การสร้างความสัมพันธ์และไว้วางใจ ( Rapport & Trust) สำหรับผู้นำ เพื่อการโค้ชที่มีประสิทธิภาพก่อนการโค้ช โดยศศิมา สุขสว่าง
สิ่งที่สำคัญสำหรับการโค้ชให้มีประสิทธิภาพ นั้นก็คือการสร้างความไว้วางใจระหว่าง โค้ช และผู้รับการโค้ช นั้นเอง เพราะความไว้วางใจ จะเป็นสิ่งที่เปิดใจ เปิดหัวใจ ของผู้รับการโค้ช ให้กล้าพูด กล้าเปิดเผย ทั้งด้านบวก ด้านลบ ปัญหา ความต้องการ และเป้าหมายที่แท้จริง เพื่อที่จะได้เดินทางร่วมกันระหว่างโค้ช (Coach) และผู้รับการโค้ช (Coachee) เพื่อไปให้ถึงจุดหมายของผู้รับการโค้ชได้
วันนี้อ.ศศิมา - เก๋ มีเทคนิคการสร้างความไว้วางใจ (Trust) กับทีมงานก่อนการโค้ช สำหรับผู้ที่ฝึกเป็นโค้ช หรือเป็นหัวหน้างาน ผู้จัดการที่ต้องไปโค้ชลูกน้อง มาแบ่งปันกันค่ะ
(อ่านบทความ อ.ศศิมา สุขสว่าง เรียนโค้ชอะไรมาบ้าง กดที่นี่ // อ่านบทความอื่นๆเกี่ยวกับการโค้ช กดที่นี่ )
1. เป็นผู้นำที่ซื่อสัตย์ เชื่อใจได้ (Lead with integrity)
การจะเปิดใจ เปิดเผยปัญหาจุดเจ็บปวด (Pain Point)หรือ ความต้องการ (Gain Point) หรือเป้าหมาย (Goal) ต่างๆได้นั้น ผู้รับการโค้ชจะต้องไว้ใจโค้ชเป็นอย่างมากว่า จะรักษาความลับ ของผู้รับการโค้ชได้ โดยไม่นำไปเล่าต่อ หรือนำไปเป็นประเด็นในการโจมตี หรือมีอคติส่วนตัว ดังนั้นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้นำเป็นโค้ชที่ได้รับความไว้วางใจได้ นั้นคือ การซื่อสัตย์และเชื่อใจ โดยไม่มีอคติส่วนตัว ซึ่งแสดงออกให้ผู้รับการโค้ชสามารถมั่นใจได้ว่า ถ้าพูดอะไรออกไปแล้ว จะเก็บความลับได้ ไม่โดนแทงข้างหลัง หรือเอาเรื่องที่มารับโค้ชกันตัวต่อตัวไปพูดต่อค่ะ ซึ่งประเด็นนี้เป็นประเด็นที่สำคัญมากๆค่ะ หลายๆองค์กร บางครั้งต้องใช้โค้ชจากภายนอก (External Coach) เพราะเรื่องของการเก็บความลับ เชื่อใจได้ และปราศจากอคติจากความขัดแย้งจากการทำงานร่วมกัน
ดังนั้นในการทำงานร่วมกัน หัวหน้าที่แสดงออกถึงความสื่อสัตย์และไว้ใจได้ จะทำให้ลูกน้อง หรือทีมงาน เปิดใจรับการโค้ชได้ง่ายขึ้นค่ะ ซึ่งการเป็นผู้นำที่ซื่อสัตย์ เชื่อใจได้ (Lead with integrity) นี้ต้องใช้เวลาในสั่งสม พิสูจน์ให้เห็นเป็นระยะเวลาหนึ่งค่ะ จึงจะสร้างความไว้วางใจ (Trust) ได้ค่ะ
2. การให้อำนาจการตัดสินใจ (Empower People)
การโค้ชเป็นวิธีการอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้คนทำงาน ได้คิดและหาวิธีการทำงาน หรือไปถึงจุดหมายหรือผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ ด้วยวิธีการที่เหมาะสมด้วยตัวของผู้รับการโค้ชเอง โดยอาจจะอยู่ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ในการทำงาน เงิน เวลา และคนทำงาน ซึ่งเมื่อผู้รับรับการโค้ช หรือ โค้ชชี่ (Coachee) ได้รับการโค้ชแล้ว ได้เห็นแนวทางหรือมีวิธีการใหม่ๆในการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน หรือแก้ปัญหาที่คิดได้ด้วยตัวเอง
