ทักษะการให้ข้อมูลป้อนกลับสำหรับผู้นำและผู้บริหาร (Effective Feedback) โดยศศิมา สุขสว่าง
ในกระบวนการโค้ชและการเป็นพี่เลี้ยงนั้น ทักษะการสะท้อนกลับที่มีคุณภาพ (Effective Feedback) หรือบางทีเรียกทับศัพท์เป็นคำง่ายๆว่า ทักษะการให้ฟีดแบค เป็นทักษะและกระบวนการหนึ่งในการบ่งบอกถึงสิ่งที่เกิดขึ้น และมีการสะท้อนกลับที่ช่วยให้เกิดการการพัฒนา ปรับปรุงและเรียนรู้ที่จะทำให้ดีขึ้น โดยสะท้อนถึงกระบวนการ การกระทำ พฤติกรรม ที่เป็นรูปธรรม ตลอดจนรวมถึงการสะท้อนด้วยข้อมูล ตัวเลข สถิติต่างๆ รวมถึงสิ่งที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรค์ในการพัฒนาสิ่งต่างๆให้ดีขึ้น
(หมายเหตุ : ท่านสามารถอ่านบทความด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงอื่นๆได้ที่ www.HCDcoaching.com ที่เป็นเวปไซต์แบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงโดยตรงของอ.ศศิมา สุขสว่างค่ะ)
ลักษณะของการให้ Feedback ที่ดี
1. การ Feedback ที่ได้ผล ผู้ให้ Feedback ต้องคำ นึงถึงประโยชน์ของผู้รับ Feedback เป็นหลักสร้างบรรยากาศให้เป็นมิตร เกิดความไว้วางใจต่อกัน
2. ผู้ให้ Feedback มีเป้าหมาย และประเด็นที่ชัดเจนว่าจะ Feedback อะไร เพื่อให้เกิดการพัฒนา ไม่ใช้เพื่อทำลายความมั่นใจของผู้รับ งดเว้นการใช้ความรู้สึก อารมณ์ ความเชื่อส่วนตัวมาใส่ลงใน Feedback
3. ให้ Feedback ที่ทักษะ กระบวนการ และความพยายามที่เป็นรูปธรรมและเฉพาะเจาะจงกับพฤติกรรมสามารถนำไปดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาได้จริงเพื่อการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
4. การ Feedback สรุปประเด็นถึงสิ่งที่ควรเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้น
5.หลังจาก Feedback มีการติดตามผล และหากมีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น ควรชื่นชมและให้คุณค่ากับการ Feedback
6. การสร้างพื้นที่ปลอดภัย ไม่กดดัน น้ำเสียงและท่าทางที่เป็นมิตร ตรงประเด็นที่ตั้งเป้าหมายให้มีการพัฒนาขึ้นไว้
หรือสามารถสรุปได้สั้นๆ ดังนี้คือ
Right Thing - ถูกต้อง
ตามสิ่งที่เป็นข้อกำหนด หรือสิ่งที่ถูกต้อง ตรงไปตรงมา
Right Place - ถูกกาละเทศะ
ผู้ให้ feedback ควรให้ Feedback กับผู้รับ Feedback ในสถานที่ส่วนตัวไม่ให้ในที่สาธารณะ เพราะผู้รับ feedback อาจจะเกิดความรู้สึกอับอาย หรือถูกประจาน และเกิดผลลัพธ์ในเชิงลบแทนที่จะพัฒนา
Right Time - ถูกเวลา
ให้ในเวลาที่เหมาะสม ไม่ปล่อยเวลาล่วงเลยเนิ่นนานเกินไป
Right Point - ถูกจุด
ให้ Feedback ที่ตรงกับพฤติกรรมหรือกระบวนการเพื่อการพัฒนาชัดเจน ไม่กว้างจนจับประเด็นไม่ได้ ไม่ใช้ความรู้สึก และไม่มุ่งเน้นที่ผลลัพธ์ (Result) เพียงอย่างเดียว
Right Mind- ถูกใจ
ให้ผู้รับ feedback แสดงความคิดเห็นเพื่อให้เข้าใจตรงกัน และร่วมกันตั้งเป้าหมายแก้ไขให้ดีกว่าเดิม
การให้ Feedback ที่ดี จะช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้ และทักษะนี้เป็นทักษะที่สำคัญสำหรับผู้นำในองค์กร โค้ช และพี่เลี้ยงที่จะช่วยเสริมสร้างให้ผู้รับการ feedback มีการปรับปรุง และพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้ด้วยนะคะ
เก๋หวังว่าบทความนี้ จะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่กำลังหาแนวทางการให้ feedback ที่ดีนะคะ ลองเอาไปปรับใช้ในองค์กรหรือในส่วนงานที่รับผิดชอบดูค่ะ แล้วมาแบ่งปันกับเก๋บ้างนะคะ ว่าเป็นอย่างไรบ้างค่ะ
หมายเหตุ : ท่านสามารถอ่านบทความด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงอื่นๆได้ที่
ที่เป็นเวปไซต์แบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงโดยตรงของอ.ศศิมา สุขสว่างค่ะ
.....................................................
