กับดักในการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมในองค์กร โดย ศศิมา สุขสว่าง
ปัจจุบันการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมในองค์กร ถือว่าเป็น Core competency ขององค์กรส่วนใหญ่ที่มีการผลักดันและสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมการคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมองค์กร เพื่อให้ธุรกิจเติบโอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นกับองค์กรน้อยใหญ่ในการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมในองค์กร ที่ทำให้นวัตกรรมไม่เกิด หรือเกิดล่าช้า จนบางครั้งไม่ทันกาล มีหลายประการ ได้แก่
1. ผู้นำองค์กรไม่สนับสนุนอย่างจริงจัง
การสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมในองค์กร ต้องเริ่มที่ผู้นำองค์กรสนับสนุนและมีบทบาทอย่างจริงจังในการผลักดัน ในการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย ตลอดจนสื่อสาร เพื่อให้ทุกคนในองค์กรเห็นภาพเดียวกัน รวมทั้งการสร้างบรรยากาศที่ทำให้ทุกคนมีการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การเสนอความคิดใหม่ใหม่ การกระจายอำนาจในการตัดสินใจ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติขึ้นจริง
ตัวอย่างการสนับสนุนการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมในองค์กร การแบ่งเวลาให้พนักงานได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ โดยใช้ 70:20:10 model อ่านรายละเอียดต่อ กดที่นี่
2. ไม่สร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมในองค์กร
หลายที่มีเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมเป็น Core Competency ของเองค์กร แต่ในการทำงานจริง การนำเสนอสิ่งใหม่ ที่แตกต่างจากหัวหน้า หรือผู้บริหารจะถูกเพิ่งเล็ง การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานให้สั้นลง แต่ได้รับผลลัพธ์เหมือนเดิม กลายเป็นไม่ทุ่มเททำงานไม่เต็มเวลา หรือการคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆให้กับบริษัทที่สร้างรายได้อย่างเห็นได้ชัดไม่มีการสนับสนุนหรือให้รางวัลเป็นขวัญและกำลังใจ อย่างนี้ "วัฒนธรรมนวัตกรรม" ในองค์กรเกิดขึ้นได้ยากแน่นอน เพราะคนทำงานไม่กล้าคิดนอกกรอบ เพื่อให้ได้สิ่งใหม่ในองค์กร
3. การทำงานแบบแยกส่วน
บางองค์กรมีการทำงานแยกส่วนอย่างชัดเจน แบบหน้าที่ใครหน้าที่มันทำให้ขาดการประสานงาน และไม่กล้ารับบทบาทผู้นำในการพัฒนางานต่างๆที่นอกเหนืองานใน Job Description เพราะอยากจะรับผิดชอบแต่ในส่วนงานของตัวเองให้ดีที่สุด ทำงานในบทบาทของตัวเองเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อมีวาระงานพิเศษ ไม่มีใครกล้าลุกขึ้นมาเป็นผู้นำเพื่อทำการเปลี่ยนแปลง หรือทำงานนอกเหนือบทบาทเพื่อเป้าหมายหลักขององค์กร เพราะส่วนใหญ่เกิดจากความกลัว กลัวผิดพลาด กลัวไม่ประสบความสำเร็จ อาจจะเป็นเพราะระบบที่เคร่งครัดหรือ การบริหารที่เคร่งเครียด เป็นต้น กลายเป็น เป็น fixed mindset ไปเลย
4. ติดกับความสำเร็จในอดีต
การที่บริษัทเคยประสบความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ และสร้างยอดขายให้กับบริษัทได้มากมายในช่วงเวลาที่ผ่านมา ไม่ได้เป็นการบอกว่า ในปัจจุบันและอนาคตนั้น จะประสบความสำเร็จเช่นนั้นอีก เพราะจะเห็นว่าในปัจจุบันในโลกของ VUCA world นั้น มีการเปลี่ยนแปลง มีความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความสลับซับซ้อน (Complexity) ความคลุมเครือ (Ambiguity) จนไม่มีความแน่นอนได้ จนมีคำกล่าวหนึ่งว่า “รีบเปลี่ยนแปลงเสียก่อน มิฉะนั้นคุณก็อาจจะถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลง” ยกตัวอย่างบริษัทที่เคยประสบความสำเร็จในอดีต จนในปัจจุบันกลายมาเป็นบริษัทที่เล็กๆลง หรือต้องขายกิจการให้กับบริษัอื่นๆไปเลย เช่น
- โกดัก บริษัทผลิตฟิมล์สำหรับกล้อง ซึ่งในยุคที่กล้องยังใช้ฟิมล์อยู่นั้น โกดักถือเป็นผู้นำอันดับต้นๆของผู้ผลิตและจำหน่ายฟิมล์เลยทีเดียว แต่ในปัจจุบันโกดัก ได้ขอล้มละลายไปเรียบร้อยแล้วจากการเปลี่ยนแปลง จากกล้องฟิมล์มาเป็นกล้องดิจิตอล และตอนนี้ กล้องดิจิตอล กำลังสู้กับกล้องมือถืออย่างหนักหน่วงเลยทีเดียว
