The New Normal กับการปรับตัวสำหรับการเปลี่ยนแปลง ในยุค Digital Transformation โดยศศิมา สุขสว่าง
ช่วงนี้หลายคนอาจจะได้ยินคำว่า "New Normal" บ่อย จนสงสัยว่ามันคืออะไร วันนี้เก๋มาแบ่งปันข้อมูลกันค่ะ คำว่า "New Normal" แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า "ความเป็นปกติในรูปแบบใหม่ " ซึ่งคำนี้ ถูกกล่าวไว้ครั้งแรก จากผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Pacific Investment Management (PIMCO) Mr. Bill Gross ซึ่งตอนที่เขาพูดนั้น ใช้อ้างอิงถึงวิกฤติเศรษฐกิจที่สภาวะเศรษฐกิจโลก ที่มีการเติบโตลดลง แล้ว การเติบโตในแต่ละปี เฉลี่ยแล้วต่ำกว่าเดิม และมีอัตราการว่างงานที่สูงอย่างต่อเนื่องหลังเกิดวิกฤติการเงิน
และที่ช่วงนี้คำนี้มาถูกกล่าวมากขึ้นเพราะว่า วิกฤติไวรัสโคโรน่า ที่ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว จนถึงวิกฤติในหลายประเทศที่มีการ Shut down ประเทศ ซึ่งส่งผลทำให้มีคนตกงาน ว่างงาน เป็นจำนวนมาก และส่งผลต่อเนื่องถึงการเติบโตของเศรษฐกิจไทยลดลง ซึ่งซึ่งเหล่านี้เป็นตัวให้ก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนเป็นการปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็วจนเป็น ความเป็นปกติในรูปแบบใหม่ ซึ่งภายหลังจากโควิด การเปลี่ยนแปลงอย่างคาดการณ์ไม่ได้นี้ ที่จะเกิดขึ้นทั้งด้านบวกและด้านลบ ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหล่านี้ที่เราเรียกว่า ความเป็นปกติในรูปแบบใหม่ หรือ The New Normal นั่นเองค่ะ
ในช่วงนี้ New Normal ที่เราเห็นได้แก่
1. Digital transformation การปรับตัวของบริษัทและองค์กรต่างๆในการนำ Digital transformation เข้ามาใช้มากมายในช่วงนี้ค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคโนโลยีต่างๆในการติดต่อสื่อสารกับคนในองค์กร หรือการสื่อสารกับลูกค้า การส่งสินค้า การรับส่งออเดอร์ ผ่าน Digital , Social media ต่างๆ ซึ่งเป็นผลมาจากปีที่แล้ว ที่มี Disruptive Technology มาเป็นตัวเร่ง หลายองค์กรที่เคยวางแผนที่จะนำเทคโนโนโลยี และระบบการทำงานแบบใหม่ๆมาก็ได้นำมาปรับใช้อย่างรวดเร็วในช่วงนี้เองค่ะ
2. Human Behavior พฤติกรรมของมนุษย์ ที่เปลี่ยนไปในชีวิตประจำวัน ซึ่งส่วนใหญ่เราจะเห็นว่า เทคโนโลยีใหม่ๆ หรือบริการที่เพิ่มความสะดวกสบาย ไม่ว่าจะเป็น Grab, line , การประชุม สัมมนา ผ่าน zoom และ Appication ต่างๆ ที่มักจะแพร่หลายกันในหมู่ gen Y แต่ตอนนี้ไม่ว่า Gen BB, X ก้อใช้กันเป็นปกติแบบใหม่
3. การ Work from Home จากเดิมที่องค์กรต่างๆ ทำงานที่ทำงาน เพิ่มตึก เพิ่ม ออฟฟิศ เมื่อมีพนักงานใหม่ แต่เมื่อวิกฤติโควิดมา ทำให้การทำงานที่บ้าน Work from home เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (อ่าน 3 คำถามเพื่อเตรียมตัว Work from Home กดที่นี่) หลังจากที่หลายๆคนวางแผนมานานว่า จะทำให้มีการ Work from home แต่ตอนนี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
