ทักษะการถามเชิงบวก (Positive Questioning Skill) สำหรับผู้นำในบทบาทโค้ชหรือพี่เลี้ยง โดยศศิมา สุขสว่าง
ทักษะการถาม (Questioning skill for coach) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่สำคัญของโค้ช และผู้นำทีม ผู้จัดการ เพราะการถามที่ดีจะได้คำตอบที่หลากหลาย และสร้างสรรค์ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราถามว่า 5+5 ได้เท่าไร มีคำตอบเดียว คือ 10 แต่ถ้าเราถามว่า อะไรบวกกันได้ 10 คำตอบที่ได้ จะมีความหลายหลายมาก เช่น 1+9 ,2+8, 3+7, 4+6 ,5+5 ซึ่งหากเราใช้คำถามที่ดี เราจะได้แนวคิดใหม่ๆ มากมายค่ะ
การถามเชิงบวกทำให้เกิดกระบวนการคิด ตรึกตรอง และค้นหาคำตอบ การถามจึงเป็นการกระตุ้นความคิด เมื่อเกิดการฝึกฝนคิดบ่อยๆเข้าผู้ที่ถูกถามจะสามารถคิด และแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง คำถามที่ดีควรเป็นคำถามปลายเปิด (Open Question) เพื่อให้ผู้ถูกถามได้แสดงความคิดเห็น เช่น ถามว่า ในเรื่องนี้คุณคิดว่า ควรแก้ไขอย่างไรบ้าง? คำถามนี้สามารถดึงความคิดเห็นออกมาได้ แต่ถ้าเป็นคำถามปลายปิด (Close question) จะทำให้จำกัดความคิด ของโค้ชชี่ได้
(หมายเหตุ : ท่านสามารถอ่านบทความด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงอื่นๆได้ที่ www.sasimasuk.com ที่เป็นเวปไซต์แบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงโดยตรงของอ.ศศิมา สุขสว่างค่ะ)
ประเภทของคำถามเพื่อการโค้ช (Question skill for Coaching)
1. คำถามปลายเปิด (Open Question)
คำถามปลายเปิดเป็นคำถามที่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบ ได้แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ ได้คำตอบหลายแง่มุม จากความคิดและความรู้สึกของตัวเอง โดยเป็นคำตอบที่ทำให้ได้ใช้ความรู้ ความเข้าใจ จากตัวเอง คำถามเหล่านี้ จะเป็นกลาง ไม่ได้ชี้นำ เพื่อให้ได้คำตอบที่เปิดกว้าง และขยายความในเหตุการณ์ หรือได้ทางเลือกใหม่ๆ
โดยประโยคคำถาม จะใช้คำว่า อะไร อย่างไร เพราะอะไร ตัวอย่างเช่น
- สถานการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไร
- คุณคิดอย่างไรกับปัญหาที่เกิดขึ้น
- มีแนวทางแก้ไขหรือทำให้ดีขึ้นอย่างไรบ้าง
- เป้าหมายที่สำคัญของคุณคืออะไร
- เป้าหมายที่ต้องการสำคัญอย่างไร หรือมีคุณค่าอย่างไรกับคุณ
คำถามปลายเปิดจะทำให้โค้ชชี่ ได้คิด ตระหนักรู้ เข้าใจตัวเอง และหาทางออกด้วยตัวเอง และเกิดความรับผิดชอบในการที่จะทำ หากต้องนำความคิดเหล่านั้นไปต่อยอดลงมือทำ
อ่านบทความ GROW Model สำหรับการโค้ช ซึ่งมีตัวอย่างคำถามปลายเปิด กดที่นี่
2. คำถามปลายปิด (Close Question)
