การพัฒนานวัตกรรมในองค์กร Innovation in Organization โดย ศศิมา สุขสว่าง

จากประสบการที่เก๋ไปเป็นที่ปรึกษา วิทยากร และโค้ชในเรื่องของการพัฒนานวัตกรรมให้กับหลายๆบริษัทที่ผ่านมา พบว่า อุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรมในองค์กรให้เกิดขึ้นได้จริงอย่างหนึ่ง คือการขาดความเข้าใจเกี่ยวกับนวัตกรรมอย่างแท้จริง

 

 

หลายคนมี Mindset เกี่ยวกับนวัตกรรมว่า  นวัตกรรมเป็นเรื่องยาก เป็นเรื่องของคนเก่ง เป็นหน้าที่ของฝ่าย R&D เป็นกลยุทธ์ของผู้บริหาร หรือคิดว่านวัตกรรมต้องเป็นแบบเรื่องใหม่ๆที่พลิกโลก ออกมาคนต้องตื่นเต้นฮือฮาไปทั้งประเทศ ทั้งโลกแบบ ไอโฟน Apple เป็นต้น   ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดไปอย่างมาก  

 

 

การเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไปก็ถือเป็นนวัตกรรมได้  และควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะทำให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน   ดังนั้นการสร้างนวัตกรรม คือการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งคน กระบวนการ ธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ และบริการอย่างต่อเนื่องเรื่อย จากก้าวเล็กๆที่ละก้าว ทุกๆเดือนทุกๆปี แต่สม่ำเสมอจนกลายเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ จนสามารถเปลี่ยนแปลงองค์กรให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

 

 

นั่นคือ "นวัตกรรม (Innovation)"  คือ การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาหรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เช่น บริการ ผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการใหม่ๆ (Service, Product, Process) เป็นต้น ที่มีคุณค่า(Value Creation) และมีประโยชน์ต่อผู้อื่น เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเมื่อมีคุณค่าและมีประโยชน์แล้วจะสามารถขยายผลต่อได้เชิงพาณิชย์ หรือขายได้นั่นเอง

หรือสรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือ

 

นวัตกรรม = ความคิดสร้างสรรค์ + สิ่งใหม่ + มีคุณค่า (Innovation = Creative + New + Value Creation)

 

การขาดความเข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับนวัตกรรมนี้ ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กๆที่หลายคนบอกว่า ก็ไปอธิบาย บอกซิว่า นวัตกรรมคืออะไร เดี๋ยวก็เกิดการพัฒนาขึ้นเอง

 

แต่ที่เก๋เข้าไปเป็นวิทยากร ต้องค่อยๆแกะองค์ประกอบของคำว่า นวัตกรรม ทีละส่วนๆ  แล้ว ให้เครื่องมือและวิธีการในการคิด พัฒนา และลงมือปฏิบัติ (Workshop) ในแต่ละองค์ประกอบ (Creative + New + Value Creation) จนคนที่เข้าสัมมนาค่อยๆเข้าใจ และมั่นใจในกระบวนการคิด ลงมือปฏิบัติแล้วนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้จริงๆ คือเปลี่ยนจาก fixed Mindset เป็น Growth Mindset  แล้วได้ Mini Innovation Project โปรเจคท์เล็กๆที่เป็นการร่วมมือกันทำสิ่งใหม่ๆ กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นเล็กๆในการพัฒนานวัตกรรมในองค์กรค่ะ

 

 

การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมนั้น เราสามารถใช้เมื่อ

 

1) ต้องการปรับปรุงกระบวนการ/ผลิตภัณฑ์/บริการ  ให้พัฒนาดีขึ้นเรื่อยๆอย่างสม่ำเสมอ หากองค์กรต้องการสร้างวัฒนธรรมการสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมให้เกิดขึ้น จะต้องมีการพัฒนากระบวนการ/ผลิตภัณฑ์/บริการอย่างต่อเนื่องแม้องค์กรจะยังไม่ประสบปัญหาใดๆเกิดขึ้นก็ตาม แต่การปลูกฝังให้ทุกคนคิดสร้างสรรค์อยู่เสมอว่า ถ้าจะพัฒนาองค์กรให้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ด้วยวิธีการใหม่ๆ หรือสิ่งใหม่ๆจะทำได้อย่างไร

 

2) การสร้างสิ่งใหม่ๆ/ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ/บริการใหม่ๆ เพื่อสร้างมูลค่าหรือการเติบโตให้กับบริษัท 

ปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของ เทคโนโลยี การแข่งขัน สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ทำให้องค์กรต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ สภาวะแวดล้อมภายนอกขององค์กร ณ ปัจจุบัน กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกว่า “Disruptive World”  ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมอย่างพลิกผัน (Disruptive innovation) จนมีคำกล่าวหนึ่งว่า “รีบเปลี่ยนแปลงเสียก่อน มิฉะนั้นคุณก็อาจจะถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลง”  จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง  (Change) การคิดเชิงนวัตกรรม  (Innovation and Thinking different) เพื่อให้การทำงานสามารถรับมือกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ดังนั้นการสร้างสิ่งใหม่ๆ/ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ/บริการใหม่ๆ เพื่อสร้างมูลค่า สร้างนวัตกรรมให้กับบริษัทจึงเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งที่จะช่วยให้ช่องทาง ตอบสนองสิ่งใหม่ๆให้กับลูกค้า ให้เป็นที่ต้องการของลูกค้า

