ทักษะการโค้ชที่สำคัญในการโค้ช Talent ในองค์กร โดยศศิมา สุขสว่าง
เก๋ได้มีโอกาสได้ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้บริหารขององค์กรรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง เกี่ยวกับการพัฒนาพนักงานดีเด่น หรือ Talent ขององค์กรให้มี engagement กับองค์กร เนื่องจากในตอนนี้มีอัตราการลาออกสูงมาก ซึ่งประเด็นหนึ่งของการลาออก คือ “ไม่สามารถทำงานกับหัวหน้าได้ “ เพราะคนเก่งๆรุ่นใหม่ๆ จบจากต่างประเทศ อายุยังน้อย เรียกว่าเป็น Generation Y หรือ Generation X ปลายๆ ไม่สามารถทำงานกับผู้บังคับบัญชารุ่นเก่าได้ เนื่องจากทัศนคติ ทักษะ ความสามารถ ความคิดที่แตกต่างกันมาก จนเกิดดปัญหาสมองไหล คนเก่งๆขององค์กรลาออกไปอยู่บริษัทขนาดใหญ่จำนวนมาก
ฝ่ายบริหารทรัพยากรบอกกับเก๋ว่า เหมือนให้ทุนการศึกษาส่งพนักงานไปเรียนต่อต่างประเทศ เพื่อกลับมาป้อนให้กับภาคเอกชน แทนที่จะช่วยกันพัฒนาให้องค์กรให้เจริญก้าวหน้าและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ฟังแล้วเหมือนตลกร้าย แต่เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในหลายองค์กร นอกจากนี้ก็มีประเด็นเรื่องอัตราค่าตอบแทนที่สู้ภาคเอกชนไม่ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุรองๆไป. .
(หมายเหตุ : บทความนี้เป็นบทความของ www.sasimasuk.com ที่เป็นเวปไซต์แบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงของอ.ศศิมา สุขสว่างค่ะ)
กลับมาถึงเรื่องหัวหน้า หากจะบริหารจัดการเด็กรุ่นใหม่ Generation Y หรือ Generation X ปลายๆ ได้ หรือต่อไป Gen Z กำลังจะมา ทักษะหนึ่งที่เก๋แนะนำให้ใช้ในทำงานคือ “ทักษะการโค้ช” ค่ะ
ทำไมถึงต้องใช้ทักษะการโค้ช ทำไมหัวหน้าต้องเป็นโค้ช ปรมาจารย์ด้าน Executive Coaching ชื่อ Marshall Goldsmith ซึ่งเป็นคนหนึ่งที่เป็นโค้ช และที่ปรึกษา และได้แต่งหนังสือด้านผู้นำออกมามากมาย ได้ให้ข้อคิดไว้ว่า “What got you here, won’t get you there” หมายความว่า “วิธีการในอดีตที่ทำให้คุณประสบความสำเร็จมาถึงจุดนี้ได้ อาจไม่ใช่วิธีการที่คุณจะนำไปใช้เพื่อสร้างความสำเร็จในอนาคต”
เก๋ขอขยายความเพิ่มเติมนะคะ ความหมายก็คือ วิธีการที่หัวหน้าได้ทำในอดีต จนประสบความสำเร็จ จนได้เป็นหัวหน้า เป็นผู้นำในองค์กรปัจจุบัน อาจจะไม่สามารถใช้วิธีการแบบเดียวกันนี้ ในการสั่งการคนรุ่นใหม่ๆให้ทำในแบบเดียวกัน เพื่อให้ไปถึงอนาคตได้ เพราะในยุคนั้นอาจจะมีวิธีการ เทคโนโลยี ความรู้ known how ที่แตกต่างกันไป
แต่ในในยุค Thailand 4.0 ตอนนี้ รูปแบบการใช้ชีวิต เทคโนโลยี สังคม Social ทำให้รูปแบบการทำงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ทักษะการโค้ช จึงเหมาะกับการบริหารจัดการบุคคลากรหรือผู้ใต้บังคับบัญชานะคะ นอกจากนี้ยังสามารถในไปใช้ในบริบทอื่นได้อีก (อ่านบทความ "การโค้ชมีหลายประเภท อะไรบ้าง" กด ที่นี่)
