Challenge Assumptions เทคนิคคิดสร้างสรรค์ปั้นนวัตกรรม บทความโดยศศิมา สุขสว่าง

เทคนิคคิดสร้างสรรค์ปั้นนวัตกรรมด้วย Challenge Assumptions เป็นการท้าทายกับสมมุติฐานต่างๆ  เป็นเทคนิคที่ใช้การตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆในทุกๆวัน เพื่อสร้างสรรค์มุมมองใหม่ๆในหัวข้อที่นำมาเป็นประเด็นการคิด เทคนิคนี้เรียกอีกอย่างว่า pre-suppositions

 

Challenge Assumptions ใช้เมื่อไร อย่างไร

เทคนิคการคิดสร้างสรรค์ด้วย Challenge Assumptions นี้จะใช้ระดมสมองทำเป็นกลุ่ม (Group) หรือใช้เมื่อต้องการคิดคนเดียว (Individual) ก็ได้ สำหรับการแก้ปัญหา หรือคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆก็ได้

 

Challenge Assumptions วิธีการทำอย่างไร  สำหรับคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ

1. ตั้งประเด็นปัญหาหรือหัวข้อที่จะนำมาสร้างสรรค์โดยเทคนิคนี้

2. เขียนสมมุติฐาน ที่มีสำหรับหัวข้อนี้ และท้าทายโดยการถาม "อะไรจะเกิดขึ้น ถ้า.............."

3. ตอบคำถามนี้ แล้วคิดจากมุมมองใหม่ๆจะทำให้คุณได้ปิ๊งแว๊บไอเดียใหม่ๆ 

 

Tip  คือ

1.เข้าใจปัญหา

2. เล่นแบบเด็กๆ  โดยการถามแบบเด็กๆ เช่น " ทำไม "  "ทำไมไม่..."

3.เล่นเป็นผู้สังเกตการณ์ภายนอก ทำเหมือนเป็นคนนอกวงการ แล้วถามคำถามท้าทายว่า " ทำไมถึงทำแบบนี้"

4. มองย้อนกลับ มองต่างมุม

5.จินตนาการในทางตรงกันข้าม พิจารณาว่าผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาแนะนำว่าทำอะไร แล้วทำในทางตรงกันข้าม  555

6. กล้าที่จะแตกต่าง พิจารณาหรือคิดในทางตรงกันข้ามกับคนอื่น เปิดใจ เปิดสมอง เปิดความคิดใหม่ๆ

 

ตัวอย่าง เช่น

โจทย์ ทำอย่างไร จึงจะลดน้ำหนักของรถยนต์ได้

1. ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับรถยนต์

- ประเด็นที่ 1 ล้อ - ช่วยในการขับเคลื่อน  - ล้อมีน้ำหนัก รวมกัน 4 ล้อ เกือบ 50 กก.

(อาจจะมีประเด็นอื่นๆมาคิดอีก เช่น ประตู หลังคา ผนัง แต่ขอยกตัวอย่าง แค่ประเด็นเดียวนะคะ-เก๋) 

2.อะไรจะเกิดขึ้นถ้าไม่ใช้ล้อ

3.รถลอยได้ รถกระโดดได้  รถบินได้

4. เลือกอันแรก รถลอยได้

-รถมีถุงลมรอบๆรถและอัดก๊าซไนโตรเจน รับน้ำหนักได้ ลอยได้ในน้ำ

- รถมีไอพ่น มีระบบต้านแรงโน้มถ่วง คล้ายเครื่องบิน

- รถ มีใบพัดคล้ายเฮลิคอปเตอร์ เป็นต้น

 

วิธีนี้ เก๋จะมี Workshop ย่อยๆให้ลองคิดท้าทายความเชื่อเดิม หรือคิดย้อนกลับเพื่อให้เห็นมุมมองใหม่ๆ แทนที่จะคิดมุมเดิมด้วยค่ะ 

.................

- สนใจหลักสูตร " Creative to Innovation การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่ 

.............

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

เข้าใจความหมาย และองค์ประกอบของนวัตกรรม ด้วย VIN model for Innovation อ่านต่อที่นี่  หรือกดที่รูป VIN model ด้านล่างนี้ 

 

 

..........................................

อ่านเทคนิคคิดสร้างสรรค์ ปั้นนวัตกรรมวิธีอื่นๆ กดที่นี่ค่ะ 

.....................................

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี  ทำงานด้าน  Research & Development Engineer มาโดยตลอด และเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรอิสระแห่งหนึ่ง  และได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน 

...........................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 351,987