Design Thinking เครื่องมือพัฒนานวัตกรรมในองค์กร

Design Thinking เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมได้เป็นอย่างดี  โดยเน้นเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นจุดศูนย์กลาง (Human Centered)  

 

Design Thinking เป็นกระบวนการออกแบบที่เรียนรู้จากผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง โดยการสังเกต และสัมภาษณ์ แล้วนำความคิดที่ได้มาระดมสมองเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ช่วยแก้ไขปัญหานั้นได้ จากนั้นสร้างต้นแบบเพื่อทดลองคามคิดและนำไปทดสอบกับผู้ใช้จริง 

 

Design Thinking เป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่ช่วยในการบ่มเพาะกระบวนความคิด ทัศนคติ ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovation Mindset)  เพื่อให้กล้าคิดอย่างสร้างสรรค์ กล้าทำอย่างมีเหตุและผล และมีความรับผิดชอบด้วยตัวเอง (accountability) เพื่อการพัฒนาเชิงรุก (Proactive) ในการทำงานและพัฒนานวัตกรรมในองค์กรได้

 

Design thinking เป็นการผสมผสานระหว่าง Business thinking กับ Creative thinking แล้วออกแบบมาให้ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้งานจริงๆ 

 

เครื่องมือนี้มีการนำไปใช้หลายที่ หลายๆมหาวิทยาลัยในอเมริกามีการนำเครื่องมือนี้ไปใช้ แต่ที่มีชื่อเสียง และทำให้เครื่องมือนี้รู้จัก คือ Stanford d. school กับ IDEO  แล้วแพร่หลายไปยังองค์กรระดับโลกต่างๆ และเกิดนวัตกรรมที่ตอบสนอง want และ need ของมนุษย์ได้ดี

 

 

Design Thinking  เป็นกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ต้องค้นหาประสบการณ์ของผู้บริโภค (Enduser expeience) แล้วนำมาคิดอย่างเป็นระบบ  (Systems Thinking) เพื่อพัฒนาต้นแบบออกมาทดลองตลาด (interative Protoyping)   จากนั้นเมื่อได้รับฟีดแบ็คจากผู้ที่มีใช้งานจริง ผู้ที่เกี่ยวข้อง กับผลิตภัณฑ์ (Stakeholder feedback) จึงนำมาปรับปรุง แล้วค่อยผลิตสู่เชิงพาณิชย์ต่อไป

 

Design Thinking  มีองค์ประกอบดังนี้ค่ะ

 

ขั้นแรก การเข้าใจกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ใช้งานจริง (Empathize) คือ การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง เข้าใจในปัญหา ความต้องการ ความจำเป็น อารมณ์ ความรู้สึก การกระทำที่ออกมา  ความหมายในสายตาของกลุ่มเป้าหมาย  วิธีการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายนี้ สามารถใช้ได้หลายวิธี เช่น การสังเกตพฤติกรรม  การสัมภาษณ์ การฟังอย่างลึกซึ้ง   เพื่อให้เข้าใจเป้าหมายและประเด็นที่ต้องการแก้ไข

 

เก๋มักจะใช้ทักษะการโค้ช มาสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย เพราะทักษะการโค้ชนั้น เริ่มตั้งแต่ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ให้เปิดใจ ไว้ใจ ทักษะการถาม  ทักษะการฟังอย่างลึกซึ้งให้ได้ยินในสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายไม่ได้พูด(ใช้หลักการฟังอย่างลึกซึ้ง Theory U ของ Otto Scharmer) บางครั้งสามารถใช้ไปถึงการสังเกตภาษาร่างกาย หน้าตาได้เลย แล้วอาจจะถอดออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประเภท  คนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อก็ได้ค่ะ   เรียนโค้ชมาใช้คุ้มเลยค่ะ 

 

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญ มาก ต้องให้เวลาและความสำคัญ เพื่อให้ได้ประเด็นที่ชัดเจนและครอบคลุมที่สุดค่ะ

 

ขั้นต่อมาขั้นที่ 2  การระบุปัญหา หรือประเด็น (Define)  หลังจากที่ทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายด้วยกระบวนการข้างต้นแล้ว จากนั้นคือการระบุปัญหาที่ต้องการแก้ไขให้ชัดเจน และเป็นปัญหาที่แท้จริง 

 

ขั้นที่ 3 การระดมความคิด  (Ideate)  ขั้นตอนนี้จะใช้วิธีการระดมสมอง ผสมผสานกับเครื่องมือต่างๆ เช่น root cause analysis, PDCA, Brain storming เป็นต้น คิดให้ได้ไอเดียให้มากที่สุด ซึ่งต้องใช้ทั้ง Creative thinking คิดนอกกรอบ, Analysis thinking วิเคราะห์ข้อมูล  จากนั้นค่อยจัดให้เหลือไอเดียที่ดี จำนวนหนึ่ง และสามารถนำมาทำเป็นต้นแบบได้จริง ภายใต้ทรัพยากรและกำลังของบริษัทในขณะนั้น  เวลาเราคัดเลือกความคิดดีๆ บางที่ตัดไอเดียที่โอเวอร์ออกไป ซึ่งน่าเสียดายมาก  เก๋จะใช้  cocd box  มาคัดกรองเบื้องต้น (เอาไว้จะเล่าให้ฟังเกี่ยวกับ cocd box  นะคะ) ซึ่งเราจะได้ประเมินความเป็นไปได้เบื้องต้น อันไหนที่ล้ำเกินทรัพยากรที่มีอยู่ก็เก็บไว้ ไม่แน่ในอนาคต 5 ปี 10 ปี ไอเดียเหล่านั้นอาจจะเป็นนวัตกรรมทำเงินให้กับบริษัทก็ได้ค่ะ  

