การระดมความคิด (Brainstorm) เทคนิคความคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม โดยศศิมา สุขสว่าง

การระดมสมอง หรือการระดมความคิด (Brainstorm) เพื่อปลุกไอเดียสร้างสรรค์ เป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการระดมความคิดเพื่อหาไอเดียสร้างสรรค์ไหม่ๆ หรือใช้ในระดมความคิดเพื่อแก้ไขปัญหา จากหลายๆมุมมอง หลายความคิดของสมาชิกที่มาร่วมกิจกรรมระดมสมอง

"Brainstorm"  มาจาก  "Brain  +  Storming"  ถ้าแปลตรงๆตัว ก็คงหมายถึง พายุที่โหมกระหน่ำเข้ามาในสมอง เทคนิคนี้ เกิดจากแนวคิดของ  ออสบอร์น  (Alex  F.  Osborne) ซึ่งเป็นผู้บริหารบริษัทโฆษณาแห่งหนึ่ง

 

 “การระดมความคิด (Brainstorm )”   โดยสรุปหมายถึง การระดมความคิดจากทุกๆมุมมอง โดยไม่มีการตัดสินถูกผิด ของสมาชิกในกลุ่ม เพื่อหาทางเลือกในการตัดสินใจ ความคิดใหม่ๆและใช้ในการการวางแผน

 

จำนวนคนที่ร่วมระดมสมองถ้าจะให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดควรอยู่ระหว่าง  4 ถึง  9  คน ถ้าน้อยไปจะได้ความคิดและมุมมองน้อย แต่ถ้ามากไปความคิดจะแตกออกนอกทะเลไป หรือมีคนที่นั่งเงียบไม่ออกความคิดเห็น 

 

สิ่งสำคัญในการระดมสมองหรือระดมความคิด คือ 

1.ให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ

2. เนินการระดมความคิดให้ได้ปริมาณมากที่สุด

3.ไม่มีการตั้งกรอบ หรือประเมินถูกผิดขณะระดมความคิด

 

การระดมความคิด (Brainstorm) มีขั้นตอนอย่างไร

 

ขั้นที่ 1 ตั้งผู้ดำเนินการ  หรือผู้อํานวยความสะดวก (facilitator) เพื่อ ผู้เป็นประสานงาน กระตุ้นให้เกิดการออกความเห็นอย่างเท่าเทียมกันหากมีผู้ที่นั่งเงียบหรือบางคนผูกขาดพูดอยู่คนเดียว  ช่วยไกล่เกลี่ยหากมีผู้ที่โต้แย้งกัน  เป็นต้น

ขั้นที่ 2 กำหนดหัวข้อในการระดมความคิด หัวข้อในการระดมสมองควรเป็นหัวข้อที่เจาะจง ไม่กว้างจนเกินไปเพราะเมื่อจบการระดมสมองอาจจะไม่ได้ข้อสรุปที่นำไปดำเนินการต่อได้  ตัวอย่างหัวข้อเช่น  “ปัญหาที่มักพบในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์” 

ขั้นที่ 3 ระดมความคิด  เพื่อให้ได้ความคิดมามากที่สุด  โดยมีกฏว่าต้องจดทุกความคิดโดยไม่มีการประเมินใดๆทั้งสิ้น  เพราะทุกคนต้องได้รับอิสระในการแสดงความคิดเห็น ในขั้นนี้อาจจะต้องกำหนด เป้าหมายในการระดมความคิด  เช่น กำหนดจำนวนที่ต้องการ  80-100 ไอเดีย  หรือกำหนดเวลา 1-1.5 ชั่วโมงเป็นต้น  เครื่องมือที่ใช้จดความคิด มีหลายเครื่องมือ เช่น ใช้ mind map , Root cause analysis (ฝังก้างปลา) หรือแม้แต่การใช้กระดาษ post it ไปแปะตามหมวดหมู่ 

