การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วย 5W1H Analytical thinking with 5W1H โดยศศิมา สุขสว่าง

การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นทักษะการหาคำตอบที่หลากหลาย แปลกใหม่ ในการแก้ไข ปัญหาในสถานการณ์ที่จำกัด สามารถเลือกวิธีการแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม มีเหตุมีผลสามารถอธิบาย กระบวนการแก้ปัญหาในแต่ละขั้นตอนได้ และสามารถอธิบายถึงผลกระทบจากการเลือกวิธีการแก้ไขปัญหา นั้นๆ ได้ ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์เป็นทักษะที่สามารถฝึกฝน และพัฒนาให้เกิดขึ้นได้



โดยแบ่งทักษะกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ใหม่เป็น 4 ขั้นตอนใหญ่  คือ


- Clarify วิเคราะห์ข้อมูลและสาเหตุของปัญหา

- Ideate การหาไอเดียใหม่ๆในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์

- Develop การนำไอเดียต่างมาประเมินและเลือกไอเดียที่แก้ไขปัญหาได้ดีที่สุดมาพัฒนาแก้ไขปัญหา

- Implement กำหนดแผนงาน และแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้ปฏิบัติได้จริง

 


การแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ใน ขั้นตอนแรก เราต้อง
วิเคราะห์ปัญหาหรือข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์ให้ชัดเจน (Analytical the problem/data) โดยใช้เครื่องมือ/วิธีการต่างๆ ในการวิเคราะห์ปัญหาหรือข้อมูลนี้มีขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอนคือ     

- ขั้นแรก เข้าใจปัญหาและตั้งเป้าหมาย  เป็นขั้นตอนการระบุและอธิบายความสำคัญของสถานการณ์ที่เป็นปัญหาในมุมมองของตนเองและผู้อื่น การสร้างความคิดที่เหมาะสมต่อปัญหา


โดยเข้าใจก่อนว่า
Gap หรือ ช่องว่างระหว่าง สถานการณ์ปัจจุบัน หรือสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนั้น  กับเป้าหมายที่เราต้องการเป็นอย่างไรและสิ่งที่ต้องการคืออะไร เข้าใจประเด็นปัญหา/เป้าหมายของการแก้ปัญหาอย่างแท้จริง (Problem Concept , Challenges , Goals, Opportunities)

 

-  ขั้นตอนที่สอง คือ การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา (Analytical the problem/data)ศึกษารายละเอียดของสถานการณ์หรือสาเหตุของปัญหาที่ต้องการวิเคราะห์ให้เข้าใจอย่างชัดเจน

 

 

- ขั้นที่ 3 คือการระบุปัญหา  ขั้นนี้เป็นการพิจารณาเปรียบเทียบเหตุทั้งหลาย ของปัญหาแล้วจัดลำดับความสำคัญเพื่อเลือกสาเหตุที่สำคัญที่สุดเป็นประเด็นสำหรับค้นหาวิธีแก้ไขต่อไป เป็นการตัดสินว่าสถานการณ์ที่ต้องแก้ไขนั้นปัญหาใดเป็น “ปัญหาที่แท้จริง” ที่มีผลกระทบสูง หากไม่รีบแก้ไข พร้อมกับวางเป้าหมายในการแก้ปัญหา

 

ในขั้นตอนของการ Clarify หรือวิเคราะห์ปัญหาที่แท้จริง ของการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์นี้ เราจะมุ่งความสนใจทั้งหมดไปที่สาเหตุและสถานการณ์ที่ทำให้เกิดปัญหาค่ะ

 

ในการวิเคราะห์ปัญหา หรือ Clarify ซึ่งต้อง เข้าใจปัญหาเป็นขั้นตอนการระบุและอธิบายความสำคัญของสถานการณ์ที่เป็นปัญหาในมุมมองของตนเองและผู้อื่น การสร้างความคิดที่เหมาะสมต่อปัญหา

 

