จะเริ่มโค้ช (Coaching) ทีมงานทำอย่างไร โดยศศิมา สุขสว่าง
ผู้ที่อยากนำทักษะการโค้ชไปโค้ชในลูกน้อง เพื่อพัฒนาและดึงศักยภาพของลูกน้อง จะเริ่มอย่างไร หลังจากที่ได้เรียนรู้หรือจบสัมมนาแล้ว หลายคนเมื่อได้เรียนรู้เรื่องโค้ชไปแล้ว สิ่งที่อ.เก๋มักจะแนะนำผู้ที่เข้าสัมมนาเรื่อง Leader as Coach ว่า เมื่อเริ่มต้นการโค้ชทีมงานใหม่ๆ คือ ให้ใช้ทักษะการโค้ชในชีวิตประจำวันก่อน (อ่านทักษะการโค้ช กดที่นี่) เช่น
1.เริ่มสร้างความสัมพันธ์ที่ดี สร้างความไว้วางใจ สร้างศัทธากับลูกน้องก่อน ( Rapport)
การโค้ชสิ่งที่สำคัญมากๆคือ ความสัมพันธ์ที่ดี (Rapport) สร้างความไว้วางใจ เพื่อเปิดใจ ให้ได้ก่อน หากหัวหน้ากับลูกน้องยังรู้สึกว่า ไม่ค่อยรู้จักกัน เวลาคุยถามคำตอบคำ ลูกน้องชอบรับคำสั่งมากกว่าคิดเอง อันนี้การโค้ชจะทำให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลยากค่ะ การสร้างความสัมพันธ์ สร้างความไว้วางใจนั้น เริ่มจากการให้ก่อนค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการให้ใจ ให้ความไว้วางใจ ให้พื้นที่ปลอดภัย และให้คิดเสมอว่า ทุกคนมีศักยภาพ มีความสามารถพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้
(บทความนี้ อ.เก๋เขียนขึ้นเพื่อแบ่งปันความรู้ด้านการโค้ช หากนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ โปรดติดต่อ อ.ศศิมา -เก๋ Tel. 081-5609994 , Email : sasimasuk.com@gmail.com)
หากความสัมพันธ์ไม่ดี ลูกน้องไม่เปิดใจ ให้กลับไปไปค้นหาก่อนว่า ปัญหาในอดีตที่เกิดขึ้นที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์คืออะไร แล้วค่อยๆปรับพฤติกรรม เช่น
- หัวหน้าบางคนดุมาก เวลาลูกน้องทำผิดจะมีการตำหนิอย่างรุนแรง โดยไม่ไว้หน้า จนลูกน้องไม่กล้าที่จะกล้านำเสนออะไรใหม่ๆ หรือคิดต่างจากหัวหน้า อยู่ในกรอบตลอดเวลา เวลามีปัญหาอะไร ถ้าไม่ปิดไว้ก็จะรอรับคำสั่งหัวหน้าเป็นส่วนใหญ่ ก็ต้องปรับตัว รับฟังให้มากขึ้น เมื่อมีความผิดพลาดก็ให้ลูกน้องถอดบทเรียนว่าได้เรียนรู้อะไรและจะป้องกันในครั้งหน้าได้อย่างไร หรืออย่างน้อยหากจะป้องกันความผิดพลาดก็อาจจะต้องมีการนัดรีวิวงานกันมากขึ้น ลูกน้องกล้าที่เข้าคุยเพื่อปรึกษาขอคำแนะนำมากขึ้น
- หรือหัวหน้าบางคนเงียบขรึมมาก จนลูกน้องไม่เข้าใจ ไม่รู้ใจ รู้สึกห่างเหิน ก็อาจจะต้องคุยมากขึ้น หรือมีกิจกรรมกับลูกน้องเพื่อสร้างความสัมพันธ์มากขึ้น เช่น ไปทานข้าวกลางวันกันบ้าง หรือ มีชั่วโมง dialogue ให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น ยิ้มให้มากขึ้น เป็นต้น
