VIN model for Innovation องค์ประกอบของนวัตกรรม โดย ศศิมา สุขสว่าง-เก๋


ก่อนพูดถึง องค์ประกอบของนวัตกรรม ด้วย VIN model for Innovation นั้น เก๋ขอทบทวนนิดนึงนะคะ ว่า "นวัตกรรม คืออะไร"  คำจำกัดความ คือ 
"นวัตกรรม (Innovation)" คือ การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาหรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เช่น บริการ ผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการใหม่ๆ (Service, Product, Process) เป็นต้น ที่มีคุณค่า(Value Creation) และมีประโยชน์ต่อผู้อื่น เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเมื่อมีคุณค่าและมีประโยชน์แล้วจะสามารถขยายผลต่อได้เชิงพาณิชย์ หรือขายได้นั่นเอง

 

Innovation = Creative + New + Value Creation (ความคิดสร้างสรรค์ + สิ่งใหม่ + มีคุณค่า)

 

เก๋ได้พัฒนาโมเดลนวัตกรรม เพื่อให้เข้าใจองค์ประกอบของนวัตกรรมให้จำง่ายตั้งแต่ช่วงแรกๆในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อใช้เอาไว้สอน ถาม และโค้ชน้องๆตอนที่เอาไอเดียใหม่ๆมานำเสนอ  โดยเอาความหมายมาทำเป็นโมเดล ที่เรียกว่า “ VIN model for Innovation“ หรือเวลาที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมใหม่ๆก้อจะถามตัวเองด้วย VIN model ค่ะ


ตอนที่ทำงานประจำ ฝ่ายที่เก๋ทำงานคือฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยี ผอ.ฝ่าย ซึ่งเป็นหัวหน้าของเก๋จะมีการให้ทุนสำหรับวิจัยหน่วยงานภายนอกด้วย  ซึ่งเก๋ตอนนั้นเป็นผู้จัดการศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ มีโอกาสได้ไปช่วยเป็นกรรมการหรือตรวจรับงานวิจัยบางโครงการ ก้อจะใช้ VIN model ของตัวเอง ผสมกับกรอบของโครงการที่ตั้งไว้ในการเป็นกรรมการและตรวจติดตามด้วยค่ะ


เก๋ได้พัฒนาโมเดลนวัตกรรม เพื่อให้เข้าใจองค์ประกอบของนวัตกรรมให้จำง่าย โดยเอา ความหมายมาทำเป็นโมเดล ที่เรียกว่า “ VIN model for Innovation“ ดังนี้ค่ะ โดยมีความหมายขององค์ประกอบดังนี้

 

VIN model for Innovation (อ่านว่า วินโมเดล) ส่วนประกอบของนวัตกรรม

V = Value Creation การสร้างคุณค่า

I =   Idea Creative ความคิดสร้างสรรค์

N = Newness ความใหม่

 

VIN model  เวลาพัฒนานวัตกรรมออกมาให้ถามน้องๆว่า “วินหรือเปล่า” ด้วยนะคะ ( หมายถึง มีคุณค่า มีความใหม่ และเป็นไอเดียสร้างสรรค์อะไร อิอิ) ที่เก๋พัฒนาโดยใช้คำว่า VIN นี่ ส่วนหนึ่ง เก๋ คือยากให้ทุกไอเดีย WIN ชนะ หรือก้าวหน้ามากขึ้นด้วยค่ะ

ขยายความเพิ่มเติม ดังนี้

 


1. V = Value Creation การสร้างคุณค่า


V = Value Creation คุณค่า (Value Creation) ของนวัตกรรม ส่วนประกอบที่สำคัญอีกอย่างของนวัตกรรม (Innovation) คือ ต้องมีคุณค่า(Value Creation) และมีประโยชน์ต่อผู้อื่น เศรษฐกิจและสังคม หากไม่สามารถสร้างคุณค่าเพื่อแก้ปัญหาและตอบโจทย์ของกลุ่มเป้าหมายได้ จะไม่ใช่นวัตกรรมที่สมบูรณ์และมีคุณค่า