แล้วผู้บริหารที่จะเป็นโค้ชได้ หรือใช้ทักษะโค้ชมาใช้ บริหารจัดการ เพื่อให้สามารถดึงศักยภาพผู้ใต้บังคับบัญชาให้ได้ประสิทธิภาพได้สูงสุดและทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น โดยไม่มีช่องว่าระหว่าง Generation จะต้องมีทักษะอะไรบ้าง เก๋ได้เรียบเรียง "5 ทักษะการโค้ชที่สำคัญสำหรับผู้บริหาร" โดยเขียนในบริบทของการนำทักษะการโค้ชไปปรับใช้ในการบริหารจัดการผู้ใต้บังคับบัญชาเพื่อให้เห็นภาพใหญ่ๆ ก่อนจะลงในรายละเอียดต่อไป ในบทความต่อๆไปนะคะ
ทักษะการโค้ชที่สำคัญในการโค้ช Talent ในองค์กรสำหรับผู้บริหารหรือหัวหน้างาน
1. ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ (Rapport Building)
การสร้างความสัมพันธ์เป็นกระบวนที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพราะเป็นกระบวนการที่จะให้เกิดการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างคน 2 คน การสร้างความสัมพันธ์ ในทางการโค้ชนั้นมีเทคนิคมากมาย เช่น VAKAD model, Matching & Mirroring model, lotus model, Pace Pace lead ฯลฯ จุดประสงค์ของการสร้างความสัมพันธ์ เพื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัย ให้กับผู้ที่พูดคุยด้วย พร้อมเชื่อใจและเปิดใจให้ความร่วมมือในการโค้ช การคิด และให้ความร่วมมือในการโค้ช หรือการพูดคุยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพูดคุย
สำหรับในการบริหารจัดการนั้น หากหัวหน้า ลูกน้อง มีความแตกต่างกันทางความคิด พื้นเพ การศึกษา สไตล์การทำงาน เมื่อมาทำงานอาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งกันได้ ดังนั้นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อเปิดใจ เพื่อให้สามารถประสานความสัมพันธ์จนทำงานได้อย่างราบรื่น จึงเป็นสิ่งสำคัญค่ะ
2. ทักษะการฟัง
เป็นทักษะที่สำคัญมาก เพราะในกระบวนการโค้ชนั้น โค้ชจะใช้เวลาในการฟังถึง 80% (อีก 20 % สำหรับการถาม,feedback) การฟังแบบโค้ชจะแตกต่างจากการฟังแบบทั่วไป การฟังแบบทั่วไปจะได้ยินสิ่งที่แสดงออกมา สิ่งที่เขาต้องการให้รู้ในเนื้อหา (Content) แต่การฟังแบบโค้ช ต้องฟังให้ถึงความรู้สึก ความเชื่อ ความคิด สามารถจับประเด็นและได้ยินในสิ่งที่ผู้รับการโค้ชไม่ได้พูดและทวนออกมาได้ (Context) เหมือนกับเป็นกระจกสะท้อนผู้รับการโค้ชได้
3. ทักษะการถาม
การถามทำให้เกิดกระบวนการคิด ตรึกตรอง และค้นหาคำตอบ สำหรับคนเจน Y นั้น ชอบคิด ค้นคว้าหาคำตอบ ดังนั้นการถามจึงเป็นการกระตุ้นความคิด เมื่อเกิดการฝึกฝนคิดบ่อยๆเข้าผู้ที่ถูกถามจะสามารถคิด และแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง คำถามที่ดีควรเป็นคำถามปลายเปิด (Open Question) เพื่อให้ผู้ถูกถามได้แสดงความคิดเห็น เช่น ถามว่า ในเรื่องนี้คุณคิดว่า ควรแก้ไขอย่างไรบ้าง? คำถามนี้สามารถดึงความคิดเห็นออกมาได้ แต่ถ้าเป็นคำถามปลายปิด (Close question) เช่น
ตัวอย่างคำถามปลายปิด
หัวหน้า : ผมคิดว่าจากปัญหาที่เกิดขึ้นควรแก้ไขโดยวิธี…(ความคิดของหัวหน้า)…คุณเห็นด้วยหรือไม่
ลูกน้อง : (ตอบคำถามปลายปิด) “จะตอบอะไรได้ นอกจากว่า “เห็นด้วย” ทั้งที่ในใจอาจจะมีวิธีอื่นที่คิดว่าดีกว่า
ตัวอย่างคำถามปลายเปิด
หัวหน้า : จากปัญหาที่เกิดขึ้นควรแก้ไขโดย คุณคิดว่ามีวิธีการแก้ไขแก้ไขอย่างไรบ้าง?
ลูกน้อง : ผม/ดิฉัน คิดว่า น่าจะแก้ไขดังนี้ค่ะ 1..., 2....3....
