โค้ชเชิงนวัตกรรม (Innovation Coach) คืออะไร โดย ศศิมา สุขสว่าง-อ.เก๋
เก๋มักจะได้รับคำถามจากผู้บริหารหรือผู้นำทีมที่เป็นทีมนวัตกรรม หรือ ผู้บริหารที่พัฒนาองค์กร และต้องการให้องค์กรมีการเติบโตด้วยนวัตกรรม ว่า ถ้าจะพัฒนาให้ทีมงานสามารถคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม จะทำอย่างไรได้บ้าง เลยเป็นไอเดียให้เก๋มาตั้งใจในแบ่งปันความรู้เรื่อง "การโค้ชเชิงนวัตกรรม" ให้มากขึ้น
ทำไมจึงต้องโค้ชเชิงนวัตกรรม
เพราะหลายๆครั้ง ที่เจอ Talent หรือผู้นำ ผู้จัดการที่เก่งมาก เก่งทั้งการพัฒนานวัตกรรม การพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการ และการทำงานให้กับองค์กร แต่พอจะต้องสอน และโค้ชน้องๆให้เก่งในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมเหมือนตัวเอง ทำได้ หรือบางครั้งก็ทำได้ แต่โค้ชไปสอนไป เอามาทำเองเร็วกว่า ทำให้น้องๆในทีมรอไอเดียจากหัวหน้า หรือรอหัวหน้าสั่งดีกว่า เร็วกว่า ดีกว่า ง่ายกว่า ซึ่งจริงๆแล้วในทีมงานมีคนเก่งเยอะ แต่หัวหน้าเก่งกว่า รอคำสั่งหัวหน้าดีกว่า (ดูคุ้นไหมคะ เหตุการณ์นี้) หลายองค์กรเป็นแบบนี้ หัวหน้าหลายคนก็รู้สึกห่วงงานตลอด จะไปดูงานที่ไหน จะขึ้นตำแหน่งใหม่ก็ยาก จะไปประชุมยาวๆก้อมีน้องแวะเวียนมาขอคุยเพื่อตัดสินใจตลอด เพราะหาคนทำงานแทนตำแหน่งตัวเองไม่ได้
เก๋ก็เคยเป็น ช่วงที่เป็นผู้จัดการศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ค่ะ จะไปอบรมหรือไปดูงานต่างประเทศก็ห่วงงาน ห่วงน้องๆ กลัวงานไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ห่วง KPI /Waste / Productivity ของทั้งตัวเอง และทีมงาน ส่วนหัวหน้าจะให้เก๋ไปไหน ก็กลัวว่า เวลาจะต้องการข้อมูล จะแก้ปัญหาอะไร ถามน้องๆในทีม ไม่ได้ข้อมูล หรือแนวทางดีเท่ามีเก๋อยู่คนเดียว พอเป็นแบบนี้ ทำให้เก๋พลาดโอกาสไปหลายๆอย่างเลยค่ะ ไม่ว่า จะเป็นการสัมมนาผู้บริหารระดับสูงที่เป็นสัมนายาวๆหลายเดือน เพื่อขึ้นเป็นตำแหน่งที่สูงขึ้น การไปดูงานในต่างสถานที่ การไปพักผ่อนกับครอบครัวยาวๆ เป็นต้น จนมาเรียนเรื่องของการโค้ช แล้วนำมาผสมผสานกับความรู้ด้านนวัตกรรม จนสามารถโค้ช และพัฒนาทีมงานที่เก่งอยู่แล้ว ให้เก่งยิ่งขึ้น จนสามารถปล่อยงานได้หลายๆเรื่อง มีเวลาคิดนวัตกรรมใหม่ๆ กลยุทธ์ใหม่ จนออกมาเปิดบริษัทด้านการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาคน ของตัวเองค่ะ
โค้ชเชิงนวัตกรรม (Innovation Coach) คืออะไร
การสอนงาน การให้คำปรึกษา ยังไม่พอสำหรับการปั้น นวัตกร เพราะการสอนงาน และการให้คำปรึกษา เป็นการถ่ายทอดความรู้ของหัวหน้าให้กับน้องๆ ซึ่งถ้าน้องๆมีความรู้ ประสบการณ์ ที่แตกต่างจากหัวหน้า ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และลงมือทำให้ได้เหมือนหัวหน้า แต่การโค้ชจะเป็นการดึงศักยภาพของน้องๆจากทรัพยากรที่เขามี (ความรู้,ประสบการณ์, Connection) ให้สามารถแก้ไขปัญหา พัฒนาสิ่งใหม่จากตัวของเขา จากสิ่งที่อยู่ภายในตัวของน้องๆ ซึ่งอาจจะแตกต่างจากหัวหน้าได้
