ทักษะการโค้ช (Coaching Skill) สำหรับผู้บริหารเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ใต้บังคับบัญชา โดยศศิมา สุขสว่าง

การโค้ช (Coaching) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของผู้จัดการและผู้นำทีม  ที่สามารถใช้ดึงศักยภาพและประสิทธิภาพจากผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถพัฒนาความสามารถของทีมในการปฏิบัติงานให้ได้ตามเป้าหมายขององค์กร  ซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญมากอย่างหนึ่งของผู้นำทีมและหัวหน้างานในการบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management)

 

"การโค้ช (Coaching)"  คือกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างโค้ชซึ่งเป็นเพื่อนชวนคิด หรือปลดล๊อคบางอย่างในตัวผู้รับการโค้ช (Coachee อ่านว่า โค้ชชี่) มีศักยภาพสูงขึ้น หรือมีความสุขอย่างที่เขาต้องการ ผ่านวิธีการและเครื่องมือต่างๆ  เพื่อให้ผู้รับการโค้ช ได้เรียนรู้ ตระหนักในตัวเองและเปลี่ยนแปลง และลงมือทำด้วยความคิด ความถนัด ความสามารถของโค้ชชี่เอง   

 

การโค้ช จึงเป็นการทำงานร่วมกัน/ประสานกันระหว่าง โค้ช (Coach) และผู้รับการโค้ช (Coachee) ให้ถึงจุดหมายที่โค้ชชี่ต้องการ ด้วยตัวของโค้ชชี่เอง

  (หมายเหตุ : ท่านสามารถอ่านบทความด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงอื่นๆได้ที่ www.sasimasuk.com ที่เป็นเวปไซต์แบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงโดยตรงของอ.ศศิมา สุขสว่างค่ะ)

 

ทักษะการโค้ช (Coaching Skill) ที่สำคัญที่ผู้จัดการและผู้นำทีมใช้ดึงศักยภาพและประสิทธิภาพจากผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญ ได้แก่ 

 

1. ทักษะการสร้างความสัมพันธ์เพื่อสร้างความไว้วางใจและความศัทธา (Rapport Building for Coaching) 

การสร้างความสัมพันธ์เป็นกระบวนที่สำคัญอย่างหนึ่ง เพราะเป็นกระบวนการแรกที่จะทำให้ คนสองคนไว้วางใจกัน แล้วมีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพระหว่างคน 2 คน การสร้างความสัมพันธ์ ในทางการโค้ชนั้นมีเทคนิคและโมเดลมากมาย เช่น VAKAD model, Matching & Mirroring model, lotus model, Pace Pace lead  ฯลฯ จุดประสงค์ของการสร้างความสัมพันธ์ เพื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัย ให้กับผู้ที่พูดคุยด้วย พร้อมเชื่อใจและเปิดใจให้ความร่วมมือในการโค้ช การคิด และให้ความร่วมมือในการโค้ช หรือการพูดคุยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพูดคุย

 

สำหรับในการบริหารจัดการนั้น หากหัวหน้า ลูกน้อง มีความแตกต่างกันทางความคิด พื้นเพ การศึกษา สไตล์การทำงาน หรือตอนนี้ ที่เราเรียกว่า มีความแตกต่างระหว่างวัย ระหว่าง Generation ทั้ง Babyboomer, Gen X , Gen Y and Gen Z  เมื่อมาทำงานอาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งกันได้ ดังนั้นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อเปิดใจ สร้างศัทธา และความไว้วางใจ เพื่อให้สามารถประสานความสัมพันธ์จนทำงานได้อย่างราบรื่น จึงเป็นสิ่งสำคัญค่ะ

 

2. ทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening skill for Coach)

การฟัง เป็นทักษะการสื่อสาร (Communication skill) ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการทำงานในปัจจุบัน เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรในปัจจุบันอย่างหนึ่ง คือ หัวหน้าไม่ฟังลูกน้อง  หรือฟังแล้วนำไปตีความหรือสื่อสารกันผิดๆ  เป็นต้น เช่น

ลูกน้อง : เนี่ยงานเยอะมากเลย จะทำไหวได้อย่างไร

หัวหน้าฟังแล้ว อารมณ์ขึ้น : "ถ้าทำไม่ไหว ก็ลาออกไป" หรือ "ถ้าทำไม่ไหว เดี๋ยวจะหาคนทำไหวมาทำ" ประชดไปอีก

