การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และ Pain Point โดย ศศิมา สุขสว่าง

หลายครั้งที่เราได้รับรู้ปัญหา และ Pain Point ของลูกค้าแล้ว ซึ่งมันอาจจะเยอะไปหมด จนไม่รู้ว่าจะแก้ไขปัญหาไหนก่อนหลัง ให้มีประสิทธิภาพและ impact ที่จะเกิดประโยชน์ที่สุดทั้งต่อลูกค้าและองค์กรของเรา

  

Alexader osmnterwalder และทีมงาน ได้เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง Value Proposition Design ไว้การจัดอันดับของงาน ปัญหา และประโยชน์ของลูกค้าจะทำให้เราสามารถจัดลำดับการทำงาน และการสร้างคุณค่าที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ตรงใจมากขึ้น  สิ่งที่สำคัญคือ ต้องมองในมุมของลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของเรา ไม่ใช่มองในมุมมองของเรา

 

 

การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และ Pain Point นั้นสามารถจัดลำดับได้ดังนี้

 

ตามความสำคัญของงาน

จัดตามลำดับความสำคัญของปัญหานั้น โดยดูผลกระทบที่มีต่องานของลูกค้า เช่น ภาพพจน์ที่ดีในสายตาของเพื่อนร่วมงานและหัวหน้า, ความก้าวหน้าในชีวิตและการงาน, การพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ, ไม่ตกเทรนด์ , จัดการงานได้

 

ตามความรุนแรงและผลกระทบของปัญหา

การจัดตามตามความรุนแรงและผลกระทบของปัญหาในสายตาของลูกค้า เช่น การลดความเสี่ยง ไม่มีเวลา , ผลกระทบเชิงลบต่างๆที่เกี่ยวกับร่างกายและจิตใจของลูกค้า, งบประมาณไม่พอ/ราคาสูงเกินไป, เสียเวลา เป็นต้น

 

ตามประโยชน์ที่ลูกค้าที่จะได้รับ

การจัดอันดับประโยชน์ตามที่ลูกค้าจะได้รับและพึงพอใจ  เช่น เข้าใจได้ง่าย, สนุก , ได้รับความบันเทิง,ได้รับการยอมรับ, มั่นใจ, เห็นผลลัพธ์ได้ทันที เป็นต้น

 

เวลาจัดอันดับ เราอาจจะใช้สเกล 1-10  โดย 10 คือ มากที่สุด และ 1 คือน้อยที่สุดก็ได้ค่ะ

 


ข้อดีของการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา และ Pain Point คือ

1.รู้ลำดับการทำงานว่าต้องแก้ปัญหา หรือสร้างคุณค่าอะไรก่อน -หลังให้กับลูกค้า

2. สามารถจัดสรร ทรัพยากร เช่น คน เงิน วัสดุอุปกรณ์ เวลา ไปแก้ปัญหาหรือสร้างคุณค่าให้ลูกค้าได้ถูกจุดและรวดเร็ว

3.ไม่เสียเวลาผิดจุดที่ไม่ได้มีความสำคัญ  เป็นต้น

 

ลองนำไปปรับใช้ดูนะคะ เวลาที่เราได้รับข้อร้องเรียน หรือได้ประเด็นปัญหา Pain Point หรือประโยชย์ Gain Point ที่ลูกค้าต้องการ กับทรัพยากรคนที่มีอยู่ เราจะสามารถแก้ไข หรือสร้างคุณค่าให้ได้อย่างไร ให้เกิด impact ต่อลูกค้า และต่อองค์กรที่สุดค่ะ

 

เก๋ เป็นกำลังใจให้กับทุกท่านในการพัฒนานวัตกรรม และ ขอบคุณที่ทุกท่านที่เข้ามาอ่านบทความนี้นะคะ  มีความสุขมากๆค่ะ 

......................................

- สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร " Creative to Innovation การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่   

...................................... 

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com 

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 329,262