ดังนั้น เก๋ขอนิยาม การโค้ชเชิงนวัตกรรม จากประสบการณ์ และความรู้ของตัวเอง ที่เป็นทั้งนักวิจัย, R&D Engineer และผูัจัดการศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการได้ร่ำเรียนทางด้านการโค้ชมา (อ.เก๋เรียนโค้ชที่ไหนมาบ้าง กดอ่าน ที่นี่) ดังนี้
"การโค้ชเชิงนวัตกรรม" คือ การโค้ชด้านนวัตกรรม เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ สนับสนุน และโค้ช ทีมงานเพื่อบ่มเพาะนวัตกรรมในองค์กร ดึงศักยภาพของคนทำงานให้สามารถคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมได้ด้วยทรัพยากรที่เขามี หรือพัฒนาขึ้นมา
ผู้นำที่จะโค้ชเชิงนวัตกรรมได้ ควรมีความรู้ด้านใดบ้าง
ผู้นำที่จะโค้ชเชิงนวัตกรรมได้ หากเราจะโค้ชน้องๆให้มีนวัตกรรมได้ ควรมีทักษะความรู้ดังนี้
1) ความรู้ด้านนวัตกรรม ทั้งความหมาย เครื่องมือ และวิธีการ ของนวัตกรรม และมีประสบการณ์ด้านการพัฒนานวัตกรรมด้วยจะยิ่งดีมาก
2) ความรู้ด้านการโค้ช ทั้ง เครื่องมือด้านการโค้ช ทักษะและโมเดลการโค้ช เช่น ทั้งทักษะการฟังอย่างเข้าใจ (Empathic listening) การถาม (Question skills) การให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback skill) การเล่าเรื่อง (Storytelling) รวมทั้งเทคนิค เครื่องมือ และโมเดลในการโค้ช เพื่อให้ทีมงานหรือผู้รับการโค้ชได้ฉุกคิดหรือคิดได้
โค้ชเชิงนวัตกรรมที่มีความรู้และประสบการณ์ทั้งการโค้ช และการพัฒนานวัตกรรม จะสามารถช่วยสนับสนุน บ่มเพาะ ดึงศักยภาพ และไอเดียของทีมงานออกมาได้ ตลอดจนบางครั้งมีเรื่องราวในการพัฒนานวัตกรรมในอดีตมาสร้างแรงบันดาลใจ หรือเป็นแนวทาง เพื่อช่วยให้น้องๆในทีม หรือผู้รับการโค้ชได้จุดประกายไอเดียได้ค่ะ
เวลาที่เก๋ไปเป็นวิทยากรในการสัมมนาในบริษัทต่างๆ นอกจากการให้หลักการ เครื่องมือ วิธีการ และทำ Workshop ในการพัฒนานวัตกรรมแล้ว บางครั้งจะต้องใช้การโค้ชเชิงนวัตกรรมเพื่อให้ผู้เข้าสัมมนา สามารถคิดแนวทางแก้ไขปัญหาพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆให้ออกมาได้ในช่วงของการจัด Workshop ระดมสมองด้วย และด้วยอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน บางครั้งเก๋อาจจะไม่สามารถบอกได้ตรงๆว่า วิธีการที่ต้องแก้ไขปัญหาหรือวิธีการคิดต้องเป็นแบบนี้เป๊ะๆ แต่เก๋จะใช้การโค้ช ผสมผสานกับการเล่าตัวอย่างนวัตกรรมที่ช่วยแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมอื่นๆ หรืออุตสาหกรรมที่ใกล้เคียงกัน จนผู้เข้าสัมมนาปิ๊งแว๊ปไอเดียออกมาใช้ได้ค่ะ
ดังนั้น หัวหน้าที่มีลูกน้องที่มีความหลากหลาย จากคณะ มหาวิทยาลัย ประสบการณ์ ความรู้ที่แตกต่างกัน และศักยภาพแตกต่างกัน จึงควรมีทักษะการโค้ชเชิงนวัตกรรม เพื่อดึงศักยภาพน้องให้สามารถใช้ความคิดของตัวเองในการได้ผลลัพธ์ที่ต้องการได้ อาจจะด้วยวิธีการที่แตกต่างกันตามแต่ละคนนะคะ
ตัวอย่างง่ายๆให้เห็นภาพ
ถ้าหัวหน้าอยากได้งานที่ผลลัพธ์เป็น 10
น้องคนที่ 1 อาจจะใช้วิธีการ 1+9 = 10
คนที่สอง อาจจะใช้วิธีการ 5+5 = 10
