ทักษะการฟังเชิงรุกสำหรับผู้นำในบทบาทโค้ช (Active Listening Skill for leader) โดยศศิมา สุขสว่าง
ทักษะการฟังเชิงรุกสำหรับโค้ช (Active Listening Skill for Coach) เป็นทักษะที่สำคัญมาก เพราะในกระบวนการโค้ชนั้น โค้ชจะใช้เวลาในการฟัง 70% - 80% (อีก 20 % สำหรับการถาม,feedback ฯ) การฟังแบบโค้ชจะแตกต่างจากการฟังแบบทั่วไป การฟังแบบทั่วไปจะได้ยินสิ่งที่แสดงออกมา สิ่งที่เขาต้องการให้รู้ในเนื้อหา (Content)
แต่การฟังแบบโค้ช (Active Listening Skill) ต้องฟังให้ลึกถึงความรู้สึก ความเชื่อ ความคิด สามารถจับประเด็นและได้ยินในสิ่งที่ผู้รับการโค้ชไม่ได้พูดและทวนออกมาได้ (Context) เหมือนกับเป็นกระจกสะท้อนผู้รับการโค้ชได้
.
ทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง นั้นต้องฝึกสติ (Mindfulness) เพื่ออยู่กับโค้ชชี่ในทุกขณะปัจจุบัน การฝึกสติ ต้องฝึกฝนและทำอย่างต่อเนื่อง เพราะ เวลาเราเป็นโค้ช บางครั้งเราจะเผลอ เข้าไปอยู่กับเรื่องราวของโค้ชชี่จนมีอารมณ์ร่วมไปด้วย หรือบางทีเผลอคิดว่าจะถามอะไรต่อไปดี หรือไม่อยู่กับโค้ชชี่ ณ ขณะนั้น เพราะการฟังอย่างลึกซึ้งนั้น เราไม่ได้ฟังแค่เสียงของโค้ชชี่เท่านั้น แต่เรายังฟังภาษาร่างกาย และเสียงที่ไม่ได้พูดอีกด้วย
(หมายเหตุ : ท่านสามารถอ่านบทความด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงอื่นๆได้ที่ www.sasimasuk.com ที่เป็นเวปไซต์แบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงโดยตรงของอ.ศศิมา สุขสว่างค่ะ หากท่านนำบทความนี้ไปเผยแพร่ ขอความกรุณาแนบลิงค์นี้เป็นที่มมาของการอ้างอิง หรือต้นฉบับด้วยนะคะ)
ทักษะการฟังเชิงรุก (Active Listening Skill) จึงเป็นทักษะที่มีความสำคัญมากๆพอๆกับทักษะการตั้งคำถามทรงพลัง (Powerful Question) เพราะคำถามที่ดีมาจากการฟังที่มีคุณภาพ
เราสามารถแบ่งระดับของการฟังได้ เป็น 5 ระดับดังนี้
ระดับ 1 ไม่สนใจฟัง (Non-Listening)
ผู้พูดจะพูดอะไรก็แล้วแต่ คนตรงหน้าไม่สนใจฟัง หรือฟังหูซ้าย ทะลุหูขวา ยิ่งเวลานี้ที่หลายคนใช้สื่อโซเชียลมีเดียเยอะ แทบจะปิดตัวเองลงไปอยู่บนหน้าจอเลย ทั้งๆที่นั่งคุยกันอยู่เป็นกลุ่ม หรือในการประชุมคนพูดๆก็พูดไป คนฟังพอไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องคนฟังก็สไลด์หน้าจอไป ไม่มีการฟังเกิดขึ้น หมือนคนพูด พูดอยู่คนเดียวหน้ากระจกนั่นเอง
ระดับ 2 แกล้งฟัง (Pseudo listening)
เป็นการทำกริยาท่าทางเหมือนฟัง มีตอบรับ ค่ะ อ้อ พยักหน้า แต่พอให้ทบทวนว่า ได้ยินอะไรบ้าง กลับตอบไม่ได้เพราะไม่ได้ฟังจริงๆ
ระดับ 3 เลือกฟัง (Defensive Listening)
เป็นการฟังเฉพาะในสิ่งที่ตัวเองสนใจ ใคร่รู้ เรื่องที่ตนเองคิดว่ามีประโยชน์ เรื่องใดไม่สนใจ ไม่ใช่เรื่องของตัวเอง ก็ไม่ใส่ใจ
ระดับ 4 ตั้งใจฟัง (Appreciative Listening)
เป็นการฟังที่ดีขึ้นมาอย่างมาก รับรู้รับฟัง เรื่องราวเนื้อหาของคนตรงหน้า มีการตอบสนองทางคำพูด หรือตอบรับคำว่า ได้เข้าใจและรับรู้เรื่องราวต่างๆ ฟังเก็บข้อมูลได้ครบเนื้อหาทุกสิ่งอย่าง
