Brain writing 6-3-5 เทคนิคพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม โดยศศิมา สุขสว่าง

Brainwriting 6-3-5 เป็นการระดมสมองอีกรูปแบบหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการระดมความคิดแบบองค์รวม จากการมีส่วนร่วมแบบไม่สม่ำเสมอของสมาชิกบางคน บางคนอาจจะพูดเยอะ บางคนอาจจะพูดน้อย หรือเงียบไปเลย แต่วิธีนี้ทุกท่านต้องมีส่วนร่วมทุกคน เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เก๋ว่า work มาก แต่ต้องสร้างพื้นที่ปลอดภัย และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกอย่าง และให้ความสำคัญกับทุกความคิดโดยไม่ตัดสิน

 

Brainwriting 6-3-5  ใช้เมื่อไร อย่างไร
เทคนิคการคิดสร้างสรรค์ด้วย Brainwriting 6-3-5 นี้จะใช้ระดมสมองทำเป็นกลุ่ม (Group) สำหรับการแก้ปัญหา หรือคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆก็ได้


Brainwriting 6-3-5  มีวิธีการทำอย่างไร สำหรับคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ


1. ตั้งทีมที่จะทำการระดมสมอง แล้วระบุขอบเขตและวัตถุประสงค์ที่ระดมสมอง
จำนวนสมาชิกที่เหมาะสมอยู่ที่ 3-8 คน แต่ให้ดีที่สุดคือ 6 คน ตามชื่อของเครื่องมือนี้ ซึ่งถูกวิจัยและผ่านการใช้มาเยอะแล้วว่า จำนวน 6 คนนี้กำลังดีสำหรับวิธีนี้


2.สมาชิกคนแรกออกไอเดีย 3 ไอเดีย
ในรอบแรกสมาชิกแต่ละคนจะมีแบบฟอร์มตารางให้ลงไอเดีย ให้สมาชิกแต่ละคนเขียนไอเดียออกมาในกระดาษคนละ 3 ไอเดีย เขียนลงไปในตาราง สมาชิกควรกล้าที่จะออกความคิดเห็น และมีส่วนร่วม แม้จะเป็นความคิดที่ไม่ธรรมดา เพื่อให้สมาชิกในทีมสามารถคิดต่อยอด หรือเชื่อมโยงความคิดใหม่ๆออกไป

 

3.เวียนรอบโต๊ะ 1 รอบ
หลังจากนั้นสมาชิกจะส่งกระดาษต่อของตนให้เพื่อนทางซ้ายมือ เพื่อให้เพื่อนเขียนไอเดียในกระดาษแผ่นนี้อีกคนละ 3 ไอเดีย ใช้เวลา 3-5 นาทีต่อคน

 

4. ทำซ้ำ 5 รอบ
วิธีนี้จะใช้วิธีเวียนตารางที่ต้องออกความคิดเห็น รอบโต๊ะ 5 รอบ เพื่อให้ออกความคิดเห็นได้ทุกคนและสม่ำเสมอ
ทำจนครบทุกคน จนกระดาษที่เราเริ่มต้นเขียนเป็นคนแรกเวียนกลับมาหาเราอีกครั้ง จะใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที

ส่วนใหญ่ที่เก๋เจอคือ รอบ 1-2 ส่วนใหญ่ทุกคนจะมีความคิดใหม่ๆ ส่วนรอบต่อๆไป ความคิดรอบที่ 4 เป็นต้นไป จะเป็นการต่อยอดหรือเชื่อมโยงความคิด หรือขัดเกลาความคิดเดิม หรือมีการพัฒนาแนวคิดที่ดีๆของตัวเอง หรือของเพื่อนในแต่ละรอบ


สรุป concept ของ Brain writing 6-3-5

6 = จำนวนสมาชิก 6 คน
3 = คนละ 3 ไอเดียต่อรอบ
5 = ใช้เวลารอบละ 5 นาที


จะได้ความคิดใหม่ๆทั้งหมด 108 ไอเดียค่ะ


ข้อดีของวิธีนี้คือ

1.ใช้ง่าย

2. ไม่ต้องมี moderator 

3. ได้ไอเดียใหม่ๆจากสมาชิกในทีม

4. สมาชิกในทีมกล้าออกความคิดเห็น เนื่องจากไม่ต้องพูดแสดงความคิดเห็น ซึ่งบางคนไม่ถนัดสื่อสาร การพูดคุย ซึ่งบางคนเงียบ บางคนพูดเยอะ

5.ลดการขัดแย้ง ระหว่างระดมสมอง

6.ความคิดดีๆ จะได้นำไปต่อยอดเรื่อยๆ

 

ข้อเสีย 

1.สมาชิกในทีมบางคนมีปัญหาเรื่องการอธิบายแนวคิดของตัวเอง

2. สมาชิกอาจจะกดดันเรื่องเวลาที่ให้เขียนรอบละ 5 นาที

3.การประมวลผลเพื่อแก้ไขปัญหา หรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่อาจจะมีน้อย เนื่องจากความคิดจะมาจากความรู้ของตนเอง ไม่ได้มีการพูดคุยเพื่อต่อยอด หรือเชื่อมโยงกับความรู้ของสมาชิกในกลุ่มเท่ากับการพูดคุย

 


เก๋หวังว่า บทความนี้จะช่วยมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจวิธีการ แนวคิดในการนำความรู้ไปพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรม ตลอดจนการพัฒนาตัวเอง ทีมงาน และประสิทธิภาพการทำงานให้กับองค์กรนะคะ

 

.................

- สนใจหลักสูตร " Creative to Innovation การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่ 

.....................

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

เข้าใจความหมาย และองค์ประกอบของนวัตกรรม ด้วย VIN model for Innovation อ่านต่อที่นี่  หรือกดที่รูป VIN model ด้านล่างนี้ 

 

....................................... 

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี  ทำงานด้าน  Research & Development Engineer มาโดยตลอด และเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรอิสระแห่งหนึ่ง  และได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน 

...........................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 360,675