คำถามปลายเปิด คนเป็นหัวหน้า อาจจะได้คำตอบที่ให้วิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ๆ นอกเหนือจากความรู้ความสามารถของตัวเองก็ได้ ลูกน้องก็จะได้ลงมือทำในสิ่งที่ตัวเองคิด และได้รับการยอมรับจากหัวหน้าด้วย
4. ทักษะการให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback)
การให้ข้อมูลย้อนกลับหรือ feedback นั้น ไม่ใช่การด่า หรือบ่นแต่อย่างใด แต่เป็นการให้ข้อมูลกับผู้ปฏิบัติงานหรือลูกน้องให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น หลักการให้ข้อมูลย้อนกลับนั้น จะมีส่วนประกอบ ที่สำคัญ 3 ส่วนคือ
- ส่วนของพฤติกรรม,
- ส่วนของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และ
- ส่วนที่ต้องการให้เกิดการแก้ไขปรับปรุงหรือชื่นชม
(เดี๋ยวเก๋จะเขียนลงในรายละเอียดต่อไปเรื่อยๆนะคะ)
5. ทักษะอื่นๆ เช่น การเล่าเรื่อง (Story telling) การจูงใจ (Motivation) และการสื่อสาร (Communication) เป็นต้นค่ะ
พอได้ไอเดียแล้วนะคะ ว่าทักษะการโค้ชสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างานอย่างไรได้บ้าง
อ.เก๋หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์สำหรับผู้อ่านที่สนใจเรื่องการโค้ชนะคะ
..................
สนใจหลักสูตร "ผู้นำในบทบาทของโค้ชและพี่เลี้ยงเพื่อประสิทธิภาพการทำงาน" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
(ต้องการรายละเอียดหลักสูตรฉบับเต็ม พร้อม ใบเสนอราคา ขอกรุณาอีเมล์มาที่ sasimasuk.com@gmail.com อ.เก๋เช็คอีเมล์ทุกวันค่ะ)
...........................................
ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี ทำงานด้าน Research & Development Engineer มาโดยตลอด และเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรอิสระแห่งหนึ่ง ได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน โดยยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)
...........................................
ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่
ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com
line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994
-
หลักสูตร เทคนิคการโค้ชและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching & Mentoring technique for high performance working) วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง (ต้องการรายละเอียดหลักสูตรฉบับเต็มพร้อมใบเสนอรา...
-
การโค้ช (Coaching) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของหัวหน้า ผู้จัดการ และผู้นำ ในการใช้ดึงศักยภาพและประสิทธิภาพจากผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งสามารถพัฒนาความสามารถของทีมในการปฏิบัติงานให้ได้...
-
มีเพื่อนๆและคนรู้จักหลายคนของเก๋ ที่ได้แลกเปลี่ยนแบ่งปัน และรับการโค้ชรวมถึงผู้รับการโค้ชในองค์กรที่เก๋ได้ไปอบรมสัมมนาที่ผ่านมา สนใจอยากเรียนรู้ด้านการโค้ชตามสถาบันการสอนโค้ชเพื่อเ...
-
หน้าที่หลักอย่างหนึ่งของผู้จัดการ (Manager) หรือหัวหน้างาน (Supervisor) คือการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ให้มีทักษะ (Skill) สมรรถนะความสามารถ (Competency) และศักยภาพในการทำงานเพื่อให้ส...
-
ผู้จัดการและผู้นำทีมในองค์กร มีความสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ ซึ่งทักษะการโค้ชเป็นอีกทักษะหนึ่งที่ช่วยให้พนักงานมีส่วนร่วมและรักษาผลงาน รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ตลอดจ...
-
หลายๆคนคงเป็นแฟนหนังเรื่อง Fast & Furious ที่สร้างมาจนถึงภาคที่ 7 แล้ว ซึ่งเป็นตอนที่หลายคนทั้งมันส์และต้องเสียน้ำตาให้กับการจากไปของ Paul walker (รวมทั้งผู้เขียนด้วย) ซึ่งถือเ...
-
พี่เลี้ยง (Mentoring)คำนี้มีที่มาจากนิยายกรีก สมัยโบราณ ว่ากันว่าโอเดสซีอุส(Odesseous)เตรียมตัวที่จะไปเมืองทรอย ได้ฝากฝังเพื่อนคนที่ชื่อว่าเมนเตอร์(Mentor)ให้ปกป้องดูแลทรัพย์สมบัติ...
-
การโค้ช (Coaching) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของผู้จัดการและผู้นำทีม ที่สามารถใช้ดึงศักยภาพและประสิทธิภาพจากผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถพัฒนาความสามารถของทีมในการปฏิบั...
-
พี่เลี้ยง (Mentoring) คำนี้มีที่มาจากนิยายกรีก สมัยโบราณ ว่ากันว่า โอเดสซีอุส(Odesseous) เตรียมตัวที่จะไปเมืองทรอย ได้ฝากฝังเพื่อนคนที่ชื่อว่า เมนเตอร์(Mentor) ให้ปกป้องดูแลทรัพย์ส...
