(รีวิว) หนังสือสิบรูปแบบการสร้างนวัตกรรม (Ten Type of Innovation Framework) โดยศศิมา สุขสว่าง
วันนี้อาจารย์ศศิมา เก๋ มาแบ่งปันเรื่องของการพัฒนานวัตกรรมนะคะ ส่วนใหญ่เวลาที่ไปแบ่งปัน แลกเปลี่ยน เป็นวิทยากร โค้ช ที่ปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม จะพบว่า หลายคนติดกรอบว่า นวัตกรรมจะเป็นการพัฒนา ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ (Product Innovation) กระบวนการใหม่ๆ (Process Innovation) หรือ บริการใหม่ๆ (Service Innovaton) ซึ่ง จริงๆแล้ว นวัตกรรมนั้น ไม่ได้จำกัด กรอบไว้เพียงเท่านี้ นวัตกรรมมีหลายรูปแบบมาก
อ.เก๋ ขออ้างอิง รูปแบบต่างๆของนวัตกรรม ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกรอบแนวคิด 10 แบบ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างนวัตกรรม โดยอ้างอิงจากหนังสือ Ten type of Innovation by Larry Keeley ได้ดังนี้
บทความนี้เขียนโดยอ.ศศิมา สุขสว่าง หากนำไปใช้ประโยชน์ กรุณาอ้างอิงที่มาด้วยนะคะ
1. นวัตกรรมในด้านการจัดวางโครงสร้างรูปแบบต่างๆ
1) Profit Model –นวัตกรรมโมเดลธุรกิจแบบใหม่ๆ การสร้างรูปแบบการทำรูปแบบโมเดลธุรกิจเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น หรือขายสินค้าได้แพงขึ้น เพื่อสร้างกำไรมากขึ้น หรือเป็นวิธีการที่องค์กรจะเปลี่ยน Values มูลค่าของบริการให้เป็นกำไร
2) Network – Values นวัตกรรมจากการสร้างเครือข่าย หรือความร่วมมือเพื่อให้เกิดมูลค่า หรือสร้างคุณค่าใหม่ๆ โดยการทำงานร่วม หรือสร้างเครือข่ายกับคนอื่น ๆ เช่น Third Party, Vender, Cluster เป็นต้น
3) Structure – นวัตกรรมจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างองค์กร การบริหารบุคคลากรใหม่ๆและกระบวนตัดสินใจ ในโครงสร้างองค์กร
4) Process – นวัตกรรมในการพัฒนากระบวนการ การผลิต บริการ แบบใหม่ๆ
2. นวัตกรรมด้านข้อเสนอที่ส่งมอบให้กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้า
5) Product Performance – นวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้มีประสิทธิภาพ คุณสมบัติ ความสามารถของ บริการ หรือผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ แตกต่างไปจากเดิม บทความนี้เขียนโดยอ.ศศิมา สุขสว่าง หากนำไปใช้ประโยชน์ กรุณาอ้างอิงที่มาด้วยนะคะ
6) Product System – นวัตกรรมที่ได้จากกระบวนการพัฒนาระบบ ปรับปรุงกระบวนการผลิต และวิธีที่สร้างมูลค่าเพิ่มโดยการเพิ่ม ส่วนเสริม บริการเสริม ให้กับผลิตภัณฑ์และบริการ
3.นวัตกรรมที่สร้างประสบการณ์ให้กับกลุ่มเป้าหมาย/ลูกค้า
7) Service – นวัตกรรมการบริการแบบใหม่ๆให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย
8) Channel – นวัตกรรมที่เกิดจากการสร้างช่องทางใหม่ๆในการส่งมอบ ผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ถึงมือผู้บริโภคหรือติดต่อกับลูกค้า บทความนี้เขียนโดยอ.ศศิมา สุขสว่าง หากนำไปใช้ประโยชน์ กรุณาอ้างอิงที่มาด้วยนะคะ
9) Brand – นวัตกรรมในการสร้างตราสินค้าและภาพลักษณ์ของแบรนด์มีความน่าจดจำ ในแง่ไหนดี/ไม่ดี ให้มีคุณค่า
10) Customer Experience – นวัตกรรมในการสร้างรูปแบบการติดต่อลูกค้า ให้มีประสบการณ์ที่จะทำให้ผู้บริโภคจดจำบริการหรือผลิตภัณฑ์ได้
ข้อดีหลักๆ ของ Ten Type of Innovation Framework จะประกอบไปด้วย
· ช่วยขยายกรอบวิธีคิดเกี่ยวกับนวัตกรรม มีแนวทางในการพัฒนามากขึ้น นอกเหนือจากที่รู้จักกันเพียง นวัตกรรมด้านกระบวนการ (Process Innovation) ผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) และบริการ (Service Innovation) ทำให้เราสามารถขยายกรอบวิธีคิดของเราให้กว้างขึ้น
· สามารถเห็นแนวทางปัญหา และสิ่งที่ต้องแก้ไขให้ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้หลากหลายมากขึ้น และคลอบคลุมตรงประเด็นยิ่งขึ้น ชัดขึ้น บทความนี้เขียนโดยอ.ศศิมา สุขสว่าง หากนำไปใช้ประโยชน์ กรุณาอ้างอิงที่มาด้วยนะคะ
· จะเห็นว่านวัตกรรมทั้ง 10 รูปแบบครอบคลุม ทุกส่วนงานในองค์กร ดังนั้น นวัตกรรมสามารถสร้างและพัฒนาได้โดยพนักงานทั้งองค์กร ไม่ว่าจะอยู่แผนกไหน ส่วนงานไหนก็มีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรมให้กับองค์กรได้ ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเพียงผู้บริหาร วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ หรือ Talent เท่านั้น
อ.ศศิมา- เก๋ได้นำหลักการในหนังสือเหล่านี้มาใช้และแบ่งปันในหลักสูตรการพัฒนานวัตกรรม และการพัฒนาองค์กรนวัตกรรมด้วย โดยเฉพาะหลักสูตร Creative to Innovation และหลักสูตร Design Thinking เพื่อพัฒนานวัตกรรมในองค์กร (Innovation in Organization) ค่ะ ลองหามาอ่านดูนะคะ
......................................
Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator) และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)
.................................
ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี ทำงานด้าน Research & Development Engineer และนักวิจัยมาโดยตลอด จนได้มาเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ของ THTI กว่า 18 ปี และได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน
...........................................
ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่
ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com
line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994
-
การเข้าใจลูกค้า ผู้ใช้ เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับการตลาด รวมทั้งการพัฒนานวัตกรรมในปัจจุบัน ที่เน้นเรื่องของ Customer Centric หรือ Human Centered เป็นสำคัญ เก๋ได้อ่านหนังสือเรื่อง "อั...
-
การจะสร้างองค์กรนวัตกรรม (Innovation Organization) นั้น จุดเริ่มต้นเริ่มจากตัวบุคคล ทีมงาน และองค์กร ดังนั้นการส่งเสริมให้บุคคลากรในองค์มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในความคิดเชิ...
-
หนังสือเรื่องคิดเชิงออกแบบ Change by Design วันนี้อ.เก๋มาแนะนำหนังสือค่ะ ถ้าเป็นนักนวัตกรหรือนักพัฒนานวัตกรรมยุคนี้ น่าจะต้องไม่พลาดเล่มนี้ค่ะ"คิดเชิงออกแบบ Change by Design" ส่วน...
-
การทำงานเป็นทีม (Teamwork) สิ่งนี้สำคัญมากในการสร้างนวัตกรรมในองค์กร เพราะการจะสร้างนวัตกรรมในองค์กรหรือการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพียงแค่ฝ่าย R&D หรือฝ่ายวิศ...
-
หนังสือ 100 Idea Great Innovation100 สุดยอดไอเดียการสร้างนวัตกรรม โดย Howard Wright แปลโดยณงลักษณ์ และนุชนาฏ. หนังสือเล่มนี้ออกมานานแล้วค่ะแต่หยิบมาอ่านทีไรก้อยังใช้ได้และทันสมั...
-
หนังสือเรื่องคิดเชิงออกแบบDesign Thinkingวันนี้อ.เก๋มาแนะนำหนังสือค่ะ เคยแนะนำหนังสือ"คิดเชิงออกแบบ Change by Design"ซึ่งเขียนโดยทิม บราวน์ IDEO ไปแล้ววันนี้มาแนะนำเล่มนี้ค่ะ Desig...
-
หนังสือเรื่อง สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้วยนิสัยแค่ 1 % The Power of Habit เล่มนี้เก๋อ่านๆหยุดๆมาหลายรอบ แต่มาช่วงสัปดาห์นี้ที่ตั้งใจอ่านมากเป็นพิเศษ มีข้อคิดหลายประเด็นที่ชอบ ...
-
หนังสือทำน้อยให้ได้มาก The Power of less เล่มนี้ เป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับคนทำงานที่มักจะง่ายยุ่งตลอดเวลา แล้วอยากจัดสรรชีวิตให้ง่ายขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ปีที่แล้วเก๋อ่านไปร...
-
สำหรับคนทำงานออนไลน์ ขายออนไลน์ เรื่องของการบริหารจัดการข้อมูลลูกค้าให้มียอดขายเพิ่มขึ้น เป็นอีกทางรอดหนึ่งในยุคนี้เลยค่ะ หนังสือเล่มนี้ เขียนโดย คุณณัฐพล ม่วงทำ เจ้าของเพจการตลาดว...
-
หนังสือเล่มนี้เขียนโดย มาซาชิ โยชิอิ แปลโดย อาคิรา รัตนาภิรัต เล่มนี้เก๋หยิบมาอ่านแล้วได้ไอเดียมาปรับใช้กับตัวเอง หลายประเด็นเป็นสิ่งที่ทำอยู่แล้ว เลยได้การยืนยันว่า สิ่งที่เราทำอย...