4. Mindset ของคนที่เปลี่ยนไป หลายคนได้เกิด Growth Mindset หลายคนออกจาก Comfort Zone มาสู่ Growth Zone ได้ด้วยวิกฤตินี้เอง (อ่านบทความ ออกจาก Comfort Zone มาสู่ Growth Zone กดที่นี่)ไม่ว่าจะเป็น Mindset เกี่ยวกับเรื่องงาน ที่เคยคิดว่าตัวเองมีความสามารถแค่ไม่กี่อย่าง แต่หลายคนสามารถที่จะทำงานที่ 2 ,3,4 .... ได้เพื่อเลี้ยงชีพ เลี้ยงพ่อแม่และครอบครัวได้ , ความเชื่อมั่นในตัวเองที่เพิ่มขึ้นที่สามารถดึงความสามารถในการปรับเปลี่ยนตัวเอง ลด ละ อะไรหลายๆอย่างลงและเพิ่มความเชื่อมั่นในตัวเองได้ จากการกลัวอด เราจะเห็นหลายๆอาชีพที่ไม่มีงาน สามารถถอดหัวโขน ตำแหน่ง ภาพพจน์แล้วไปทำงานเพื่อเลี้ยงชีพได้ ไม่ว่าจะเป็นแอร์โฮตเตสมาขายขนมปังปิ้งน้ำปั่น ผู้จัดการที่ตกงานมาวิ่งรถ Grab เป็นต้น Growth Mindset ที่เชื่อว่า เราสามารถทำอะไรได้มากกว่าที่เราคิด ก็ได้เห็นในวิกฤตินี้เอง หลายคนเริ่มตระหนักรู้ในตัวเอง (Awareness) ว่าถ้าไม่เปลี่ยนแปลงตัวเอง ไม่พัฒนาตัวเอง Up skill Reskill ให้ทันกับ Digital Transformation ก้ออาจจะไม่รอด เริ่มเห็นแล้วว่า ที่ ทางองค์กร HRD ที่ได้หาหลักสูตรอบรมต่างๆเข้าไป มีประโยชน์และมี Mindset ที่จะต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองอย่างจริงจังแล้ว
และอีกหลายอย่างเลยค่ะ
เก๋ขออนุญาต แบ่งปันสิ่งที่สำคัญในการที่จะทำให้เราสามารถปรับตัวและอยู่ในยุคของ The New Normal ได้ ซึ่งบางส่วนอ้างอิงจากบทความ VUCA World ความท้าทายสำหรับผู้นำยุคใหม่ (ต้องการอ่านบทความกดที่นี่) ที่เคยเขียนไว้ ซึ่งอาจจะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านดังนี้ค่ะ
1. วิสัยทัศน์ (Vision)
ผู้นำทางธุรกิจ ต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อให้สามารถตัดสินได้โดยอย่างรวดเร็ว และตอบสนองได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว โดย
- การสื่อสาร (COMMUNICATE) กับทีมงาน และคนในองค์กร การสื่อสารที่ชัดเจน และทำให้ทุกคนเห็นเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ขององค์กรให้เป็นภาพเดียวกัน และรู้ว่าจะก้าวเดินไปในทิศทางใด
- เชื่อมั่น (Trust ) เชื่อมั่นและไว้ใจในตัวเองและผู้อื่น และให้การสนับสนุนการเติบโตทั้งทางความคิด (Growth Mindset) และการทำงานสไตล์ใหม่ๆในทางเดียวกับวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กร ซึ่งเราจะเห็นว่าในการทำงาน แบบ Work from home ในตอนนี้ ทั้งผู้นำ และทีมงานเองต้องมีความเชื่อมั่น เชื่อใจซึ่งกันและกันเป็นอย่างมากในการปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ เหมือนกับการทำงานในออฟฟิศ เพื่อให้ได้ผลปฏิบัติงานที่ดีและเต็มที่ต่อองค์กรได้
- มุ่งมั่น (Focus) มุ่งมั่นและมั่นใจว่าทีมของคุณมีความสามารถและก้าวไปด้วยกัน กับทิศทางขององค์กร
- ทำงานเชิงรุก (Proactive) ทั้งด้านการวางแผนเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในกรณีที่ดีที่สุด และในกรณีที่แย่ที่สุด เหมือนเช่นในตอนนี้ที่มีวิกฤติโควิด หลังจากนี้คงต้องมีการวางแผนใหม่ให้กับองค์กรด้วยค่ะ
2. การปรับเปลี่ยนมุมมองและยืดหยุ่น (Change and Flexible)
ทำความเข้าใจจุดแข็ง จุดอ่อนขององค์กร ขีดความสามารถและกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อปรับเปลี่ยนทั้งมุมมอง แนวคิด แนวทางในพัฒนาองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคน ผลิตภัณฑ์หรือบริการขององค์กร ตลอดจนแนวทางที่ต้องการจะก้าวไปถึง ทั้งนี้ ผู้นำจำเป็นต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกับพนักงาน ลูกค้า และ stakeholder เพื่อรับฟังข้อมูลและความคิดเห็นที่เสริมสร้างมุมมองใหม่เพื่อสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้ ซึ่งเป็นความเป็นปกติแบบใหม่