การโค้ช เป็นการร่วมมือกัน เป็นการเดินทางร่วมกัน ดังนั้น การสร้างความสัมพันธ์ ความไว้วางใจ และสร้างศัทธาจึงสำคัญ ความสัมพันธ์ไม่มา การโค้ชไม่เกิดค่ะ
2. เริ่มฟังอย่างโค้ชให้มากขึ้น
เวลาที่เราฟังแบบหัวหน้า เราอาจจะต้องฟังเพื่อหาประเด็นในการแก้ไขปัญหา สั่งงาน มอบหมายงาน หรือให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อเราเป็นหัวหน้าในบทบาทของโค้ช โค้ชจะฟังเพื่อมองให้เห็นว่าศักยภาพของลูกน้องมีอะไรบ้าง
วิธีการเช่น เวลามีลูกน้องเข้ามาปรึกษาปัญหา หรือไอเดียใหม่ๆ ให้ฝึกฟังก่อน การฟังอย่างเข้าใจ และบางครั้งต้องฟังด้วยหัวใจ อย่าเพิ่งรีบที่จะช่วยให้คำแนะนำ อย่ารีบตัดบท อย่ารีบสอน อย่าเพิ่งรีบร้อนให้คำแนะนำปรึกษา หรืออย่ารีบด่า (อันหลังนี้ หลายคนทำงานบอกมา) ฟังแล้วสะท้อนมุมมองต่างๆ ให้เขาเห็นมุมมองหลายๆมุม สนับสนุน ส่งเสริม และฟังเพื่อเป็นเพื่อนชวนคิดให้อีกฝ่ายได้ตระหนักรู้ และหาแนวทางไปสู่จุดหมายได้ด้วยตัวเขาเอง
3. ถามคำถามปลายเปิด หรือถามคำถามเชิงบวกมากขึ้น
เช่นเดียวกันกับการฟัง จากเดิมที่เคยสั่งงาน หรือมอบหมายหมายงาน หรือให้คำแนะนำทีมงาน เมื่อเขามีปัญหาและเข้ามาขอคำปรึกษา ก่อนที่จะให้คำปรึกษาหรือบอกวิธีการแก้ไข ให้หัวหน้า ใช้คำถามถามก่อน ตย. เช่น
- ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้อย่างไรบ้าง ในความเห็นของคุณเอ (นามสมมุติ)
- มีวิธีการอะไรบ้างที่แก้ไขปัญหานี้
- ผลลัพธ์ที่เราอยากจะได้หลังจากแก้ไขปัญหาแล้วคืออะไร
- อะไรคืออุปสรรคที่จะเกิดขึ้น
(บทความนี้ อ.เก๋เขียนขึ้นเพื่อแบ่งปันความรู้ด้านการโค้ช หากนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ โปรดติดต่อ อ.ศศิมา -เก๋ Tel. 081-5609994 , Email : sasimasuk.com@gmail.com)
พยายามหลีกเลี่ยงคำถามปลายปิด เช่น เราแก้ปัญหาด้ยวิธีการ A หรือวิธีการ B ดี คำถามแบบนี้เป็นคำถามที่ลูกน้องตอบยาก เพราะส่วนใหญ่จะตอบว่า วิธีการ A หรือไม่ก็ตอบว่า วิธีการ B หรือไม่ก็ตอบว่า แล้วแต่พี่ (ลูกน้องก็อยู่เป็นหรือไม่อยากขัดแย้งกับหัวหน้าเช่นกัน)
ที่สำคัญคือ ถ้าเราจะเป็นโค้ชที่ดีได้ ต้อง ฝึก ฝึก ฝึก และลงมือทำค่ะ ลองเอาไปประยุกต์ใช้ดูนะคะ เริ่มง่ายๆ จากการใช้ทักษะการโค้ชก่อนในชีวิตประจำวันในการทำงานค่ะ ถ้าคล่องแล้ว ค่อยเริ่มโค้ชอย่างจริงๆจังค่ะ
(ภาพบางส่วนจากสัมนาหลักสูตรผู้นำในบทบาทโค้ชและพี่เลี้ยง พี่ๆหัวหน้าวางแผน 1-3 เดือนหลังสัมมนาจะทำอะไรบ้างในบทบาทของโค้ชและพี่เลี้ยง)
อ.เก๋หวังว่า บทความนี้จะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่อยากนำทักษะการโค้ชไปโค้ชในลูกน้อง เพื่อพัฒนาและดึงศักยภาพของลูกน้องนะคะ
..................