ซึ่งโค้ชหรือหัวหน้าที่เป็นโค้ชควรให้อำนาจในการตัดสินใจที่จะนำวิธีการนั้นไปดำเนินการจริง หลายครั้งที่ ผู้รับการโค้ชได้คิดวิธีการใหม่ๆที่ดีกว่าเดิม และยังอยู่ภายใต้กรอบและระเบียบขององค์กรและใช้ได้จริง โดยไม่มีปัญหา แต่โค้ชหรือหัวหน้าไม่ปล่อยให้ไปทำ ให้หันกลับไปใช้วิธีการเดิมๆ ซึ่งทำให้การโค้ชไม่ประสิทธิภาพเกิดขึ้น
หลายครั้งที่อ.เก๋ได้ฟัง ผู้รับการโค้ชบ่นว่า เวลาโค้ชกับหัวหน้า แล้วคิดอะไรใหม่ๆที่ดีกว่า เดิม และองค์กรสามารถทำได้ โดยไม่ต้องเสียเงิน เสียทรัพยากรอะไรมากมาย หัวหน้าก็ไม่ให้เอาไปทำ เลยเกิดคำถามว่า” จะโค้ชทำไม โค้ชไปก็ให้ทำเหมือนเดิม โค้ชๆไปเหอะให้เสร็จๆ กลับไปก็ต้องทำเหมือนเดิม “ ดังนั้น เมื่อโค้ช แล้วต้องให้อำนาจการตัดสินใจ หรือการลงมือทำด้วยนะคะ หากเกรงว่า เวลาเขาคิดอะไรใหม่ๆไปแล้วมันจะเกินขอบเขต หรือข้อกำหนดขององค์กรไป ก็อาจจะแชร์หรือแบ่งปันในช่วงของการโค้ชก็ได้ว่า “หากองค์กร มีข้อกำหนด หรือนโยบาย แบบนี้......... เราจะพัฒนาวิธีการอะไรได้บ้างในการแก้ไขปัญหาหรือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น“ หรือ หลังจากที่ผู้รับการโค้ช ได้คิดวิธีการหลายๆวิธีการแล้ว อาจจะถามคำถามชวนคิดว่า หากองค์กรเรามีข้อจำกัดดังนี้..... วิธีการอะไรที่คิดออกมาแล้ว น่าจะเอาไปปฏิบัติได้จริงและมีประสิทธิภาพได้บ้าง " เป็นต้นค่ะ
3. การสร้างความสัมพันธ์ (Relationships building)
ในการทำงานกันเป็นทีม อาจจะไม่ต้องพูดหรือคุยแต่เรื่องงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่การถามสารทุกข์ สุขดิบ การทักทายกัน small talk กัน หรือการถามไถ่ ในเรื่องนอกงานบ้าง ออกไปทำกิจกรรมร่วมกันบ้าง ทานอาหารกลางวันร่วมกันบ้างกับทีมงานหรือลูกน้องเดือนละ 1-2 ครั้งใกล้ๆออฟฟิศ เป็นต้น หลายๆคนอาจจะเพิ่งรู้ทีมงานชอบเล่นกีฬาเหมือนกัน ทานอาหารคลีนเหมือนกัน ดูหนังสไตล์เดียว งานอดิเรกเหมือนกัน ชอบท่องเที่ยวเหมือนกัน สิ่งเหล่านี้จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ ความคุ้นเคยกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน การเปิดใจกับคนที่คุ้นเคยกัน และรู้จักกันจะทำได้ง่ายกว่า และรู้สึกว่าไว้วางใจได้ เหมือนคนส่วนใหญ่เลือกที่จะคุยและปรึกษาเพื่อนสนิท เพราะรู้สึกว่าเชื่อและไว้ใจได้ค่ะ ซึ่งเมื่อความสัมพันธ์เริ่มดีขึ้น การโค้ชจะดีขึ้นไปด้วยค่ะ
4. การเข้าใจ เข้าถึงอย่างลึกซึ้ง (Empathy)