- อยากรู้อยากเห็น (CURIOSITY) - เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ใช้คำถามปลายเปิด หรือคำถามแบบโค้ช เปิดใจ stakeholder เพื่อให้ได้ข้อมูลใหม่ๆมาพัฒนาสิ่งใหม่ๆในองค์กร
- เอาใจใส่ (EMPATHY)- ใส่ใจกับทีมงาน เพื่อให้ได้ใจ และการร่วมมือร่วมใจอย่างต่อเนื่อง
- เปิดใจ (OPEN MIND) - เปิดใจ เปิดรับแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อได้ไอเดียเชิงสร้างสรรค์มาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
3. ชัดเจนกระจ่าง (Clarify)
ในยุคที่ระบบและองค์กร สภาพแวดล้อมที่มีความซับซ้อนที่มากขึ้นเรื่อยๆ มีปัจจัยมากมายและซับซ้อนต่อการตัดสินใจ (Multiple key decision factors) การสร้างเสริมความชัดเจนในนโยบายและกลยุทธ์จึงเป็นแนวทางที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง เพื่อให้การตัดสินใจของผู้นำทันต่อเหตุการณ์ โดย
- การจัดระบบให้เรียบง่าย (SIMPLIFY) - ลดความซับซ้อนของระบบ และเน้นประเด็นหลักๆที่เป็นแก่นขององค์กรจริงๆ ไม่เสียเวลากับระบบหรือขั้นตอนที่ไม่สร้างคุณค่าให้กับองค์กร
- ตระหนักรู้ (Awareness) - ใช้สัญชาตญาณ และประสบการณ์ในการทำงาน และตัดสินใจ
- การคิดเชิงระบบ (SYSTEMS THINKING) เพื่อให้ได้มุมมองแบบองค์รวม แล้วแยกย่อยออกมาเป็นส่วนต่างๆเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน
4. ความว่องไว (Agility) ต่อการเปลี่ยนแปลง
ผู้นำที่ยืดหยุ่นและมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จะสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ โดยที่ยังคงเป้าหมายและวิสัยทัศน์ขององค์กรยังอยู่ โดย
- การตัดสินใจ (DECISIVENESS) - ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและตัดสินใจด้วยความมั่นใจ
- การพัฒนานวัตกรรม (innovation) - เรียนรู้ปัญหาของลูกค้า ใส่ใจกับผู้คน แล้วพัฒนานวัตกรรมใหม่ออกมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น
- การให้อำนาจ (EMPOWER) - การทำงานสร้างเครือข่าย การทำงานร่วมกัน และ การสนับสนุนทำให้ผู้อื่นสามารถทำงานได้อย่างยอดเยี่ยม ไม่ว่าจะทำงานที่บ้าน
เก๋หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับผู้ที่สละเวลามาอ่านบทความนี้นะคะ เป็นกำลังใจให้กับทุกคนในการทำงานช่วง New Normal นี้ค่ะ
..................
อ้างอิง
McKinsey & Company, "The New normal" www.mckinsey.com/
BBC "Coronavirus: Adapting to the 'new normal' amid a pandemic" www.bbc.com
HBR "Predictions for the New Normal" hbr.com
.............................
- สนใจหลักสูตร " Growth Mindset for Performance Working กรอบแนวคิดเชิงเติบโตเพื่อประสิทธิภาพการทำงาน" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่
(ต้องการ รายละเอียดหลักสูตรฉบับเต็ม พร้อม ใบเสนอราคา ขอความกรุณาอีเมล์มาที่ sasimasuk.com@gmail.com หรือ Line ID: sasimasuk.com อ.เก๋เช็คอีเมล์และ Line ทุกวันค่ะ)
......................................
Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator) และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)
.................................
ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี ทำงานด้าน Research & Development Engineer และนักวิจัยมาโดยตลอด จนได้มาเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ของ THTI รวมเวลาทำงานด้านนวัตกรรมมามากกว่า 198 ปี และได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน
...........................................
ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่
ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com
line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994
-
ความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งถือเป็น Growth Mindset อย่างหนึ่ง เป็นอีกความจำเป็นที่ช่วยองค์กรแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และช่วยในการสร้างโอกาสและมูลค่าทางธุรกิจของบริษัทให้เติบโตด้วย บริษัทที...
-
Mindsetมีผู้ให้ความหมายไว้หลายความหมาย เช่น "กรอบความคิด" "กระบวนความคิด" ในส่วนของเก๋เองนั้น ให้ความหมายว่าMindsetหมายถึง "กระบวนการคิดของแต่ละบุคคลในการแสดงออกและทัศนคติ ซึ่งมาจ...
-
ในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาตัวเอง เพื่อก้าวออกจาก Fixed Mindset ไปสู่ Growth Mindset นั้น หลายๆคนต้องใช้พลังกาย พลังใจที่ก้าวข้ามComfort zone ผ่าน Fear Zone สู่ Learning Zone เพื่อให้...
-
“VUCA World”เป็นคำย่อของ ความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความสลับซับซ้อน (Complexity) ความคลุมเครือ (Ambiguity) “VUCA World” เป็นคำที่ทางกองทัพสหรัฐอเมริกาใช้...
-
องค์กรใด หากมีบุคคลากรที่มี Growth Mindset เป็นอัตราส่วนที่มากกว่า Fixed Mindset จะทำให้โอกาสที่องค์กรสามารถพัฒนาทั้งธุรกิจและนวัตกรรมให้เติบโตอย่างต่อเนื่องจะเป็นจริงได้ 1. ปั...
-
Mindset หรือ ชุดของความเชื่อหรือกรอบความคิดหรือ วิธีคิดที่ความ “ฝังลึก” จนเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมมุมมองและทัศนคติของบุคคลที่มีต่อเรื่องราวและสิ่งต่าง ๆ ซึ่งในคนทุกคนจะมีทั้ง คนที่มีกร...
-
ในช่วงนี้หลายๆครั้งที่สมองเราปั่นป่วนไปด้วยสภาวะอารมณ์ที่มากระทบจากภายนอก ข่าว และสถานการณ์ต่างๆ วันนี้เก๋มา แนะนำเทคนิค การเขียนถึงตัวเอง เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราค้นหาสิ่งท...
-
จากการศึกษาของ Institute for the Future ได้สรุปทักษะที่จำเป็นในคศ. 2020 สำหรับพนักงาน หรือลูกจ้าง 10 อย่างที่จำเป็นที่ต้องมี หากไม่มีแล้วคุณมีโอกาสตกงาน หรือเสี่ยงต่อการไม่ก้าวหน้า...
-
โมเดลการเรียนรู้แบบ 70:20:10 นั้น ก่อตั้งขึ้นโดยนักเขียนMorgan McCall, Michael Lombardo และ Robert Eichingerในความร่วมมือกับ(partnership) กับ Centre for Creative Leadership และถือว...
-
วันนี้เก๋ -ศศิมา จะมาแบ่งปันเกี่ยวกับการปรับตัวและพัฒนาตัวเองเพื่อรับมือกับยุค Digital transformation และ VUCA World กันค่ะ อย่างที่เราได้ยินกันมาตั้งแต่ต้นปีแล้วนะคะว่า ปีนี้อยู่ย...
-
ในสถานการณ์ที่ปัจจุบัน หลายๆบริษัทประสบปัญหาวิกฤติ บางบริษัทก็ได้ลดคน หรือปิดบริษัท แต่ในบางบริษัท ก็รับคนเพิ่มในตำแหน่งงานต่างๆ เรียกว่าในวิกฤติก็มีโอกาสในหลายๆบริษัท สำหรับคนทำงา...
