ประเทศไทย 4.0 Thailand 4.0 คืออะไร

ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า นวัตกรรม (Innovation ) เป็นปัจจัยที่สำคัญอันดับต้นๆสำหรับอัตราเติบโตและการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย เพราะจากการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้เกิดทั้งโอกาสและความท้าทายของประเทศไทย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนในยุคที่มีการแข่งขันสูง จนเกิดนโยบาย Thailand 4.0 ที่ทางรัฐบาลได้ใช้โอกาสดังกล่าวในการปรับเปลี่ยนแนวทางในการพัฒนาประเทศจากประเทศที่แข่งขันด้วยความได้เปรียบเชิงความสมบูรณ์ทางทรัพยากรบุคคล ธรรมชาติ ชีวภาพและวัฒนธรรม เพื่อไปสู่ประเทศที่แข่งขันด้วยความได้เปรียบเชิงแข่งขันที่ในวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์เพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่า (Value added and value creation)

 

 

โดยนโยบาย Thailand 4.0 นั้น โดยมุ่งไปที่การสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมหลักที่มีความสอดคล้องกับความสามารถของประเทศไทยและความต้องการของตลาดโลก     โดยมีกลไกประชารัฐเป็นกลไกขับเคลื่อน   จากนโยบายดังกล่าว ภาคเอกชนและประชาชนต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

 

แล้วประเทศอื่นๆเขามีนโยบายการพัฒนานวัตกรรมอะไรบ้าง ไปดูกันค่ะ

- Industry 4.0 ของเยอรมนี
- A Nation of Maker ของสหรัฐอเมริกา
- Design of Innovation ของสหราชอาณาจักร
- Made in China 2025 ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
- Make in India ของอินเดีย
- Smart Nation ของสิงคโปร์
- Creative Economy ของเกาหลีใต้
- Industrial Value Chain ญี่ปุ่น

และประเทศไทย Thailand 4.0 ค่ะ

 

บางคนอาจจะสงสัยว่า แล้ว Thailand 1.0-3.0 มีอะไรบ้าง

 

Thailand 1.0 

ยุคของเกษตรกรรม คนไทยปลูกข้าว พืชสวน พืชไร่ เลี้ยงหมู เป็ด ไก่ นำผลผลิตไปขาย สร้างรายได้และยังชีพ ยังเป็นประเทศรายได้ต่ำ

 

Thailand 2.0 

ยุคอุตสาหกรรมเบา ใช้เครื่องมือเข้ามาช่วย ผลิตเสื้อผ้า กระเป๋า เครื่องดื่ม เครื่องเขียน เครื่องประดับเป็นต้น ประเทศเริ่มมีศักยภาพมากขึ้น เริ่มเป็นประเทศรายได้ปานกลาง

 

Thailand 3.0 

(ซึ่งเป็นยุคปัจจุบัน ) เป็นยุคอุตสาหกรรมหนัก ที่ประเทศไทยผลิตและขายส่งออกเหล็กกล้า รถยนต์ ก๊าซธรรมชาติ ปูนซีเมนต์ เป็นต้น โดยใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อเน้นการส่งออก 

 

Thailand 4.0 

การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนามูลค่า และคุณค่า (Value Creation) ให้ตรงจุด เพิ่มมูลค่า เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปสู่เป้าหมาย การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” ค่ะ

 

 

“ Thailand 4.0 หรือ ประเทศไทย 4.0” เป็นนโยบาย  ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” เพราะ ในปัจจุบันประเทศไทยยังเป็นเศรษฐกิจแบบ “ทำมาก ได้น้อย” เราต้องการปรับเปลี่ยนเป็น “ทำน้อย ได้มาก”  โดยมีเป้าหมายสำคัญๆ 3 ข้อคือ

 

 

1. การปรับเปลี่ยนจากการผลิตสินค้า “โภคภัณฑ์” ไปสู่สินค้าเชิง “นวัตกรรม” ที่มีคุณค่าและมูลค่ามากขึ้น

2.เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรม ไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม 

3.เปลี่ยนจากการเน้นภาคการผลิตสินค้า ไปสู่การเน้นภาคบริการมากขึ้น

 

 

“ประเทศไทย 4.0” จึงเป็นพัฒนาทั้งระบบโดยมี องค์ประกอบสำคัญ คือ

 

1.การปรับเปลี่ยนภาคการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) สู่ภาคการเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องมีรายได้มากขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) 

2.เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่ที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง พัฒนาได้ด้วยตัวเอง

3.เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่ High Value Services 

4.เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง

 

 

การผลักดันเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมนั้น ประเทศไทยมีความได้เปรียบ 2 ด้านได้แก่  “ความหลากหลายเชิงชีวภาพ” และ “ความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม”  ซึ่งต้องนำมาเป็นจุดแข็งให้เกิด “ความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน” กับต่างประเทศ โดยการพัฒนาด้วยความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะ 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่

 

 

1.กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ (Food, Agriculture & Bio-Tech)

 

2.กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Health, Wellness&Bio-Med)

 

3.กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม (Smart Devices, Robotics & Mechatronics)

 

4.กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Digital, IoT, Artificial Intelligence & Embedded Technology)

 

5.กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง (Creative, Culture & High Value Services)

 

ทั้ง 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย จะเป็นแพลทฟอร์มในการสร้าง “New Startups” ต่างๆมากมาย อาทิ เทคโนโลยีการเกษตร (Agritech) เทคโนโลยีอาหาร (Foodtech) ในกลุ่มที่ 1 

 

เทคโนโลยีสุขภาพ (Healthtech) เทคโนโลยีการแพทย์ (Meditech) สปา ในกลุ่มที่ 2 เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robotech) ในกลุ่มที่ 3

 

เทคโนโลยีด้านการเงิน (Fintech) อุปกรณ์เชื่อมต่อออนไลน์โดยไม่ต้องใช้คน (IoT) เทคโนโลยีการศึกษา (Edtech) อี–มาร์เก็ตเพลส (E–Marketplace) อี–คอมเมิร์ซ (E–Commerce) ในกลุ่มที่ 4 เทคโนโลยีการออกแบบ (Designtech) ธุรกิจไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Business) เทคโนโลยีการท่องเที่ยว (Traveltech) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ (Service Enhancing) ในกลุ่มที่ 5 เป็นต้น

 

 ตอนนี้เราก็พอรู้แล้วนะคะว่า  Thailand 4.0 หรือ ประเทศไทย 4.0 คืออะไรค่ะ  


เก๋หวังว่า บทความนี้จะช่วยมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจวิธีการ แนวคิดในการนำความรู้ไปพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรม ตลอดจนการพัฒนาตัวเอง ทีมงาน และประสิทธิภาพการทำงานให้กับองค์กรนะคะ


 ......................

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

เข้าใจความหมาย และองค์ประกอบของนวัตกรรม ด้วย VIN model for Innovation อ่านต่อที่นี่  หรือกดที่รูป VIN model ด้านล่างนี้ 

 

 ...................................... 

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี  ทำงานด้าน  Research & Development Engineer  และนักวิจัยมาโดยตลอด จนได้มาเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ของ THTI กว่า 15  ปี และได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน 

...........................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 (โทรกลับเฉพาะเบอร์มือถือนะคะ) 

 

 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

Visitors: 348,376