ในบางครั้งโค้ชจะสร้างความไว้ใจได้ ต้องเข้าใจ ความรู้สึก ความกลัว Being ความเชื่อต่างๆของคนที่โค้ช โดยอาจจะต้องลองไปคิดในมุมของผู้รับการโค้ช ว่าในบทบาท สถานะของเขาที่เป็นอยู่ ณ ตอนนั้น เป็นอย่างไร ให้ถอดหมวก ถอดตัวตน ของตัวเราออก แล้วลองใส่หมวกของผู้รับการโค้ช แล้วทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ซึ่งเมื่อเราเข้าใจ เข้าถึงแล้ว เราจะได้เข้าใจกระบวนการคิด พูดและทำที่ผู้รับการโค้ชแสดงออกมาได้ และสามารถละ ลด ตัวตนของโค้ชตอนที่อยู่ในกระบวนการโค้ชได้ค่ะ
อ.เก๋ มักจะแนะนำผู้ที่มาเรียนการโค้ช หรือมารับการโค้ชตัวต่อตัวกับอ.เก๋แล้วอยากไปเป็นโค้ชในองค์กร ว่า ในการโค้ชเริ่มแรกของโค้ชของหัวหน้า อาจจะเริ่มจากการการโค้ชอย่างไม่เป็นทางการ โค้ชแบบชิลๆ โดยโค้ชในสถานการณ์ต่างๆ เช่น ขณะพักทานกาแฟ การนั่งคุยกัน การเดินทางไปทำงานต่างสถานที่ร่วมกัน โดยใช้ทักษะการโค้ช (อ่านทักษะการโค้ช กดที่นี่) เพื่อให้ทีมงานสามารถได้คิด ได้ออกความเห็น หาแนวทางด้วยตัวเองก็ได้นะคะ ผู้รับการโค้ชจะได้รู้สึกผ่อนคลาย และรู้สึกดีกับการโค้ช และเปิดใจ พร้อมที่จะเดินทาง และทำงานร่วมกันกับโค้ชไปด้วยกันค่ะ
อ.เก๋หวังว่า บทความนี้จะมีประโยชน์สำหรับผู้ที่อยากนำทักษะการโค้ชไปโค้ชในลูกน้อง เพื่อพัฒนาและดึงศักยภาพของลูกน้องนะคะ
..................
สนใจหลักสูตร "ผู้นำในบทบาทของโค้ชและพี่เลี้ยงเพื่อประสิทธิภาพการทำงาน" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
(ต้องการรายละเอียดหลักสูตรฉบับเต็ม พร้อม ใบเสนอราคา ขอกรุณาอีเมล์มาที่ sasimasuk.com@gmail.com อ.เก๋เช็คอีเมล์ทุกวันค่ะ)
.....................................................
ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี ทำงานด้าน Research & Development Engineer มาโดยตลอด และเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรอิสระแห่งหนึ่ง ได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน โดยยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)
...........................................
ติดตามข่าวหรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training ได้ที่
ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com
line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994
-
หลักสูตร เทคนิคการโค้ชและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching & Mentoring technique for high performance working) วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง (ต้องการรายละเอียดหลักสูตรฉบับเต็มพร้อมใบเสนอรา...
