นวัตกรรมฝนหลวง โครงการพระราชดำริ The Royal Rainmaking Project

โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง : The Royal Rainmaking Project"

Innovation หรือ นวัตกรรม ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยส่งเสริมจาก เศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Economy) และ เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Creative Economy) เติบโตเป็น เศรษฐกิจเชิงนวัตกรรม” (Innovative Economy) 


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  9  ซึ่งเป็น "พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย" ได้มี พระมหากรุณาธิคุณพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านนวัตกรรมมานานแล้ว  และวันที่ ๕ ตุลาคมของทุกปี เป็น "วันนวัตกรรมแห่งชาติ" อีกด้วย

  

เก๋ได้รวบรวมและเรียบเรียงบทความเกี่ยวกับผลงานสิ่งประดิษฐ์ของพระองค์ที่ทรงคุณค่า และเป็นต้นแบบของนักนวัตกรทั่วเมืองไทย รวมทั้งเก๋เอง  โดยรูปและเนื้อหาทั้งหมด นำมาจากห้องสมุด Ebook มั่นพัฒนา มูลนิธิชัยพัฒนา http://www.manpattanalibrary.com/ ค่ะ

 

บทความดังกล่าว เพื่อเทิดทูนพระมหากรุณาธิคุณพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านนวัตกรรม และเป็นแรงผลักดันให้กับนักนวัตกรไทยและเก๋เองพัฒนานวัตกรรม เพื่อแบ่งปัน และสร้างสรรค์เศรษฐกิจไทยค่ะ

 

โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง : The Royal Rainmaking Project"


ที่มา : โครงการพระราชดำริฝนหลวง เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่  9 เมื่อคราวเสร็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในพื้นที่แห้งแล้วทุรกันดาร 15 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือนร้อนทุกข์ยากของราษฏรและเกษตรกร ที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร จึงเกิดโครงการนี้เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

 

ทฤษฏีต้นกำเนิด : หลักการแรกคือ ให้โปรยสารดูดซับความชื้น (เกลือทะเล) จากเครื่องบิน เพื่อดูดซับความชื้นในอากาศ แล้วใช้สารเย็นจัด (น้ำแข็งแห้ง) เพื่อให้ความชื้นกลั่นตัวและรวมตัวเป็นเมฆ

 

กรรมวิธีการผลิต : มี 3 ขั้นตอน คือ

 

 

รูปจาก http://www.manpattanalibrary.com/ebook.php?id=869#p=1

 

ขั้นที่ 1 ก่อกวน

เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติเริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง ในขั้นตอนนี้จะมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้นให้มวลอากาศลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำ หรือความชื้น เข้าสู่ระบบการเกิดเมฆ ระยะเวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นนี้ไม่ควรเกิน 10.00 น. ของแต่ละวัน โดยการใช้สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวลอากาศได้แก่ สารแคลเซี่ยมคลอไรด์ สารแคลเซี่ยมคาร์ไบด์ สารแคลเซี่ยมออกไซด์ หรือสารผสมระหว่างแกลือแกงกับสารยูเรียหรือสารผสมระหว่างสารยูเรียกับสารแอมโมเนียไนเตรท

 

เพื่อกระตุ้นกลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำในมวลอากาศ (เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมฆด้วย) ทางด้านเหนือลมของพื้นที่เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่มเกิด มีการก่อตัว และเจริญเติบโตทางแนวตั้งแล้ว จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคายความร้อนโปรยเป็นวงกลมหรือเป็นแนวถัดมาทางใต้ลม เป็นระยะทางสั้นๆเข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม (Main Cloud Core)  ในบริเวณปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นศูนย์กลางที่จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป

 

  

รูปจาก http://www.manpattanalibrary.com/ebook.php?id=869#p=1

 

 

ขั้นที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน

เป็นขั้นตอนสำคัญมากในการปฏิบัติการฝนหลวง เนื่องจากเป็นะระยะที่เมฆกำลังก่อตัวเจริญเติบโต จึงใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีและประสบการณ์ผสมผสาน กลยุทธ์ในเชิงศิลปะเพื่อตัดสินใจโปรยสารเคมี ฝนหลวงที่ทรงค้นคว้าขึ้นมา โดยไม่มีสารอันเป็นพิษต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติงานต้องพิจารณาอย่างถ่องแท้ว่าจะใช้สารเคมีชนิดใดและอัตราใดจึงจะเหมาะสมในการตัดสินใจโดยสารเคมีฝนหลวง ณ ที่ใดของกลุ่มก้อนเมฆ เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลที่จะทำให้ก้อนเมฆขยายตัวหรืออ้วนขึ้น และป้องกันมิให้ก้อนเมฆสลายตัวให้จงได้ 