ขั้นที่ 4 สรุปผลการระดมสมอง  สรุปออกมาเป็น 3 กลุ่ม ไอเดียที่ดีพร้อมไปดำเนินการได้  ไอเดียดีรอการพิจารณา  และไอเดียที่ต้องพิจารณา  โดยสมาชิกคนใดคนหนึ่งจะเป็นคนจดโน้ตพร้อมทั้งส่งบันทึกให้กับผู้ที่ร่วมระดมสมอง ในการระดมสมองนั้น ส่วนใหญ่เราจะไม่ทิ้งความคิดใดคิดหนึ่ง เพราะในเวลานั้นความคิดที่เราคิดว่าเป็นไปไม่ได้ หรือเพ้อฝัน อาจจะเป็นเพราะทรัพยากรในตอนนั้นเราอาจจะไม่พร้อมที่จะดำเนินการ แต่อาจจะเป็นจริงในภายหลังก็ได้  อย่างเช่น อินเตอร์เนต รถยนต์ใช้ไฟฟ้าไม่ต้องมีคนขับ รถบินได้ในปัจจุบันก็มาจากความฝันในอดีตเช่นกัน

ขั้นที่ 5 การติดตามผล หลังจากระดมสมองเสร็จแล้ว ควรมีการติดตามผลว่า ได้นำความคิดนั้นไปดำเนินการ แล้วผลเป็นอย่างไร เพื่อประเมินและหาหนทาง หรือนำแนวคิดที่เหลือไปดำเนินการต่อ

 

ในหลายองค์กร สามารถนำเทคนิคการระดมความคิดนี้ไปในการแก้ปัญหาในกระบวนการผลิต หรือระดมความคิดเพื่อพัฒนาเป้าหมายไปข้างหน้า หรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ได้  โดยในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง ควรมีคนภายในและภายนอกหน่วยงาน เพื่อให้ได้มุมมองหลายๆมุมมอง

 

แต่ละครั้งที่จัดอาจจะจัดกลุ่มเล็กๆก่อน สัก 4-5 คน เพื่อไม่ให้ไปกระทบกับงานประจำที่รับผิดชอบของแต่คน แล้วจัดหัวข้อเดียวในหลายๆกลุ่มจากนั้น นำความคิดที่ได้ในแต่ละกลุ่มมาประมวลผล  ว่าความคิดที่ออกมาที่มีความถี่ออกมามากเป็นหัวข้อใด แล้วค่อยนำไปสรุปผล แล้วดำเนินการตามแผนต่อไป

 

ในความคิดเห็นของผู้เขียนจากประสบการณ์ที่ไปทำงานเป็นที่ปรึกษาในด้านการพัฒนาบุคคลากร HRM และ HRD ในองค์กรโดยใช้กระบวนการระดมความคิด (Brainstorm)  เพื่อหากระบวนการแก้ไขปัญหา ประเด็นหนึ่งที่สำคัญ  คือ การสร้างพื้นที่ปลอดภัย ให้กับผู้ที่เข้าร่วมการระดมสมอง

 

เนื่องจากบางปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กร บางประเด็นละเอียดอ่อน คนมักไม่ค่อยอยากพูดกัน พูดไปเดี๋ยวเข้าตัว เงียบไว้ดีกว่า แต่ปัญหานั้นกลายมาเป็นปัญหาใหญ่จนต้องมีที่ปรึกษาเข้าไปแก้ไข ดังนั้นการสร้างพื้นที่ปลอดภัย จึงเป็นเรื่องสำคัญถ้าอยากให้การระดมความคิดให้ได้ความคิดเห็นที่หลากหลายและได้ความจริงออกมา

.............

- สนใจหลักสูตร " Creative to Innovation การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่ 

 .............

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

เข้าใจความหมาย และองค์ประกอบของนวัตกรรม ด้วย VIN model for Innovation อ่านต่อที่นี่  หรือกดที่รูป VIN model ด้านล่างนี้ 

 

 

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend  (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................


ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 328,228