6 S เทคนิคการเรียนรู้ทักษะใหม่ Up Skill ในยุค New Normal โดยศศิมา สุขสว่าง

เก๋มาแบ่งปันแนวทางของตัวเองนะคะ เป็นเทคนิคการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ Re-skill ,Up skill  โดยใช้เวลา 20-60 ชั่วโมงให้เรียนรู้ ทำได้ และแบ่งปันได้ โดยแบ่งเป็นเรียนรู้วันละ 1-2ชั่วโมงอย่างสม่ำเสมอ  โดยต่อยอดจากความรู้เดิม  คือมีพื้นฐานบ้างสัก 10-20 % บ้างแล้วค่ะ  จะใช้เวลาไม่เยอะเกินไป  บางเรื่องเก๋อาจจะใช้เวลามากกว่า 20-60 ชั่วโมงนะคะ แต่ในส่วนของเก๋ เวลาเรียนรู้เรื่องอะไรใหม่ๆที่อยู่ในสาย Innovation อาจจะใช้เวลาประมาณนี้ เพราะเก๋ ทำงานด้านนวัตกรรมมาเกือบ 19 ปีแล้วค่ะ แล้วอยู่ใน field เดียวกัน ไม่ถึงกับแบบ จากสายวิศวะไปเรียนรู้การวาดรูปสายศิลปะ ซึ่งแบบนั้นอาจจะใช้เวลาเยอะมากกว่านี้มากๆค่ะ  

 

 

1. Skill ตั้งเป้าหมายหรือหัวข้อเรื่องที่ต้องการเรียนรู้   

ลองมาสำรวจตัวเองนะคะ ว่าในหน้าที่การงานที่เราดูแลอยู่นั้น มีทักษะอะไรที่เราควรพัฒนาอยู่บ้าง หรือต้อง Reskill หรือ Up skill ให้เติบโตไปในสายงาน  หรือ ไปกับองค์กร   หรือหากเราอยากเปลี่ยนสายงาน จะต้องเรียนรู้อะไรเพิ่มเติม  อีกอย่างหนึ่งที่สำคัญเลย ถ้าทักษะหรือความรู้ที่เรามีอยู่นั้นมันเป็นทักษะที่ไปต่อไม่ได้ ไม่เหมาะกับโลกปัจจุบันนั้น แม้จะรู้ลึกมาก อย่าไปเสียดาย Cut loss ตั้งหลักใหม่ แล้วค่อยๆเรียนรู้ พัฒนา เติบโตต่อไปนะคะ

 

2. Scene & Story   หาข้อมูล และภาพรวม ของเรื่องที่เรียนรู้ให้มากที่สุด
 เวลาที่เก๋จะเรียนรู้ทักษะใหม่ เราต้องหาภาพรวมและทักษะทั้งหมดนะคะว่า ต้องเรียนรู้อะไรบ้าง  มีหลักการอะไร  กระบวนการมีอะไร ทำอย่างไร ใช้ Why What How 

มีอะไรบ้าง ส่วนตัวเก๋ มีวิธีการดังนี้ค่ะ

 - เก๋จะหาข้อมูลทักษะใน Pinterest ก่อนค่ะ เพราะส่วนใหญ่จะมี info graphic หรือ visual thinking ที่สรุปให้เห็นภาพรวมของเรื่องที่เราต้องการรู้ ซึ่งภาพเหล่านั้นจะคล้ายๆกัน ทำให้เราเห็นภาพรวมของเรื่องที่เราต้องการรู้ชัดเจนขึ้น

- ดู Course outline ของหลักสูตรต่างๆทั้งในไทยและต่างประเทศ เพราะจะได้รู้หัวข้อคร่าวๆก่อนว่า ทักษะนี้หรือเรื่องนี้ จะต้องรู้อะไรบ้าง ส่วนใหญ่ที่ดูมา Course outline ของทักษะเชิง Technical ไม่ค่อยต่างกันมากเท่าไร  จะต่างกันที่ Profile และประสบการณ์ของคนสอน ที่จะมายกตัวอย่าง กรณีศึกษา แตกต่างกันไปค่ะ ส่วนทักษะเชิง Soft Skill จะค่อยข้างต่างกันพอสมควร ขึ้นอยู่กับการตีความ และความเชี่ยวชาญของผู้สอนค่ะ 