- โทรศัพท์มือถือโนเกีย เก๋เอง 10 กว่าปีก่อนก็เป็นแฟนคลับของโนเกีย แต่ปัจจุบันเหลือแต่เครื่องเป็นอนุสาวรีย์อยู่ที่บ้าน กรณีนี้เป็นกรณีศึกษาถึงบริษัทที่เคยประสบความสำเร็จมาก และประสบความสำเร็จมานาน แต่ไม่ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันและไม่สังเกตุคู่แข่งรายเล็ก รายน้อย ที่เขาพัฒนาอะไรใหม่ๆมาเรื่อย จนต่อมากลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกใจลูกค้ามากกว่า และกลายมาเป็นคู่แข่งที่สำคัญจนทำให้โนเกียต้องล้มละลายในที่สุด เพราะปรับตัวไม่ทันกับนวัตกรรมสมาร์ทโฟน และการตัดสินใจที่ผิดพลาดที่ติดกับความสำเร็จของตัวเอง
อื่นๆ เช่น แท๊กซี่บ้านเราที่กำลังแข่งกับ Grab taxi, Uber เป็นต้น
5. ไม่ติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ
เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้นมากมายเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า หรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ คำว่านวัตกรรมนั้น เป็นคำรวมระหว่าง 3 คำ คือ สิ่งใหม่ๆ + มีคุณค่า + และสร้างรายได้ บริษัทหลายๆบริษัทคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เช่น สิ่งประดิษฐ์ บริการหรือกระบวนการใหม่ๆ แต่ทั้งนั้นทั้งนั้นต้องช่วยแก้ปัญหาของลูกค้าด้วย เมื่อสามารถแก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการได้ จะเกิดความต้องการและสร้างรายได้ในที่สุด แต่หากเป็นสิ่งใหม่ๆแต่ไม่ตอบโจทย์ลูกค้า รายได้ก็ไม่มา
สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างๆของกับดักที่ทำให้การสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมในองค์กรไม่เกิดขึ้นนะคะ
การพัฒนาการเปลี่ยนแปลงโดยการพัฒนาตั้งแต่ระบบการคิด จนออกมาเป็นแนวทางการปฏิบัติ เพื่อให้ทุกคนมองไปข้างหน้า เห็นเป้าหมายขององค์กรเป็นภาพเดียวกัน และให้ทุกคนรู้จักจุดแข็ง จุดดีของตัวเองที่จะสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยองค์กรให้ก้าวหน้าและเติบโตได้อย่างมั่นคง ด้วยความร่วมมือของทุกคน
บทความนี้ เขียนจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของเก๋ที่เป็นที่ปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการเป็นส่วนหนึ่งของทีม Performance Coach ที่เข้าไปพัฒนาคนหรือองค์กรด้วยการ Training พร้อมทั้ง Performance &Business Coaching แบบ one on one เป็นโครงการยาวประมาณ 4-6 เดือน ซึ่งที่ผ่านมาก็ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเป็นอย่างดีค่ะ
.........................................
.......................................
Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator) และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)
.................................
ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี ทำงานด้าน Research & Development Engineer มาโดยตลอด และเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรอิสระแห่งหนึ่ง และได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน
...........................................
ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่
ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com
line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994 (โทรกลับเฉพาะเบอร์มือถือนะคะ)
-
หลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ ของ Sasimasuk.com ที่เป็นหลักสูตรมาตรฐานและจัดบรรยายใน In-House Training มี 8 หลักสูตรดังรายละเอียดด้านล่าง และสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้อ...
-
สวัสดีค่ะยินดีต้อนรับเข้าสู่บริษัท HCD Innovation CO.;Ltd. หรือ Human Creativity Development (HCD) Innovation พื้นที่เล็กๆที่อ.ศศิมา สุขสว่าง(อ.เก๋) แบ่งปันและแลกเปลี่ยนมุมมอง ประส...
