Critical Thinking Skill ทักษะการคิดวิพากษ์ โดย ศศิมา สุขสว่าง

 

 บทความนี้ อ.เก๋มาแบ่งปันเรื่อง การคิดวิพากษ์ (Critical thinking) ซึ่งเป็นทักษะการคิดหนึ่งใน 4 C คือ  Communication, Collaboration, Creativity และ Critical Thinking ที่จำเป็นสำหรับคนทำงานในยุคนี้ค่ะ  เราจะเห็นว่า ในยุคที่ข่าวสารมากมาย มิจฉาชีพมากมาย การลงทุนที่หลอกลวง เช่น Forex ที่มีผลตอบแทนดีเกินจริง  ข่าวปลอมมากมาย  ทักษะการคิดวิพากษ์จึงเป็นทักษะที่จำเป็นที่ทุกคนต้องมี เพื่อใช้ในการพิจารณาข้อมูลรอบด้าน ให้เหตุผล แล้วค่อยตัดสินใจในการลงมือทำ หรือเชื่ออะไรสักอย่างหนึ่งค่ะ

(สนใจหลักสูตร การคิดวิพากษ์ (Critical thinking) กดดูรายละเอียด  ที่นี่ ค่ะ )

 

 

 

ความหมายของการคิดวิพากษ์ (Critical thinking)  

การคิดวิพากษ์ (Critical thinking) หมายถึง กระบวนการคิดวิพากษ์โดยใช้วิจารณญาณหรือการตัดสินอย่างมีเหตุผลรอบด้าน  โดยใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ประเด็น รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลต่างๆรอบด้าน การสำรวจองค์ประกอบอื่น ๆ ที่อาจมีอิทธิพลต่อข้อสรุป เพื่อตรวจสอบพิจารณา ตัดสินและประเมินความถูกต้อง หรือสิ่งที่เป็นประเด็นในขณะนั้นๆ ให้แม่นยำ

 

 

ดังนั้น การที่เราจะมีทักษะการคิดวิพากษ์ได้นั้น เราจะต้องให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ การตั้งคำถาม กับประเด็นที่เรากำลังสนใจ รวมทั้งคิดพิจารณา แยกแยะข้อมูลว่าเป็นข้อเท็จจริง (Fact) หรือ ความคิดเห็น (Opinion)  ตรวจสอบหลักฐานที่ได้รับ การไต่ตรองด้วยเหตุและผล  ซึ่งการวิเคราะห์อารมณ์หรือความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคิดวิพากษ์เช่นกัน

 

สิ่งที่เราจะตั้งคำถามหรือวิพากษ์นั้นจะต้องมีลักษณะ

  • เป็นข้อสมมุติที่ยอมรับกันทั่วไป แต่เรามีข้อสงสัย ไม่ปักใจเชื่อและยอมรับ  เช่น การส่งลูกให้เรียนในระบบโรงเรียนจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า Home school, การทำงานในออฟฟิศหรือเจอหน้ากันดีกว่าการทำงานแบบ Work from Home  เป็นต้น
  • เป็นการอ้างเหตุผที่ต้องตรวจสอบความถูกต้อง  เช่น เครื่องจักรทำงานไม่มีประสิทธิภาพเพราะการบำรุงรักษาที่ไม่ดี, การลงทุนในกองทุน หรือการเงินต่างๆที่มีผลตอบแทนสูงเกินจริง จะมีความเสี่ยงสูงและเป็นไปไม่ได้, เพราะสถานการณ์โควิดทำให้ยอดขายบริษัทลดลง เป็นต้น
  • เป็นคำกล่าวอ้างที่ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง  ที่มาจากความเชื่อ ค่านิยม ความคิดเห็น หรือประสบการณ์ ผลสำรวจ งานวิจัย นโยบายต่างๆ
  • เป็นปัญหาที่ต้องหาเหตุผลในหลายด้านมาพิจารณาก่อนการหาแนวทางการแก้ไขและตัดสินใจ เช่น ปัญหาเชิงซ้อน ซับซ้อน หรือปัญหาที่คลุมเครือ ไม่ชัดเจน (Complicate, Complex and Chao Problem)

เป็นต้น

 

 

 คำถามสไตล์โสคราติส Socratic question 

เทคนิคการตั้งคำถามหนึ่งที่สำคัญคือ เทคนิคการตั้งคำถามสไตล์โสคราติส Socratic question ซึ่งเป็นการตั้งคำถามในรูปแบบต่างๆ ซึ่งทำให้เราเห็นประเด็นและมุมมองรอบด้าน  ซึ่งคำถามสไตล์โสคราติส Socratic question มีรายละเอียด ดังนี้

  • Clarification  เป็นการถามเพื่อขอความกระจ่าง เช่น คุณสามารถอธิบายได้ไหมว่า เพราะอะไร....?  (หาคำอธิบาย)  ที่กล่าวว่า  "วิธีที่ดี" หมายความว่าอย่างไร หรือดีอย่างไร?
 