-
การโค้ช (Coaching) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของหัวหน้า ผู้จัดการ และผู้นำ ในการใช้ดึงศักยภาพและประสิทธิภาพจากผู้ใต้บังคับบัญชา รวมทั้งสามารถพัฒนาความสามารถของทีมในการปฏิบัติงานให้ได้...
-
มีเพื่อนๆและคนรู้จักหลายคนของเก๋ ที่ได้แลกเปลี่ยนแบ่งปัน และรับการโค้ชรวมถึงผู้รับการโค้ชในองค์กรที่เก๋ได้ไปอบรมสัมมนาที่ผ่านมา สนใจอยากเรียนรู้ด้านการโค้ชตามสถาบันการสอนโค้ชเพื่อเ...
-
หน้าที่หลักอย่างหนึ่งของผู้จัดการ (Manager) หรือหัวหน้างาน (Supervisor) คือการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา ให้มีทักษะ (Skill) สมรรถนะความสามารถ (Competency) และศักยภาพในการทำงานเพื่อให้ส...
-
เก๋ได้มีโอกาสได้ไปพูดคุยแลกเปลี่ยนกับผู้บริหารขององค์กรรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง เกี่ยวกับการพัฒนาพนักงานดีเด่น หรือ Talent ขององค์กรให้มี engagement กับองค์กร เนื่องจากในตอนนี้มีอัตราก...
-
ผู้จัดการและผู้นำทีมในองค์กร มีความสำคัญต่อความสำเร็จของธุรกิจ ซึ่งทักษะการโค้ชเป็นอีกทักษะหนึ่งที่ช่วยให้พนักงานมีส่วนร่วมและรักษาผลงาน รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน ตลอดจ...
-
หลายๆคนคงเป็นแฟนหนังเรื่อง Fast & Furious ที่สร้างมาจนถึงภาคที่ 7 แล้ว ซึ่งเป็นตอนที่หลายคนทั้งมันส์และต้องเสียน้ำตาให้กับการจากไปของ Paul walker (รวมทั้งผู้เขียนด้วย) ซึ่งถือเ...
-
พี่เลี้ยง (Mentoring)คำนี้มีที่มาจากนิยายกรีก สมัยโบราณ ว่ากันว่าโอเดสซีอุส(Odesseous)เตรียมตัวที่จะไปเมืองทรอย ได้ฝากฝังเพื่อนคนที่ชื่อว่าเมนเตอร์(Mentor)ให้ปกป้องดูแลทรัพย์สมบัติ...
-
การโค้ช (Coaching) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งของผู้จัดการและผู้นำทีม ที่สามารถใช้ดึงศักยภาพและประสิทธิภาพจากผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถพัฒนาความสามารถของทีมในการปฏิบั...
-
พี่เลี้ยง (Mentoring) คำนี้มีที่มาจากนิยายกรีก สมัยโบราณ ว่ากันว่า โอเดสซีอุส(Odesseous) เตรียมตัวที่จะไปเมืองทรอย ได้ฝากฝังเพื่อนคนที่ชื่อว่า เมนเตอร์(Mentor) ให้ปกป้องดูแลทรัพย์ส...
-
ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่ง ที่องค์กรนำมาใช้ในการจัดการความรู้ โดยการถ่ายทอดความรู้ระหว่างผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่ากับเพื่อนร่วมงานหรือรุ่นน้องที่มีประส...
-
ผู้นำในองค์กร สามารถเป็นเพื่อนชวนคิด และสามารถให้กำลังใจ ให้แรงบันดาลใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ ไม่ว่าจะนำทีมเล็กหรือทีมใหญ่ รวมทั้งสามารถนำทีมให้ประสบความสำเร็จได้ หากผู้นำนั้นมีทั...
