Design Thinking คืออะไร โดยอ.ศศิมา สุขสว่าง
Design Thinking คือ กระบวนการคิดเชิงออกแบบสำหรับพัฒนานวัตกรรมที่ผสมผสานการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) และการคิดเชิงธุรกิจ (Business thinking) เพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ๆและนวัตกรรมอย่างมีระบบ โดยมีหลักสำคัญ คือการเข้าใจความต้องการและปัญหาของกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้า (Human-Centered) อย่างแท้จริง แล้วการระดมความคิดเพื่อค้นหาทางแก้ไข และการเรียนรู้และลงมือทำเพื่อสร้างคุณค่าและนวัตกร
(เนื้อหาโดยอ.ศศิมา สุขสว่าง - อ. เก๋ - หากนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โปรดอีเมล์แจ้งขออนุญาตก่อนที่ sasimasuk.com@gmail.com หรือใส่เครดิต อ.ศศิมา สุขสว่าง www.sasimasuk.com ด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ)
Design thinking เป็นกระบวนการที่มีการพัฒนามาตั้งแต่ ปี 1960 โดยเป็นการรวมของเครื่องมือและเทคนิคที่พัฒนามาจากการคิดสร้างสรรค์ ทางสังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์
กระบวนการ Design thinking หรือกระบวนการคิดเชิงออกแบบ ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับคนที่ทำงานอยู่ในสายงานของการออกแบบหรือพัฒนานวัตกรรม เพราะโดยกระบวนการนั้นเป็นกระบวนการคิดสร้างสรรค์ที่มีการใช้ในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่มานานแล้ว ซึ่งกระบวนการพัฒนานวัตกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ๆนั้นขึ้นอยู่กับว่าจะมาจากการค้นพบเทคโนโลยีใหม่ๆ (technology push ) มาจากความต้องการจากตลาด (market pull) หรือจากความต้องการของมนุษย์ หรือลูกค้า
โดย Design thinking จะพัฒนานวัตกรรมโดยให้ความสำคัญกับความต้องการจากผู้บริโภคหรือตลาดมาก่อน แล้วทางทีมผู้ทำวิจัยและผู้พัฒนานั้นพยายามที่จะตอบสนองความต้องการหรือแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคเหล่านั้นให้ได้ด้วยกระบวนการใหม่ เทคโนโลยีใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือการบริการใหม่ ให้โดนใจ
เริ่มแรก Design thinking มีจุดเริ่มต้นมาจาก Design Science เป็นการออกแบบทางอุตสาหกรรมและออกแบบทางผลิตภัณฑ์ เพื่อหาแนวทางการออกแบบการตัดสินใจ และการออกแบบการทำงานที่มีลักษณะเฉพาะ แล้วมีการนำไปใช้ในกระบวนการพัฒนานวัตกรรม ในการทำโครงการต่างๆ และพัฒนาจนมาเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงธุรกิจ ความคิดสร้างสรรค์ และมุ่งเน้นที่ลูกค้า กลุ่มเป้าหมายเป็นหลักในปัจจุบัน
(เนื้อหาโดยอ.ศศิมา สุขสว่าง - อ. เก๋ - หากนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โปรดอีเมล์แจ้งขออนุญาตก่อนที่ sasimasuk.com@gmail.com หรือใส่เครดิต อ.ศศิมา สุขสว่าง www.sasimasuk.com ด้วยค่ะ ขอบคุณมากค่ะ)
Design Thinking ที่ใช้ในการพัฒนานวัตกรรม มีกระบวนการ (Process) ที่สำคัญ คือ
1. การเข้าใจปัญหาของกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าในถูกต้อง (Human Centered)
ในแต่ละ Model อาจจะใช้คำว่า understand , discovery, empathize แต่หลักสำคัญคือ เราต้องรู้ว่าปัญหาที่แท้จริงของลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายนั้นคืออะไร และทำความเข้าใจปัญหานั้นอย่างถ่องแท้ เพื่อที่จะหาวิธีการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก หากตั้งประเด็นปัญหาที่ไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง ขั้นตอนต่อไปอาจจะไม่มีประสิทธิภาพหรือไม่ตอบโจทย์เลยเป็นได้
2. กระบวนการคิดและแก้ไขปัญหา (Ideation & Brainstorming)
ขั้นตอนนี้เป็นการคิดหาแนวทางแก้ปัญหาใหม่ๆ บางครั้งต้องออกนอกกรอบไปเลย หรือต้องคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ บางไอเดียอาจจะยังไม่สามารถทำได้ในทันที เพราะทรัพยากรในบริษัทยังไม่มีเพียงพอ แต่การคิดให้ออกไอเดียเยอะๆ แล้วค่อยประเมินว่า ไอเดียใดจะนำมาทำก่อน ไอเดียใดค่อยทำเมื่อมีทรัพยากรพร้อมก็ได้ค่ะ
3. การลงมือทำและทดสอบกับกลุ่มเป้าหมาย (Prototype and Implement)
ขั้นตอนนี้เป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญ เพราะไอเดียหลายๆอย่างที่คิดกันมา แล้วไม่เกิด เพราะขาดการลงมือทำให้เกิดออกมาเป็นรูปธรรมเพื่อทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายค่ะ
หลายองค์กรได้นำแนวทางดังกล่าว มาพัฒนาโมเดล Design Thinking ของตัวเอง เพื่อใช้ในการพัฒนานวัตกรรม ก็มีหลายๆโมเดลที่น่าสนใจ และเครื่องมือย่อยๆในแต่ขั้นตอนที่จะช่วยในการทำให้กระบวนการทั้ง 3 ข้อด้านบน สามารถพัฒนานวัตกรรมเกิดขึ้นได้จริง เก๋จะค่อยๆนำมาเรียบเรียงเพื่อแบ่งปันต่อไปนะคะ
กระบวนการ Design Thinking สามารถนำความคิดสร้างสร้างสรรค์ แนวทางการแก้ปัญหา มาต่อยอดออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรมให้จับต้องได้ รวมทั้งการเข้าใจผู้คน การทำงานเป็นทีม Cross functional team ตลอดจนสร้างคุณค่า และสามารถสร้างผลประโยชน์ในเชิงพาณิยช์ได้
.................................
Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator) และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)
.................................
ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี ทำงานด้าน Research & Development Engineer และนักวิจัยมาโดยตลอด จนได้มาเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้ก่อตั้งและเป็นผู้จัดการบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์กว่า 8 ปี รวมเวลาทำงานด้านพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กรกว่า 15 ปี
ศศิมาได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล และมีประสบการณ์การโค้ชผู้บริหารในองค์กรชั้นนำหลายแห่ง
ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กรให้กับองค์กรต่างๆค่ะ
...........................................
ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่
ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com
line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994 (โทรกลับเฉพาะเบอร์มือถือนะคะ)
-
หลักสูตร "Design Thinking for Innovation Developmentพัฒนานวัตกรรมด้วย Design Thinking" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง (เนื้อหาโดยอ.ศศิมา สุขสว่าง - อ. เก๋ - หากนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิช...
-
Design Thinking เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมได้เป็นอย่างดี โดยเน้นเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นจุดศูนย์กลาง (Human Centered) Design Thinking เป็นกร...
-
ในปัจจุบัน กระแสของ Design thinking ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรม ได้เป็นที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นเครื่องมือที่มีรวมกระบวนการทั้งด้านวิทย์และธุรกิจมารวมกัน ...
-
ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งถือเป็น Growth Mindset อย่างหนึ่ง เป็นอีกความจำเป็นที่ช่วยองค์กรแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และช่วยในการสร้างโอกาสและมูลค่าทางธุรกิจของบริษัทให้เติบโตด้วย บริษัทที...
-
ปัจจุบัน Design thinking เป็นกระบวนการหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรม ที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นเครื่องมือที่มีรวมกระบวนการทั้งด้านวิทย์และธุรกิจมารวมกัน โดยโดยเน้นเพื่อตอบโจทย...
-
ปัจจุบัน Design thinking เป็นกระบวนการหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรม ที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นเครื่องมือที่มีรวมกระบวนการทั้งด้านวิทย์และธุรกิจมารวมกัน โดยโดยเน้นเพื่อตอบโจทย...
-
Design Thinking เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรมด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่ผสมผสานการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) และการคิดเชิงธุรกิจ (Business thinking) ที่เน้นคนแล...
-
ทักษะการฟังอย่างใส่ใจ (Empathy Listening) เพื่อค้นหาความต้องการของลูกค้าและพัฒนานวัตกรรมนั้นเป็นทักษะที่สำคัญอีกทักษะหนึ่ง เพื่อค้นหาความต้องการของลูกค้าเชิงลึกของลูกค้า Pain Point...
-
Design Thinking เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมโดยเน้น การแก้ปัญหาเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นจุดศูนย์กลาง (Human Centered หรือ People Centered) (เนื้...
-
การระดมสมอง หรือการระดมความคิด (Brainstorm) เพื่อปลุกไอเดียสร้างสรรค์ เป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการระดมความคิดเพื่อหาไอเดียสร้างสรรค์ไหม่ๆ หรือใช้ในระดมความคิดเพื่อแก้ไขปัญหา ...
-
หนังสือเรื่องคิดเชิงออกแบบ Change by Design วันนี้อ.เก๋มาแนะนำหนังสือค่ะ ถ้าเป็นนักนวัตกรหรือนักพัฒนานวัตกรรมยุคนี้ น่าจะต้องไม่พลาดเล่มนี้ค่ะ"คิดเชิงออกแบบ Change by Design" ส่วน...