  • Probe assumption เป็นคำถามเพื่อให้คิดเกี่ยวกับข้อสันนิษฐานและความเชื่อต่างๆ จึงเป็นคำถามที่ต้องการหาข้อเท็จจริง นอกจาก.... ยังมีข้อสันนิษฐานอะไรเพิ่มเติม? คุณจะพิสูจน์หรือตรวจสอบความเชื่อ/ข้อสันนิษฐานนี้ได้อย่างไร
 
  • Reason การถามขอเหตุผล  หากการแสดงความคิดเห็นยังขาดเหตุผลหรือมีข้อสนับสนุนที่ยังไม่เพียงพอ  เราจะรู้ได้อย่างไรว่า... ? ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นี้?  (หาที่มาของความเชื่อ ความคิด)
 
  • Alternative Viewpoint & Perspectives การถามเพื่อให้เห็นมุมมองและแนวคิดอื่นๆ  เช่น เเนวคิดที่กล่าวมา แตกต่างกับแนวคิดอื่นๆอย่างไร ?
 
  • Implication & Consequence การถามเพื่อการนำไปใช้และคาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้น อะไรจะเกิดขี้น? อะไรเป็นผลที่เกิดขึ้นจาก...? (ผลที่ตามมา) จะทดสอบว่า .... เป็นเรื่องจริงหรือความจริงได้อย่างไร ? (ทดสอบความจริง)
 
  • คำถามเชิงลึกย้อนกลับมาที่คำถาม  เช่น รู้ไหมว่าทำไมถามแบบนี้ เช่น สิ่งที่ถาม/คำถามนั้น/สิ่งที่กล่าวถึง  นั้นช่วยเราได้อย่างไร ?(การเชื่อมโยง)   เราตอบคำถามได้ดีหรือยัง? (หาข้อสรุป)  คุณมีคำถามเกี่ยวกับ ....หรือไม่? ประเด็นของการตั้งคำถามนี้คืออะไร? 

 

 

ในการคิดวิพากษ์นั้น กระบวนการให้เหตุผล (Reasoning) เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ  เพราะเป็นการบอกเหตุและผล หรือการเชื่อมโยง สรุปเหตุและผลที่นำไปสู่การตัดสินใจได้เป็นอย่างดี

 ประเภทของการให้เหตุผล (Reasoning) ในการคิดวิพากษ์ มี 2 รูปแบบคือ

  • การให้เหตุผลแบบอุปนัย (inductive Reasoning)

วิธีการสรุปผลในการค้นหาความจริงจากการสังเกตหรือการทดลองหลายๆครั้งจากกรณีย่อยๆแล้วนำมาเป็นความรู้ทั่วไป หรือเป็นการให้เหตุผลโดยยึดหลักความจริงจากส่วนย่อยที่พบเห็นไปสู่ความจริงที่เป็นส่วนรวม

  • การให้เหตุผลแบบนิรนัย (deductive Reasoning)

การให้เหตุผลแบบนิรนัย เป็นการนำความรู้พื้นฐาน ซึ่งอาจจะเป็นความเชื่อ ข้อตกลง กฏหรือบทนิยาม ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้มาก่อน และยอมรับว่าเป็นจริง เพื่อหาเหตุผลนำไปสู่ข้อสรุป โดยไม่ต้องอาศัยการสังเกตหรือการทดลองใดๆ

 

นอกจากนี้ ในการคิดวิพากษ์ยังมีการวิเคราะห์ในมุมมองหลายๆด้านซึ่งอาจจะทำให้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน เมื่อมองต่างมุมกัน แต่การโต้แย้งนั้น ไม่ใช่การใช้อารมณ์มาโต้แย้ง แต่เป็นนำเหตุผล ข้อมูล ความคิดเห็น การสังเกตมาเพื่อให้การวิเคราะห์ที่มีความเห็นต่างนั้นมีความน่าเชื่อถือ และเหตุผลรองรับค่ะ ความสามารถในการวิเคราะห์เชิงโต้แย้ง (Argument analysis) นั้นมีลักษณะ ดังนี้

 -        สามารถหาข้อสรุปอย่างเป็นเหตุเป็นผลจากข้อมูลที่มี

-        แยกแยะข้อมูลออกเป็น “ ความคิดเห็น (Opinion)” และ “ข้อเท็จจริง (Facts) ” ได้

-        ใช้การคิดเชิงวิพากษ์ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลเพื่อการตัดสินใจได้

-        พิจารณาหาข้อสรุปว่ามีหลักฐานหรือเหตุผลรองรับหรือไม่

 

สิ่งที่สำคัญในการวิเคราะห์เชิงโต้แย้ง (Argument analysis) นั้นคือ เราต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์เชิงโต้แย้ง (มีเหตุผลรับรอง) กับการถกเถียง (ใช้ความอารมณ์และคิดเห็นส่วนตัวเป็นหลัก) ได้ค่ะ