 

3.  Split แยกทักษะออกมาเป็นส่วนย่อยๆ
 แยกหัวข้อออกมาเป็นหัวข้อย่อยๆ แบ่งเป็น module ค่อยๆเรียนรู้  หัวข้อไม่เล็กเกินไปจนไม่ท้าทายในการเรียนรู้  แต่ไม่ใหญ่เกินไปจนท้อก่อนสำเร็จ 

 

ในการเรียนรู้เนี่ยค่ะ ถ้าเราทำทุกๆวัน เราจะ

 Small Success สำเร็จเล็กๆ 

 Often Success สำเร็จบ่อยๆ

 but don't Quit แต่อย่าล้มเลิก

 Big Success sooner สำเร็จสุดๆมาแน่นอนค่ะ 555

 

 

4. Search หาหนังสือ คอร์สเรียน พี่เลี้ยง

 

- Search หา E-book มาอ่านจาก google เช่น ถ้าอยากรู้เรื่อง Design Thinking  เวลาsearch หาข้อมูลใช้คีย์เวิร์ด Design thinking E-book pdf หรือ  Design thinking E-book PPT จะมี E-book ฟรีมากมายที่นักเขียนต่างๆ หรือผู้เชี่ยวชาญต่างๆ เขาปล่อยออกมาฟรี เพราะส่วนใหญ่ หลายๆคนอยากให้บริษัทต่างๆรู้ว่า บริษัทเขา หรือองค์กรของเขา ทำงานด้านนี้ การให้ E-book ฟรี เป็นการโฆษณาทางอ้อมค่ะ เลือกเอาที่ตรงจริต อ่านแล้วสบายใจค่ะ 

 

- หาหนังสือมาอ่านทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ  หรือซื้อ E-Book ที่ Amazon ในเรื่องที่เราสนใจ อันนี้เวลาซื้อให้หาข้อมูลนักเขียนที่ทำออกมาเป็นรูปเล่ม และมีชื่อเสียงในระดับหนึ่งนะคะ

 

- Youtube ก่อนจะไปเรียนแบบจริงจัง หาคลิปเกี่ยวกับเรื่องที่เราสนใจฟังให้เข้าใจแนวคิด ไอเดียทั้งไทยและต่างประเทศก่อน ก่อนค่ะ ยูทูปมีคลิปดีๆเยอะ ของฟรี มีคุณค่า มีจริง  เก๋ชอบหาฟังนะคะ หลายคนทำคลิปดี น่าสนใจ น่าดึงดูด แบ่งเป็นคลิปสั้นๆ ทั้งแบบคนสอนเอง เวลา search หาคลิป ให้เอาคีย์เวิร์ด จากข้อ 1  มา Search ดูคลิป

 

- ฟัง live ฟรี เดี๋ยวนี้คนเก่งๆมา live ฟรีเยอะมาก สุภาพมากก็ไม่มันส์ ด่ามากก็ฟังไม่ลง เลือกเอาที่ตรงจริตค่ะ  555 เศรษฐกิจแบบนี้ประหยัดได้ ประหยัดเถอะค่ะ คนเก่งๆอยากปล่อยของเยอะค่ะ ตอนเรียนก็ให้กำลังใจ ด้วยการซื้อดาวให้กำลังใจคน live ได้นะคะ เก๋มาเสียตังค์ให้ FB ก้อตอนฟัง live เนี่ยแหละค่ะ มีฟังประจำอยู่ 3-4 คน แล้วอยากให้กำลังใจ ซื้อดาว แล้วให้ดาว คน live จะได้ตังค์ค่ะ (แต่เวลาเก๋สอนผ่าน Virtual in house training สำหรับองค์กรต่างๆ จะสุภาพนะคะ เพราะส่วนใหญ่จะอัดคลิปมาให้คนเรียนเรียนซ้ำอีกครั้งค่ะ)

