เขียนโครงการ...งานท้ายทายของผู้จัดการมือใหม่ โดยศศิมา สุขสว่าง

ถ้าพูดถึงเรื่องเขียนโครงการ หรือ ภาษาอังกฤษ เขียนว่า Project บางคนอาจจะบอกว่าเป็นเรื่องง่าย หลายๆคนอาจจะบอกว่าเป็นเรื่องยาก    สำหรับผู้เขียนในตอนเริ่มแรก ก็ถือว่าเป็นเรื่องยากมาก แต่ก็ต้องพยายามเขียนเพราะเป็นหน้าที่โดยตรงที่ต้องเขียน ด้วยมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการศูนย์วิจัย แห่งหนึ่ง การเขียนโครงการเพื่อมาบริหาร และสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่ม เป้าหมายและองค์กรที่ทำงานอยู่      โครงการที่เขียนก็มีตั้งแต่ โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อของบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ รวมทั้งเอกชน โครงการเสนออุตสาหกรรมจังหวัดต่างๆเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในบริบทต่างๆ ทั้งในระดับประเทศ จนถึงระดับที่ต้องประสานงานกับประเทศหลายๆประเทศเพื่อให้งานสำเร็จ

 

ต่อมาฝีมือเริ่มดีมากขึ้น โครงการง่ายๆเริ่มมอบหมายให้น้องๆในทีมเขียนบ้าง ส่วนตัวเอง มาเขียนโครงการที่ต้องขอเงินจากต่างประเทศ เป็นภาษาอังกฤษที่เคยได้ก็จะเป็นโครงการจาก องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติหรือ United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) ซึ่งได้โครงการมาบ้าง

 

พักหลังเน้นทำงานบริการด้านงานวิจัยของศูนย์ฯก็ต้องเขียน โครงการวิจัยเพื่อขอทุนมาทำงานอีกโครงการที่เขียน ก็มีทั้งได้เงิน ไม่ได้เงิน ถูกหลอกให้เขียนแล้วโดนตาอยู่เอาแนวคิดของโครงการที่เราเขียนไปทำบ้าง  บางทีเขียนโครงการเวอร์มาก KPI เยอะแยะไปหมด คนให้ทุนเห็นก็ชอบ เพราะให้เงินน้อย แต่ KPI ที่ได้รับเพียบพอเอามาทำจริง ผลที่ได้รับตาม KPI จริงๆ แต่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนไม่มี เป็นต้น

 

บางโครงการเขียน Key word  ที่คนให้ทุนไม่รู้จัก เลยไม่ให้ พอไปถามบอกว่า คุณไม่ได้ทำโครงการที่เราต้องการปรากฏว่า Keyword ที่ใช้เป็นภาษาไทยทับศัพท์อังกฤษคนตรวจโครงการไม่รู้จัก อดเลย เรื่องง่ายๆทำให้ไม่ได้โครงการ งานและเงินมาแล้ว  บางครั้ง นโยบายมาเร็ว สั่งวันนี้ เอาพรุ่งนี้ก่อนเที่ยงก็มี แต่ก็ต้องทำให้ได้ โดยประยุกต์รูปแบบและหลักของการเขียนโครงการที่มันอยู่ในหัวออกมาให้หมด

 

เรียกว่า เขียนโครงการมาอย่างโชคโชน ทั้งที่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งได้งบประมาณ บริหารจนจบ หรือเขียนแล้วไม่ผ่านการพิจารณา  หรือเขียนแล้วคนอื่นเอาไปบริหารเอง หรือช่วยเพื่อนๆพี่ๆน้องๆเขียน ถ้านับๆแล้ว น่าจะเกิน 100 โครงการในชีวิตการทำงานเกือบ 10 ปี ส่วนโครงการที่ผ่านการพิจารณาจนได้บริหารเอง รวมทั้งเป็นที่ปรึกษา เป็นทีมงานเอง น่าจะเกินกว่า 500 ล้านบาท  ความสำเร็จของการเขียนโครงการให้มองให้เห็นว่า ภาพความสำเร็จภาพสุดท้าย ของโครงการนี้ที่ต้องการให้ออกมา คืออะไร แล้วจึงค่อยเริ่มตามกระบวนการค่ะ 

 

ตอนนี้เริ่มมาเขียนโครงการพัฒนาตัวเอง เริ่มจากสิ่งเล็กๆ หาเรื่องให้ชีวิตทำให้มีสาระและ ทำเป็นหลักการเพื่อให้วัดผล ปรากฏว่า ผลลัพธ์ที่ได้ดีจริงๆ เราให้ชื่อว่า "โครงการชีวิต (Life Project)"

  

หลักการมีอะไรบ้าง ต้องรู้อะไรบ้าง รูปแบบมีอะไรบ้าง โปรดติดตามตอนต่อไปค่ะ

 

อ.ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
วิทยากร ที่ปรึกษา โค้ช ด้านการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994 (โทรกลับเฉพาะเบอร์มือถือนะคะ)

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 328,264