 

ส่วนขั้นตอนหรือกระบวนการคิดวิพากษ์นั้น เก๋ชอบกระบวนการคิดวิพากษ์ตามโมเดลของ  Bloom's taxonomy Model ซึ่งจะมีทั้งหมด 6 ขั้นตอนดังนี้ คือ

 ขั้นที่ 1. Knowledge/Remembering ความรู้/การจำ – การระบุโจทย์, ความจำความรู้, list รายการที่เป็นข้อเท็จจริงและแนวคิด

ขั้นที่ 2. Comprehension/Understanding รู้ลึกซึ้ง/ความเข้าใจ – การอธิบาย, รายงานเลือกประเด็น, แยกแยะ, ตั้งสมุติฐาน,สร้างความเข้าใจ

ขั้นที่  3. Application/Transferring การประยุกต์/การถ่ายทอด – แนวทางการแก้ไข, การปฏิบัติ, การใช้, การดำเนินการ, ร่างแบบ

ขั้นที่ 4. Analysis/Relating การวิเคราะห์/การเชื่อมโยง – วิเคราะห์แนวทาง, เปรียบเทียบ,ทดสอบ,หาความต่าง-เหมือน-ความขัดแย้ง

ขั้นที่ 5. Evaluation/Judging การประเมิน/การตัดสิน – การให้น้ำหนัก, โต้เถียง, ตัดสิน, คัดเลือก,ประเมิน ไอเดีย

ขั้นที่  6. Synthesis/Creating การสังเคราะห์/ความสร้างสรรค์ – นำไปออกแบบ,พัฒนาให้เกิด,สร้าง,พัฒนาออกมา

 

 

ข้อดีของการมีทักษะการคิดวิพากษ์ต่อการทำงาน ได้แก่

  • เป็นนักแก้ไขปัญหาที่ดี
  • มีการวิเคราะห์และประเมินผลก่อนจะสรุปและตัดสินใจ
  • มีการสื่อสารที่มีตรรกยะ
  • เป็นนักตัดสินใจที่ดี (บนพื้นฐานของข้อมูล ไม่ใช้ความรู้สึก)
  • เป็นคนมีเหตุผล เป็นผู้นำที่มีหลักการในการคิด

 ในชีวิตการทำงาน หลายครั้งที่เราต้องวิพากษ์ และให้เหตุผลกับปัญหา เหตุการณ์ต่างๆ หรือประเด็นที่ต้องมีการตัดสินใจ หรือโต้แย้งกับคนที่ทำงานร่วมกัน เพื่อให้ได้ Solution ให้ดีที่สุดภายใต้เหตุผลที่มี ณ ขณะนั้น  ดังนั้น การคิดวิพากษ์จึงเป็นอีกทักษะหนึ่งที่จำเป็นมากๆสำหรับการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวันที่มีข้อมูลมหาศาล และเรื่องต่างๆที่ต้องตัดสินใจมากมายค่ะ

 ฟังคลิปเพิ่มเติมได้โดยกดที่ รูปด้านล่างนี้นะคะ หรือ กด ที่นี่ เพื่อดูคลิปค่ะ 

 เก๋หวังว่า บทความนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจวิธีการ กระบวนการของทักษะการคิดวิพากษ์ Critical thinking เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาตัวเอง ทีมงาน และประสิทธิภาพการทำงานให้กับองค์กรได้นะคะ

 

โดยส่วนตัวเก๋เอง ได้ไปแบ่งปันหลักสูตร ทักษะการคิดวิพากษ์ Critical Thinking ให้กับหลายองค์กรแล้วเช่นกันใน In house Training ซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้เเบบผู้ใหญ่ Workshop กรณีศึกษา เหตุการณ์มาให้วิเคราะห์และให้เหตุผล และอีกมากมายค่ะ 

หากท่านสนใจหลักสูตรทักษะการคิดวิพากษ์ Critical Thinking ติดต่อ อ.ศศิมา สุขสว่าง ได้โดยตรงเลยนะคะ ตาม Contact ด้านล่างนี้เพื่อรับรายละเอียดหลักสูตรฉบับเต็มค่ะ

 

Source :

- E-Book : 50 Activities for Developing Critical Thinking Skills โดย Dr. Marlene Caroselli

- E-Book : CRITICAL THINKING SKILLS SUCCESS IN 20 MINUTES A DAY โดย Lauren Starkey

- E-Book : Critical Thinking An exploration of theory and practice โดย Jennifer Moon 

- หนังสือ การคิดเชิงวิพากษ์ โดยอ.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

- Bloom's taxonomy Model : https://www.criticalthinking.org/

.........................

- สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร " Analytical Thinking ทักษะการคิดวิเคราะห์ " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร " Critical thinking  ทักษะการคิดวิพากษ์ " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร " Creative thinking  to Innovation ทักษะการคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่   

 .......................

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ตลอดจนการสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา)  ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 328,214