-
จากประสบการที่เก๋ไปเป็นที่ปรึกษา วิทยากร และโค้ชในเรื่องของการพัฒนานวัตกรรมให้กับหลายๆบริษัทที่ผ่านมา พบว่า อุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรมในองค์กรให้เกิดขึ้นได้จริงอย่...
-
นวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ๆ หลายอย่างที่เกิดขึ้นมา ไม่ได้เกิดจากการวางแผนหรือกำหนดชี้ชัดเจนว่า จะต้องทำให้เกิดขึ้นในปีนี้หรือเดือนนี้ หากแต่เกิดจากการเตรียมพร้อมบุคคลากรให้มีทักษะ ความสา...
-
เมื่อต้นปี กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ดำเนินกิจกรรมสร้างนักออกแบบ Innoneering designers ยุคใหม่ ภายใต้โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์...
-
ความคิดสร้างสรรค์ที่ดี จะช่วยสร้างความแตกต่างให้กับคู่แข่งทางธุรกิจ ช่วยให้เกิดแนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนามูลค่าทางธุรกิจให้กับองค์กร สามารถแข่งขันกับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร...
-
การทำงานเป็นทีม (Teamwork) สิ่งนี้สำคัญมากในการสร้างนวัตกรรมในองค์กร เพราะการจะสร้างนวัตกรรมในองค์กรหรือการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆ ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพียงแค่ฝ่าย R&D หรือฝ่ายวิศ...
-
เนื่องจากในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของ เทคโนโลยี การแข่งขัน สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เศรษฐกิจ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ทำให้องค์กรต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ สถานการณ...
-
การจะสร้างองค์กรนวัตกรรม (Innovation Organization) นั้น จุดเริ่มต้นเริ่มจากตัวบุคคล ทีมงาน และองค์กร ดังนั้นการส่งเสริมให้บุคคลากรในองค์มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งในความคิดเชิ...
-
เก๋อยากแบ่งปันเรื่องของคำจำกัดความของคำว่า "นวัตกรรม (Innovation)" เพราะเวลาที่ไปเป็นที่ปรึกษาหรือวิทยากรตามบริษัทต่างๆ ก่อนที่จะเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม ก็มักจะทำความเข้าใจเ...
-
ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมเป็นอีกความจำเป็นหนึ่งที่ช่วยองค์กรเติบโต และสร้างมูลค่าทางธุรกิจของบริษัทให้เติบโตด้วย บริษัทที่มีการพัฒนาพนักงานให้มีความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง จ...
-
เก๋เป็นคนที่หลงใหลในเรื่องของนวัตกรรมและการวิจัยพัฒนาสิ่งใหม่ๆมาก เหตุผลหนึ่งคือชอบจินตนาการ คิดทำสิ่งใหม่ๆ ค้นคว้าวิจัย งานที่ผ่านมาก็จะทำงานในสายงานด้านวิศวกรวิจัยพัฒนามาตลอด หน...
-
เก๋เริ่มทำงานเป็นวิศวกรด้านวิจัยพัฒนาตั้งแต่บริษัทที่ 2 บริษัทแรกเป็นการทำงานด้านการทดสอบ (testing) ทำไปช่วงแรกก็สนุกดี แต่พอทำไปเรื่อยๆเริ่มรู้สึกว่า งานซ้ำเหมือนเดิม เพราะการทดสอ...
-
"Business Model Canvas (BMC)" หรือ "แบบจำลองธุรกิจ" หรือ "ผืนผ้าใบแบบจำลองธุรกิจ" เป็นเครื่องมือทันสมัยที่รวบเอาแผนธุรกิจแบบยาวๆมาไว้ในหน้าเดียว เพื่อให้เห็นภาพรวมของธุรกิจก่อนที่จ...
-
"การพัฒนานวัตกรรมสำหรับ Thailand 4.0" นโยบายที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม สู่ Thailand 4.0 เพื่อสร้างการแข่งขันและเติบโตอย่างต่อเนื่องขององค์กร เป็นอีกนโยบายที่โด...
-
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2560 เก๋ได้มาเป็นวิทยากรแบ่งปันความรู้ในหลักสูตร ""9 Effective Creative Tools for New Product Development and Innovation : เครื่องมือทรงประสิทธิภาพคิดสร้างสรรค...
