การคิดแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วย Divergent Thinking และ Convergent Thinking โดยศศิมา สุขสว่าง

ในการคิดแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์  Creative Problem solving  นั้น เราจะมีรูปแบบการคิดสร้างสรรค์ 2 รูปแบบคือ

 

รูปแบบแรก Divergent Thinking

 

การคิดวิเคราะห์เพื่อแยกแยะคิดถึงสิ่งใหม่ๆ และมองหาความน่าจะเป็น   หาความเป็นไปได้  หาปัญหาที่แท้จริง เป็นทักษะในการแตกแยกย่อยไอเดียโดยการสำรวจทางออกที่เป็นไปได้หลายๆ ทางเพื่อหาหนึ่งทางที่แก้ปัญหาได้ การคิดแบบนี้มีส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ สามารถคิดริเริ่ม  มองเห็นความคิดใหม่ๆ และทางแก้ที่โดดเด่นเฉพาะตัว รวมทั้งยืดหยุ่นต่อการเปิดมุมมองให้หลากหลายได้ในเวลาเดียวกัน ไม่ติดอยู่กับแนวทางใดแนวทางหนึ่ง และที่สำคัญที่สุด คือ คิดให้ได้จำนวนเยอะๆ ไว้ก่อนค่ะ ถ้ามีจำนวนไอเดียเยอะๆมากๆแล้ว เดี๋ยค่อยมาคัดเอาอันที่ดี มีประโยชน์ ตอบโจทย์องค์กรไป ปฏิบัติจริงค่ะ แต่ถ้าไม่มีไอเดีย หรือมีน้อยเกินไป การนำไปปฏิบัติเกิดขึ้นยาก หรือ ไอเดียที่จะนำไปปฏิบัติก็ไม่มีคุณภาพเพียงพอค่ะ

 

เทคนิคและวิธีการในการคิดวิเคราะห์แบบ Divergent Thinking เช่น  Brainstorming, Free Writing brainstorming, Six Thinking hat, SCAMPER, Root Cause Analysis, Mind Map, Empathy Map, 5 Whys, หรือการใช้คำถาม 5 Ws and 1 H  เป็นต้นค่ะ

 

รูปแบบการคิดแบบที่ 2   Convergent Thinking

การคิดเชิงเคราะห์ เพื่อคัดเลือกและตัดสินใจ โดย รวบทุกความคิดพุ่งตรงไปแก้ปัญหาหรือสรุปประเด็นให้ชัดเจน   เป็นทักษะในการคิดวิเคราะห์ให้ไอเดียมากมายรวบสรุปเป็นประเด็นที่สำคัญประเด็นใหญ่  กลายเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรม แล้วจึงนำไปใช้แก้ไขปัญหา ซึ่งต้องใช้ทั้งความรู้ความเชี่ยวชาญ เหตุผลและตรรกกะที่ถูกต้อง  ตลอดจนเซ้นส์ในการตัดสินใจเลือกวิธีการที่ดีที่สุด  เทคนิคและวิธีการในการคิดวิเคราะห์แบบ Convergent  Thinking เช่น Decision Tree, Affinity Diagram,Point Of View และ Problem statement เป็นต้น

 

 

จะใช้ความคิดแต่ละแบบในช่วงเวลาใดของกระบวนการแก้ไขปัญหาได้บ้าง

 

ในกระบวนการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ที่มี 4 ขั้นตอน คือ

ขั้นตอนที่ 1 Clarify หรือวิเคราะห์ปัญหาหรือข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์ให้ชัดเจน (Analytical the problem/data) โดยใช้เครื่องมือ/วิธีการต่างๆ จะใช้ Divergent Thinking ในช่วงของการระดมสมองหาสาเหตุของการแก้ไขปัญหา เมื่อได้ประเด็นปัญหามากพอ จึงจะใช้ Convergent Thinking เพื่อสรุปสาเหตุที่แท้จริงให้ชัดเจน

 

ขั้นตอนที่ 2 Ideate การหาไอเดียใหม่ๆในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยเครื่องมือ เทคนิค วิธีการต่างๆ  เช่น การระดมสมองเพื่อให้สามารถสร้างไอเดียใหม่ๆให้มากที่สุดด้วยวิธีคิดแบบ Divergent Thinking

 

ขั้นตอนที่ 3 Develop หรือ การนำไอเดียต่างมาประเมิน หาจุดแข็ง จุดดี ที่ส่งผลกระทบต่อองค์กร และช่วยแก้ปัญหาได้ และเลือกไอเดียที่แก้ไขปัญหาได้ดีที่สุด ด้วย Convergent Thinking

 

 ขั้นตอนที่ 4 Implement กำหนดแผนงาน โดยทำวางแผนทำ Action Plan หรือ Mini Project  เพื่อกำหนดทรัพยากร และแนวทางในการทำแผนให้ปฏิบัติได้จริงเพื่อนำไปทำให้ได้จริงค่ะ ใช้ทั้ง Divergent และ Convergent Thinking

 เป็นต้น 

อ.เก๋หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์กับผู้ที่สนใจการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (Creative Problem Solving : CPS)  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานนะคะ 

  ....................

- สนใจหลักสูตร " Creative to Innovation การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่                     

......................

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

เข้าใจความหมาย และองค์ประกอบของนวัตกรรม ด้วย VIN model for Innovation อ่านต่อที่นี่  หรือกดที่รูป VIN model ด้านล่างนี้ 

 

                  

..........................

อ.ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
วิทยากร ที่ปรึกษา โค้ช ด้านการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994 

 

หรือส่งรายละเอียดเพื่อติดต่อกลับทาง แบบฟอร์มติดต่อกลับด้านล่างค่ะ 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 355,745