(รีวิว) หนังสือสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้วยนิสัยแค่ 1 % The Power of Habit โดยศศิมา สุขสว่าง

หนังสือเรื่อง สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้วยนิสัยแค่ 1 % The Power of Habit  เล่มนี้เก๋อ่านๆหยุดๆมาหลายรอบ แต่มาช่วงสัปดาห์นี้ที่ตั้งใจอ่านมากเป็นพิเศษ มีข้อคิดหลายประเด็นที่ชอบ เก๋ สรุปภาพรวมที่เก๋ชอบๆ ออกมาเป็นข้อๆนะคะ ไม่ได้ร้อยเรียงกัน เป็นเรื่องยาว (จะอ่านหรือจะกด Youtube ฟังก็ได้นะคะ ในยูทูปก็จะมีส่วนขยายในตัวอย่างเพิ่มขึ้นค่ะ)
 

 
 
#1.องค์ประกอบของนิสัย นิสัยก่อตัวขึ้นมาได้ โดยมีส่วนประกอบ 3 อย่างคือ สิ่งกระตุ้น กิจวัตรหรือพฤติกรรม และรางวัล 
- สิ่งกระตุ้นทำหน้าที่บอกสมองให้ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติและเลือกว่าจะใช้นิสัยอะไร
- กิจวัตรหรือพฤติกรรม ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งทางร่างกาย ความคิดและอารมณ์ 
- รางวัล ช่วยให้สมองประเมินได้ว่าวงจรนั้นควรค่าแก่การจดจำหรือไม่
.
#2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้หลักจิตวิทยามนุษย์ ตั้งอยู่บนกฎพื้นฐานข้อคือ หนึ่งมองหาสิ่งกระตุ้นที่เรียบง่ายและชัดเจน สอง กำหนดรางวัลให้ชัดเจน ตัวอย่าง
- สเปรย์ฟีบริส ของ P&G เป็นน้ำยาช่วยกำจัดกลิ่น สิ่งกระตุ้นคือกลิ่น รางวัลคือเสื้อผ้าที่ปราศจากกลิ่น แต่ยอดขายก็ยังต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ตอนหลังเขาต้องไปหาลูกค้าที่ “คนแบบไหนล่ะที่จะซื้อและชอบ” พบว่า คนที่ชอบใช้ คือคนที่ทำความสะอาดเสร็จแล้วฉีดสเปรย์ฟีบริส เป็นรางวัลให้หอม ทีมงานจึงเปลี่ยนโฆษณาจากการฉีดฟีบรีสในขั้นตอนแรกเพื่อช่วยกำจัดกลิ่น เป็น การใช้ในขั้นตอนสุดท้าย เพื่อให้รางวัล  เปลี่ยนสโลแกนจาก “กำจัดกลิ่นเหม็นจากผ้า” เป็น “เติมกลิ่นสะอาดๆให้ชีวิต” แล้วยอดขายเพิ่มเป็นพันล้าน
- ยาสีฟัน ใช้ส่วนผสมของสารเคมีที่ทำให้เหงือกรู้สึกซ่าน  ระคายเคืองเล็กน้อยแก่ลิ้นและเหงือก หรือมีฟองออกมา หากไม่ได้สัมผัสนี้ ก็จะรู้สึกปากไม่สะอาด ทั้งที่ปฏิกิริยานี้ไม่เกี่ยวกับความสะอาดของปากและฟันเลย
- ผงซักฟอก ครีมอาบน้ำต้องมีฟอง เพื่อให้คนอาบน้ำรู้สึกว่าสะอาดทั้งที่ไม่จำเป็นต้องมีฟองก็ได้
.
#3.ถ้าต้องการเปลี่ยนแปลงนิสัย ถ้าเข้าใจว่าต้นกำเนิดของนิสัยที่ต้องการเปลี่ยน และรู้ว่าอะไรคือสิ่งกระตุ้น และรางวัล แล้วค่อยๆเปลี่ยนทีละนิด หรือ 1% สิ่งกระตุ้นมี 5. หมวดใหญ่ คือ สถานที่ เวลา อารมณ์ความรู้สึก บุคคลอื่น และการกระทำก่อนหน้านั้น  
.
#4.เวลาที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย คือเวลาที่มีวิกฤติ หรือการเปลี่ยนแปลงใหญ่ของคน ได้แก่ ‘’การย้ายบ้าน การแต่งงาน การหย่าร้าง การตกงาน การเปลี่ยนงาน การมีคนในครอบครัวย้ายเข้าหรือย้ายออก’’ และที่สำคัญคือ ‘’ การมีลูก’’  คนที่มีลูกจะยืดหยุ่นและเปลี่ยนแปลงนิสัยได้มากกว่าช่วงเวลาอื่นๆในวัยผู้ใหญ่ (สำหรับเก๋จริง อิอิ) 