-
ตลอดชีวิตการทำงาน ตั้งแต่เรียนจบ ได้ทำงาน R&D Engineer มาโดยตลอด จนปัจจุบัน เป็นวิทยากรความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม เลยอยากจะแบ่งปันเรื่องราวของการความคิดสร้างสรร...
-
เก๋ได้มีโอกาสดูคลิบยูทูปสั้นๆเรื่องหนึ่ง ดูแล้วสะท้อนความเป็นจริงในสังคมเราเป็นอย่างมาก เป็นคลิบที่ทำโดย Daniel Martínez Lara และ Rafa Cano Méndezกดที่รูปภาพเพื่อดูคลิปค่ะ ที่มา h...
-
โมเดลการเรียนรู้แบบ 70:20:10 นั้น ก่อตั้งขึ้นโดยนักเขียนMorgan McCall, Michael Lombardo และ Robert Eichingerในความร่วมมือกับ(partnership) กับ Centre for Creative Leadership และถือว...
-
การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)หมายถึง ความสามารถในการคิดจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ ของข้อมูลหรือปัญหาต่างๆออกเป็นประเด็นย่อยๆ ในหลายๆแง่มุม รวมทั้งการหาความสัมพันธ์ระห...
-
สมัยที่ผู้เขียนเริ่มงานเป็นวิศวกรใหม่ๆนั้น ได้มาทำงานด้านการตรวจสอบคุณภาพ ต่อมาก็มาทำงานด้านการวิจัยพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ง่ายๆในตอนนั้น คือ PDCA ของปู่เดมมิ่ง หรือ ดับเบิ้ลยู เอ็ด...
-
การระดมสมองหรือการระดมความคิด (Brainstorm)เพื่อปลุกไอเดียสร้างสรรค์ เป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการระดมความคิดเพื่อหาไอเดียสร้างสรรค์ไหม่ๆ หรือใช้ในระดมความคิดเพื่อแก้ไขปัญหา จา...
-
เทคนิค ATTRIBUTE LISTING วิธีนี้มาจาก Michael Morgan เป็นเทคนิคที่ใช้ list รายการคุณลักษณะ เหมือนหัวหอมที่ปอกเปลือกไปทีละชั้นๆจนถึงข้างใน ถ้าใช้ในการคิดสร้างสรรค์ เป็นการ list คุณล...
-
Biomimicry มาจากภาษากรีกคำว่า 'Bios' เเปลว่า ‘ชีวิต’ และ 'Mimic' มีความหมายว่า ‘ลอกเลียนแบบ’ดังนั้น เทคนิค Biomimicry เป็นเทคนิคที่ใช้การเลียนแบบสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติมาคิดประดิษฐ์...
-
Challenge Assumptions เป็นการท้าทายกับสมมุติฐานต่างๆ เป็นเทคนิคที่ใช้การตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆในทุกๆวัน เพื่อสร้างสรรค์มุมมองใหม่ๆในหัวข้อที่นำมาเป็นประเด็นการคิด เทคนิคนี้เรียกอีกอ...
-
Brainwriting 6-3-5 เป็นการระดมสมองอีกรูปแบบหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการระดมความคิดแบบองค์รวม จากการมีส่วนร่วมแบบไม่สม่ำเสมอของสมาชิกบางคน บางคนอาจจะพูด...
-
เก๋ได้อ่านข่าวหนึ่งที่น่าสนใจ และนำมาเชื่อมโยงกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม ได้ เลยอยากแชร์ให้กับหลายๆท่านเพื่อแบ่งปันและแลกเปลี่ยนกันค่ะ.http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/7...
-
ในช่วงที่ผ่านมา เก๋ได้ไปเป็นวิทยากร และ ที่ปรึกษา ในองค์กรเอกชน SMEs ภาครัฐ หลายองค์กร และได้คิดกิจกรรม Workshop ขึ้นมากิจกรรมหนึ่ง ซึ่งกิจกรรมนี้ หลังจากทำเสร็จ ได้มีหลายๆบริษัทได...
-
ความคิดสร้างสรรค์เป็นความจำเป็นของธุรกิจที่ต้องส่งเสริมพนักงานให้มีทักษะนี้ เพื่อให้องค์กรสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ มีการพัฒนากลยุทธ์ใหม่ ๆ และผลักดันการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร เพ...
-
Ask Question คำถามดีๆ สามารถสร้างแนวคิดและการแก้ปัญหา รวมทั้งเป็นจุดก่อกำเนิดของนวัตกรรม สร้างแนวคิดและความแตกต่างให้กับบริษัท เพื่อแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ แล้วคำถามที่ดีท...