 

- หาคอร์สที่สอน ส่วนใหญ่เก๋จะหาคอร์สที่สอน 2-3 ที่ อันแรกคือ Coursera https://www.coursera.org/ คอร์สที่สอนจะเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยในUS ซึ่งเราจะได้หลักการ เชิงวิชาการ (academic) อันนี้เรียนฟรีค่ะ แต่ถ้าอยากได้ประกาศนียบัตรต้องเสียตังค์ คอร์สนึงประมาณ 1,500 บาท แต่ถ้าใครขยันๆเรียนก็เสียเป็นเดือนๆละ 75 $ หรือประมาณ 2,500 บาทค่ะ   ,หรือปี ถูกกว่า เรียนได้ไม่มี limit ถ้าไหวค่ะ

 

- อีกอันหนึ่งคือ Udemy https://www.udemy.com/คอร์สใน Udemy จะมีเทรนเนอร์อิสระ หรือ คนเก่งในองค์กรออกมาหาลำไพ่พิเศษด้วยการสอนพิเศษ ซึ่งสอนสนุกกว่า ไม่ค่อยเคร่งขรึม  เวลาเลือกให้เลือกคอร์สที่เห็นหน้าวิทยากร แล้วก็มีโปรไฟล์ทำงานในองค์กรอยู่หรือเคยทำอยู่ พวกนี้สอนสนุกกว่า Coursera ค่ะ เนื้อหาจับต้องได้ง่ายกว่า ฮากว่า ราคาไม่แพงมาก ที่เก๋เรียนจะอยู่ที่ 300-1,000 บาท  อันนี้เรียนเฉพาะคอร์สที่เป็นภาษาอังกฤษค่ะ แต่ต้องเลือกดีๆหน่อย กดดูคลิปตัวอย่างที่เขาสอนก่อนเพื่อพิจารณาค่ะ 

 

- Acumen Academy ที่ www.acumenacademy.org ซึ่งองค์กรที่สอนด้าน Innovation  แล้วมีคอร์สฟรีและเสียเงินด้วย ไปลงทะเบียนไว้ก่อนได้ เวปนี้เก๋ชอบนะคะ แต่เรียนไม่ค่อยจบ กิจกรรมเยอะมาก อันนี้เรียนเฉพาะคอร์สที่เป็นภาษาอังกฤษค่ะ

 

- ส่วนของไทย  https://www.skooldio.com/ จะไปแนวทางสาย Software , Technology ค่อนข้างเยอะ สอนดีค่ะ พูดรู้เรื่อง เข้าใจไม่ยาก คนสอนน่ารัก 555

 

- เวปในเยอรมัน ของมหาวิทยาลัยที่เก๋เรียน https://tu-dresden.de/ และมหาวิทยาลัยต่างๆ ในเยอรมันค่ะ ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาเยอรมัน  เคยถามอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยที่เก๋จบมาว่า ทำไมไม่เปิดคอร์สภาษาอังกฤษให้มากกว่านี้ รับรองคนเรียนเยอะมาก ที่เยอรมันค่าเรียนถูกมาก บางทีถูกว่าเมืองไทยอีก อาจารย์พูดหลายอย่าง แต่สรุปได้สั้นๆว่า “ถ้าคุณเก่งพอ เดี๋ยวก็มีคนพยายามมาฟัง หรือมาเรียนจากคุณเอง “ คือ อาจารย์เก่ง และมั่นใจ ถ้านักเรียนอยากได้ความรู้ก็ต้องพยายามบ้าง 555

 

- ส่วนเวปอื่นๆก็มี แต่จะเป็นสถาบันเฉพาะของเรื่องนั้นๆเลย เช่น SCRUM.org ส่วนเรื่อง SCRUM , Innovation & Design thinking ที่ IDEO   https://www.ideou.com/  เป็นต้น

 