 

สารเคมีที่ใช้ในขั้นตอนนี้ได้แก่ เกลือแกง สารประกอบสูตรท.1 (เป็นสารละลายเข้มข้นที่ได้จากกระบวนการอิเล็กโทรลิซิส ซึ่งเป็นผลงานค้นคว้าของหม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล) สารยูเรีย สารแอมโมเนียไนเตรท น้ำแข็งแห้ง และบางครั้งอาจใช้สารแคลเซี่ยมคลอไรด์ร่วมด้วย โดยพิจารณาลักษณะการเติบโตของเมฆ บริเวณเมฆ และการเกิดฝนในวันนั้นๆ เป็นหลัก

 

รูปจาก http://www.manpattanalibrary.com/ebook.php?id=869#p=1

 

 

ขั้นที่ 3  โจมตี

เป็นการดัดแปลงสภาพอากาศในก้อนเมฆที่รวมตัวหนาแน่นแล้วโดยตรง หรือบริเวณใต้ฐานเมฆ หรือบริเวณที่ต้องการชักนำเมฆฝนที่ตกอยู่แล้ว เคลื่อนเข้าสู่เป็นการบังคับหรือเหนี่ยวนำให้เมฆที่แก่ตัวจัดแล้ว ตกเป็นฝนลงสู่พื้นที่เป้าหมาย หวังผลที่วางแผนกำหนดไว้ โดยบินโปรยสารเคมีประเภทที่ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงเข้าไปในเมฆโดยตรงที่ฐานเมฆ หรือยอดเมฆ หรือที่ระดับระหว่างฐานเมฆและยอดเมฆชิดขอบเมฆด้านเหนือลม หรือใช้เครื่องบิน 2 เครื่อง โปรยพร้อมกันแบบแซนวิช (Sandwich)

 

ระยะเวลาการทดลองทำฝนหลวง ใช้เวลาเกือบ 30 ปี จึงสำเร็จ สามารถทำให้กำหนดบังคับฝนให้ตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายได้สำเร็จ  ได้ประโยชน์กับประชาชนคนไทยเป็นอย่างมาก และเป็นต้นแบบการทดลองอย่างมีหลักการทางวิทยาศาสตร์ให้กับนักวิทยาศาสตร์ไทยมาจนถึงปัจจุบัน

 

คนไทยภูมิใจ รักและเทิดทูนพระราชาที่ทรงเปี่ยมพระอัจฉริยภาพคำนึงถึงประโยชน์สุข ความอยู่ดีกินดีของประชาชนเป็นสำคัญ จนเกิดเป็นงานประดิษฐ์อันทรงคุณค่าและเกิดประโยชน์มากมายมหาศาลต่อปวงชนชาวไทย ที่จะคงอยู่ในใจของปวงชนชาวไทยตลอดไปตราบนานเท่านาน

 

ที่มาของข้อมูลและรูปประกอบ  : 

http://www.manpattanalibrary.com/ebook.php?id=707#p=1

http://www.manpattanalibrary.com/ebook.php?id=869#p=1

http://www.manpattanalibrary.com/ebook.php?id=705#p=1

.................................................

เรียบเรียงเพื่อเผยแพร่ความรู้และเทิดทูนพระมหากรุณาธิคุณพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านนวัตกรรม และเป็นแรงผลักดันให้กับนักนวัตกรไทยและเก๋เองพัฒนานวัตกรรม เพื่อแบ่งปัน และสร้างสรรค์เศรษฐกิจไทย


......................

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

เข้าใจความหมาย และองค์ประกอบของนวัตกรรม ด้วย VIN model for Innovation อ่านต่อที่นี่  หรือกดที่รูป VIN model ด้านล่างนี้ 

 

 ....................................... 

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี  ทำงานด้าน  Research & Development Engineer มาโดยตลอด และเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรอิสระแห่งหนึ่ง  และได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน 

...........................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994

Visitors: 351,983