Prototype :พัฒนาไอเดียสู่ต้นแบบที่จับต้องได้ใน Design Thinking โดยศศิมา สุขสว่าง

เราเคยเห็นเกมโชว์ที่ มีคำอธิบายเป็นประโยค แล้วให้คนที่ 1 อ่าน แล้วคนที่ 1 ต้องถ่ายทอดต่อไปคนที่ 2 แล้วคนที่ 2 บอกต่อไปคนที่ 3 ต่อไปเรื่อยๆจนถึงคนสุดท้าย  สรุปสุดท้ายประโยคที่กำหนด กับประโยคสุดท้ายที่ออกมาจากคนสุดท้ายที่ได้รับสาร นั้นคนละเรื่องกันเลย

 

ซึ่งเฉกเช่นเดียวกัน เรื่องที่ท้าทายอีกอย่างของการพัฒนานวัตกรรมคือ ทำอย่างไรไอเดียจะออกมาจับต้องได้ หรืออธิบายให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจได้ และเห็นเป็นภาพเดียวกัน เพราะบางครั้งไอเดียที่เราคิดมาใหม่ๆ นั้น ยังเป็นไอเดียที่องค์กรเรายังไม่เคยทำ ไม่เคยเห็น (ถึงเรียกว่า ของใหม่ หรือนวัตกรรม) เลยมองไม่ออกว่า มันเป็นอย่างไร

 

ในกระบวนการ Design Thinking นั้นเมื่อเราคิดไอเดียใหม่ๆออกมาสำหรับแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้แล้ว และทำการเลือกไอเดียที่คิดว่าจะนำมาต่อยอด และพัฒนาเพื่อนำเสนอลูกค้า และรับ feedback เราจะทำ “ต้นแบบจำลองไอเดีย” หรือ Prototype  ออกมาให้จับต้องได้ และเข้าใจตรงกัน

 

แนวการพัฒนา Prototype  นั้น  เป็นการพัฒนาต้นแบบขึ้นมาว่าเป็นไปได้หรือไม่ และเพื่อทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายว่า สนใจหรือไม่  ยังไม่ได้ทำออกมาจำหน่าย เพราะต้องรับ feedback จากกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าก่อน เมื่อรับ feedback แล้วนำมาปรับปรุงต้นแบบจนสมบูรณ์ประมาณ 70-80 % ที่ใช้งานได้ มี Function หรือ ส่วนที่สำคัญๆและจำเป็นแล้ว จึงทำออกมาเป็น MVP หรือ Minimum Viable Products  เพื่อผลิตมาทดลองตลาดให้กลุ่มเป้าหมายแรกก่อน (Early Adopters)  MVP ไม่ต้องดีมาก 100% แต่ต้องดีพอจนลูกค้าชอบ และซื้อไปใช้   และทำการพัฒนาปรับปรุงต่อไปอีก ให้ได้ต้นแบบที่สมบูรณ์และตรงใจลูกค้าที่สุด แล้วค่อยผลิตออกมา lot ใหญ่ หรือแนะนำตลาดให้เป็นที่รู้จักกันดี

 

ในการทำต้นแบบที่ดีนั้น คือ ต้องทำได้ง่าย เร็ว  ไม่แพง ไม่ต้องสวยงาม แต่สามารถสื่อสารให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจ และสนใจผลิตภัณฑ์นั้นได้  ที่ต้องเน้นว่า ทำได้ง่าย เร็ว  ไม่แพง ไม่ต้องสวยงาม เพราะในการทำต้นแบบครั้งแรกๆ เพื่อทดลองความสนใจและสื่อสารไอเดียเท่านั้น บางคนทุ่มเท อดหลับอดนอน ทำต้นแบบมา พอเอาไปทดสอบให้กลุ่มเป้าหมาย หรือ ให้ Project Sponsor เพื่อรับ feedback แล้วได้รับ Feedback แบบกระจุยกระจายต้องปรับเยอะแยะมากมาย หมดพลังไปเลย และไม่อยากคิดอะไรใหม่ๆอีก   ดังนั้น คนทำต้นแบบต้องไม่ไปหลงรักต้นแบบของตัวเองเกินไปด้วยนะคะ

 

การทำต้นแบบนั้นมีวิธีการทำหลายแบบ เช่น การทำ Story board , การทำ Mock up ต้นแบบ, การใช้เลโก้ทำต้นแบบ หรือแม้กระทั่งการ Role play สวมบทบาท ก็สามารถทำได้ ขึ้นอยู่กับนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์นั้นว่า เป็น Product Innovation, Process Innovation หรืออาจจะเป็น Service Innovation ค่ะ

 

ในการสัมมนาหลักสูตร Design Thinking นั้น อีกกระบวนการหนึ่งที่อ.เก๋ให้ความสำคัญเช่นกัน คือกระบวนการเปลี่ยนไอเดียเป็นต้นแบบ ในขั้นตอนทำ Prototype นั้นเอง โดยการเตรียมวัสดุอุปกรณ์หลายๆอย่างไป เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้และสร้างสรรค์ให้มากที่สุด และเป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่คนเข้าสัมมนาในหลักสูตร Design Thinking ของอ.เก๋ เกือบทุกคนต้องร้องว้าว กันทีเดียว เพราะจากห้องสัมมนา กลายเป็นห้องสร้างสรรค์ไอเดียไปเลยค่ะ

 

 

 

 

 

 

อ.เก๋หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับผู้ที่สนใจในการพัฒนานวัตกรรมในองค์กรด้วยกระบวนการ Design Thinking for Business Innovation นะคะ

Design Thinking เป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่สามารถนำมาใช้หาไอเดียสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม ที่ตอบโจทย์ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ

 .......................................

 - สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร " Creative to Innovation การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่   

...........................


อ.ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
วิทยากร ที่ปรึกษา โค้ช ด้านการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994  

หรือส่งรายละเอียดเพื่อติดต่อกลับทาง แบบฟอร์มติดต่อกลับด้านล่างค่ะ

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 328,343