- เข้าคลาสอบรมสัมมนา ถ้าอยู่ในองค์กร ก็ส่งเรื่องไปให้ HR ลองหาวิทยากรมาสอนในเรื่องนี้ หากมีคนสนใจเยอะ ส่วนใหญ่ HR จะพยายามหาคอร์สและอาจารย์มาสอนให้ในองค์กรค่ะ โดยส่วนตัวเก๋เอง 2 ปีหลังนี้เข้าคอร์สสัมมนาแบบคลาสรูมน้อยมากค่ะ ส่วนจะไปคุย ปรึกษา และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ พี่ๆ ที่เก่งด้านนั้นโดยตรง ตัวต่อตัวเลยค่ะ

 

- หาคนที่เก่งในแต่ละด้านของทักษะที่เราต้องการเรียนรู้มาเป็น พี่เลี้ยง หัวหน้า โค้ช ที่ปรึกษา เพราะประสบการณ์ และการนำไปใช้จริงไม่ได้จากหนังสือ คอร์สเรียนเพียงอย่างเดียว แต่จากคนเก่งๆที่เขายอมแบ่งปันทั้งผลลัพธ์ที่ดี และความผิดพลาดที่ต้องระวัง บางทีต้องฟังจากคนทำงานจริงๆค่ะ อยากเก่งอย่าอายที่จะถาม หรือขอความช่วยเหลือค่ะ



5. Self Practice ฝึกฝน เรียนรู้ นำมาใช้จริง

 ค่อยๆเอาทักษะที่เรียนมาลองใช้งานกับตัวเอง อาจจะไม่ต้องลองทั้งหมด แต่ซอยออกมาเป็นทักษะย่อยๆหรือเรื่องเล็กๆ มาลองปฏิบัติดู  เวลาปฏิบัติวิธีการนั้นไปสัก 4-5 ครั้ง  เราจะเริ่มรู้แล้วค่ะ ว่าที่ถูกต้องทำยังไง ที่ผิดพลาดต้องแก้ไขอย่างไร และต้องเรียนรู้อะไรเพิ่ม  ถ้าต้องสะท้อนตัวเองในทักษะนั้นให้ถามตัวเองว่า

 - อะไรคือสิ่งที่ทำได้ดี

- อะไรคือสิ่งที่ต้องแก้ไขพัฒนา

- อะไรที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติม


แล้วค่อยๆปรับปรุง พัฒนาอย่างต่อเนื่องค่ะ แล้วเดี๋ยวทักษะนั้นเราจะเก่งขึ้น เท่ากับที่เราฝึกฝนและทุ่มเทค่ะ

 


6. Share  แบ่งปัน ถ่ายทอดให้คนอื่นต่อๆไป

เมื่อเราเข้าใจ หรือ เริ่มเก่งในทักษะใหม่ๆที่เราได้เรียนรู้และ ฝึกฝนจนเป็น ขั้นสุดท้าย คือ เริ่มแบ่งปัน เล่าให้คนอื่นๆฟัง สอนลูก หรือลูกน้อง เล่าให้เพื่อนฟัง เล่าผ่าน FB  สอนคนที่รู้น้อยกว่าเรา ด้วยภาษาง่ายๆที่สามารถเข้าใจง่ายๆก่อนก็ได้ค่ะ  เมื่อใช้แล้วสอนได้ และเมื่อมีคนถาม แล้วเราตอบไม่ได้ เราจะรู้ว่า เราขาดตรงไหนไป ยังไม่รู้ตรงไหน แล้วมาหาความรู้เพิ่มเติม เราจะเริ่มเก่งขึ้นเรื่อยๆ 


