กับดักในการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมในองค์กร โดย ศศิมา สุขสว่าง

ปัจจุบันการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมในองค์กร ถือว่าเป็น Core competency ขององค์กรส่วนใหญ่ที่มีการผลักดันและสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมการคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมองค์กร เพื่อให้ธุรกิจเติบโอย่างต่อเนื่อง  

 

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นกับองค์กรน้อยใหญ่ในการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมในองค์กร ที่ทำให้นวัตกรรมไม่เกิด หรือเกิดล่าช้า จนบางครั้งไม่ทันกาล มีหลายประการ ได้แก่

 

1. ผู้นำองค์กรไม่สนับสนุนอย่างจริงจัง

การสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมในองค์กร ต้องเริ่มที่ผู้นำองค์กรสนับสนุนและมีบทบาทอย่างจริงจังในการผลักดัน  ในการกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย ตลอดจนสื่อสาร เพื่อให้ทุกคนในองค์กรเห็นภาพเดียวกัน รวมทั้งการสร้างบรรยากาศที่ทำให้ทุกคนมีการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การเสนอความคิดใหม่ใหม่ การกระจายอำนาจในการตัดสินใจ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติขึ้นจริง 

ตัวอย่างการสนับสนุนการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมในองค์กร  การแบ่งเวลาให้พนักงานได้พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ โดยใช้  70:20:10 model  อ่านรายละเอียดต่อ กดที่นี่

 

 

2. ไม่สร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมในองค์กร

หลายที่มีเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างสรรค์นวัตกรรมเป็น Core Competency ของเองค์กร แต่ในการทำงานจริง การนำเสนอสิ่งใหม่ ที่แตกต่างจากหัวหน้า หรือผู้บริหารจะถูกเพิ่งเล็ง  การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานให้สั้นลง แต่ได้รับผลลัพธ์เหมือนเดิม กลายเป็นไม่ทุ่มเททำงานไม่เต็มเวลา หรือการคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆให้กับบริษัทที่สร้างรายได้อย่างเห็นได้ชัดไม่มีการสนับสนุนหรือให้รางวัลเป็นขวัญและกำลังใจ  อย่างนี้ "วัฒนธรรมนวัตกรรม" ในองค์กรเกิดขึ้นได้ยากแน่นอน เพราะคนทำงานไม่กล้าคิดนอกกรอบ เพื่อให้ได้สิ่งใหม่ในองค์กร

 

 

3. การทำงานแบบแยกส่วน

บางองค์กรมีการทำงานแยกส่วนอย่างชัดเจน แบบหน้าที่ใครหน้าที่มันทำให้ขาดการประสานงาน และไม่กล้ารับบทบาทผู้นำในการพัฒนางานต่างๆที่นอกเหนืองานใน Job Description เพราะอยากจะรับผิดชอบแต่ในส่วนงานของตัวเองให้ดีที่สุด ทำงานในบทบาทของตัวเองเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อมีวาระงานพิเศษ ไม่มีใครกล้าลุกขึ้นมาเป็นผู้นำเพื่อทำการเปลี่ยนแปลง หรือทำงานนอกเหนือบทบาทเพื่อเป้าหมายหลักขององค์กร เพราะส่วนใหญ่เกิดจากความกลัว กลัวผิดพลาด กลัวไม่ประสบความสำเร็จ อาจจะเป็นเพราะระบบที่เคร่งครัดหรือ การบริหารที่เคร่งเครียด เป็นต้น กลายเป็น เป็น fixed mindset ไปเลย   

 

 

4. ติดกับความสำเร็จในอดีต  

การที่บริษัทเคยประสบความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ และสร้างยอดขายให้กับบริษัทได้มากมายในช่วงเวลาที่ผ่านมา ไม่ได้เป็นการบอกว่า ในปัจจุบันและอนาคตนั้น จะประสบความสำเร็จเช่นนั้นอีก เพราะจะเห็นว่าในปัจจุบันในโลกของ VUCA world นั้น มีการเปลี่ยนแปลง มีความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความสลับซับซ้อน (Complexity) ความคลุมเครือ (Ambiguity) จนไม่มีความแน่นอนได้  จนมีคำกล่าวหนึ่งว่า “รีบเปลี่ยนแปลงเสียก่อน มิฉะนั้นคุณก็อาจจะถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลง”  ยกตัวอย่างบริษัทที่เคยประสบความสำเร็จในอดีต จนในปัจจุบันกลายมาเป็นบริษัทที่เล็กๆลง หรือต้องขายกิจการให้กับบริษัอื่นๆไปเลย เช่น 