สนใจหลักสูตร "ผู้นำในบทบาทของโค้ชและพี่เลี้ยงเพื่อประสิทธิภาพการทำงาน" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
(ต้องการรายละเอียดหลักสูตรฉบับเต็ม พร้อม ใบเสนอราคา ขอกรุณาอีเมล์มาที่ sasimasuk.com@gmail.com อ.เก๋เช็คอีเมล์ทุกวันค่ะ)
.....................................................
ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี ทำงานด้าน Research & Development Engineer มาโดยตลอด และเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรอิสระแห่งหนึ่ง ได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน โดยยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)
...........................................
ติดตามข่าวหรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training ได้ที่
ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com
line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994
-
หลักสูตร เทคนิคการโค้ชและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching & Mentoring technique for high performance working) วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง (ต้องการรายละเอียดหลักสูตรฉบับเต็มพร้อมใบเสนอรา...
-
การโค้ช (Coaching) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของหัวหน้า ผู้จัดการ และผู้นำ ในการใช้ดึงศักยภาพและประสิทธิภาพจากผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งสามารถพัฒนาความสามารถของทีมในการปฏิบัติงานให้ได้...
-
มีเพื่อนๆและคนรู้จักหลายคนของเก๋ ที่ได้แลกเปลี่ยนแบ่งปัน และรับการโค้ชรวมถึงผู้รับการโค้ชในองค์กรที่เก๋ได้ไปอบรมสัมมนาที่ผ่านมา สนใจอยากเรียนรู้ด้านการโค้ชตามสถาบันการสอนโค้ชเพื่อเ...
-
หน้าที่หลักอย่างหนึ่งของผู้จัดการ (Manager) หรือหัวหน้างาน (Supervisor) คือการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ให้มีทักษะ (Skill) สมรรถนะความสามารถ (Competency) และศักยภาพในการทำงานเพื่อให้ส...
-
เก๋ได้มีโอกาสได้ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้บริหารขององค์กรรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง เกี่ยวกับการพัฒนาพนักงานดีเด่น หรือ Talent ขององค์กรให้มี engagement กับองค์กร เนื่องจากในตอนนี้มีอัตราก...
-
ผู้จัดการและผู้นำทีมในองค์กร มีความสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ ซึ่งทักษะการโค้ชเป็นอีกทักษะหนึ่งที่ช่วยให้พนักงานมีส่วนร่วมและรักษาผลงาน รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ตลอดจ...
-
หลายๆคนคงเป็นแฟนหนังเรื่อง Fast & Furious ที่สร้างมาจนถึงภาคที่ 7 แล้ว ซึ่งเป็นตอนที่หลายคนทั้งมันส์และต้องเสียน้ำตาให้กับการจากไปของ Paul walker (รวมทั้งผู้เขียนด้วย) ซึ่งถือเ...
-
พี่เลี้ยง (Mentoring)คำนี้มีที่มาจากนิยายกรีก สมัยโบราณ ว่ากันว่าโอเดสซีอุส(Odesseous)เตรียมตัวที่จะไปเมืองทรอย ได้ฝากฝังเพื่อนคนที่ชื่อว่าเมนเตอร์(Mentor)ให้ปกป้องดูแลทรัพย์สมบัติ...
-
การโค้ช (Coaching) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของผู้จัดการและผู้นำทีม ที่สามารถใช้ดึงศักยภาพและประสิทธิภาพจากผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถพัฒนาความสามารถของทีมในการปฏิบั...
-
พี่เลี้ยง (Mentoring) คำนี้มีที่มาจากนิยายกรีก สมัยโบราณ ว่ากันว่า โอเดสซีอุส(Odesseous) เตรียมตัวที่จะไปเมืองทรอย ได้ฝากฝังเพื่อนคนที่ชื่อว่า เมนเตอร์(Mentor) ให้ปกป้องดูแลทรัพย์ส...
-
ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่ง ที่องค์กรนำมาใช้ในการจัดการความรู้ โดยการถ่ายทอดความรู้ระหว่างผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่ากับเพื่อนร่วมงานหรือรุ่นน้องที่มีประส...