น้องคนที่ 3 อาจจะใช้วิธีการ 8+2 = 10
น้องคนที่ 4 อาจจะช้าหน่อย อาจจะใช้วิธีการ 1+1+1+1+1+1+1+1+1++1=10
ส่วนตัวหัวหน้าใช้วิธีการ 6+4 = 10 แล้วบอกว่า คนอื่นไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ถูกต้อง ไม่ดี ไม่ใช่ อันนี้ก็ไม่น่าจะถูกนะคะ
แต่ควรโค้ชให้เขาสามารถใช้ความคิด ความรู้ประสบการณ์ จนได้ผลลัพธ์ตามที่หัวหน้าต้องการ (ซึ่งอาจจะต้องให้กรอบขององค์กรไปเบื้องต้นด้วย) อาจจะเป็นวิธีการที่แตกต่างไปตามน้องๆแต่ละคนที่มีประสบการณ์ และความรู้ พื้นฐานแตกต่างๆกันไป เป็นต้น
ทำไมองค์กรควรพัฒนาผู้จัดการหรือผู้นำทีมให้มีทักษะการโค้ชเชิงนวัตกรรม
1.เพื่อสร้างขีดความสามารถในการพัฒนางาน (Building capabilities) การโค้ชจะช่วยให้สามารถดึงศักยภาพของคนในทีมได้คิดไอเดียใหม่ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพความสามารถด้านนวัตกรรมได้ เพราะทุกคนในองค์กรคือคนสำคัญที่ช่วยให้องค์กรเติบโต และพัฒนาได้
2. เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางธุรกิจ (Coaching for Business Results) ทุกองค์กรต้องการมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ทั้ง ผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการขององค์กร ก่อนที่จะตกยุค หรือหล่นจากใจของลูกค้า ในยุคนี้ เเค่เราอยู่เฉยๆไม่พัฒนาสัก 3-6 เดือน เราอาจจะเสียลูกค้าของเราไปก้อได้ เพราะคู่แข่งใหม่ๆเกิดขึ้นเพิ่มทุกวันทั้งภายในประเทศและนอกประเทศเรา
3. เพื่อรับมือกับความท้าทายจากภายนอก (External Challenge) เนื่องจาก ปัจจุบันเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างรวดเร็วจากนวัตกรรมใหม่ๆที่มาทำลายการทำงานรูปแบบเดิมๆ (Disruptive Innovation) ของคู่แข่งรายใหม่ๆที่เข้ามาในตลาด ตลอดจนการพัฒนาของอุตสาหกรรมใหม่ และStart up ที่แข่งขันและมีนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้ทุกองค์กรต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางไปสู่องค์กรที่แข่งขันด้วยความได้เปรียบเชิงแข่งขันในการพัฒนานวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่า (Value added and value creation) ที่เสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ สร้างมูลค่าด้วยนวัตกรรม ไม่ใช่แข่งขันกันที่ราคาเพียงอย่างเดียวนะคะ
ในบทความต่อไป เก๋จะมาแบ่งปันเพิ่มเติมเกี่ยวกับการโค้ชเชิงนวัตกรรม สำหรับหัวหน้าหรือผู้จัดการที่ต้องบริหาร จัดการให้เกิดนวัตกรรมในองค์กร และอยากมีแนวทาง หรือเครื่องมือใหม่ๆในการพัฒนาคนในแผนก หรือฝ่ายของตัวเราให้เกิดความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมได้ค่ะ
อ.เก๋หวังว่า บทความนี้จะมีประโยชน์กับผู้จัดการ ผู้นำทีม หรือ HR ที่ต้องการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้สามารถคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมให้กับองค์กรได้นะคะ เป็นกำลังใจให้ทุกท่านค่ะ
......................................