- โกดัก บริษัทผลิตฟิมล์สำหรับกล้อง ซึ่งในยุคที่กล้องยังใช้ฟิมล์อยู่นั้น โกดักถือเป็นผู้นำอันดับต้นๆของผู้ผลิตและจำหน่ายฟิมล์เลยทีเดียว แต่ในปัจจุบันโกดัก ได้ขอล้มละลายไปเรียบร้อยแล้วจากการเปลี่ยนแปลง จากกล้องฟิมล์มาเป็นกล้องดิจิตอล  และตอนนี้ กล้องดิจิตอล กำลังสู้กับกล้องมือถืออย่างหนักหน่วงเลยทีเดียว

- โทรศัพท์มือถือโนเกีย  เก๋เอง 10 กว่าปีก่อนก็เป็นแฟนคลับของโนเกีย แต่ปัจจุบันเหลือแต่เครื่องเป็นอนุสาวรีย์อยู่ที่บ้าน กรณีนี้เป็นกรณีศึกษาถึงบริษัทที่เคยประสบความสำเร็จมาก และประสบความสำเร็จมานาน แต่ไม่ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันและไม่สังเกตุคู่แข่งรายเล็ก รายน้อย ที่เขาพัฒนาอะไรใหม่ๆมาเรื่อย จนต่อมากลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกใจลูกค้ามากกว่า และกลายมาเป็นคู่แข่งที่สำคัญจนทำให้โนเกียต้องล้มละลายในที่สุด เพราะปรับตัวไม่ทันกับนวัตกรรมสมาร์ทโฟน และการตัดสินใจที่ผิดพลาดที่ติดกับความสำเร็จของตัวเอง

อื่นๆ เช่น แท๊กซี่บ้านเราที่กำลังแข่งกับ  Grab taxi, Uber เป็นต้น

 

 

 

5. ไม่ติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ

 เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้นมากมายเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า หรือแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้  คำว่านวัตกรรมนั้น เป็นคำรวมระหว่าง 3 คำ คือ สิ่งใหม่ๆ + มีคุณค่า + และสร้างรายได้  บริษัทหลายๆบริษัทคิดค้นสิ่งใหม่ๆ เช่น สิ่งประดิษฐ์ บริการหรือกระบวนการใหม่ๆ แต่ทั้งนั้นทั้งนั้นต้องช่วยแก้ปัญหาของลูกค้าด้วย เมื่อสามารถแก้ปัญหาหรือตอบสนองความต้องการได้ จะเกิดความต้องการและสร้างรายได้ในที่สุด แต่หากเป็นสิ่งใหม่ๆแต่ไม่ตอบโจทย์ลูกค้า รายได้ก็ไม่มา 

 

 

สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างๆของกับดักที่ทำให้การสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมในองค์กรไม่เกิดขึ้นนะคะ  

 

การพัฒนาการเปลี่ยนแปลงโดยการพัฒนาตั้งแต่ระบบการคิด จนออกมาเป็นแนวทางการปฏิบัติ เพื่อให้ทุกคนมองไปข้างหน้า เห็นเป้าหมายขององค์กรเป็นภาพเดียวกัน และให้ทุกคนรู้จักจุดแข็ง จุดดีของตัวเองที่จะสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยองค์กรให้ก้าวหน้าและเติบโตได้อย่างมั่นคง ด้วยความร่วมมือของทุกคน 

 

บทความนี้ เขียนจากประสบการณ์ที่ผ่านมาของเก๋ที่เป็นที่ปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการเป็นส่วนหนึ่งของทีม Performance Coach ที่เข้าไปพัฒนาคนหรือองค์กรด้วยการ Training พร้อมทั้ง Performance &Business Coaching แบบ one on one เป็นโครงการยาวประมาณ 4-6 เดือน ซึ่งที่ผ่านมาก็ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเป็นอย่างดีค่ะ

 ...................................

- สนใจหลักสูตร " Creative to Innovation การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่ 

....................................... 

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี  ทำงานด้าน  Research & Development Engineer มาโดยตลอด และเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ขององค์กรอิสระแห่งหนึ่ง  และได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน 

...........................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 355,756