The Monty Hall Problem กับการคิดเชิงกลยุทธ์ และการคิดวิเคราะห์ โดยศศิมา สุขสว่าง

เก๋ดูหนังเรื่อง 21 เกมเดิมพันอัจฉริยะ   เป็นเรื่องเกี่ยวกับ เบน แคมป์เบล เป็นนักศึกษา M.I.T. ขี้อายแต่ฉลาด  กำลังหาทุนเรียนแพทย์ แล้วได้ไปเข้ากลุ่มกับศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติของเขาโดยการเล่นไพ่ กับทีมกลุ่มนักศึกษาที่มีพรสวรรค์  แต่สิ่งที่เก๋ชอบ และคิดว่าเป็นแนวทางของการคิดเชิงกลยุทธ์และการคิดวิเคราะห์ (Strategic and analytical thinking) โดยใช้หลักการทางสถิติในการตัดสินใจมากกว่า การใช้อารมณ์และความรู้สึกเข้าไปตัดสินใจในกลยุทธ์ของการเลือกตัวเลือกที่ดีที่สุด 


 


มีตอนที่เก๋ชอบมากคือตอนที่อาจารย์ถามในชั้นเรียน แล้วมีเคสเรื่อง "เกมส์โชว์ประตูสามบาน" และมองว่า เป็นการคิดเชิงกลยุทธ์และการคิดวิเคราะห์ (Strategic and analytical thinking) โดยใช้ความน่าจะเป็นมาใช้ในการตัดสินใจ คือตอนที่อาจารย์ถามในชั้นเรียน เรื่อง "เกมส์โชว์ประตูสามบาน " นั่นคือ มีประตู 3 บาน no.1, 2 ,3 โดยมีเพียงประตูเดียวที่โชคดี 1 ประตูจะได้ 
 -  รถใหม่ป้ายแดง BMW i8  (ยี่ห้อรถสมมุติเอง อิอิ
-  ที่เหลือจะเป็นแพะ 1 ตัว/ประตู

คนที่รู้ว่าประตูไหนมีรถอยู่คืออาจารย์คนเดียว " คุณจะเลือกอะไร และมีวิธียังไง "


ในเรื่อง ครั้งแรก พระเอก "เลือกประตูบานที่ 1" ก่อน แล้ว ต่อมาอาจารย์เปิดประตู no.3  เป็นแกะ

 
จากนั้นอาจารย์ถามว่า
 
"ตอนนี้เหลือประตู no.1  ที่พระเอกเลือก กับประตู no.2 ให้โอกาสอีกครั้งว่าจะเอาประตู no. 1 เหมือนเดิม หรือเปลี่ยนเป็นประตู no.2 ถ้าเป็นคุณๆจะเลือกอะไร"
 
#คุณจะยืนยันประตูบาน no.1 เหมือนเดิมหรือเปลี่ยนเป็น no.2

 
การเลือกครั้งที่ 1 หลักการคิด คือ
 
ครั้งแรก ในการเลือก พระเอกเลือกโดยไม่รู้เลยว่าประตูบานไหนมีรถ BMW i8 ป้ายแดง ความน่าจะเป็นของแต่ละประตูที่มีรถใหม่ป้ายแดงคือ 100% /3=  33.33% หรือ 1/3 ดังนั้นในครั้งที่ 1 ที่พระเอกเลือก ความน่าจะเป็นที่จะได้รถใหม่ป้ายแดงคือ 33.33%
 
 
ต่อมา อาจารย์เปิดประตู no. 3 เป็นแพะ เหลือประตูบาน no.1 กับ no.2 เท่านั้น คนส่วนใหญ่ จะคิดว่า ตอนนี้ ความน่าจะเป็น คือ 50 % ต่อประตู 1 บาน ซึ่งถ้าคิดตามหลักความน่าจะเป็นแล้วคือ "ไม่ใช่ 50/50 "ค่ะ 5555
 
 
 
การเลือกครั้งที่ 2 หลักการคิด คือ
 
กรณีที่1.
ในกรณีที่ รถอยู่ประตู no.1 อาจารย์จะไม่เปิดประตู no.1 อยู่แล้วเพราะพระเอกเลือกประตู no.1  อาจารย์จะเปิด no.2 หรือ no.3 แทน
 
 
ดังนั้น  ถ้าพระเอกยังยืนยันประตูเดิม นั้นคือ ความน่าจะเป็นคือ 33.33% เหมือนเดิม (เพราะความน่าจะเป็นของการยืนยันการเลือกประตูในแต่ละประตูคือ 1/3 (33.33%) ต่อประตู )
 