หัวหน้าฟังอย่างลึกซึ้ง ตัดอารมณ์ของตัวเองและอารมณ์ลูกน้องออก  : "แล้วต้องการความช่วยเหลืออะไรบ้างไหม"  หรือ " ตรงไหนติดปัญหา ให้ช่วยเหลือไหม" 

 

การฟังอย่างลึกซึ้ง เป็นทักษะที่สำคัญมาก เพราะในกระบวนการโค้ชนั้น โค้ชจะใช้เวลาในการฟังถึง 80% (อีก 20 % สำหรับการถาม,feedback ฯ) การฟังแบบโค้ชจะแตกต่างจากการฟังแบบทั่วไป การฟังแบบทั่วไปจะได้ยินสิ่งที่แสดงออกมา สิ่งที่เขาต้องการให้รู้ในเนื้อหา (Content) แต่การฟังแบบโค้ช ต้องฟังให้ถึงความรู้สึก ความเชื่อ ความคิด สามารถจับประเด็นและได้ยินในสิ่งที่ผู้รับการโค้ชไม่ได้พูดและทวนออกมาได้ (Context) เหมือนกับเป็นกระจกสะท้อนผู้รับการโค้ชได้  

 

ทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง นั้นต้องฝึกสติ (Mindfulness) เพื่ออยู่กับโค้ชชี่ในทุกขณะปัจจุบัน  การฝึกสติ ต้องฝึกฝนและทำอย่างต่อเนื่อง เพราะ เวลาเราเป็นโค้ช บางครั้งเราจะเผลอ เข้าไปอยู่กับเรื่องราวของโค้ชชี่จนมีอารมณ์ร่วมไปด้วย หรือบางทีเผลอคิดว่าจะถามอะไรต่อไปดี หรือไม่อยู่กับโค้ชชี่ ณ ขณะนั้น เพราะการฟังอย่างลึกซึ้งนั้น เราไม่ได้ฟังแค่เสียงของโค้ชชี่เท่านั้น แต่เรายังฟังภาษาร่างกาย และเสียงที่ไม่ได้พูดอีกด้วย

 

 

3. ทักษะการถาม (Questioning skill for coach)

การถามทำให้เกิดกระบวนการคิด ตรึกตรอง และค้นหาคำตอบ  การถามจึงเป็นการกระตุ้นความคิด เมื่อเกิดการฝึกฝนคิดบ่อยๆเข้าผู้ที่ถูกถามจะสามารถคิด  และแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง คำถามที่ดีควรเป็นคำถามปลายเปิด (Open Question) เพื่อให้ผู้ถูกถามได้แสดงความคิดเห็น  เช่น ถามว่า ในเรื่องนี้คุณคิดว่า ควรแก้ไขอย่างไรบ้าง? คำถามนี้สามารถดึงความคิดเห็นออกมาได้ แต่ถ้าเป็นคำถามปลายปิด (Close question) จะทำให้จำกัดความคิด ของโค้ชชี่ได้ 

 

ตัวอย่างคำถามปลายปิด

หัวหน้า : ผมคิดว่าจากปัญหาที่เกิดขึ้นควรแก้ไขโดยวิธี…(ความคิดของหัวหน้า)…คุณเห็นด้วยหรือไม่ 

ลูกน้อง : (ตอบคำถามปลายปิด) “จะตอบอะไรได้ นอกจากว่า “เห็นด้วย” ทั้งที่ในใจอาจจะมีวิธีอื่นที่คิดว่าดีกว่า

ตัวอย่างคำถามปลายเปิด

หัวหน้า : จากปัญหาที่เกิดขึ้นควรแก้ไขโดย คุณคิดว่ามีวิธีการแก้ไขแก้ไขอย่างไรบ้าง? 

ลูกน้อง : ผม/ดิฉัน คิดว่า น่าจะแก้ไขดังนี้ค่ะ 1..., 2....3....