สนใจหลักสูตร "ผู้นำในบทบาทของโค้ชและพี่เลี้ยงเพื่อประสิทธิภาพการทำงาน" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
หรือสนใจหลักสูตร "การโค้ชเชิงนวัตกรรมสำหรับผู้นำ/ผู้จัดการ หรือ Innovation coaching for Leader" ดูรายละเอียด กดที่นี่
......................................................
ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี ทำงานด้าน Research & Development Engineer มาโดยตลอด และเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรอิสระแห่งหนึ่ง ได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน โดยยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)
...........................................
ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่
ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com
line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994
-
หลักสูตร เทคนิคการโค้ชและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching & Mentoring technique for high performance working) วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง (ต้องการรายละเอียดหลักสูตรฉบับเต็มพร้อมใบเสนอรา...
-
การโค้ช (Coaching) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของหัวหน้า ผู้จัดการ และผู้นำ ในการใช้ดึงศักยภาพและประสิทธิภาพจากผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งสามารถพัฒนาความสามารถของทีมในการปฏิบัติงานให้ได้...
-
มีเพื่อนๆและคนรู้จักหลายคนของเก๋ ที่ได้แลกเปลี่ยนแบ่งปัน และรับการโค้ชรวมถึงผู้รับการโค้ชในองค์กรที่เก๋ได้ไปอบรมสัมมนาที่ผ่านมา สนใจอยากเรียนรู้ด้านการโค้ชตามสถาบันการสอนโค้ชเพื่อเ...
-
หน้าที่หลักอย่างหนึ่งของผู้จัดการ (Manager) หรือหัวหน้างาน (Supervisor) คือการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ให้มีทักษะ (Skill) สมรรถนะความสามารถ (Competency) และศักยภาพในการทำงานเพื่อให้ส...
-
เก๋ได้มีโอกาสได้ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้บริหารขององค์กรรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง เกี่ยวกับการพัฒนาพนักงานดีเด่น หรือ Talent ขององค์กรให้มี engagement กับองค์กร เนื่องจากในตอนนี้มีอัตราก...
-
ผู้จัดการและผู้นำทีมในองค์กร มีความสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ ซึ่งทักษะการโค้ชเป็นอีกทักษะหนึ่งที่ช่วยให้พนักงานมีส่วนร่วมและรักษาผลงาน รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ตลอดจ...
-
หลายๆคนคงเป็นแฟนหนังเรื่อง Fast & Furious ที่สร้างมาจนถึงภาคที่ 7 แล้ว ซึ่งเป็นตอนที่หลายคนทั้งมันส์และต้องเสียน้ำตาให้กับการจากไปของ Paul walker (รวมทั้งผู้เขียนด้วย) ซึ่งถือเ...
-
พี่เลี้ยง (Mentoring)คำนี้มีที่มาจากนิยายกรีก สมัยโบราณ ว่ากันว่าโอเดสซีอุส(Odesseous)เตรียมตัวที่จะไปเมืองทรอย ได้ฝากฝังเพื่อนคนที่ชื่อว่าเมนเตอร์(Mentor)ให้ปกป้องดูแลทรัพย์สมบัติ...
-
การโค้ช (Coaching) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของผู้จัดการและผู้นำทีม ที่สามารถใช้ดึงศักยภาพและประสิทธิภาพจากผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถพัฒนาความสามารถของทีมในการปฏิบั...
-
พี่เลี้ยง (Mentoring) คำนี้มีที่มาจากนิยายกรีก สมัยโบราณ ว่ากันว่า โอเดสซีอุส(Odesseous) เตรียมตัวที่จะไปเมืองทรอย ได้ฝากฝังเพื่อนคนที่ชื่อว่า เมนเตอร์(Mentor) ให้ปกป้องดูแลทรัพย์ส...
-
ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่ง ที่องค์กรนำมาใช้ในการจัดการความรู้ โดยการถ่ายทอดความรู้ระหว่างผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่ากับเพื่อนร่วมงานหรือรุ่นน้องที่มีประส...