แล้ว คุณค่า (Value Creation) มีอะไรบ้าง เก๋ขออ้างอิง จาก Elements of Value ของ HBR.org นะคะ เพราะดูจากรูปนี้แล้วตรงใจที่สุด และเก๋มักจะนำไปแบ่งปันในองค์กรอยู่เสมอค่ะ ทั้งนี้เก๋ได้แปลงมาเป็นภาษาไทยเพื่อให้เข้าใจง่ายๆแล้วค่ะ โดยคุณค่าแบ่งเป็น 4 ระดับตามรูปด้านล่าง


คุณค่าด้านการทำงาน (Functional Value) เป็นคุณค่าขั้นพื้นฐานคือสามารถแก้ปัญหาด้านการพื้นฐานได้ เช่น ประหยัดเวลา, การสร้างรายได้, การลดความเสี่ยง, การลดผลกระทบต่างๆ, การลดอันตราย, คุณภาพ, ความหลากหลาย, รูปแบบที่น่าสนใจ เป็นต้น


คุณค่าด้านการตอบสนองด้านอารมณ์ (Emotional) เป็นคุณค่าอีกระดับหนึ่ง ที่สามารถแก้ไขปัญหาในด้านอารมณ์ความรู้สึก เช่น การลดความกังวล, การให้รางวัล, การรู้สึกภาคภูมิใจ ,การดึงดูดความสนใจ, ความสนุกสนานบันเทิง 


การเปลี่ยนแปลงชีวิต (Life Changing) เช่น การสร้างความหวัง, การมั่นใจในตัวเอง, การสร้างแรงบันดาลใจ และการสร้างสถานะทางสังคม เป็นต้น


ผลกระทบทางสังคม (Social impact) เช่น การสร้างคุณค่าให้กับชีวิต (Life Value), การสร้างคุณค่าของการมีชีวิตอยู่

หากสินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือนวัตกรรมของเรา มีคุณค่าก็จะสร้างมูลค่า และมีประโยชน์ต่อนวัตกรรมค่ะ เช่น คุณค่าด้านการทำงาน (Functional Value) เป็นคุณค่าที่เป็นพื้นฐานที่ทุกผลิตภัณฑ์ต้องมี แต่หากเพิ่มคุณค่าในลำดับต่อๆไป มูลค่าและราคาจะสูงหรือแตกต่างกันไปด้วยค่ะ  

 

 

2. I = Idea Creative ความคิดสร้างสรรค์

 

I = Idea Creative ความคิดสร้างสรรค์  การเข้าใจไอเดียสร้างสรรค์นวัตกรรมในรูปแบบต่างๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะคนส่วนใหญ่เมื่อคิดถึงนวัตกรรม จะนึกถึงเพียงนวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) และนวัตกรรมการบริการ (Service Innovation) เท่านนั้น

 

ซึ่งนวัตกรรมนั้น เราสามารถพัฒนาได้หลากหลายรูปแบบในด้านต่างๆ ซึ่งแนวคิด หรือ Idea ในการพัฒนานวัตกรรมด้านต่างๆ เก๋ขออ้างอิงมาจาก Ten type of Innovation by Larry Keeley ซึ่งได้ทำการศึกษาการพัฒนานวัตกรรมในบริษัทใหญ่ๆมามากมายและรวมรวมข้อมูลอยู่หลายปี

 

นวัตกรรมมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นแนวคิด 10 แบบ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างนวัตกรรม (Ref. Ten type of Innovation by Larry Keeley) ได้ดังนี้

 

1) Profit Model –นวัตกรรมโมเดลธุรกิจแบบใหม่ๆ การสร้างรูปแบบการทำรูปแบบโมเดลธุรกิจเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น หรือขายสินค้าได้แพงขึ้น เพื่อสร้างกำไรมากขึ้น หรือเป็นวิธีการที่องค์กรจะเปลี่ยน Values มูลค่าของบริการให้เป็นกำไร

2) Network – Values นวัตกรรมจากการสร้างเครือข่าย หรือความร่วมมือเพื่อให้เกิดมูลค่า หรือสร้างคุณค่าใหม่ๆ โดยการทำงานร่วม หรือสร้างเครือข่ายกับคนอื่น ๆ เช่น Third Party, Vender, Cluster เป็นต้น

3) Structure – นวัตกรรมจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างองค์กร การบริหารบุคคลากรใหม่ๆและกระบวนตัดสินใจ ในโครงสร้างองค์กร