 
กรณีที่ 2
ในกรณีที่รถอยู่ประตู No.2 อาจารย์จะต้องเปิด No.3 เพียงประตูเดียว เพราะเปิด No.2 ไม่ได้ เพราะมีรถ และเปิด No.1 ไม่ได้ เพราะเราเลือกอยู่
 
 
ดังนั้น ถ้าพระเอกเลือกที่จะเปลี่ยนใจมาเลือกใหม่เป็นประตูบานที่ 2 เขาจะได้ความน่าจะเป็นที่ได้รถ เป็น 33.33%+33.33%=66.66%
 
 
กรณีที่3
ในกรณีที่รถอยู่ประตู No.3 อาจารย์จะต้องเปิด No.2 เพียงประตูเดียว เพราะเปิด No.3 ไม่ได้ เพราะมีรถ และเปิด No.1 ไม่ได้ เพราะพระเอกเลือกอยู่
 
ดังนั้น ถ้าพระเอกเลือกที่จะเปลี่ยนใจมาเลือกใหม่เป็นประตูบานที่ 3 เขาจะได้ความน่าจะเป็นที่ได้รถ เป็น 33.33%+33.33%=66.66%
 
 
ดังนั้นทางเลือกมี 2 ทาง คือ
 
1. ถ้ายืนยันเลือกตาม #กรณีที่1 ประตู No.1 เหมือนเดิม
พระเอกมีโอกาส 1/3 เท่านั้น ที่จะได้รถใหม่ป้ายแดง
 
 
2. ถ้าเปลี่ยนตัวเลือกเป็นตาม #กรณีที่2 หรือ #กรณีที่3 เปลี่ยนจากประตู no. 1 ไปเป็น ประตู no.2 หรือ no.3
- ถ้าเปลี่ยนประตูคุณจะชนะ 2/3 = 1/3 + 1/3  ของความน่าจะเป็น (เพราะความน่าจะเป็นของการยืนยันการเลือกประตูในแต่ละประตูคือ 1/3 (33.33%) ต่อประตูตั้งแต่ตอนแรกแล้ว )
 
 
ซึ่งการตัดสินใจเปลี่ยนตามวิธีคิดของ #กรณีที่2 และ #กรณีที่3 จะได้ ความน่าจะเป็นของกรณีที่ 2 กับ 3 เท่ากับ 33.33%+33.33% = 66.66% นั่นให้ค่าความน่าจะเป็นมากกว่าของโอกาสที่รถจะอยู่หลังประตู มากกว่า ใน #กรณีที่ 1
 
 
และตามสถิติ เราควรตัดสินใจเปลี่ยนจากประตูที่ 1 ไปเป็น ประตูอื่น เมื่อได้โอกาสครั้งที่ 2 เพราะค่าของความน่าจะเป็นมันมากกว่า
- นั้นคือคุณมีโอกาส 2/3 ที่จะได้รถป้ายแดง ถ้าเปลี่ยนเป็นประตู no.2 หรือ no.3 ถ้ามีโอกาส
 
 
แต่คนส่วนใหญ่จะเลือกตาม 1 ยืนยันความคิดเดิมที่เลือกตั้งแต่ครั้งแรก ตามอารมณ์และความรู้สึก และให้เหตุผลว่า ความน่าจะเป็นตอนแรกคือ 33.33% ต่อมาตัดตัวเลือกไป 1 ข้อแล้ว ความน่าจะเป็นคือ 50% ต่อประตู แต่ส่วนใหญ่จะเป็นไปตามอารมณ์ & ความรู้สึกมากกว่าค่ะ เห็นได้จากเกมโชว์สมัยก่อน ที่มีให้เลือก และให้เปลี่ยนได้ และคนส่วนใหญ่ไม่เปลี่ยน 555
 
 
เก๋เอามาเล่าให้ฟังสนุกๆค่ะ เผื่อเป็นประโยชน์สำหรับคนที่กำลังคิดเชิงกลยุทธ์ โดยใช้ความน่าจะเป็นค่ะ

..........................

- สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร " Analytical Thinking ทักษะการคิดวิเคราะห์ " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร " Critical thinking  ทักษะการคิดวิพากษ์ " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร " Creative thinking  to Innovation ทักษะการคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่   

 ..........................

 สนใจหลักสูตรการพัฒนานวัตกรรมในองค์กร หรือพัฒนาคนในองค์กรให้มี New Mindset เพื่อปรับเปลี่ยน และเติบโตรับโลกยุคที่เปลี่ยนแปลงเร็ว โปรดติดต่อ 

อ.ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
วิทยากร ที่ปรึกษา โค้ช ด้านการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994 

 หรือส่งรายละเอียดเพื่อติดต่อกลับทาง แบบฟอร์มด้านล่างนี้ค่ะ 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 329,052