6 ด้านดีที่พี่เลี้ยง (Mentor) ต้องมี โดยศศิมา สุขสว่าง

พี่เลี้ยง (Mentoring) คำนี้มีที่มาจากนิยายกรีก สมัยโบราณ ว่ากันว่า โอเดสซีอุส (Odesseous) เตรียมตัวที่จะไปเมืองทรอย ได้ฝากฝังเพื่อนคนที่ชื่อว่า เมนเตอร์ (Mentor) ให้ปกป้องดูแลทรัพย์สมบัติ รวมทั้งดูแลสั่งสอนลูกชายของโอเดสซีอุส ที่ชื่อ เทเลมาซุล (Telemachus)ทั้งวิชาและการใช้ชีวิต ให้ถือว่าเป็นลูกชายอีกคน หนึ่งด้วย ซึ่งเมนเตอร์ก็ได้รับปากและทำตามที่บอกไว้เป็นอย่างดี


ในปัจจุบันคำว่า " พี่เลี้ยง (Mentoring)" นี้ หมายถึง ผู้ที่มีวัยวุฒิและประสบการณ์สูงกว่า ซึ่งอาจจะเป็นหัวหน้างาน ที่ปรึกษาอาวุโส มาถ่ายทอดความรู้ เทคนิคการทำงาน และการใช้ชีวิตในการทำงานมาให้กับน้องใหม่ หรือผู้ที่กำลังจะขึ้นตำแหน่งใหม่ เป็นต้น


ศัพท์ที่สำคัญ มี 2 คำคือ
Mentor หมายถึง พี่เลี้ยง รุ่นพี่ พนักงานที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ คนสอนงาน
Mentee หมายถึง พนักงานที่ถูกสอนงาน พนักงานที่อ่อนประสบการณ์ พนักงานที่เข้ามาใหม่กำลังเรียนรู้งาน หรือเรียกสั้นๆในบทความนี้ว่า "น้องเลี้ยง"


 (หมายเหตุ : ท่านสามารถอ่านบทความด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงอื่นๆได้ที่ www.HCDcoaching.com ที่เป็นเวปไซต์แบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงโดยตรงของอ.ศศิมา สุขสว่างค่ะ)


แล้วพี่เลี้ยงหรือ Mentor ที่ดี ต้องมีด้านดีๆอะไรบ้าง

เก๋แชร์ประสบการณ์ทำงาน ที่ต้องเป็นพี่เลี้ยงในองค์กรสมัยตอนทำงานประจำอยู่ รวมทั้งตอนนี้ที่เป็นพี่เลี้ยงที่สมาคมการโค้ชวิถีไทย นะคะ

1. มีความเต็มใจที่จะแบ่งปันทักษะความรู้และความเชี่ยวชาญ
พี่เลี้ยงที่ดี เต็มใจที่จะสอนสิ่งที่รู้และเต็มใจที่จะพัฒนาน้องเลี้ยง (mentee) อย่างเต็มที่ ให้คำปรึกษาและการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนกล้าที่จะให้ feedback อย่างตรงไปตรงมาอย่างจริงใจเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

2. มีทัศนคติบวกและเป็นแบบอย่างที่ดี
ข้อสำคัญในการเป็นพี่เลี้ยงคือการมีทัศนคติที่ดี หากในที่ทำงานก็ต้องมีทัศนคติเชิงบวกกับที่ทำงาน มีความสุข และสร้างประสิทธิภาพในการทำงานได้แม้ในสภาวะที่กดดัน หรือไม่พร้อม การเลือกพี่เลี้ยงให้กับพนักงานใหม่ๆเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หากเลือกคนที่มีทัศนคติที่เป็นลบต่อองค์กรมาเป็นพี่เลี้ยง พนักงานใหม่ที่เข้ามาก็มักจะมีทัศนคติลบตามไปด้วย ซึ่งส่งผลถึงประสิทธิภาพการทำงาน รวมทั้งระยะเวลาที่จะทำงานกับองค์กรด้วย