แต่การสอนหรือแบ่งปันคนอื่นเนี่ย บางทีจะโดนเสียดสีบ้าง ว่า รู้แค่นี้ มาสอนคนอื่นแล้ว  ยังไม่สำเร็จเลย  ไม่เป็นไรนะคะ เปรียบเทียบให้ฟังนะคะ เหมือนกับเวลาที่เราเรียนมัธยม คนที่ติวหรือสอนเรารู้เรื่อง คือพี่ๆมหาวิทยาลัย เพราะวัยที่ไม่ห่างกันมาก และภาษาพูด ความเข้าใจพอๆกัน ถ้าให้ระดับดอกเตอร์ที่เก่งมาก แต่มาสอนเราที่อยู่มัธยม เราอาจจะไม่เข้าใจก็ได้ เพราะศัพท์แสง อาจจะคนละ level กัน และบางทีดอกเตอร์ก็อาจจะไม่เข้าใจว่า คนที่ไม่เก่ง เขาไม่เข้าใจอะไร หรือทำไมถึงไม่เข้าใจ  ง่ายของดอกเตอร์ อาจจะยากของเราก็ได้  ดังนั้น ถ้ารู้อะไร เข้าใจอะไร ก็สอนหรือแบ่งปันคนที่รู้น้อยกว่าเราค่ะ เพราะถ้าเรารอให้เป็น expert แล้วค่อยแบ่งปัน เราอาจจะเสียโอกาสในการช่วยเหลือคนอื่น เราค่อยๆแบ่งปันให้กับคนที่เขารู้น้อยกว่าเรา หรือเขาอาจจะขาดความรู้เป็นจิ๊กซอเล็กๆก็ได้ เราก็ไปแบ่งปัน และช่วยเหลือกัน แล้วเติบโตไปด้วยกันค่ะ

 

 

ทักษะใหม่แต่ละทักษะ ใช้เวลาประมาณ 20-60 ชั่วโมง หรือประมาณ วันละ 1-2 ชั่วโมง ทุกวันค่ะ   แบบนี้เราก็จะได้ทักษะใหม่มาใช้งานได้แล้วค่ะ แต่ถ้าให้เชี่ยวชาญ ก็ต้องฝึกเรื่อยๆ ข้อดี ของ 20 ชั่วโมงแรกคือ ถ้าเราเต็มที่และสม่ำเสมอแล้ว  มันจะฝังลงลึกไปในกล้ามเนื้อเรา และหลังจากนั้น ถ้าไม่ได้ใช้ เวลามารื้อฟื้นใหม่จะไม่ยากค่ะ


ส่วนตัวเก๋อ่ะค่ะ ปกติถ้าอยากรู้อะไรมากๆ ช่วง 2 อาทิตย์แรกนี่ เก๋ทุ่มทั้งวันทั้งคืนเลย ทั้ง 6 S เลยค่ะ บางทีนอนตี 1 ตี 2 ทั้งอ่าน ทั้งหาข้อมูล ทั้งเรียนออนไลน์ และฝึกฝน เพราะเก๋มันบ้าค่ะ อันนี้ไม่ต้องถึงขนาดเก๋ก็ได้นะคะ 555  

 


อ.เก๋หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะใหม่ๆ เพื่ออยู่ได้ในยุคนี้นะคะ ขอบคุณนะคะที่สละเวลามาอ่านกันค่ะ

 ................................


- สนใจหลักสูตร " Growth Mindset for Performance Working กรอบแนวคิดเชิงเติบโตเพื่อประสิทธิภาพการทำงาน" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่ 

(ต้องการ รายละเอียดหลักสูตรฉบับเต็ม พร้อม ใบเสนอราคา ขอความกรุณาอีเมล์มาที่ sasimasuk.com@gmail.com หรือ Line ID: sasimasuk.com อ.เก๋เช็คอีเมล์และ Line ทุกวันค่ะ)

...........................

 สนใจหลักสูตรการพัฒนานวัตกรรมในองค์กร หรือพัฒนาคนในองค์กรให้มี New Mindset เพื่อปรับเปลี่ยน และเติบโตรับโลกยุคที่เปลี่ยนแปลงเร็ว โปรดติดต่อ 

อ.ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
วิทยากร ที่ปรึกษา โค้ช ด้านการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994 

 หรือส่งรายละเอียดเพื่อติดต่อกลับทาง แบบฟอร์มด้านล่างนี้ค่ะ

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 328,293