คำถามปลายเปิด คนเป็นหัวหน้า อาจจะได้คำตอบที่ให้วิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ๆ นอกเหนือจากความรู้ความสามารถของตัวเองก็ได้ ลูกน้องก็จะได้ลงมือทำในสิ่งที่ตัวเองคิด และได้รับการยอมรับจากหัวหน้าด้วย 

 

4. ทักษะการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)

การให้ข้อมูลย้อนกลับหรือ feedback นั้น ไม่ใช่การด่า หรือบ่นแต่อย่างใด แต่เป็นการให้ข้อมูลกับผู้ปฏิบัติงานหรือลูกน้องให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น  หลักการให้ข้อมูลย้อนกลับนั้น จะมีส่วนประกอบ ที่สำคัญ 3 ส่วนคือ

- ส่วนของพฤติกรรม,

- ส่วนของผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และ

- ส่วนที่ต้องการให้เกิดการแก้ไขปรับปรุงหรือชื่นชม 

(เดี๋ยวเก๋จะเขียนลงในรายละเอียดต่อไปเรื่อยๆนะคะ)

 

5. ทักษะอื่นๆ  เช่น การเล่าเรื่อง (Story telling) การจูงใจ (Motivation) และการสื่อสาร (Communication) เป็นต้นค่ะ

 

พอได้ไอเดียแล้วนะคะ ว่าทักษะการโค้ชสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างานอย่างไรได้บ้าง  เก๋เรียบเรียงมาจากการเรียนจากสถาบันต่างๆ (อ่านบทความ ผู้เขียนเรียนโค้ชที่ไหน กดที่นี่) และจากประสบการณ์การเป็นโค้ชพี่เลี้ยง (Mentoring Coach) ประจำที่สมาคมการโค้ชวิถีไทย และเป็น Talent Coach ในทีมของ Talent FIT Academy ที่เข้าไปอบรมและโค้ชตัวต่อตัว (one on one coaching) บุคคลากรในองค์กร รวมทั้งการใช้ทักษะการโค้ชในงานที่ปรึกษาด้านวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม  

 

ประโยชน์ของการใช้ทักษะการโค้ช (Coaching skill) ของบุคคลากร ในองค์กร 

1. ลดช่องว่างระหว่างวัย ระหว่าง Generation ในการทำงานในองค์กร เพราะด้วยทักษะการฟัง มีการถามเพื่อระดมความคิด เป็นการเปิดพื้นที่ให้ทุกคนได้ออกความเห็นอย่างอิสระ และเข้าใจคนอื่นๆ

2. สามารถดึงศักยภาพของคนทำงาน กล้าออกจาก comfort zone ตั้งใจเรียนรู้สิ่งใหม่ และพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง

3. สามารถลดปัญหาข้อขัดแย้ง สร้างความไว้วางใจและความศัทธาได้จากการฟังอย่างลึกซึ้ง การ feedback อย่างมีเหตุ

4. คนทำงาน มองเห็นศักยภาพ ของทีมงาน หัวหน้า และองค์กร เปิดใจ แลกเปลี่ยนและเชื่อมั่นในทีม ในการแก้ปัญหา และค้นคว้า เพื่อเสนอแนวทางใหม่ๆให้กับองค์กร

เป็นต้น

 

ทักษะการโค้ช (Coaching skill) นี้นอกจากจะใช้สำหรับหัวหน้างาน ผู้นำทีม แล้ว ยังประยุกต์ใช้กับบทบาทของพี่เลี้ยง (Mentoring in organization) ในการสร้างความสัมพันธ์กับน้องเลี้ยง แบ่งปัน และถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ได้เป็นอย่างดีค่ะ

 

อ.เก๋หวังว่า บทความนี้จะมีประโยชน์กับผู้อ่านนะคะ 

..................

 

สนใจหลักสูตร "ผู้นำในบทบาทของโค้ชและพี่เลี้ยงเพื่อประสิทธิภาพการทำงาน" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 


(ต้องการรายละเอียดหลักสูตรฉบับเต็ม พร้อม ใบเสนอราคา ขอกรุณาอีเมล์มาที่ sasimasuk.com@gmail.com อ.เก๋เช็คอีเมล์ทุกวันค่ะ)

 

.....................................................

ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี  ทำงานด้าน  Research & Development Engineer มาโดยตลอด และเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรอิสระแห่งหนึ่ง  ได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน โดยยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

...........................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 360,673