-
ผู้นำในองค์กร สามารถเป็นเพื่อนชวนคิด และสามารถให้กำลังใจ ให้แรงบันดาลใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ไม่ว่าจะนำทีมเล็กหรือทีมใหญ่ รวมทั้งสามารถนำทีมให้ประสบความสำเร็จได้ หากผู้นำนั้นมีทั...
-
ทักษะการฟังเชิงรุกสำหรับโค้ช (Active Listening Skill for Coach)เป็นทักษะที่สำคัญมาก เพราะในกระบวนการโค้ชนั้น โค้ชจะใช้เวลาในการฟัง 70% - 80% (อีก 20 % สำหรับการถาม,feedback ฯ) การฟ...
-
ในกระบวนการโค้ชและการเป็นพี่เลี้ยงนั้น ทักษะการสะท้อนกลับที่มีคุณภาพ (Effective Feedback) หรือบางทีเรียกทับศัพท์เป็นคำง่ายๆว่า ทักษะการให้ฟีดแบค เป็นทักษะและกระบวนการหนึ่งในการบ่งบ...
-
ทักษะการถาม (Questioning skill for coach) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่สำคัญของโค้ช และผู้นำทีม ผู้จัดการ เพราะการถามที่ดีจะได้คำตอบที่หลากหลาย และสร้างสรรค์ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราถามว่า5+5 ได...
-
การรับการสะท้อนกลับ หรือ การรับฟีดแบค(feedback) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่สำคัญสำหรับทั้งผู้นำและผู้ตาม เพราะในปัจจุบันคนไม่ไม่กล้าให้ฟีดแบคกันเพราะเกรงปฏิกิริยากลับมาไม่ว่า การไม่ยอมรับ...
-
โมเดลที่เป็นที่รู้จักและใช้ในการโค้ชอย่างกว้างขวางโมเดลหนึ่งคือ GROW model ซึ่งเป็นโมเดลที่Sir John Whitmoreและทีม พัฒนาขึ้นมาในปี 1980 และกลายมาเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายจากหนังสื...
-
ปัจจุบันทักษะการโค้ช(Coaching Skills)เป็นอีกเครื่องมือ(tools) หนึ่งที่สำคัญสำหรับผู้นำในองค์กรในการบริหารจัดการ และพัฒนาดึงศักยภาพของผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดีอีกเครื่องมือหนึ...
-
อาจารย์ศศิมา – เก๋ได้มีโอกาสไปแบ่งปันเรื่อง Leader as Coach and Mentor หลายแห่ง ทั้งแบบ การโค้ชตัวต่อตัว (one on one coaching ) การโค้ชแบบกลุ่ม (Group coaching) และการสัมมนาในรูปแบ...
-
สิ่งที่สำคัญสำหรับการโค้ชให้มีประสิทธิภาพ นั้นก็คือการสร้างความไว้วางใจระหว่าง โค้ช และผู้รับการโค้ช นั้นเอง เพราะความไว้วางใจ จะเป็นสิ่งที่เปิดใจ เปิดหัวใจ ของผู้รับการโค้ช ให้กล้...
-
ทักษะการสะท้อนกลับที่มีคุณภาพ ให้เกิดการพัฒนาทีมงาน (Effective Feedback) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน และการพัฒนานวัตกรรมได้ ซึ่งเป็นอีกทักษะหนึ่งที่ห...
-
ในยุคนี้ต้องบอกว่า ทักษะการฟังอย่างเข้าอกเข้าใจและใส่ใจ Empathic listening เป็นทักษะที่สำคัญมากสำหรับทุกๆคนในองค์กร CEO ผู้นำ หัวหน้า ผู้จัดการ ในการฟังลูกทีม ฟังลูกน้อง เพื่อให้เข...
-
เก๋มักจะได้รับคำถามจากผู้บริหารหรือผู้นำทีมที่เป็นทีมนวัตกรรม หรือ ผู้บริหารที่พัฒนาองค์กร และต้องการให้องค์กรมีการเติบโตด้วยนวัตกรรม ว่า ถ้าจะพัฒนาให้ทีมงานสามารถคิดสร้างสรรค์พัฒ...