ระดับ 5 ฟังแบบเข้าอกเข้าใจ (Listening with Empathy)
เป็นการฟังแบบเข้าใจองค์รวมทั้งเนื้อหา อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด โดยผู้ฟัง ฟังในกรอบของผู้พูด โดยไม่ใช่ความเป็นตัวตนของตัวเองไปตัดสินหรือประเมินใดๆ เป็นการฟังด้วยหัวใจ (listen with heart) ฟังอย่างเข้าใจในตัวตนของผู้พูดจริงๆ การฟังระดับนี้นอกจากผู้ฟังจะสามารถเก็บข้อมูลได้ครบถ้วนแล้ว ยังสามารถสะท้อนความรู้สึก ความคิด หรืออารมณ์ของผู้พูดในขณะที่ผู้พูดพูดออกมา แต่ไม่รู้ตัวว่าได้แสดงอารมณ์ หรือความรู้สึกอะไรออกมาบ้าง
การฟังในระดับ 1-4 ผู้ฟัง ยังฟังอยู่ในกรอบของตัวเองอยู่ - กล่าวคือ ยังมีอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกของคนฟังไปเป็นกรอบในการฟังผู้พูดอยู่
แต่การฟังระดับ 5 นั้น ผู้ฟังๆในกรอบของผู้พูดและละทิ้งตัวตนของผู้ฟังเอง ไม่ตัดสิน ซึ่งการฟังระดับ 5 นั้น หากฝึกการฟังอย่างใส่ใจบ่อยๆ ฝึกสติบ่อย สามารถทำได้อย่างแน่นอนค่ะ
ตัวอย่าง
ปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรในปัจจุบันอย่างหนึ่ง คือ หัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง เพื่อนร่วมงานไม่ฟังกัน และกัน หรือฟังแล้วนำไปตีความหรือสื่อสารกันผิดๆ เป็นต้น เช่น
ลูกน้อง : เนี่ยงานเยอะมากเลย จะทำไหวได้อย่างไร
หัวหน้าฟังแล้ว อารมณ์ขึ้น : "ถ้าทำไม่ไหว ก็ลาออกไป" หรือ "ถ้าทำไม่ไหว เดี๋ยวจะหาคนทำไหวมาทำ" ประชดไปอีก
ถ้าหัวหน้าฝึกทักษะการโค้ชมาแล้ว กำลังใช้ทักษะการฟังอย่างโค้ช ด้วยการฟังอย่างลึกซึ้ง ตัดอารมณ์ของตัวเองและอารมณ์ลูกน้องออก จะเห็นว่า" ลูกน้องมีความกังวลในปริมาณงานที่เยอะมาก แล้วกลัวว่าจะทำไม่เสร็จทันตามเวลาที่กำหนด อาจจะทำให้โดยลงโทษหรือเกิดปัญหากับแผนก"
สิ่งที่หัวหน้าอาจจะสะท้อนกลับไป คือ " ปัญหาที่เกิดขึ้น เราจะร่วมกันแก้ไขได้อย่างไรบ้าง " เป็นต้น
การฟังที่ดีมีประโยชน์อย่างไร
- สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่าง คนพูดและคนฟัง ลดความขัดแย้ง ปัญหาในการทำงาน
- ฟังเพื่อเข้าใจ และสามารถสะท้อนมุมมองให้กับโค้ชชี่เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได่
- ได้ช่วยเหลือคนอื่นจากการรับฟัง บางคนแค่มีคนฟังสักคน เขาก็มีความสุขแล้ว
ฯลฯ
การโค้ชเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการบริหารจัดการที่เก๋แนะนำให้เรียนรู้และนำมาใช้กับตัวเอง และสำหรับผู้บริหารในระดับต่างๆ การโค้ชนำมาใช้พัฒนา บริหารจัดการบุคคลากรในยุคนี้ได้เป็นอย่างดีค่ะ ลองฝึกทักษะการฟังแบบโค้ชนะคะ ผู้นำที่เก่งๆที่เก๋ได้สัมผัสมา ส่วนใหญ่ฟังเก่งกันทั้งนั้นค่ะ ฟังแล้วนำไปคิดต่อ สร้างสรรค์พัฒนางาน พัฒนาคน ต่อยอดให้องค์กรเติบโตได้อย่างดีค่ะ
ลองไปฝึกฟังนะคะ แล้วคุณจะรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงค่ะ
เก๋ หวังว่า บทความนี้ "ทักษะการฟังเชิงรุกสำหรับโค้ช (Active Listening Skill for Coach) " จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจนะคะ
..................
