การเป็นพี่เลี้ยงในองค์กร ต้องมีทักษะอะไรบ้าง โดย ศศิมา สุขสว่าง



ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) เป็นอีกเครื่องมือหนึ่ง ที่องค์กรนำมาใช้ในการจัดการความรู้ โดยการถ่ายทอดความรู้ระหว่างผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่ากับเพื่อนร่วมงานหรือรุ่นน้องที่มีประสบการณ์และความรู้มากกว่า  

  

ความรู้หลายๆอย่างเกิดจากประสบการณ์การทำงานอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนมีความเชี่ยวชาญและชำนาญ บางองค์กร พนักงานบางคนแม้จะเกษียรแล้ว ทางองค์กรยังต้องเชิญมาเป็นที่ปรึกษาเพิเศษ เพราะความรู้บางอย่าง  ถึงแม้บางทีจะถอดองค์ความรู้ออกมาในรูปของหนังสือ หรือข้อมูลต่างๆแล้วก็ตาม แต่เทคนิคบางส่วน ต้องใช้ประสบการณ์เชื่อมโยงกับความรู้ที่บ่มเพาะอย่างยาวนาน

  (หมายเหตุ : ท่านสามารถอ่านบทความด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงอื่นๆได้ที่ www.sasimasuk.com ที่เป็นเวปไซต์แบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ด้านการโค้ชและพี่เลี้ยงโดยตรงของอ.ศศิมา สุขสว่างค่ะ)

 

 กรณีศึกษา เรื่องเล่า "ฟังด้วยหัวใจ แก้ไขด้วยประสบการณ์"

เก๋เคยได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ในหนังสือเล่มนั้นเล่าให้ฟังไว้ว่า  มีข้าราชการท่านหนึ่ง เริ่มต้นเป็นพนักงาน สร้างเขื่อนแห่งหนึ่งตั้งแต่สำรวจหิน พื้นที่ ตอกเสาเข็ม จนเขื่อนเสร็จ และดูแลเขื่อนนั้นจนเกษียณ จนวันหนึ่งมีปัญหาเขื่อนมีรอยร้าว ทางวิศวกรรุ่นใหม่ก็ใช้เครื่องมือทันสมัย ที่ใช้สัญญาณดิจิตอลวัด แต่ก็หาไม่เจอว่าอยู่ตรงไหน ต้องตามข้าราชการท่านนั้นมาให้คำปรึกษาแนะนำ  

 

พอถึงตอนนี้ ผู้ใหญ่ที่เล่าให้ฟัง ก็หัวเราะแล้วถามว่า "คุณรู้ไหม เขาทำอย่างไร" 

หลายๆคนที่ฟัง ก็บอกว่า "คงไปสำรวจ ตามจุดที่น่าจะเป็นไปได้"

ผู้ใหญ่ท่านนั้นก็บอกให้ฟังอย่างเอ็นดู " มันเอาหูไปแนบกับสันเขื่อนจุดต่างๆ อยู่ครึ่งวัน แล้วมาบอก ทีมวิศวกรรุ่นใหม่ว่า เขื่อนมันมีปัญหาที่จุดไหน ให้ไปดูตรงจุดนั้น และต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง" พอทีมวิศวกรหนุ่มๆไปถึงกับอึ้ง " เพราะตรงมาก แล้วไม่ได้ใช้เครื่องมืออะไรเลย

"ถามว่าทำได้ไง" เขาบอกว่า "ฟังเสียงน้ำ เสียงกระทบ เสียงหิน เสียงต่างๆ มันไม่ปกติ บอกไม่ได้ว่า มันเป็นเสียงยังไง แต่เขาฟังเสียงน้ำกระทบ แบบนี้มาทั้งชีวิตการทำงาน เลยแยกเสียงได้" เป็นการฟังด้วยหัวใจ แก้ไขด้วยประสบการณ์ทั้งชีวิตที่ผ่านมา

 

อันนี้เป็นตัวอย่าง ของความรู้ความชำนาญจากประสบการณ์ทั้งชีวิต ต้องขออภัยด้วยที่เก๋จำชื่อของท่านไม่ได้ค่ะ

 

ดังนั้น ระบบพี่เลี้ยง จึงเป็นอีกระบบหนึ่งที่นิยมใช้กันในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร เป็นการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นพี่ก่อนรุ่นพี่จะเกษียร หรือลาออกไป วิธีการถ่ายทอดด้วยที่ดีคือ การที่รุ่นพี่หรือผู้มีประสบการณ์กว่า ได้พูดคุย สื่อสาร ให้กับรุ่นน้อง หรือเพื่อนร่วมงานที่มีประสบการน้อยกว่า นอกจากเป็นการถ่ายทอดความรู้เพื่อเก็บความรู้ให้คงอยู่ในองค์กรแล้ว บางครั้ง ยังใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาบุคคลากรและปั้น "ดาวเด่น" หรือ " Talent" อีกด้วย

 

 

 

 

สรุป ข้อดีของการมีระบบพี่เลี้ยงในองค์กร

1. เป็นการถ่ายทอดความรู้และจัดการความรู้ (Knowledge Management) เพื่อให้ความรู้ที่จากเดิมจะจากไปพร้อมกับพนักงานทุกคนที่ลาออกหรือเกษียณจากองค์กร  ให้คงอยู่สืบต่อและนำมาพัฒนาองค์การรุ่นสู่รุ่นได้ 

2. เป็นการลดช่องว่างระหว่างคนรุ่นใหม่และคนรุ่นเก่า ด้วยการแบ่งปันกัน เพราะคนรุ่นใหม่ก็มีความคิดสร้างสรรค์และความคิดใหม่ ส่วนคนเก่าๆก็มีความชำนาญและประสบการณ์เขี่ยวชาญ

3. เป็นการพัฒนาบุคคลากรอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ที่มีความชำนาญ และช่วยลดการลาออกของพนักงานใหม่ๆได้ เพราะมีพี่เลี้ยงดูแลให้คำปรึกษาทั้งในด้านการงาน รวมไปถึงด้านชีวิต

เป็นต้น

 

การเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) เป็นการนำผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์มามากในองค์กร หรือในสายงานนั้นๆ มาให้คำปรึกษาแนะนำถึงแนวทางการปฏิบัติงานให้ได้ประสิทภาพที่ดี รวมทั้งอาจจะรวมไปถึงการเป็นพี่เลี้ยงในด้านชีวิตสังคมการทำงานให้ราบรื่นและมีความสุขด้วย การเป็นพี่เลี้ยงมักจะจับกันเป็นคู่ พี่เลี้ยง (Mentor) น้องเลี้ยง (Mentee) เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มเล็กๆจำนวนไม่เยอะมากเพื่อให้ดูแลได้อย่างทั่วถึง

 

 แล้วพี่เลี้ยงต้องมีทักษะอะไรบ้าง

1. การสอนงาน (Training)  พี่เลี้ยงจะเป็นผู้มีความรู้และเชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งมาให้ความรู้ ถ่ายทอดเทคนิค ฝึกอบรมด้วยการสัมมนาอบรม อาจจะเป็นกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ๆก็ได้ ผู้ถ่ายทอดความรู้เรียกว่า "วิทยากร หรือ Trainer " ซึ่งอาจจะเป็นคนภายในที่เก่งและมีประสบการณ์มาก หรือเป็นวิทยากรจะภายนอกก็ได้ 

 

2. การให้คำปรึกษา (Consulting) พี่เลี้ยงในองค์กรเป็นผู้มีประสบการณ์ มีความชำนาญ เชี่ยวชาญเป็นพิเศษ จะสามารถถ่ายทอดความรู้และให้คำปรึกษาแนะนำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นความรู้หรือทักษะเฉพาะ ให้กับน้องเลี้ยงได้รับรู้ แล้วนำปใช้หรือปรับเปลี่ยนต่างๆได้

 

3. การโค้ช (Coaching) บางครั้งน้องเลี้ยงที่เข้ามาเป็นคนเก่ง มีศักยภาพสูง ดังนั้นทักษะการโค้ช จึงเป็นทักษะอีกอย่างหนึ่งที่พี่เลี้ยงต้องใช้ในการเป็นพี่เลี้ยงในองค์กร  ทักษะการโค้ชสามารถใช้เป็นการสื่อสารและการทำงานร่วมกันระหว่างพี่เลี้ยงและน้องเลี้ยงเพื่อพัฒนาให้คนสามารถพัฒนาตนเองเติบโตขึ้นได้ด้วยความสามารถของเขาเองได้ โดยพี่เลี้ยงต้องเปิดใจและเชื่อมั่นในศักยภาพของน้องเลี้ยง และใช้ทักษะการโค้ช เช่น คำถามปลายเปิดเพื่อ brain storming ให้ได้ความคิดใหม่ๆ สร้างการเติบโตทางความคิด , การ Rapport เพื่อสร้างความไว้วางใจและ engagement กับลูกน้อง , การฟังอย่างลึกซึ้ง เพื่อ ให้ได้ยินเสียงที่ไม่ได้พูด, การ feedback ที่มีคุณภาพให้เกิดการพัฒนาตัวเอง  และการสร้างแรงบันดาลใจด้วย Story telling เป็นต้น (อ่านรายละเอียด ทักษะการโค้ช (Coaching skill) เพิ่มเติม กดที่นี่)

 

4. การให้คำปรึกษาด้านชีวิต (Counseling) พี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์สามารถให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหาชีวิต เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและทำงานได้อย่างมีความสุข

 

การทำหน้าที่พี่เลี้ยง อาจเริ่มตั้งแต่ การทำหน้าที่พี่เลี้ยงของพนักงานใหม่ เพื่อให้พนักงานใหม่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์กร เพื่อนร่วมงานและสภาพแวดล้อมการทำงาน ไม่เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว หรือเข้ากันไม่ได้กับเพื่อนร่วมงาน เป็นการป้องกันการลาออกจากองค์กร  ให้พนักงานใหม่มีความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมองค์กร ลักษณะการทำงาน และนำไปสู่การมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร

 

ในตอนที่ทำงานประจำอยู่นั้น เก๋เป็นผู้จัดการศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ เมื่อรับน้องใหม่เข้ามาทำงาน ก็ต้องทำหน้าที่ทั้งเป็นพี่เลี้ยงสำหรับระดับ Supervisor และจัดทีมพี่เลี้ยงและติดตามผลให้กับน้องเลี้ยงที่เป็นพนักงานทำงาน

 

เก๋หวังว่า บทความที่แบ่งปันนี้จะสามารถเป็นประโยชน์กับผู้ที่เข้ามาอ่านนะคะ 

.......... 

สนใจหลักสูตร "ผู้นำในบทบาทของโค้ชและพี่เลี้ยงเพื่อประสิทธิภาพการทำงาน" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง    ดูรายละเอียด กดที่นี่ 


 (ต้องการรายละเอียดหลักสูตรฉบับเต็มพร้อมใบเสนอราคา ขอกรุณาอีเมล์มาที่ sasimasuk.com@gmail.com  อ.เก๋เช็คอีเมล์ทุกวันค่ะ)

 

.....................................................

ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี  ทำงานด้าน  Research & Development Engineer มาโดยตลอด และเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรอิสระแห่งหนึ่ง  ได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน โดยยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

...........................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 348,376