หลักสูตรที่เกี่ยวข้อง
- หลักสูตร Coaching for Performance Working : การโค้ชเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน (ติดต่อ)
- หลักสูตร Mentoring and Coaching Skill for Leader (Supervisor/Manager) : ทักษะการโค้ชและเป็นพี่เลี้ยงสำหรับผู้นำ (ผู้จัดการหรือหัวหน้างาน) (ติดต่อ)
.....................................................
ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี ทำงานด้าน Research & Development Engineer มาโดยตลอด และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรอิสระแห่งหนึ่ง ได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล
ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน โดยยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)
...........................................
ติดตามข่าว หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training ได้ที่
ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com
line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994 (โทรกลับเฉพาะเบอร์มือถือนะคะ)
-
หลักสูตร เทคนิคการโค้ชและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching & Mentoring technique for high performance working) วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง (เนื้อหาโดยอ.ศศิมา สุขสว่าง - อ. เก๋ - หากนำไปใ...
-
การโค้ช (Coaching) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของหัวหน้า ผู้จัดการ และผู้นำ ในการใช้ดึงศักยภาพและประสิทธิภาพจากผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งสามารถพัฒนาความสามารถของทีมในการปฏิบัติงานให้ได้...
-
มีเพื่อนๆและคนรู้จักหลายคนของเก๋ ที่ได้แลกเปลี่ยนแบ่งปัน และรับการโค้ชรวมถึงผู้รับการโค้ชในองค์กรที่เก๋ได้ไปอบรมสัมมนาที่ผ่านมา สนใจอยากเรียนรู้ด้านการโค้ชตามสถาบันการสอนโค้ชเพื่อเ...
-
บทความนี้จะรวบรวมเรื่องราวความรู้ เหตุการณ์ เรื่องเล่าเกี่ยวกับ Coaching at Work ในรูปแบบสื่อ Youtube ที่จัดทำโดยอาจารย์ศศิมา สุขสว่างค่ะ (หมายเหตุ : Youtube ที่อ.เก๋จัดทำขึ้นมาบาง...
-
หน้าที่หลักอย่างหนึ่งของผู้จัดการ (Manager) หรือหัวหน้างาน (Supervisor) คือการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ให้มีทักษะ (Skill) สมรรถนะความสามารถ (Competency) และศักยภาพในการทำงานเพื่อให้ส...
-
เก๋ได้มีโอกาสได้ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้บริหารขององค์กรรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง เกี่ยวกับการพัฒนาพนักงานดีเด่น หรือ Talent ขององค์กรให้มี engagement กับองค์กร เนื่องจากในตอนนี้มีอัตราก...
-
ผู้จัดการและผู้นำทีมในองค์กร มีความสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ ซึ่งทักษะการโค้ชเป็นอีกทักษะหนึ่งที่ช่วยให้พนักงานมีส่วนร่วมและรักษาผลงาน รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ตลอดจ...
-
หลายๆคนคงเป็นแฟนหนังเรื่อง Fast & Furious ที่สร้างมาจนถึงภาคที่ 7 แล้ว ซึ่งเป็นตอนที่หลายคนทั้งมันส์และต้องเสียน้ำตาให้กับการจากไปของ Paul walker (รวมทั้งผู้เขียนด้วย) ซึ่งถือเ...
-
พี่เลี้ยง (Mentoring)คำนี้มีที่มาจากนิยายกรีก สมัยโบราณ ว่ากันว่าโอเดสซีอุส(Odesseous)เตรียมตัวที่จะไปเมืองทรอย ได้ฝากฝังเพื่อนคนที่ชื่อว่าเมนเตอร์(Mentor)ให้ปกป้องดูแลทรัพย์สมบัติ...
-
การโค้ช (Coaching) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของผู้จัดการและผู้นำทีม ที่สามารถใช้ดึงศักยภาพและประสิทธิภาพจากผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถพัฒนาความสามารถของทีมในการปฏิบั...