สนใจหลักสูตร "ผู้นำในบทบาทของโค้ชและพี่เลี้ยงเพื่อประสิทธิภาพการทำงาน" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
(ต้องการรายละเอียดหลักสูตรฉบับเต็ม พร้อม ใบเสนอราคา ขอกรุณาอีเมล์มาที่ sasimasuk.com@gmail.com อ.เก๋เช็คอีเมล์ทุกวันค่ะ)
.....................................................
ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี ทำงานด้าน Research & Development Engineer มาโดยตลอด และเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรอิสระแห่งหนึ่ง ได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน โดยยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)
...........................................
ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่
ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com
line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994
-
หลักสูตร เทคนิคการโค้ชและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching & Mentoring technique for high performance working) วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง (ต้องการรายละเอียดหลักสูตรฉบับเต็มพร้อมใบเสนอรา...
-
การโค้ช (Coaching) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของหัวหน้า ผู้จัดการ และผู้นำ ในการใช้ดึงศักยภาพและประสิทธิภาพจากผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งสามารถพัฒนาความสามารถของทีมในการปฏิบัติงานให้ได้...
-
มีเพื่อนๆและคนรู้จักหลายคนของเก๋ ที่ได้แลกเปลี่ยนแบ่งปัน และรับการโค้ชรวมถึงผู้รับการโค้ชในองค์กรที่เก๋ได้ไปอบรมสัมมนาที่ผ่านมา สนใจอยากเรียนรู้ด้านการโค้ชตามสถาบันการสอนโค้ชเพื่อเ...
-
หน้าที่หลักอย่างหนึ่งของผู้จัดการ (Manager) หรือหัวหน้างาน (Supervisor) คือการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ให้มีทักษะ (Skill) สมรรถนะความสามารถ (Competency) และศักยภาพในการทำงานเพื่อให้ส...
-
เก๋ได้มีโอกาสได้ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้บริหารขององค์กรรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง เกี่ยวกับการพัฒนาพนักงานดีเด่น หรือ Talent ขององค์กรให้มี engagement กับองค์กร เนื่องจากในตอนนี้มีอัตราก...
-
ผู้จัดการและผู้นำทีมในองค์กร มีความสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ ซึ่งทักษะการโค้ชเป็นอีกทักษะหนึ่งที่ช่วยให้พนักงานมีส่วนร่วมและรักษาผลงาน รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ตลอดจ...
-
หลายๆคนคงเป็นแฟนหนังเรื่อง Fast & Furious ที่สร้างมาจนถึงภาคที่ 7 แล้ว ซึ่งเป็นตอนที่หลายคนทั้งมันส์และต้องเสียน้ำตาให้กับการจากไปของ Paul walker (รวมทั้งผู้เขียนด้วย) ซึ่งถือเ...
-
พี่เลี้ยง (Mentoring)คำนี้มีที่มาจากนิยายกรีก สมัยโบราณ ว่ากันว่าโอเดสซีอุส(Odesseous)เตรียมตัวที่จะไปเมืองทรอย ได้ฝากฝังเพื่อนคนที่ชื่อว่าเมนเตอร์(Mentor)ให้ปกป้องดูแลทรัพย์สมบัติ...
-
การโค้ช (Coaching) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของผู้จัดการและผู้นำทีม ที่สามารถใช้ดึงศักยภาพและประสิทธิภาพจากผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถพัฒนาความสามารถของทีมในการปฏิบั...
-
พี่เลี้ยง (Mentoring) คำนี้มีที่มาจากนิยายกรีก สมัยโบราณ ว่ากันว่า โอเดสซีอุส(Odesseous) เตรียมตัวที่จะไปเมืองทรอย ได้ฝากฝังเพื่อนคนที่ชื่อว่า เมนเตอร์(Mentor) ให้ปกป้องดูแลทรัพย์ส...
