70:20:10 model ในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง โดยศศิมา สุขสว่าง

โมเดลการเรียนรู้แบบ 70:20:10 นั้น ก่อตั้งขึ้นโดยนักเขียน Morgan McCall, Michael Lombardo และ Robert Eichinger ในความร่วมมือกับ(partnership) กับ Centre for Creative Leadership และถือว่าเป็นแนวทางที่นิยมอย่างมากในองค์กรที่กำลังมองหาโมเดลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนรู้และการพัฒนาบุคคลากร ซึ่งต่อมาได้แพร่หลายไปทั่วโลก

 

ที่น่าสนใจคือ โมเดล 70:20:10 มีการนำไปใช้กันอย่างมากมายในองค์กรชั้นนำ เช่น Google, SAP, HP, GAP, Boston Scientific, Ernst & Young, Sony Ericsson, Irish Life, Maersk, KPMG, Morgan Stanley, Caterpillar, Creganna-Tactx Medical, PwC, Standard Chartered, Wrigley, Eli Lilly, Nike, NAB, Mars, GlaxoSmithKline, Nokia, American Express, Coca-Cola, Herbert Smith Freehills, Microsoft, Bank of America, Home Depot, Dell, Oracle, BAT, Rabobank, BT, ANZ Bank, L’Oréal, Goldman Sachs, Best Buy, Cranfield University, Princeton University, George Washington University, and the Australian Federal Government.

 

โดย 70:20:10 model นี้มี 2 รูปแบบคือ

1) 70:20:10 model ในด้านการจัดการนวัตกรรม (70:20:10 Model in Managing Innovation) ในธุรกิจนั้น นำไปใช้ที่ Google Inc โดยอดีต CEO ผู้บริหาร Eric Schmidt นำไปปฏิบัติใช้กับพนักงานโดยแบ่งสัดส่วนดังนี้

70% ในหน้าที่รับผิดชอบในงานธุรกิจหลัก คืองานใน Google Inc
20% สำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลัก
10% ในโครงการที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลัก


จากการบริหารจัดการดังกล่าวได้ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม และงานพัฒนาใหม่ๆในกูเกิล ทำให้กูเกิลมีนวัตกรรมใหม่ๆมาเรื่อยๆในปัจจุบัน ซึ่งได้จากงาน 20% และ10% ที่เปิดโอกาสให้พนักงานมีอิสระทางความคิดนี่เอง จากแนวคิดนี้ได้มีหลายๆบริษัทได้นำหลักการไปใช้แล้ว แต่ในบริษัทในเมืองไทยยังน้อยนะคะที่พบ ที่เก๋เจอคือมีบริษัทแห่งหนึ่งเป็นสำนักพิมพ์ จะมีหนังสือซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัท ซึ่งบรรณาธิการจะต้องหานักเขียนหรือแนวหนังสือที่คาดว่าจะขายได้ แต่ก็เปิดอิสระให้มีโปรเจคหนึ่ง ซึ่งแต่ละคนจะหาหนังสือแนวที่ไม่เกี่ยวข้องมาพิมพ์ แต่ชอบหรืออยากพิมพ์มาพิมพ์ได้ (แต่ก็มีแนวโน้มว่าต้องขายได้เช่นกัน) และบริษัทที่เป็นงานด้านไอทีที่ใช้ไอเดียในการผลิตงานออกมาผ่านโปรแกรม


แต่บริษัทที่ยังผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ยังให้อิสระในด้านนี้ยังไม่แพร่หลาย ส่วนใหญ่จะหยุดอยู่ในห้องทดลอง หรือขั้นตอนการวิจัยพัฒนา เพราะข้อจำกัดอย่างหนึ่งคือคือเรื่อง ทรัพยากรในการผลิตออกมา การปรับเปลี่ยนรายผลิตที่ยุ่งยากอีกด้วย แต่เก๋ว่า หากมีการเปิดอิสระทางความคิด หรืออย่างน้อยมีการส่งเสริมให้มี 20:10 ให้มากขึ้น เราน่าจะได้เห็น Product และบริการใหม่ๆในอนาคตด้วยค่ะ

 