4) Process – นวัตกรรมในการพัฒนากระบวนการ การผลิต บริการ แบบใหม่ๆ

5) Product Performance – นวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้มีประสิทธิภาพ คุณสมบัติ ความสามารถของ บริการ หรือผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ แตกต่างไปจากเดิม

6) Product System – นวัตกรรมที่ได้จากกระบวนการพัฒนาระบบ ปรับปรุงกระบวนการผลิต และวิธีที่สร้างมูลค่าเพิ่มโดยการเพิ่ม ส่วนเสริม บริการเสริม ให้กับผลิตภัณฑ์และบริการ

7) Service – นวัตกรรมการบริการแบบใหม่ๆให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย

8) Channel – นวัตกรรมที่เกิดจากการสร้างช่องทางใหม่ๆในการส่งมอบ ผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ถึงมือผู้บริโภคหรือติดต่อกับลูกค้า

9) Brand – นวัตกรรมในการสร้างตราสินค้าและภาพลักษณ์ของแบรนด์มีความน่าจดจำ ในแง่ไหนดี/ไม่ดี ให้มีคุณค่า

10) Customer Experience – นวัตกรรมในการสร้างรูปแบบการติดต่อลูกค้า ให้มีประสบการณ์ที่จะทำให้ผู้บริโภคจดจำบริการหรือผลิตภัณฑ์ได้

ดังนั้น เราสามารถพัฒนาพัฒนานวัตกรรมได้หลากหลาย อย่าจำกัดเพียงแต่ Product, Process และ Service เท่านั้นนะคะ

 


3. N = Newness ความใหม่


เมื่อเราใช้คำว่านวัตกรรม ต้องมีระดับความใหม่ๆ (Newness) ซึ่งตามมาตรฐาน BRITISH STANDARD BS 7000-1:2008 ได้กำหนดระดับความใหม่ของนวัตกรรม Guide to managing innovation ไว้ 9 ระดับตามรูปด้านล่าง ได้แก่


1. New to an individual ใหม่ระดับบุคคล

2. New to department ใหม่ระดับแผนก

3. New to site ใหม่ระดับส่วน

4. New to Organization ใหม่ระดับองค์กร

5. New to market ใหม่ระดับตลาด

6. New to a sector/industry ใหม่ระดับอุตสาหกรรม

7. New to a country ใหม่ระดับประเทศ

8. New to a region ใหม่ระดับภูมิภาค

9. New to the world ใหม่ระดับโลก

 

ซึ่งหากมีการส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมแล้ว เราสามารถริเริ่มทำสิ่งใหม่ๆได้ตั้งแต่ระดับตัวเอง เพื่อฝึกความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมในตัวเอง แล้วค่อยๆปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ต่อยอดขยายต่อในระดับแผนก ขึ้นไปเรื่อยๆ เมื่อทุกคนในองค์กรร่วมมือร่วมใจในการที่จะคิดสร้างสรรค์และพัฒนาสิ่งใหม่ๆแล้ว องค์กรจะเป็นองค์กรนวัตกรรมและสามารถที่จะสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้

 

โดยนวัตกรรมที่ได้รับรางวัลในระดับประเทศส่วนใหญ่จะต้องมีความใหม่อย่างน้อยระดับตลาด (New to Market) ขึ้นไปค่ะ

 

ถึงตอนนี้แล้ว ทุกคนคงเข้าใจ องค์ประกอบของนวัตกรรมแล้วนะคะ จำง่ายๆด้วย VIN model นะคะ พัฒนานวัตกรรมทุกครั้งก็ถามตัวเองว่า นวัตกรรมนี้ วิน (VIN) ไหม  =  ( มีคุณค่า (Value)อะไร , เป็นนวัตกรรม (Idea) อะไร และ มีความใหม่ (Newness) ระดับใด

 

เก๋หวังว่า บทความนี้จะช่วยมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจวิธีการ แนวคิดในการนำความรู้ไปพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรม ตลอดจนการพัฒนาตัวเอง ทีมงาน และประสิทธิภาพการทำงานให้กับองค์กรนะคะ  ส่งกำลังใจให้ทุกคนค่ะ

..................................

- สนใจหลักสูตร " Creative to Innovation การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่  

.................................

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................


ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 329,324