-
ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่ง ที่องค์กรนำมาใช้ในการจัดการความรู้ โดยการถ่ายทอดความรู้ระหว่างผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่ากับเพื่อนร่วมงานหรือรุ่นน้องที่มีประส...
-
ผู้นำในองค์กร สามารถเป็นเพื่อนชวนคิด และสามารถให้กำลังใจ ให้แรงบันดาลใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ไม่ว่าจะนำทีมเล็กหรือทีมใหญ่ รวมทั้งสามารถนำทีมให้ประสบความสำเร็จได้ หากผู้นำนั้นมีทั...
-
ในกระบวนการโค้ชและการเป็นพี่เลี้ยงนั้น ทักษะการสะท้อนกลับที่มีคุณภาพ (Effective Feedback) หรือบางทีเรียกทับศัพท์เป็นคำง่ายๆว่า ทักษะการให้ฟีดแบค เป็นทักษะและกระบวนการหนึ่งในการบ่งบ...
-
ทักษะการถาม (Questioning skill for coach) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่สำคัญของโค้ช และผู้นำทีม ผู้จัดการ เพราะการถามที่ดีจะได้คำตอบที่หลากหลาย และสร้างสรรค์ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราถามว่า5+5 ได...
-
การรับการสะท้อนกลับ หรือ การรับฟีดแบค(feedback) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่สำคัญสำหรับทั้งผู้นำและผู้ตาม เพราะในปัจจุบันคนไม่ไม่กล้าให้ฟีดแบคกันเพราะเกรงปฏิกิริยากลับมาไม่ว่า การไม่ยอมรับ...
-
โมเดลที่เป็นที่รู้จักและใช้ในการโค้ชอย่างกว้างขวางโมเดลหนึ่งคือ GROW model ซึ่งเป็นโมเดลที่Sir John Whitmoreและทีม พัฒนาขึ้นมาในปี 1980 และกลายมาเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายจากหนังสื...
-
ปัจจุบันทักษะการโค้ช(Coaching Skills)เป็นอีกเครื่องมือ(tools) หนึ่งที่สำคัญสำหรับผู้นำในองค์กรในการบริหารจัดการ และพัฒนาดึงศักยภาพของผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดีอีกเครื่องมือหนึ...
-
อาจารย์ศศิมา – เก๋ได้มีโอกาสไปแบ่งปันเรื่อง Leader as Coach and Mentor หลายแห่ง ทั้งแบบ การโค้ชตัวต่อตัว (one on one coaching ) การโค้ชแบบกลุ่ม (Group coaching) และการสัมมนาในรูปแบ...
-
ผู้ที่อยากนำทักษะการโค้ชไปโค้ชในลูกน้อง เพื่อพัฒนาและดึงศักยภาพของลูกน้อง จะเริ่มอย่างไร หลังจากที่ได้เรียนรู้หรือจบสัมมนาแล้วหลายคนเมื่อได้เรียนรู้เรื่องโค้ชไปแล้ว สิ่งที่อ.เก๋มั...
-
สิ่งที่สำคัญสำหรับการโค้ชให้มีประสิทธิภาพ นั้นก็คือการสร้างความไว้วางใจระหว่าง โค้ช และผู้รับการโค้ช นั้นเอง เพราะความไว้วางใจ จะเป็นสิ่งที่เปิดใจ เปิดหัวใจ ของผู้รับการโค้ช ให้กล้...
-
ทักษะการสะท้อนกลับที่มีคุณภาพ ให้เกิดการพัฒนาทีมงาน (Effective Feedback) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน และการพัฒนานวัตกรรมได้ ซึ่งเป็นอีกทักษะหนึ่งที่ห...
-
ในยุคนี้ต้องบอกว่า ทักษะการฟังอย่างเข้าอกเข้าใจและใส่ใจ Empathic listening เป็นทักษะที่สำคัญมากสำหรับทุกๆคนในองค์กร CEO ผู้นำ หัวหน้า ผู้จัดการ ในการฟังลูกทีม ฟังลูกน้อง เพื่อให้เข...
-
เก๋มักจะได้รับคำถามจากผู้บริหารหรือผู้นำทีมที่เป็นทีมนวัตกรรม หรือ ผู้บริหารที่พัฒนาองค์กร และต้องการให้องค์กรมีการเติบโตด้วยนวัตกรรม ว่า ถ้าจะพัฒนาให้ทีมงานสามารถคิดสร้างสรรค์พัฒ...