-
ทักษะการฟังเชิงรุกสำหรับโค้ช (Active Listening Skill for Coach)เป็นทักษะที่สำคัญมาก เพราะในกระบวนการโค้ชนั้น โค้ชจะใช้เวลาในการฟัง 70% - 80% (อีก 20 % สำหรับการถาม,feedback ฯ) การฟ...
-
ในกระบวนการโค้ชและการเป็นพี่เลี้ยงนั้น ทักษะการสะท้อนกลับที่มีคุณภาพ (Effective Feedback) หรือบางทีเรียกทับศัพท์เป็นคำง่ายๆว่า ทักษะการให้ฟีดแบค เป็นทักษะและกระบวนการหนึ่งในการบ่งบ...
-
ทักษะการถาม (Questioning skill for coach) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่สำคัญของโค้ช และผู้นำทีม ผู้จัดการ เพราะการถามที่ดีจะได้คำตอบที่หลากหลาย และสร้างสรรค์ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราถามว่า5+5 ได...
-
การรับการสะท้อนกลับ หรือ การรับฟีดแบค(feedback) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่สำคัญสำหรับทั้งผู้นำและผู้ตาม เพราะในปัจจุบันคนไม่ไม่กล้าให้ฟีดแบคกันเพราะเกรงปฏิกิริยากลับมาไม่ว่า การไม่ยอมรับ...
-
โมเดลที่เป็นที่รู้จักและใช้ในการโค้ชอย่างกว้างขวางโมเดลหนึ่งคือ GROW model ซึ่งเป็นโมเดลที่Sir John Whitmoreและทีม พัฒนาขึ้นมาในปี 1980 และกลายมาเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายจากหนังสื...
-
ปัจจุบันทักษะการโค้ช(Coaching Skills)เป็นอีกเครื่องมือ(tools) หนึ่งที่สำคัญสำหรับผู้นำในองค์กรในการบริหารจัดการ และพัฒนาดึงศักยภาพของผู้ใต้บังคับบัญชาได้เป็นอย่างดีอีกเครื่องมือหนึ...
-
อาจารย์ศศิมา – เก๋ได้มีโอกาสไปแบ่งปันเรื่อง Leader as Coach and Mentor หลายแห่ง ทั้งแบบ การโค้ชตัวต่อตัว (one on one coaching ) การโค้ชแบบกลุ่ม (Group coaching) และการสัมมนาในรูปแบ...
-
ผู้ที่อยากนำทักษะการโค้ชไปโค้ชในลูกน้อง เพื่อพัฒนาและดึงศักยภาพของลูกน้อง จะเริ่มอย่างไร หลังจากที่ได้เรียนรู้หรือจบสัมมนาแล้วหลายคนเมื่อได้เรียนรู้เรื่องโค้ชไปแล้ว สิ่งที่อ.เก๋มั...
-
ทักษะการสะท้อนกลับที่มีคุณภาพ ให้เกิดการพัฒนาทีมงาน (Effective Feedback) เป็นอีกทักษะหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน และการพัฒนานวัตกรรมได้ ซึ่งเป็นอีกทักษะหนึ่งที่ห...
-
ในยุคนี้ต้องบอกว่า ทักษะการฟังอย่างเข้าอกเข้าใจและใส่ใจ Empathic listening เป็นทักษะที่สำคัญมากสำหรับทุกๆคนในองค์กร CEO ผู้นำ หัวหน้า ผู้จัดการ ในการฟังลูกทีม ฟังลูกน้อง เพื่อให้เข...
-
เก๋มักจะได้รับคำถามจากผู้บริหารหรือผู้นำทีมที่เป็นทีมนวัตกรรม หรือ ผู้บริหารที่พัฒนาองค์กร และต้องการให้องค์กรมีการเติบโตด้วยนวัตกรรม ว่า ถ้าจะพัฒนาให้ทีมงานสามารถคิดสร้างสรรค์พัฒ...