.
 -การเปลี่ยนเเปลงมีทั้งเชิงบวกและเชิงลบต้องวางรากฐานดีๆนะคะ วิกฤติบางทีทำให้กราฟชีวิตพุ่งได้ หรือบางทีก็ดำดิ่งเหวไปเลย เพราะฉะนั้น รางวัลสำคัญจะทำให้ยังมีพลังใจในการเปลี่ยนแปลง รางวัลอาจจะเป็นเล็กๆน้อยๆ เช่น คำชม เค้กชิ้นนึง การฉีดสเปรย์กลิ่นหอมๆหลังทำความสะอาดมาครึ่งชม. เงินเล็กๆหน้อยๆ  วันหยุด เป็นต้นค่ะ
.
- ตย.ที่เก๋เคยฟัง Money Coach เวลาที่เราเกิดวิกฤติการเงินต้องใช้หนี้เยอะๆ  #สิ่งกระตุ้นคือ คนทวงหนี้ ตัวแดงในบัญชี.  #ส่วนพฤติกรรม ที่เปลี่ยนแปลง คือ ขยันขึ้น ประหยัดขึ้นเพื่อให้หาเงินได้มากขึ้น แต่ให้มีอีกบัญชีหนึ่งเป็นบัญชีออมเงินสร้างกำลังใจ #เป็นรางวัลให้กับตัวเอง 
.
#5. การเปลี่ยนแปลงสำหรับองค์กร ช่วงที่เกิดวิกฤติจะสามารถเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร ความเชื่อและพฤติกรรมของคนในองค์กรได้ง่ายกว่าเวลาปกติ ถ้า ผบห. HR จะเปลี่ยนพฤติกรรมหรือวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้ปรับเปลี่ยนช่วงนี้จะทำได้ง่าย เพราะทุกคนพร้อมที่จะช่วยองค์กร และรู้สึกว่าถึงเวลาที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ถ้าไม่เปลี่ยนก็ไม่รอด แล้วทุกคนจะพร้อมใจกันเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและกิจวัตรที่ทำอยู่ทุกวัน แต่การกำหนดพฤติกรรมที่แสดงออกมาต้องชัดเจน และเป็นกระบวนการที่จับต้องได้ง่าย แบบ 1…2…3…ซึ่งจะส่งผลถึงตัวเอง  #ตอนนี้มีวิกฤติโควิดน่าลองนะคะ  มีตัวอย่างในหนังสือเยอะอยู่ค่ะ
.
#6.งานวิจัยจำนวนมากพบว่า เด็กๆในครอบครัวที่กินอาหารเย็นพร้อมหน้าพร้อมกันจะเรียนได้เกรดดีกว่า ควบคุมอารมณ์ได้ดีกว่า และมีความมั่นอกมั่นใจมากกว่า ส่วนการจัดเตียงหลังตื่นนอนจะสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงาน ชีวิตที่มีความสุข และการรู้จักใช้งาน  ซึ่งกิจกรรมเล็กๆน้อยๆเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดนิสัยดีๆฝังรากลึกมากขึ้น #ที่บ้านเก๋จะกินอาหารเย็นพร้อมกันเกือบทุกวันค่ะ อาจจะต้องลดลง เพราะรู้สึกว่าคิมมี่จะมีความมั่นใจมากเกินไป 555
 .
#7.ชัยชนะเล็ก (Small wins) จะช่วยให้นิสัยอื่นๆปรากฏขึ้น เเละเกิดการเปลี่ยนเเปลงได้
.
#8.การเขียนบันทึกและวางแผนล่วงหน้าว่าจะทำอะไร ผลลัพธ์ที่จะได้ และการไม่ทำจะเกิดผลลัพธ์อะไร จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงนิสัยได้มากกว่า  และพอเราเขียนมากกว่า เราจะเริ่มเห็นรูปแบบนิสัย (Pattern) นิสัยแล้วก็จะเริ่มรู้สึกอยากเปลี่ยนแปลงเป็นคนที่ดีขึ้น
.
#9.Will Power  หรือพลังใจมีผลต่อการเปลี่ยนนิสัย ยกตัวอย่างเช่น 
