Wishing เทคนิคการคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม โดย อ.ศศิมา สุขสว่าง-เก๋


Wishing เทคนิคการคิดแบบคำอธิษฐาน หรือความปรารถนา นั้นจะช่วยกระตุ้นจิตสำนึกและจินตนาการเชิงสร้างสรรค์ โดยมีการสมมุติฐานว่าทุกอย่างสามารถเป็นไปได้ เพื่อสร้างแนวคิดใหม่ที่ไม่ติดกรอบ และอาจจะล้ำสมัย ไปตามจินตนาการ หรือความฝัน เทคนิคนี้เกี่ยวข้องกับการคิดถึงสิ่งที่เราต้องการมากที่สุด จะดีจริง ๆ หรือน่าสนใจ ในกรณีนี้ ให้คิดให้เหนือเหตุผล เกินจริง เกินกว่าที่ปฏิบัติได้จริงและเป็นไปได้ การฝันถึงสถานการณ์หรือวิธีแก้ปัญหาในอุดมคติ หรือบางทีก็เรียกแบบไทยๆว่า แบบเวอร์ๆ จะช่วยให้เราวสามารถคิดไอเดียอันทรงพลังด้วยวิธีที่นำไปใช้ได้จริง สร้างสรรค์ หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

วิธีการ :


1. ระบุเป้าหมาย สถานการณ์ หรือปัญหา ที่ต้องการได้คำตอบหรือทางแก้ไขใหม่ๆ


2. ตั้งสมมติฐานว่าทุกสิ่งเป็นไปได้ ทำความเข้าใจกับผู้เข้าสัมมนา ให้คิดออกนอกกรอบ ซึ่งจะมีการใช้เทคนิคอื่นๆร่วมด้วย เช่น Brainstorming, Role storming, Superpower หรือ What if… เป็นต้น


3. จากนั้น ตั้ง Criteria ที่จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์หรือจินตนาการที่จะทำให้ความปรารถนา หรือคำอธิษฐาน ออกมาเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นรูปธรรม ด้วยกรอบความคิดที่ขึ้นต้นด้วย “ฉันหวังว่า…” แล้ว ใช้จินตนาการสร้าง Criteria เช่น:


- จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเงิน/กฎระเบียบ/กฎหมายไม่สำคัญ?
- เราจะทำอะไรเพิ่มเติมกับสินค้าหรือบริการนี้ ถ้าฉันมีเงินทุนและทรัพยากรไม่จำกัด?
- หากเรามีเทคโนโลยีไม่จำกัด เราหวังว่าจะพัฒนาอะไรเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ของเรา?
- เราจะคิดทำอะไรเพิ่มเติม หากทุกไอเดียนั้นผู้บริหารในองค์กรจะสนับสนุนโดยไม่มีข้อแม้ใดๆทั้งสิ้น
เป็นต้น


4. หลังจากได้ไอเดียมากเพียงพอ สัก 20-30 ไอเดีย แล้ว จึงมาตรวจสอบจินตนาการหรือความคิดแต่ละอย่างแล้ว ประเมินประโยชน์เชิงปฏิบัติที่เราจะได้รับจากไอเดียที่คิดมา ว่า ไอเดียใดสามารถนำไปปฏิบัติได้มากน้อยเพียงใด และเราจะทำให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างไร แล้วจึงค่อยไปขยายผลเพิ่มในไอเดียที่ใช้ได้


5. หากจำเป็นให้กำหนดปัญหาและชัดเจนยิ่งขึ้นอีก แล้วทำการระดมสมองอีกครั้ง

 

เทคนิคนี้เป็นเทคนิคที่เก๋ใช้ในการระดมสมองหาไอเดียใหม่ๆ หากในสัมมนาผู้เข้าสัมมนาคิดได้ไอเดียน้อย เพราะยังติดอยู่ในกรอบ หรือกฎขององค์กร จนไม่มีไอเดียใหม่ๆ ผลที่ได้คือได้ไอเดียดีๆเยอะเลยค่ะ

Source : https://geniusrevive.com/

 

เก๋หวังว่า บทความนี้จะช่วยมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจวิธีการ แนวคิดในการนำความรู้ไปพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรม ตลอดจนการพัฒนาตัวเอง ทีมงาน และประสิทธิภาพการทำงานให้กับองค์กรนะคะ

 

 สนใจหลักสูตรความคิดสร้างสรรค์ โดยวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง อ่านรายละเอียดที่ได้เลยค่ะ กดที่นี่ 

 

..................................

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

เข้าใจความหมาย และองค์ประกอบของนวัตกรรม ด้วย VIN model for Innovation อ่านต่อที่นี่  หรือกดที่รูป VIN model ด้านล่างนี้ 

 

 

.......................

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ตลอดจนการสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา)  ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี  ทำงานด้าน  Research & Development Engineer  และนักวิจัยมาโดยตลอด จนได้มาเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ของ THTI  รวมเวลางานด้านวิจัยพัฒนา จนถึงปัจจุบันกว่า 20 ปี และได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน 

...........................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 

 

Visitors: 310,484