค้ชพี่เลี้ยง (Mentor Coach)ให้กับ Thai Coach และ Talent Fit Academy และได้พัฒนาต่อยอดมาเป็นหลักสูตร Innovation Coach for leader 

 

ปัจจุบันอ.ศศิมา สุขสว่างเป็นวิทยากร ที่ปรึกษา และโค้ช ด้านการพัฒนานวัตกรรม และพัฒนาองค์กรให้กับภาครัฐ,SMEs และภาคเอกชน  ดูประวัติวิทยากรของอ.ศศิมา เพิ่มเติม กดที่นี่  ต้องการรายละเอียดหลักสูตรโปรดติดต่อ

อ.ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
วิทยากร ที่ปรึกษา โค้ช ด้านการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994 

หรือส่งรายละเอียดเพื่อติดต่อกลับทาง แบบฟอร์มติดต่อกลับด้านล่างค่ะ 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 328,264