-
ปัจจุบัน บริษัทต่างๆมีโปรแกรมสำหรับพัฒนาการเรียนรู้ของบุคคลากรในบริษัท โดยใช้งบประมาณสูงมากในปีหนึ่งๆ แล้วก็ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง ตรงกับที่ผู้เรียนต้องการบ้าง ไม่ตรงบ้าง ซึ่งจากบท...
-
วันนี้เก๋อยากจะแชร์แนวคิดและบอกเล่าเรื่องราวการพัฒนาตัวเอง เพราะที่ผ่านมาได้มีการคุยกับพี่ๆเพื่อนๆน้องๆหลายคน เกี่ยวกับเป้าหมายชีวิต อยากทำโน่น ทำนี่ อยากทำหลายอย่าง หรือบางคนขาดแร...
-
บทความนี้ เก๋มาแบ่งปัน คำถามที่ต้องถามตัวเอง ก่อนทำงานที่บ้านWork from HomeหรือWork anywhereเพื่อการเตรียมตัวให้พร้อม และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ ช่วงนี้เป็นช่วงเหตุการ...
-
เก๋มาแบ่งปันแนวทางของตัวเองนะคะ เป็นเทคนิคการเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ Re-skill ,Up skill โดยใช้เวลา 20-60 ชั่วโมงให้เรียนรู้ ทำได้และแบ่งปันได้ โดยแบ่งเป็นเรียนรู้วันละ 1-2ชั่วโมงอย่างส...
-
หลายสิบปีที่ผ่านมาในการทำงานประจำ ผู้เขียนได้ร่วมงานกับคนหลากหลายแบบจากหลายสิบแผนกในแวดวงคนทำงานกินเงินเดือน บางคนทำงานเพียง 2-3 ปีก็เปลี่ยนงานบางคนก็ทำงานในที่ทำงานเดิมเป็นสิบๆปี ...
-
เมื่อต้นเมษายน 2559 ผู้เขียนได้จดหมายเชิญทางอีเมล์จากอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยที่ เยอรมนี The Technische Universität Dresden (TUD) ที่ผู้เขียนเรียนจบระดับปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์มา ท...
-
หลายคนอาจจะรู้จัก To do list หรือรายการที่ต้องทำ มามากมายแล้ว วันนี้เก๋มาแลกเปลี่ยนวิธีการเขียน To do list กันค่ะ To do list หรือ รายการที่ต้องทำเปรียบเสมือน แผนที่ หรือ google map...
-
ชีวิต เหมือนการปั่นจักรยาน คุณจะต้องปั่นมันอย่างต่อเนื่อง มันถึงจะไปต่อได้ ไม่งั้นก็ล้มหรือไม่ก็หยุดอยู่กับที่ ชีวิตการทำงานก็เหมือนกัน ก็ต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลา จะช่วยให้ให้เราปรับ...
-
เริ่มปีใหม่ หลายคนอยากตั้งเป้าหมายเพื่อการเปลี่ยนแปลงตัวเอง หรือพัฒนาตัวเองไปในทางที่ดีขึ้น วันนี้ เก๋ก็มีเทคนิควิธีการง่ายๆในการตั้งเป้าหมายมาแบ่งปันกันค่ะ การตั้งเป้าหมาย (Goal ...
-
อ.เก๋ได้ฟังคลิปของ Stan lee ผู้แต่งเรื่องไอ้หนุ่มแมงมุม หรือ สไปเดอร์แมน (Spider-man) ที่เพื่อนโพสต์ใน FB ฟังแล้วได้ไอเดียดีๆ สำหรับสร้าง Growth Mindset เลยไปค้นหาคลิปต้นฉบับเต็มฟั...
-
ในปัจจุบันการทำงานที่เรียกว่า Work – life balance คงเป็นเป้าหมายชีวิตในชีวิตของหลายๆคน แต่จากการงานในปัจจุบันคงไม่มีงานไหนที่เราสามารถแยกชีวิตและงานออกได้อย่างชัดเจน และทำให้สมดุลก...
-
Adversity Quotient หรือ AQ คือ ความสามารถในการรับมือกับปัญหา ซึ่งเป็นการรวมความสามารถทั้งด้านร่างกายและจิตใจในการเผชิญหน้ากับปัญหา และการพยายามที่จะหาหนทางในการผ่านพ้นอุปสรรค ปัญ...