Wishing เทคนิคการคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม โดย อ.ศศิมา สุขสว่าง-เก๋


Wishing เทคนิคการคิดแบบคำอธิษฐาน หรือความปรารถนา นั้นจะช่วยกระตุ้นจิตสำนึกและจินตนาการเชิงสร้างสรรค์ โดยมีการสมมุติฐานว่าทุกอย่างสามารถเป็นไปได้ เพื่อสร้างแนวคิดใหม่ที่ไม่ติดกรอบ และอาจจะล้ำสมัย ไปตามจินตนาการ หรือความฝัน เทคนิคนี้เกี่ยวข้องกับการคิดถึงสิ่งที่เราต้องการมากที่สุด จะดีจริง ๆ หรือน่าสนใจ ในกรณีนี้ ให้คิดให้เหนือเหตุผล เกินจริง เกินกว่าที่ปฏิบัติได้จริงและเป็นไปได้ การฝันถึงสถานการณ์หรือวิธีแก้ปัญหาในอุดมคติ หรือบางทีก็เรียกแบบไทยๆว่า แบบเวอร์ๆ จะช่วยให้เราวสามารถคิดไอเดียอันทรงพลังด้วยวิธีที่นำไปใช้ได้จริง สร้างสรรค์ หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

วิธีการ :


1. ระบุเป้าหมาย สถานการณ์ หรือปัญหา ที่ต้องการได้คำตอบหรือทางแก้ไขใหม่ๆ


2. ตั้งสมมติฐานว่าทุกสิ่งเป็นไปได้ ทำความเข้าใจกับผู้เข้าสัมมนา ให้คิดออกนอกกรอบ ซึ่งจะมีการใช้เทคนิคอื่นๆร่วมด้วย เช่น Brainstorming, Role storming, Superpower หรือ What if… เป็นต้น


3. จากนั้น ตั้ง Criteria ที่จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์หรือจินตนาการที่จะทำให้ความปรารถนา หรือคำอธิษฐาน ออกมาเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นรูปธรรม ด้วยกรอบความคิดที่ขึ้นต้นด้วย “ฉันหวังว่า…” แล้ว ใช้จินตนาการสร้าง Criteria เช่น:


- จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเงิน/กฎระเบียบ/กฎหมายไม่สำคัญ?
- เราจะทำอะไรเพิ่มเติมกับสินค้าหรือบริการนี้ ถ้าฉันมีเงินทุนและทรัพยากรไม่จำกัด?
- หากเรามีเทคโนโลยีไม่จำกัด เราหวังว่าจะพัฒนาอะไรเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ของเรา?
- เราจะคิดทำอะไรเพิ่มเติม หากทุกไอเดียนั้นผู้บริหารในองค์กรจะสนับสนุนโดยไม่มีข้อแม้ใดๆทั้งสิ้น
เป็นต้น


4. หลังจากได้ไอเดียมากเพียงพอ สัก 20-30 ไอเดีย แล้ว จึงมาตรวจสอบจินตนาการหรือความคิดแต่ละอย่างแล้ว ประเมินประโยชน์เชิงปฏิบัติที่เราจะได้รับจากไอเดียที่คิดมา ว่า ไอเดียใดสามารถนำไปปฏิบัติได้มากน้อยเพียงใด และเราจะทำให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างไร แล้วจึงค่อยไปขยายผลเพิ่มในไอเดียที่ใช้ได้


5. หากจำเป็นให้กำหนดปัญหาและชัดเจนยิ่งขึ้นอีก แล้วทำการระดมสมองอีกครั้ง

 

เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่เก๋ใช้ในการระดมสมองหาไอเดียใหม่ๆ หากในสัมมนาผู้เข้าสัมมนาคิดได้ไอเดียน้อย เพราะยังติดอยู่ในกรอบ หรือกฎขององค์กร จนไม่มีไอเดียใหม่ๆ ผลที่ได้คือได้ไอเดียดีๆเยอะเลยค่ะ

Source : https://geniusrevive.com/

 

เก๋หวังว่า บทความนี้จะช่วยมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจวิธีการ แนวคิดในการนำความรู้ไปพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรม ตลอดจนการพัฒนาตัวเอง ทีมงาน และประสิทธิภาพการทำงานให้กับองค์กรนะคะ

  .........................................

- สนใจหลักสูตร " Creative to Innovation การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่  

..................................

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

เข้าใจความหมาย และองค์ประกอบของนวัตกรรม ด้วย VIN model for Innovation อ่านต่อที่นี่  หรือกดที่รูป VIN model ด้านล่างนี้  

 

.......................

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ตลอดจนการสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา)  ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com 

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 


 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 328,187