- ถ้าวันไหนทำงานหนัก เครียด หรือต้องตัดสินใจหนัก ตอนเย็นพลังใจในการจะไปออกกำลังกายจะน้อยลง และมีข้ออ้างในการกินอาหาร อันนี้เก๋เป็นบ่อย ตั้งใจจะออกไปวิ่ง แต่กลับมาถึงบ้านจากที่สัมมนาทั้งวันก้อจะบอกว่าเหนื่อยแล้ว ไปวิ่งไม่ไหว จบด้วยกินแล้วนั่งไถ FB บนโซฟา
- ในหนังสือบอกว่า คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต มักจะนอกใจคู่สมรส ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นตอนดึก หลังจากสูญเสียพลังใจไปกับการทำงานทั้งวัน ขาดพลังใจในการยับยั้งชั่งใจ #คหสต. ภรรยาควรโทรไปบอกสามีตอนเย็นๆว่าเตรียมอาหารรอแล้ว หรือคำพูดตอนดีๆอ้อนๆ สร้าง Will Power ให้สามีมีพลังใจนะคะ อย่าบ่นตอนเย็นๆ หรือไล่ต้อนสามีว่าทำไมไม่กลับ ทั้งที่อาจจะติดงานด่วนเวลาตอนเย็น อันนี้เก๋มักจะให้ลูกสาวโทรไปหาพ่อเขาตอนหกโมงเย็นใช้ลูกอ้อนพ่อแทนค่ะ อิอิ 
 .
#10 อันนี้ดีสำหรับงานบริการ เขาบอกว่าคนที่ทำงานบริการส่วนใหญ่ลาออกเพราะไม่รู้ว่าจะรับมือวิกฤติที่มีกับลูกค้าเเย่ๆได้อย่างไร และไม่รู้ว่าจะรับมือกับอารมณ์ดิ่งๆของตัวเองอย่างไร ที่สตาร์บัคจะมีคู่มือ ที่ต้องให้จินตนาการแล้วเขียนวิธีการที่จะรับมือลงไป ซึ่งคู่มือของพนักงานจะว่างหน้าหนึ่ง บนหัวกระดาษจะเขียนไว้ว่า “ถ้าลูกค้าโมโห ฉันวางแผนไว้ว่าจะ......”
- กลยุทธ์หนึ่งที่สตาร์บัคใช้ คือ กลยุทธ์ลาเต้ LATTE ประกอบด้วย 1)รับฟัง (Listen)ความต้องการของลูกค้า 2) ทำความเข้าใจ (Acknoledge) คำร้องเรียนหรือปัญหาของลูกค้า 3) จัดการ (Take action) แก้ไขปัญหา 4) ขอบคุณ (Thank) ลูกค้า และ 5) อธิบาย (Explain) สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น
- ระบบวิจาร์ณผลงานที่เรียกว่า อะไร อะไร ทำไม (What What Why) 
- ระบบเชื่อมโยง ค้นพบ และตอบสนอง (Connect, Discover and Response)
 .
มีหลายประเด็นดีๆเลยค่ะ อันนี้สรุปมาเท่าที่เก๋ชอบค่ะ และเรียบเรียงมาได้. และคิดว่านำมาใช้ได้กับทั้งตัวเอง การใช้ชีวิต และรวมถึงในการ Empathy ลูกค้าด้วย  คือถ้าใครอยากจะเข้าใจ หรือ Empathy ลูกค้า เก๋แนะนำเล่มนี้เลยค่ะ เวลาอ่านหนังสือแปลจะงงๆหน่อย เพราะตัวอย่างเยอะ และบางทีก็ข้ามไปข้ามมา หรือยกตัวอย่างหลายอย่างในเรื่องเดียว ทำให้จับใจความสำคัญค่อนข้างยาก ต้องมาสรุปเองค่ะ เเต่อ่านแล้วดีเลยค่ะ
 
หวังว่าจะมีประโยชน์กับท่านที่หลงมาอ่านในบทความนี้นะคะ อิอิ 
 
 

...................................... 

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี  ทำงานด้าน  Research & Development Engineer  และนักวิจัยมาโดยตลอด จนได้มาเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ของ THTI กว่า 18  ปี และได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน 

...........................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ sasimasuk.com

Visitors: 328,189