-
SCAMPER- Osborn's Idea Stimulation checklists เป็นเทคนิคที่พัฒนาขึ้นมาโดย อเล็กซ์ ออสบอร์น (Alex Osborn) เป็นเครื่องมือง่ายๆในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยวิธี...
-
ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ แนวคิดที่สำคัญมากเป็นอันดับต้นๆ คือผลิตภัณฑ์นั้นสามารถแก้ไขปัญหาให้ลูกค้า หรือตอบสนองต่อความคาดหวัง ความจำเป็นเเละความต้องการของลูกค้าได้ รวมทั้งมีอะไรบางอย่างท...
-
เก๋ได้มาเป็นวิทยากรแบ่งปันความรู้ในหลักสูตร ""9 Effective Creative Tools for New Product Development and Innovation : เครื่องมือทรงประสิทธิภาพคิดสร้างสรรค์ปั้นนวัตกรรม" ในโครงการปร...
-
โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง : The Royal Rainmaking Project" Innovation หรือ นวัตกรรม ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยส่งเสริมจาก เศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge Economy) และ เศรษฐกิจเชิงสร...
-
เก๋ได้ไปสัมมนา Innovation Conference ที่มหาวิทยาลัย เดรสเดน ประเทศเยอรมนี (Technische Universitaet Dresden, Germany) ที่เก๋เรียนจบปริญญาโทมา ระหว่าง 22 กันยายน ถึง 1 ตุลาคม 2560 สิ...
-
อ.ศศิมา สุขสว่าง ได้พัฒนาโมเดลสำหรับการโค้ชเชิงนวัตกรรม สำหรับผู้จัดการหรือผู้นำที่ต้องการพัฒนาทีมงานให้มีแนวคิดและศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมขึ้น คือโมเดล SPARK model fo...
-
การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมนั้น ปัจจัยที่สำคัญที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมในองค์กรอีกประการหนึ่งคือ เรื่องของการสื่อสาร เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลของแต่ละหน่วยงานมาเพื่อที่จะไ...
-
การพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมในด้านผลิตภัณฑ์ (Product) กระบวนการ (Process) หรือบริการ (Service) ในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่จำเป็นกับทุกองค์กร สำหรับธุรกิจที่อยู่ในโลกของ V...
-
โครงการนี้เป็นโครงการที่สนับสนุนโดยสสว. และดำเนินการโดย สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยอาจารย์ศศิมา สุขสว่าง ได้เข้าไปให้คำปรึกษาแนะนำด้านการพ...
-
สวัสดีค่ะยินดีต้อนรับเข้าสู่เวปไซต์ www.sasimasuk.comพื้นที่เล็กๆที่อาจารย์ศศิมา สุขสว่าง(เก๋) แบ่งปันและแลกเปลี่ยนมุมมอง ประสบการณ์ความรู้ เทคนิค เครื่องมือต่างๆในด้านความคิดสร้าง...
-
10,000 ชั่วโมง.........เขาบอกว่า ถ้าเราลงมือทำอะไรเกิน 10,000 ชั่วโมง จะเป็นผู้เชี่ยวชาญเก๋ลองมาคำนวณประสบการณ์ด้านการทำงานด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และพัฒนานวัตกรรมของตัวเองเป็น ชั่วโ...
-
ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า นวัตกรรม (Innovation ) เป็นปัจจัยที่สำคัญอันดับต้นๆสำหรับอัตราเติบโตและการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย เพราะจากการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม การเมืองแล...
-
ในปัจจุบันเป็นยุคของการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างรวดเร็วและผกผัน (Disruptive Innovation) การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทำให้ทุกองค์กรต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางไปสู่องค์กรท...
-
หลายคนที่ไม่กล้าคิดนวัตกรรม เพราะคิดว่า นวัตกรรม ต้องมีความใหม่ระดับโลก เป็นเรื่องของผู้บริหาร หัวหน้า เรื่องของคนเก่ง เรื่องของวิศวกร ที่จะคิดได้ หากแต่ตามมาตรฐาน BRITISH STANDAR...
-
คุณค่า(Value Creation) ของนวัตกรรม ส่วนประกอบที่สำคัญอีกอย่างของนวัตกรรม (Innovation) คือ ต้องมีคุณค่า(Value Creation) และมีประโยชน์ต่อผู้อื่น เศรษฐกิจและสังคม หากไม่สามารถสร้างคุณ...