คำถามปลายปิด จะเป็นคำถามที่ถามเพื่อให้ได้คำตอบว่า ใช่ หรือไม่ใช่ คำถามปลายปิดควรหลีกเลี่ยงการใช้ถามในช่วงแรก เพราะในช่วงแรกๆควรถามคำถามปลายเปิดเพื่อให้โค้ชชี่ หรือผู้ถูกถาม ได้คิดไอเดีย ได้หาทางออกหลายๆทางก่อน คำถามปลายปิดเมื่อใช้ในการโค้ชนั้น มักจะใช้หลังจากที่ได้มีการใช้คำถามปลายเปิดแล้ว ใช้คำถามปลายปิด เพื่อทบทวนความเข้าใจของโค้ชและโค้ชชี่ให้ตรงกัน หรือเพื่อให้เกิดการตัดสินใจ หรือให้มั่นใจในการกระทำ นั้น เช่น
- จากที่โค้ชได้ฟังมาถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ทางโค้ชชี่จะทำนั้น โค้ชชี่จะใช้วิธีการ A ในการแก้ไขปัญหานี้ใช่ไหมคะ
คำถามที่ควรหลีกเลี่ยงในการโค้ช
ในการโค้ชนั้น มีคำถามที่ควรจะหลีกเลี่ยงที่จะใช้ คือ คำถามชี้นำ หรือคำถามที่ใส่ความคิด ความรู้สึก ของโค้ชเพื่อเป็นการชี้นำโค้ชชี่ และการใช้คำถามซ้อนคำถาม จนมีคำถามมากกว่า 1 คำถามใน 1 ประโยค เช่น
- โค้ชคิดว่า คุณควรใช้วิธีการ A ในการแก้ปัญหา... นี้ คุณคิดว่าอย่างไร - ปรับเป็น คุณจะใช้วิธีการอะไรในการแก้ปัญหานี้จากวิธีการทั้งหมดที่มี
- คุณชอบวิธีการแบบ A หรือแบบ B มากกว่ากัน - ปรับเป็น คุณชอบวิธีการแก้ไขปัญหาแบบใด
หรือคำถามที่ขึ้นต้นด้วย "ทำไม" เพราะจะทำให้ผุ้ถูกถามรู้สึกอึดอัด กดดัน รวมทั้ง เกิดแรงสะท้อนกลับในด้านลบกับคำถามว่า ทำไม
ตัวอย่างสถานการณ์จริง
หัวหน้า : ผมคิดว่าจากปัญหาที่เกิดขึ้นควรแก้ไขโดยวิธี…(ความคิดของหัวหน้า)…คุณเห็นด้วยหรือไม่
ลูกน้อง : (ตอบคำถามปลายปิด) “จะตอบอะไรได้ นอกจากว่า “เห็นด้วย” ทั้งที่ในใจอาจจะมีวิธีอื่นที่คิดว่าดีกว่า
หรือบางครั้งไม่เห็นด้วย อาจจะเงียบ ไม่กล้าพูดในกรณีที่ไม่สนิทกับหัวหน้า หรือถ้ามีวิธีที่ดีกว่า ก็ไม่อยากจะเสนอ เพราะเกรงว่าจะได้รับมอบหมายให้ทำ
ตัวอย่างคำถามปลายเปิด
หัวหน้า : จากปัญหาที่เกิดขึ้นควรแก้ไขโดย คุณคิดว่ามีวิธีการแก้ไขแก้ไขอย่างไรบ้าง?
ลูกน้อง : ผม/ดิฉัน คิดว่า น่าจะแก้ไขดังนี้ค่ะ 1..., 2....3....
คำถามปลายเปิด คนเป็นหัวหน้า อาจจะได้คำตอบที่ให้วิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ๆ นอกเหนือจากความรู้ความสามารถของตัวเองก็ได้ ลูกน้องก็จะได้ลงมือทำในสิ่งที่ตัวเองคิด และได้รับการยอมรับจากหัวหน้าด้วย
..................
สนใจหลักสูตร "ผู้นำในบทบาทของโค้ชและพี่เลี้ยงเพื่อประสิทธิภาพการทำงาน" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
(ต้องการรายละเอียดหลักสูตรฉบับเต็ม พร้อม ใบเสนอราคา ขอกรุณาอีเมล์มาที่ sasimasuk.com@gmail.com อ.เก๋เช็คอีเมล์ทุกวันค่ะ)
.....................................................
ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี ทำงานด้าน Research & Development Engineer มาโดยตลอด และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรอิสระแห่งหนึ่ง ได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล
ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน โดยยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)
...........................................
ติดตามข่าว หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training ได้ที่
ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com
line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994
-
หลักสูตร เทคนิคการโค้ชและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching & Mentoring technique for high performance working) วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง (ต้องการรายละเอียดหลักสูตรฉบับเต็มพร้อมใบเสนอรา...
-
การโค้ช (Coaching) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของหัวหน้า ผู้จัดการ และผู้นำ ในการใช้ดึงศักยภาพและประสิทธิภาพจากผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งสามารถพัฒนาความสามารถของทีมในการปฏิบัติงานให้ได้...
-
มีเพื่อนๆและคนรู้จักหลายคนของเก๋ ที่ได้แลกเปลี่ยนแบ่งปัน และรับการโค้ชรวมถึงผู้รับการโค้ชในองค์กรที่เก๋ได้ไปอบรมสัมมนาที่ผ่านมา สนใจอยากเรียนรู้ด้านการโค้ชตามสถาบันการสอนโค้ชเพื่อเ...
-
หน้าที่หลักอย่างหนึ่งของผู้จัดการ (Manager) หรือหัวหน้างาน (Supervisor) คือการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ให้มีทักษะ (Skill) สมรรถนะความสามารถ (Competency) และศักยภาพในการทำงานเพื่อให้ส...
-
เก๋ได้มีโอกาสได้ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้บริหารขององค์กรรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง เกี่ยวกับการพัฒนาพนักงานดีเด่น หรือ Talent ขององค์กรให้มี engagement กับองค์กร เนื่องจากในตอนนี้มีอัตราก...
-
ผู้จัดการและผู้นำทีมในองค์กร มีความสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ ซึ่งทักษะการโค้ชเป็นอีกทักษะหนึ่งที่ช่วยให้พนักงานมีส่วนร่วมและรักษาผลงาน รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ตลอดจ...
-
หลายๆคนคงเป็นแฟนหนังเรื่อง Fast & Furious ที่สร้างมาจนถึงภาคที่ 7 แล้ว ซึ่งเป็นตอนที่หลายคนทั้งมันส์และต้องเสียน้ำตาให้กับการจากไปของ Paul walker (รวมทั้งผู้เขียนด้วย) ซึ่งถือเ...
-
พี่เลี้ยง (Mentoring)คำนี้มีที่มาจากนิยายกรีก สมัยโบราณ ว่ากันว่าโอเดสซีอุส(Odesseous)เตรียมตัวที่จะไปเมืองทรอย ได้ฝากฝังเพื่อนคนที่ชื่อว่าเมนเตอร์(Mentor)ให้ปกป้องดูแลทรัพย์สมบัติ...
-
การโค้ช (Coaching) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของผู้จัดการและผู้นำทีม ที่สามารถใช้ดึงศักยภาพและประสิทธิภาพจากผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถพัฒนาความสามารถของทีมในการปฏิบั...
-
พี่เลี้ยง (Mentoring) คำนี้มีที่มาจากนิยายกรีก สมัยโบราณ ว่ากันว่า โอเดสซีอุส(Odesseous) เตรียมตัวที่จะไปเมืองทรอย ได้ฝากฝังเพื่อนคนที่ชื่อว่า เมนเตอร์(Mentor) ให้ปกป้องดูแลทรัพย์ส...
-
ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่ง ที่องค์กรนำมาใช้ในการจัดการความรู้ โดยการถ่ายทอดความรู้ระหว่างผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่ากับเพื่อนร่วมงานหรือรุ่นน้องที่มีประส...
-
ผู้นำในองค์กร สามารถเป็นเพื่อนชวนคิด และสามารถให้กำลังใจ ให้แรงบันดาลใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ไม่ว่าจะนำทีมเล็กหรือทีมใหญ่ รวมทั้งสามารถนำทีมให้ประสบความสำเร็จได้ หากผู้นำนั้นมีทั...