3.ให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์
หนึ่งในความรับผิดชอบที่สำคัญของผู้ให้คำปรึกษาที่ดีคือการให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะที่สร้างสรรค์เพื่อ mentee จะสามารถเติบโตและพัฒนาได้มากที่สุด พี่เลี้ยงที่ดีควรมีทักษะการสื่อสารที่ดี จะช่วยให้ผู้รับคำปรึกษาเกิดการพัฒนาอาชีพและความรู้สึกของความสำเร็จในการเรียนรู้ในสนามการทำงานจริงได้

4. เป็นที่ยอมรับและนับถือ
เมื่อ mentees มองขึ้นไปที่พี่เลี้ยง แล้วสามารถมองเห็นภาพตัวเอง เห็นอนาคตที่สดใส ในบทบาทหน้าที่การงาน รวมทั้งการเป็นที่ปรึกษาในอนาคตได้ด้วย mentees ส่วนใหญ่ต้องการทำตามคนที่เป็นที่เคารพนับถือเป็นอย่างดีจากเพื่อนร่วมงานและมีผลงานที่มีประสิทธภาพสูงด้วย

5. มีค่านิยมสอดคล้องกับองค์กร
พี่เลี้ยงที่ดีควรมีค่านิยม ความเห็นในคุณค่าขององค์กร เพื่อที่จะสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมการทำงานที่สอดคล้องกับองค์กรให้กับน้องเลี้ยง เพื่อมุ่งมั่นผลักดันเป้าหมายขององค์กรให้สำเร็จได้

6. ยอมรับความคิดเห็นและความคิดริเริ่มของทีม
พี่เลี้ยงที่เห็นคุณค่าของคนอื่น ๆ นอกจากนี้ยังเป็นคนที่ทำงานได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ ยังมีการทำงานเป็นทีม ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งให้ความคิดเห็นในเชิงบวกและการเสริมแรงเพื่อให้ทีมบรรลุเป้าหมายไปด้วยกัน

ฝากไว้เป็นแง่คิด สำหรับหัวหน้าหรือผู้จัดการที่กำลังจะหาพี่เลี้ยงให้น้องใหม่ในการทำงาน สำหรับในการพิจารณาบทบาทคนที่จะมาเป็นพี่เลี้ยงด้วย หลายครั้งที่องค์กร ได้สรรหาคนเก่ง คนดีเข้ามา แต่อยู่ได้ไม่นาน หรืออยู่ๆไปคนเก่ง ยังเก่งเหมือนเดิม แต่ทัศนคติต่อองค์กรติดลบ เพราะไปเข้ากลุ่มผิด ก็น่าเสียดายทรัพยากรบุคคลไป การมีระบบพี่เลี้ยง (Mentoring system) ที่ดีก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะรักษาคนเก่ง คนดีให้อยู่ในองค์กรได้นานๆ และสามารถที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปด้วยกันได้

สำหรับใครที่กำลังจะหาพี่เลี้ยงเพื่อที่เลื่อนตำแหน่งใหม่ หรือย้ายงานใหม่ เกณฑ์ทั้ง 6 ข้อนี้ก็เอาไปพิจารณาคุณสมบัติของพี่เลี้ยง (Mentor) ก่อนจะตัดสินใจรับใครมาเป็นพี่เลี้ยงให้กับตัวเองด้วยนะคะ

 

หมายเหตุ : ท่านสามารถอ่านบทความด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงอื่นๆได้ที่

www.HCDcoaching.com

ที่เป็นเวปไซต์แบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงโดยตรงของอ.ศศิมา สุขสว่างค่ะ


ดูบรรยาการสัมมนา หลักสูตร "ผู้นำในบทบาทของโค้ชและพี่เลี้ยงเพื่อประสิทธิภาพการทำงาน" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง    กดที่นี่ 

.....................................................

ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี  ทำงานด้าน  Research & Development Engineer มาโดยตลอด และเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรอิสระแห่งหนึ่ง  ได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน โดยยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

...........................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 (โทรกลับเฉพาะเบอร์มือถือนะคะ)

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 282,168