 คือการออกความคิดที่จะใช้แก้ปัญหา มักใช้การระดมสมองเพื่อให้ได้ idea จำนวนมากก่อน ในส่วนนี้ต้องใช้การคิดนอกกรอบและหาข้อมูล เมื่อเสร็จขั้นตอนนี้แล้วจึงค่อย ๆ ใช้ critical thinking ตัดจนเหลือ idea ที่ดีจำนวนหนึ่ง

 

ขั้นที่ 4 การสร้างต้นแบบ (Prototype)    ขั้นตอนนี้จะเป็นการเอาไอเดียที่คัดเลือกไว้แล้วมาสร้างต้นแบบนวัตกรรมที่ใช้แก้ปัญหา  ซึ่งขั้นตอนนี้สามารถอาจจะเป็นต้นแบบที่ง่ายๆก่อน เพื่อทดสอบแนวคิด เมื่อทดสอบกับผู้ใช้แล้ว ตอนหลังจะระดมใช้ทั้งเทคโนโลยี  ผู้เชี่ยวชาญ  ทรัพยากรที่มีขององค์กร  หรือบางองค์กรอาจจะเปิดรับเทคโนโลยี ความรู้ ข้อมูล จากหน่วยงานภายนอกในลักษณะ (Open Innovation)  เพื่อให้สามารถที่จะนำสร้างต้นแบบให้ออกมาทดสอบก็ได้ค่ะ

 
 
ขั้นตอนสุดท้าย การทดสอบต้นแบบเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย (Test)  แล้วเก็บข้อมูลที่ได้มา เรียนรู้ แล้ววนไปที่ขั้นตอนแรก จนกว่าจะได้นวัตกรรมที่นำไปสู่เชิงพาณิชย์ได้จริงๆ ค่ะ
 

Design thinking นี่ drive ด้วยลูกค้าหรือคนใช้งานตรงๆ คือต้องวิเคราะห์จนถึงแก่นของความต้องการผู้ใช้งานจริงๆ แล้วค่อยผลิตของออกมา ของที่ผลิต บริการที่สร้างขึ้นมาจึงตอบโจทย์คนใช้ ขายได้ขายดี ถูกอกถูกใจกลุ่มเป้าหมายที่เราเล็งไว้ 

 

เก๋ได้ใช้ Design Thinking ไปประยุตก์ใช้ผสมผสานกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรม  รวมทั้งการให้คำปรึกษาแนะนำและการอบรมสัมมนาด้วย เพราะ เป็นอีกเครื่องมือหนึ่ง ที่ใช้วิเคราะห์หาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์หรือบริการ แล้วค่อยมาออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงใจ ตรงความต้องการ อย่างน้อยๆ ก็มีความเป็นไปได้ทางธุรกิจและเชิงพาณิชย์ค่ะ  

 

โดยส่วนตัวของคิดว่า นวัตกรรมที่เกิดจากกระบวนการวิจัยพัฒนา (R&D) หรือ  New Product Development Process หรือ Innovation Process หรือ Design thinking นั้นจะมีขั้นตอนคล้ายๆกันนะคะ  เพียงแต่ว่า บางเครื่องมือหรือกระบวนการจะขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี เช่น นักวิจัยในห้องปฏิบัติการ อาจารย์ที่ทำวิจัยจะมีแนวคิดหรือเทคโนโลยี  เครื่องมือ ในมือแล้วค่อยพัฒนา  บางกระบวนการจะขับเคลื่อนด้วยผู้ใช้งาน เช่น นักการตลาดจะเน้นเรื่องผู้ใช้งานว่าต้องการอะไรแล้วค่อยพัฒนา เป็นต้น แต่สุดท้ายถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ดีหรือนวัตกรรมที่ดี ต้องขายได้ด้วย ทำเงินได้ด้วย คงไม่มีใครอยากพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ไม่มีคนต้องการออกมา

 

 

ตอนเก๋เป็นนักวิจัย  งานพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมส่วนใหญ่จะถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีซะเป็นส่วนใหญ่ค่ะ  ทำออกมาได้กล่องบ้าง ได้เงินบ้าง  เพราะ KPI เป็นจำนวนงานวิจัย  พอมาเป็นที่ปรึกษา วิทยากรและโค้ชด้านนวัตกรรม ก็ต้องเน้นเรื่องของกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าเป็นสำคัญเพื่อให้สามารถขายได้  เพราะ "การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ดี คือ พัฒนาออกมาแล้ว ผลิตภัณฑ์ขายได้ ขายดีค่ะ"

 

เครื่องมือนี้ เก๋มีใช้บางส่วน ทำ Workshop ในหลักสูตร In-House Training และปรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากสายผลิตภัณฑ์เดิม หรือบางครั้งก็คิดผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมาเลยค่ะ 

..........................

- สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร " Analytical Thinking ทักษะการคิดวิเคราะห์ " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร " Critical thinking  ทักษะการคิดวิพากษ์ " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร " Creative thinking  to Innovation ทักษะการคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่   

.....................................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994  

Reference:

https://dschool-old.stanford.edu/sandbox/groups/designresources/wiki/36873/attachments/74b3d/ModeGuideBOOTCAMP2010L.pdf?sessionID=573efa71aea50503341224491c862e32f5edc0a9
http://na-magazynie.pl/wp-content/uploads/2015/03/Design-Thinking-The-Book.pdf
http://courses.washington.edu/art166sp/documents/Spring2012/readings/week_3/design_thinking.pdf
http://www.centrodeinnovacionbbva.com/sites/default/files/ebook-cibbva-design-thinking_eng.pdf
http://faculty.uaeu.ac.ae/jose/designthinking/design_thinking_course_book.pdf

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 351,991