องค์ประกอบของการคิดวิพากษ์ (Critical Thinking element) โดย.อ.ศศิมา สุขสว่าง

 

 

ในการทำงานในอนาคต คนทำงานต้องมีทักษะใหม่ๆ  ซึ่งทักษะสำหรับการทำงานที่สำคัญคือ "การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)"  หรือ “การคิดอย่างมีเหตุผลรอบด้าน” หรือภาษาไทย หลายท่านอาจจะใช้คำว่า  “การคิดอย่างมีวิจารณญาณ”  ซึ่ง  การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) นั้น เป็นการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับอย่างไตร่ตรองด้วยเหตุและผล มีกระบวนการคิดโดยใช้เกณฑ์ที่กำหนดหลักเหตุผล เพื่อการพิจารณาและประเมินข้อสรุปจากหลักฐานหรือสภาวการณ์ใดๆ ได้อย่างถูกต้องตามความเป็นจริง จนได้คำตอบที่เหมาะสมหรือดีที่สุด เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจ หรือประเมิน หรือแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างดีที่สุด

 

วันนี้อ.เก๋มาแบ่งปันเรื่องการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) จากที่ได้เป็นวิทยากร สอนหลักสูตรนี้ ในองค์กรต่างๆ ทั้ง In house Training ภายในองค์ และ หลักสูตร Public หลายปีที่ผ่านมา ก่อนจะมารับสัมมนาเฉพาะใน In house Training อย่างเดียว  เพราะปัจจุบันนี้ หลายองค์กรสนใจหลักสูตรนี้สำหรับ หัวหน้า หรือผู้จัดการ ผู้นำทีม ที่ได้รับข้อมูลหลายส่วนจากทีมงาน หรือลูกน้อง  แล้วปัญหาที่เกิดคือ ไม่รู้ว่าจะวิเคราะห์ สรุป ประมวลผล และประเมินข้อมูลอย่างไร ให้ได้การตัดสินใจที่ดีที่สุดไปปฏิบัติงาน   (ปัจจุบันข้อมูลเยอะจริงๆค่ะ ตัดสินใจทีใช้เวลานานจริงๆ เก๋ก็เป็น)   ทักษะการคิดวิพากษ์ จะมีแนวทาง เครื่องมือ ให้ช่วยสามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลค่ะ 

(สนใจหลักสูตร การคิดวิพากษ์ (Critical thinking) กดดูรายละเอียด  ที่นี่ ค่ะ )

 

องค์ประกอบที่สำคัญของการคิดวิพากษ์ (Critical Thinking element) มีดังนี้ค่ะ

 1. การให้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical reasoning)

2.การเชื่อมโยงข้อมูล (Information Linkage)

3. การแก้ปัญหาอย่างมีระบบ (Structured problem solving)

4. การเข้าใจอคติ (Understanding biases)

5. การตัดสินใจ (Decision making)

6. การคิดสิ่งใหม่ๆและอยากรู้อยากเห็น (Creativity & Curiosity)

 

 

 โดยมีรายละเอียดองค์ประกอบของการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) ดังนี้ค่ะ 

 

1. การให้เหตุผลเชิงตรรกะ (Logical reasoning)

การคิดวิพากษ์ต้องมีการวิเคราะห์หาเหตุผลรอบด้านทั้งด้านบวกและด้านลบ มาสู่การตัดสินใจอย่างเป็นระบบ ใช้เหตุผล มากกว่าอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งต้องมีความสามารถในการสรุปผลเชิงตรรกะโดยอาศัยข้อเท็จจริง ข้อมูลรอบด้าน หรือข้อโต้แย้ง เพื่อระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของข้อโต้แย้งเหล่านั้นได้   จึงจะสามารถสรุปผลที่ถูกต้องจากข้อเท็จจริงและประเมินจุดแข็งของข้อโต้แย้งของผู้อื่นได้

  

2.การเชื่อมโยงข้อมูล (Information Linkage)