-
ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่ง ที่องค์กรนำมาใช้ในการจัดการความรู้ โดยการถ่ายทอดความรู้ระหว่างผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่ากับเพื่อนร่วมงานหรือรุ่นน้องที่มีประส...
-
ผู้นำในองค์กร สามารถเป็นเพื่อนชวนคิด และสามารถให้กำลังใจ ให้แรงบันดาลใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ไม่ว่าจะนำทีมเล็กหรือทีมใหญ่ รวมทั้งสามารถนำทีมให้ประสบความสำเร็จได้ หากผู้นำนั้นมีทั...
-
ทักษะการฟังเชิงรุกสำหรับโค้ช (Active Listening Skill for Coach)เป็นทักษะที่สำคัญมาก เพราะในกระบวนการโค้ชนั้น โค้ชจะใช้เวลาในการฟัง 70% - 80% (อีก 20 % สำหรับการถาม,feedback ฯ) การฟ...
-
ในกระบวนการโค้ชและการเป็นพี่เลี้ยงนั้น ทักษะการสะท้อนกลับที่มีคุณภาพ (Effective Feedback) หรือบางทีเรียกทับศัพท์เป็นคำง่ายๆว่า ทักษะการให้ฟีดแบค เป็นทักษะและกระบวนการหนึ่งในการบ่งบ...
-
ทักษะการถาม (Questioning skill for coach) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่สำคัญของโค้ช และผู้นำทีม ผู้จัดการ เพราะการถามที่ดีจะได้คำตอบที่หลากหลาย และสร้างสรรค์ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราถามว่า5+5 ได...
-
การรับการสะท้อนกลับ หรือ การรับฟีดแบค(feedback) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่สำคัญสำหรับทั้งผู้นำและผู้ตาม เพราะในปัจจุบันคนไม่ไม่กล้าให้ฟีดแบคกันเพราะเกรงปฏิกิริยากลับมาไม่ว่า การไม่ยอมรับ...
-
โมเดลที่เป็นที่รู้จักและใช้ในการโค้ชอย่างกว้างขวางโมเดลหนึ่งคือ GROW model ซึ่งเป็นโมเดลที่Sir John Whitmoreและทีม พัฒนาขึ้นมาในปี 1980 และกลายมาเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายจากหนังสื...
-
ปัจจุบันทักษะการโค้ช(Coaching Skills)เป็นอีกเครื่องมือ(tools) หนึ่งที่สำคัญสำหรับผู้นำในองค์กรในการบริหารจัดการ และพัฒนาดึงศักยภาพของผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดีอีกเครื่องมือหนึ...
-
อาจารย์ศศิมา – เก๋ได้มีโอกาสไปแบ่งปันเรื่อง Leader as Coach and Mentor หลายแห่ง ทั้งแบบ การโค้ชตัวต่อตัว (one on one coaching ) การโค้ชแบบกลุ่ม (Group coaching) และการสัมมนาในรูปแบ...
-
ผู้ที่อยากนำทักษะการโค้ชไปโค้ชในลูกน้อง เพื่อพัฒนาและดึงศักยภาพของลูกน้อง จะเริ่มอย่างไร หลังจากที่ได้เรียนรู้หรือจบสัมมนาแล้วหลายคนเมื่อได้เรียนรู้เรื่องโค้ชไปแล้ว สิ่งที่อ.เก๋มั...
-
สิ่งที่สำคัญสำหรับการโค้ชให้มีประสิทธิภาพ นั้นก็คือการสร้างความไว้วางใจระหว่าง โค้ช และผู้รับการโค้ช นั้นเอง เพราะความไว้วางใจ จะเป็นสิ่งที่เปิดใจ เปิดหัวใจ ของผู้รับการโค้ช ให้กล้...
-
ทักษะการสะท้อนกลับที่มีคุณภาพ ให้เกิดการพัฒนาทีมงาน (Effective Feedback) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน และการพัฒนานวัตกรรมได้ ซึ่งเป็นอีกทักษะหนึ่งที่ห...
-
ในยุคนี้ต้องบอกว่า ทักษะการฟังอย่างเข้าอกเข้าใจและใส่ใจ Empathic listening เป็นทักษะที่สำคัญมากสำหรับทุกๆคนในองค์กร CEO ผู้นำ หัวหน้า ผู้จัดการ ในการฟังลูกทีม ฟังลูกน้อง เพื่อให้เข...
-
เก๋มักจะได้รับคำถามจากผู้บริหารหรือผู้นำทีมที่เป็นทีมนวัตกรรม หรือ ผู้บริหารที่พัฒนาองค์กร และต้องการให้องค์กรมีการเติบโตด้วยนวัตกรรม ว่า ถ้าจะพัฒนาให้ทีมงานสามารถคิดสร้างสรรค์พัฒ...