-
ผู้นำในองค์กร สามารถเป็นเพื่อนชวนคิด และสามารถให้กำลังใจ ให้แรงบันดาลใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ไม่ว่าจะนำทีมเล็กหรือทีมใหญ่ รวมทั้งสามารถนำทีมให้ประสบความสำเร็จได้ หากผู้นำนั้นมีทั...
-
ทักษะการฟังเชิงรุกสำหรับโค้ช (Active Listening Skill for Coach)เป็นทักษะที่สำคัญมาก เพราะในกระบวนการโค้ชนั้น โค้ชจะใช้เวลาในการฟัง 70% - 80% (อีก 20 % สำหรับการถาม,feedback ฯ) การฟ...
-
ในกระบวนการโค้ชและการเป็นพี่เลี้ยงนั้น ทักษะการสะท้อนกลับที่มีคุณภาพ (Effective Feedback) หรือบางทีเรียกทับศัพท์เป็นคำง่ายๆว่า ทักษะการให้ฟีดแบค เป็นทักษะและกระบวนการหนึ่งในการบ่งบ...
-
ทักษะการถาม (Questioning skill for coach) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่สำคัญของโค้ช และผู้นำทีม ผู้จัดการ เพราะการถามที่ดีจะได้คำตอบที่หลากหลาย และสร้างสรรค์ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราถามว่า5+5 ได...
-
การรับการสะท้อนกลับ หรือ การรับฟีดแบค(feedback) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่สำคัญสำหรับทั้งผู้นำและผู้ตาม เพราะในปัจจุบันคนไม่ไม่กล้าให้ฟีดแบคกันเพราะเกรงปฏิกิริยากลับมาไม่ว่า การไม่ยอมรับ...
-
โมเดลที่เป็นที่รู้จักและใช้ในการโค้ชอย่างกว้างขวางโมเดลหนึ่งคือ GROW model ซึ่งเป็นโมเดลที่Sir John Whitmoreและทีม พัฒนาขึ้นมาในปี 1980 และกลายมาเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายจากหนังสื...
-
ปัจจุบันทักษะการโค้ช(Coaching Skills)เป็นอีกเครื่องมือ(tools) หนึ่งที่สำคัญสำหรับผู้นำในองค์กรในการบริหารจัดการ และพัฒนาดึงศักยภาพของผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดีอีกเครื่องมือหนึ...
-
อาจารย์ศศิมา – เก๋ได้มีโอกาสไปแบ่งปันเรื่อง Leader as Coach and Mentor หลายแห่ง ทั้งแบบ การโค้ชตัวต่อตัว (one on one coaching ) การโค้ชแบบกลุ่ม (Group coaching) และการสัมมนาในรูปแบ...
-
ผู้ที่อยากนำทักษะการโค้ชไปโค้ชในลูกน้อง เพื่อพัฒนาและดึงศักยภาพของลูกน้อง จะเริ่มอย่างไร หลังจากที่ได้เรียนรู้หรือจบสัมมนาแล้วหลายคนเมื่อได้เรียนรู้เรื่องโค้ชไปแล้ว สิ่งที่อ.เก๋มั...
-
สิ่งที่สำคัญสำหรับการโค้ชให้มีประสิทธิภาพ นั้นก็คือการสร้างความไว้วางใจระหว่าง โค้ช และผู้รับการโค้ช นั้นเอง เพราะความไว้วางใจ จะเป็นสิ่งที่เปิดใจ เปิดหัวใจ ของผู้รับการโค้ช ให้กล้...
-
ทักษะการสะท้อนกลับที่มีคุณภาพ ให้เกิดการพัฒนาทีมงาน (Effective Feedback) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน และการพัฒนานวัตกรรมได้ ซึ่งเป็นอีกทักษะหนึ่งที่ห...
-
ในยุคนี้ต้องบอกว่า ทักษะการฟังอย่างเข้าอกเข้าใจและใส่ใจ Empathic listening เป็นทักษะที่สำคัญมากสำหรับทุกๆคนในองค์กร CEO ผู้นำ หัวหน้า ผู้จัดการ ในการฟังลูกทีม ฟังลูกน้อง เพื่อให้เข...