เทคนิคที่ใช้ เพื่อเข้าใจปัญหาก่อนคือ  เทคนิคการตั้งคำถามที่ขึ้นต้นหรือลงท้ายด้วยใคร 5Ws,1H  นั่นก็คือ 

- Who ใคร

- What  อะไร

- When  เมื่อไร

- Where ที่ไหน

- Why ทำไม

- How อย่างไร

พร้อมระบุคำตอบเพื่อรวบรวมข้อมูลที่เป็นมูลเหตุของสถานการณ์ ที่กำหนดให้ ให้ได้มากที่สุด

 

 

 ตัวอย่างคำถามบางส่วน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ในด้านต่างๆเพื่อประมวลผลข้อมูลเบื้องต้นด้วย 5W1H

 

Who

  • ใครคือต้นเหตุของปัญหา?
  • ใครเป็นคนพูดหรือระบุปัญหานี้?
  • ใครได้รับผลกระทบจากปัญหานี้

What

  • อะไรจะเกิดขึ้นถ้าปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไข?
  • มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง?
  • ผลที่กระทบคืออะไร?

 

Where

  • ปัญหานี้เกิดขึ้นที่ไหน?
  • ปัญหานี้เกิดผลกระทบที่ไหน?

เป็นต้น

 

When

  • ปัญหานี้เกิดขึ้นเมื่อไร?
  • เมื่อไรที่ปัญหาเริ่มเกิดขึ้น?

เป็นต้น

 

Why

  • ทำไมปัญหานี้จึงเกิดขึ้น?
  • ทำไม?
  • ทำไม?

เป็นต้น

 

How

  • คนที่อยู่กับปัญหานี้รับมืออย่างไร?
  • มีกระบวนการหรือวิธีการแก้ไขอย่างไร?

เป็นต้น

 

เมื่อใช้คำถามเหล่านี้แล้ว คำตอบที่ออกมา ต้องพยายามหาข้อมูลมาตอบคำถามให้ชัดเจนด้วย เช่น

ปัญหานี้เกิดขึ้นนานแล้ว แบบนี้ไม่ชัดเจน ความชัดเจนเช่น ปัญหานี้เริ่มเกิดได้ 2 เดือนแล้ว โดยเริ่มต้นปัญหาเมื่อวันที่ ... 5 พฤษภาคม   

-  -ลูกค้าลดลงเยอะ  แบบนี้ไม่ชัดเจนนะคะ  เวลาวิเคราะห์ต้องทำให้ชัดเจน เช่น ลูกค้าในไตรมาสแรก ลดลงไป 10 % หรือ  มีลูกค้า complain มาจำนวน 10 รายในเดือน.... เป็นต้น

 

หากคำตอบที่ได้มา ชัดเจนและระบุได้จะสามารถนำไปวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา และแนวทางการแก้ไขได้ต่อไปค่ะ

 

 

อ.เก๋หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับผู้ที่สนใจเรื่องของการคิดวิเคราะห์ (Analytical thinking) และการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (Creative Problem Solving : CPS)  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานนะคะ

 ............................

สนใจ หลักสูตร การแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน (Creative Problem Solving for Performance working)   กดที่นี่

หลักสูตร Growth Mindset for Performance working การสร้างกรอบแนวคิดเชิงเติบโตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน กดที่นี่

หลักสูตร การคิดเชิงวิเคราะห์ Analytical thinking กดที่นี่ 

 

......................

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

เข้าใจความหมาย และองค์ประกอบของนวัตกรรม ด้วย VIN model for Innovation อ่านต่อที่นี่  หรือกดที่รูป VIN model ด้านล่างนี้ 

 

                                      

...........................

อ.ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
วิทยากร ที่ปรึกษา โค้ช ด้านการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994 

  

หรือส่งรายละเอียดเพื่อติดต่อกลับทาง แบบฟอร์มติดต่อกลับด้านล่างค่ะ 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 328,769