สรุปง่ายๆ


70:20:10 model ในด้านการจัดการนวัตกรรม (70:20:10 Model in Managing Innovation) คือให้บุคคลากรทำงาน 70% ในงานที่เป็นแกนหลัก หรือ core business ของบริษัท ส่วนอีก 20 % ให้คิดพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์หรือบริการจาก core business ส่วนอีก 10 % นั้นให้คิดอะไรก็ได้ที่เป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ที่อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทเลย

แต่สำหรับเมืองไทย ก่อนที่จะทำแบบนั้นได้ เก๋คิดว่า เราต้องพัฒนาบุคคลากรของเราให้มีความรับผิดชอบและมีประสิทธิภาพก่อน อย่างน้อยงานที่รับผิดชอบก็ให้ได้ 100% ก่อน เมื่อได้แล้ว ถึงเริ่มให้เวลาอีก 30% ไปคิดค้นงานพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ๆ โดยไม่ห่วง

 

ซึ่งถ้าจะให้ถึงประสิทธิภาพในการพัฒนาคน ซึ่งก็มาถึง model ที่ 2 ที่เป็น 70:20:10 model ในการเรียนรู้และพัฒนา

 

2) 70:20:10 model ในการเรียนรู้และพัฒนา (70:20:10 Model in Learning & Development)


• 70% เกิดจากประสบการณ์จากการทำงาน และการคิดแก้ปัญหา
มาจากการลงมือทำ ได้ทดลองทำ (Experiential Learning) ผ่านจากประสบการณ์จริงจากการทำงานจริง ที่ได้มีโอกาสเรียนรู้และศึกษาจากงานประจำวัน อาจจะมาจากการได้รับมอบหมายงานใหม่ๆ หรือโครงการใหม่ๆ จากผู้บังคับบัญชา ทำให้ต้องเรียนรู้และฝึกทักษะหลายๆอย่าง เพื่อให้งานประสบความสำเร็จ


• 20% เกิดจากการได้รับข้อมูลย้อนกลับจากพี่เลี้ยง หรือโค้ช 
โดยกระบวนการ Coaching การได้รับ Feedback จากผู้บังคับบัญชา หรือจากบุคคลที่เกี่ยวข้องในการทำงาน ในบางครั้งก็สามารถใช้การประชุมทีม เพื่อที่จะได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันในทีมงาน ซึ่งวิธีการเหล่านี้ก็ถือเป็นการเรียนรู้จากบุคคลอื่นๆ รอบข้าง

 

• 10% ได้มาจากการเข้าฝึกอบรมหรือการอ่าน
การเรียนรู้นี้มาจากการเข้าอบรมสัมมนาอย่างเป็นทางการ ซึ่งหากสัมมนาที่ออกแบบมามีเพียงทฤษฎีเพียงอย่างเดียว ผู้เข้าสัมมนาจะได้ความรู้เพียง 10% ดังนั้นการฝึกอบรมในปัจจุบันต้องสอดแทรก workshop หรือมีการปฏิบัติ ลงมือทำจริงๆในห้องเรียน เพราะถ้าเป็นการสัมมนา หรือฟังอย่างเดียว ความรู้ที่ได้และนำไปใช้ได้ เพียง 10% เท่านั้น


อ.เก๋หวังว่า บทความนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านนะคะ 

...........................................

- สนใจหลักสูตร " Growth Mindset for Performance Working กรอบแนวคิดเชิงเติบโตเพื่อประสิทธิภาพการทำงาน" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่ 

(ต้องการ รายละเอียดหลักสูตรฉบับเต็ม พร้อม ใบเสนอราคา ขอความกรุณาอีเมล์มาที่ sasimasuk.com@gmail.com หรือ Line ID: sasimasuk.com อ.เก๋เช็คอีเมล์และ Line ทุกวันค่ะ)

.............................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม การพัฒนาตัวเอง ติดต่อวิทยากรอบรม หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Creative thinking to Innovation) In-House training ได้ที่

อ.ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
วิทยากร ที่ปรึกษา โค้ช ด้านการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994 

...........

อ้างอิง

1.http://money.cnn.com/magazines/business2/business2_archive/2005/12/01/8364616/index.htm

2.http://learnnovators.com/blog/the-702010-ld-model-for-developing-a-high-performing-workforce/

3.http://www.internettime.com/2013/02/50-suggestions-for-implementing-70-20-10/

4.http://deakinprime.com/media/47821/002978_dpw_70-20-10wp_v01_fa.pdf

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 348,368