ในการวิเคราะห์ข้อมูล มักจะมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องหลายด้าน ดังนั้นการคิดวิพากษ์จึงจำเป็นต้องมีความสามารถในการระบุข้อมูลและพิจารณาวิเคราะห์ข้อเท็จจริงที่จำเป็นในการสรุปผล สามารถเชื่อมโยง และประเมินได้ว่า ข้อเท็จจริงและข้อมูลที่ทราบนั้นเพียงพอที่จะสรุปได้หรือไม่ และสามารถระบุข้อมูลที่ขาดหายไปได้ หรือต้องหาข้อมูลอะไรเพิ่มอีกได้ค่ะ ยกตัวอย่างเช่น บริษัทแห่งหนึ่งจะซื้อเครื่องจักรขนาดใหญ่ เพื่อผลิตๆสินค้าและผลิตภัณฑ์  นั้น นอกจากจะต้องเปรียบเทียบบริษัท Vendor /supplier ที่มาเสนอเครื่องจักรใน คุณสมบัติ และคุณลักษณะต่างๆแล้ว อาจจะต้องพิจารณาเรื่องของแนวโน้มอนาคตของสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตด้วย เป็นต้น

  

3. การแก้ปัญหาอย่างมีระบบ (Structured problem solving)

 อีกองค์ประกอบที่สำคัญคือ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่มีความยากและซับซ้อน ทั้งปัญหาที่ชัดเจน และคลุมเครือ

สามารถแยกแยะออกเป็นส่วนๆ ระบุสาเหตุที่แท้จริงของแต่ละส่วน และหาทางแก้ไขได้ รวมทั้งการปรับวิธีการแก้ไขได้ตามสถานการณ์

 

4. การเข้าใจอคติ (Understanding biases)

ความเข้าใจ อคติ  อารมณ์ความรู้สึก ที่มีผลต่อการวิเคราะห์ ให้เหตุผล ของตัวเอง และผู้อื่นที่มีอิทธิพลต่อ

กระบวนการคิดของเรา  แยกแยะ และตระหนักได้

 

5. การตัดสินใจ (Decision making)

การตัดสินใจ คือการเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดจากทางเลือกหลายๆทางเลือก เพื่อให้องค์กรได้ประโยชน์สูงสุด และไม่มีความเสียหายผิดพลาดหรือมีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  มีการวิเคราะห์ รวบรวม ข้อมูลอย่างมีระบบ เพื่อการตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผล อ่านเรื่อง การตัดสินใจเพิ่มเติม  กดอ่านที่นี่

 

6. การคิดสิ่งใหม่ๆและอยากรู้อยากเห็น (Creativity & Curiosity)

ในการคิดวิพากษ์นอกจากต้องมีการวิเคราะห์หาเหตุผล และรวบรวมข้อมูลรวบด้านให้มีประสิทธิภาพนั้น ต้องมีแนวทางในการคิดสิ่งใหม่ๆ แนวทางใหม่ และมีความอยากรู้อยากเห็นเพื่อให้ได้แนวทางหลายหลายด้วย   เพราะหากแนวทาง หรือข้อมูลที่มี ไม่ได้ช่วยให้คิดได้อย่างมีเหตุผล หรือวิเคราะห์แก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น การหาแนวทางใหม่ๆ คิดค้นสิ่งใหม่ๆ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการวิพากษ์  ไม่ใช่แค่วิพากษ์เพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีการหาแนวทางใหม่ๆด้วยค่ะ  ไม่งั้น เราอาจจะกลายเป็นคนที่ "ดีแต่วิพากษ์วิจารณ์" มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ ได้นะคะ 

 

 

เก๋หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกท่าน ที่สนใจเรื่องของการ การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)  หรือ “การคิดอย่างมีเหตุผลรอบด้าน” หรือ “การคิดอย่างมีวิจารณญาณ”  และได้แนวทางไปพัฒนาตัวเองในการมองปัญหา วางแผนอนาคต ได้อย่างมีเหตุผลรอบด้านนะคะ

 

อ้างอิง :

1.ข้อมูลบางส่วนจากบทความ Defining the skills citizens will need in the future world of work by Marco Dondi, Julia Klier, Frederic Panier, and Jörg Schubert. McKinsey & Company.

 2. เอกสารสัมมนา ของอ.ศศิมา สุขสว่างในหลักสูตร Critical thinking  การคิดวิพากษ์ทักษะการทำงานสำหรับอนาคต. www.sasimasuk.com

...........................................

- สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร " Analytical Thinking ทักษะการคิดวิเคราะห์ " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร " Critical thinking  ทักษะการคิดวิพากษ์ " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร " Creative thinking  to Innovation ทักษะการคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่    

..................................... 

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 329,323