-
ทักษะการฟังเชิงรุกสำหรับโค้ช (Active Listening Skill for Coach)เป็นทักษะที่สำคัญมาก เพราะในกระบวนการโค้ชนั้น โค้ชจะใช้เวลาในการฟัง 70% - 80% (อีก 20 % สำหรับการถาม,feedback ฯ) การฟ...
-
ในกระบวนการโค้ชและการเป็นพี่เลี้ยงนั้น ทักษะการสะท้อนกลับที่มีคุณภาพ (Effective Feedback) หรือบางทีเรียกทับศัพท์เป็นคำง่ายๆว่า ทักษะการให้ฟีดแบค เป็นทักษะและกระบวนการหนึ่งในการบ่งบ...
-
การรับการสะท้อนกลับ หรือ การรับฟีดแบค(feedback) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่สำคัญสำหรับทั้งผู้นำและผู้ตาม เพราะในปัจจุบันคนไม่ไม่กล้าให้ฟีดแบคกันเพราะเกรงปฏิกิริยากลับมาไม่ว่า การไม่ยอมรับ...
-
โมเดลที่เป็นที่รู้จักและใช้ในการโค้ชอย่างกว้างขวางโมเดลหนึ่งคือ GROW model ซึ่งเป็นโมเดลที่Sir John Whitmoreและทีม พัฒนาขึ้นมาในปี 1980 และกลายมาเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายจากหนังสื...
-
ปัจจุบันทักษะการโค้ช(Coaching Skills)เป็นอีกเครื่องมือ(tools) หนึ่งที่สำคัญสำหรับผู้นำในองค์กรในการบริหารจัดการ และพัฒนาดึงศักยภาพของผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดีอีกเครื่องมือหนึ...
-
อาจารย์ศศิมา – เก๋ได้มีโอกาสไปแบ่งปันเรื่อง Leader as Coach and Mentor หลายแห่ง ทั้งแบบ การโค้ชตัวต่อตัว (one on one coaching ) การโค้ชแบบกลุ่ม (Group coaching) และการสัมมนาในรูปแบ...
-
ผู้ที่อยากนำทักษะการโค้ชไปโค้ชในลูกน้อง เพื่อพัฒนาและดึงศักยภาพของลูกน้อง จะเริ่มอย่างไร หลังจากที่ได้เรียนรู้หรือจบสัมมนาแล้วหลายคนเมื่อได้เรียนรู้เรื่องโค้ชไปแล้ว สิ่งที่อ.เก๋มั...
-
สิ่งที่สำคัญสำหรับการโค้ชให้มีประสิทธิภาพ นั้นก็คือการสร้างความไว้วางใจระหว่าง โค้ช และผู้รับการโค้ช นั้นเอง เพราะความไว้วางใจ จะเป็นสิ่งที่เปิดใจ เปิดหัวใจ ของผู้รับการโค้ช ให้กล้...
-
ทักษะการสะท้อนกลับที่มีคุณภาพ ให้เกิดการพัฒนาทีมงาน (Effective Feedback) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน และการพัฒนานวัตกรรมได้ ซึ่งเป็นอีกทักษะหนึ่งที่ห...
-
ในยุคนี้ต้องบอกว่า ทักษะการฟังอย่างเข้าอกเข้าใจและใส่ใจ Empathic listening เป็นทักษะที่สำคัญมากสำหรับทุกๆคนในองค์กร CEO ผู้นำ หัวหน้า ผู้จัดการ ในการฟังลูกทีม ฟังลูกน้อง เพื่อให้เข...
-
เก๋มักจะได้รับคำถามจากผู้บริหารหรือผู้นำทีมที่เป็นทีมนวัตกรรม หรือ ผู้บริหารที่พัฒนาองค์กร และต้องการให้องค์กรมีการเติบโตด้วยนวัตกรรม ว่า ถ้าจะพัฒนาให้ทีมงานสามารถคิดสร้างสรรค์พัฒ...