-
พี่เลี้ยง (Mentoring) คำนี้มีที่มาจากนิยายกรีก สมัยโบราณ ว่ากันว่า โอเดสซีอุส(Odesseous) เตรียมตัวที่จะไปเมืองทรอย ได้ฝากฝังเพื่อนคนที่ชื่อว่า เมนเตอร์(Mentor) ให้ปกป้องดูแลทรัพย์ส...
-
ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่ง ที่องค์กรนำมาใช้ในการจัดการความรู้ โดยการถ่ายทอดความรู้ระหว่างผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่ากับเพื่อนร่วมงานหรือรุ่นน้องที่มีประส...
-
ผู้นำในองค์กร สามารถเป็นเพื่อนชวนคิด และสามารถให้กำลังใจ ให้แรงบันดาลใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ไม่ว่าจะนำทีมเล็กหรือทีมใหญ่ รวมทั้งสามารถนำทีมให้ประสบความสำเร็จได้ หากผู้นำนั้นมีทั...
-
ทักษะการฟังเชิงรุกสำหรับโค้ช (Active Listening Skill for Coach)เป็นทักษะที่สำคัญมาก เพราะในกระบวนการโค้ชนั้น โค้ชจะใช้เวลาในการฟัง 70% - 80% (อีก 20 % สำหรับการถาม,feedback ฯ) การฟ...
-
ทักษะการถาม (Questioning skill for coach) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่สำคัญของโค้ช และผู้นำทีม ผู้จัดการ เพราะการถามที่ดีจะได้คำตอบที่หลากหลาย และสร้างสรรค์ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราถามว่า5+5 ได...
-
การรับการสะท้อนกลับ หรือ การรับฟีดแบค(feedback) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่สำคัญสำหรับทั้งผู้นำและผู้ตาม เพราะในปัจจุบันคนไม่ไม่กล้าให้ฟีดแบคกันเพราะเกรงปฏิกิริยากลับมาไม่ว่า การไม่ยอมรับ...
-
โมเดลที่เป็นที่รู้จักและใช้ในการโค้ชอย่างกว้างขวางโมเดลหนึ่งคือ GROW model ซึ่งเป็นโมเดลที่Sir John Whitmoreและทีม พัฒนาขึ้นมาในปี 1980 และกลายมาเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายจากหนังสื...
-
ปัจจุบันทักษะการโค้ช(Coaching Skills)เป็นอีกเครื่องมือ(tools) หนึ่งที่สำคัญสำหรับผู้นำในองค์กรในการบริหารจัดการ และพัฒนาดึงศักยภาพของผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดีอีกเครื่องมือหนึ...
-
อาจารย์ศศิมา – เก๋ได้มีโอกาสไปแบ่งปันเรื่อง Leader as Coach and Mentor หลายแห่ง ทั้งแบบ การโค้ชตัวต่อตัว (one on one coaching ) การโค้ชแบบกลุ่ม (Group coaching) และการสัมมนาในรูปแบ...
-
ผู้ที่อยากนำทักษะการโค้ชไปโค้ชในลูกน้อง เพื่อพัฒนาและดึงศักยภาพของลูกน้อง จะเริ่มอย่างไร หลังจากที่ได้เรียนรู้หรือจบสัมมนาแล้วหลายคนเมื่อได้เรียนรู้เรื่องโค้ชไปแล้ว สิ่งที่อ.เก๋มั...
-
สิ่งที่สำคัญสำหรับการโค้ชให้มีประสิทธิภาพ นั้นก็คือการสร้างความไว้วางใจระหว่าง โค้ช และผู้รับการโค้ช นั้นเอง เพราะความไว้วางใจ จะเป็นสิ่งที่เปิดใจ เปิดหัวใจ ของผู้รับการโค้ช ให้กล้...
-
ทักษะการสะท้อนกลับที่มีคุณภาพ ให้เกิดการพัฒนาทีมงาน (Effective Feedback) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน และการพัฒนานวัตกรรมได้ ซึ่งเป็นอีกทักษะหนึ่งที่ห...
-
ในยุคนี้ต้องบอกว่า ทักษะการฟังอย่างเข้าอกเข้าใจและใส่ใจ Empathic listening เป็นทักษะที่สำคัญมากสำหรับทุกๆคนในองค์กร CEO ผู้นำ หัวหน้า ผู้จัดการ ในการฟังลูกทีม ฟังลูกน้อง เพื่อให้เข...