 

 

3) การแก้ปัญหาให้กับองค์กร/ลูกค้า ได้

การคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรมอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องจะช่วยให้สามารถนำไปประยุกต์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในองค์กรได้อย่างท่วงที เพราะวิธีการคิดแบบใหม่ๆในอดีต อาจจะไม่สามารถแก้ปัญหาในปัจจุบันได้ค่ะ

 

 

เรื่องสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ หลายองค์กร อยากให้พนักงานมีทัศนคติแบบผู้ประกอบการในองค์กร (Entrepreneur) รักบริษัทเปรียบเสมือนเป็นบริษัทของตัวเอง แต่การเป็นผู้ประกอบการ คุณสมบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งนั้นคือ การสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆ การกล้าเสี่ยงอย่างมีหลักการมีเหตุผล หรือบางครั้งอาจจะมีแนวคิดที่แหวกแนว การทำสิ่งใหม่ๆ

 

ดังนั้น บริษัทๆก็ต้องเปิดโอกาสใหม่ๆให้กับพนักงานๆ จึงจะกล้าคิด กล้าเสี่ยงและมีความคิดเป็นผู้ประกอบการอย่างแท้จริง เพราะนวัตกรรมจะเกิดได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่จะมาจากพนักงาน เพราะพนักงานจะรู้เรื่องบริษัทมากที่สุด ใกล้ชิดและทำงานกับบริษัทมากกว่าคนอื่นๆ เวลาที่ได้ความรู้ใหม่ๆ ได้ไปเปิดหูเปิดตาดูงาน หรือไปรับความรู้ด้านนวัตกรรมในภายนอก เช่น จากมหาวิทยาลัย หน่วยงาน R&D ที่ปรึกษา หน่วยงานรัฐ ไปดูงานต่างประเทศ ไปดูงานแสดงสินค้าใหม่ๆ  พวกเขาเหล่านั้นจะสามารถนำมาเชื่อมโยงและต่อยอดในงาน หรือพัฒนานวัตกรรมในองค์กรได้ทันที  โดยไม่ต้องเสียเวลามาศึกษาหรือเริ่มจากศูนย์ แต่อาจจะต่อยอดจาก 10 ไป 100 ได้เลย

 

ดังนั้น หากองค์กรต้องการริเริ่มพัฒนานวัตกรรมในองค์กรให้เกิดนั้น สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่จะช่วยให้การพัฒนานวัตกรรม

เกิดขึ้นได้ในบริษัทได้ เก๋ขออนุญาต แชร์แนวความคิดดังต่อไปนี้ค่ะ

 

1.การสร้างบรรยากาศความคิดสร้างสรรค์  สร้างพื้นที่ปลอดภัย ให้กล้าคิด กล้าพูด กล้าเสนอความคิดเห็นที่แปลกใหม่  ทุกคนในองค์กรตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงระดับปฏิบัติการ รู้จักการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep listening with empathy) เพื่อให้รู้ความต้องการ (Need, want) ปัญหา (Problem) ความเชื่อ ทัศนคติ ( Belief, attitude)  ฝึกการถามอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้สามารถคิดคำตอบ การสร้างไอเดียมากๆอย่างสร้างสรรค์ ตลอดจนการเข้าใจซึ่งกันและกันค่ะ (Understanding) ทักษะเหล่านี้นี้สำคัญมากๆสำหรับคนเป็นหัวหน้าและทุกๆคนที่มีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรมในองค์กรค่ะ

 

 

2. การพัฒนาและบ่มเพาะพนักงานอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนา Mindset ให้กล้าคิด กล้าทำ กล้าเสี่ยงอย่างมีหลักการ  เพิ่มเสริมทักษะ ความคิดเครื่องมือต่างๆ ด้วยการไปดูงาน  การอบรมสัมมนาต่างๆ การทดลองทำสิ่งใหม่ๆ การไปร่วมมือกับหน่วยวิจัยต่างๆ เป็นต้น

 

 

3. การริเริ่มทำ Project เล็กๆก่อน ที่อาจจะมีความเสี่ยง เปิดโอกาสให้พนักงานได้โอกาสทำสิ่งใหม่ๆ หรือทดลองทำโปรเจคเล็กๆในองค์กรร่วมกัน เพื่อกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ อาจจะใช้ 70-20-10 model  ได้ (อ่าน 70-20-10 model กดที่นี่)

 

 

ในความคิดเห็นของเก๋ที่ทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม การพัฒนานวัตกรรมในองค์กร ต้องใช้เวลาในการบ่มเพาะตั้งแต่ตัวบุคคล พนักงาน ทีมงาน จนถึงองค์กรจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร อาจจะใช้เวลาหลายเดือน หลายปี แต่มันคุ้มกับการทุ่มเท และพัฒนาแน่นอนค่ะ 

 
  

 

อนึ่ง  ในงานของเก๋ในการเป็นวิทยากร ใน 1 วันในเรื่องของการพัฒนานวัตกรรมในองค์กร นั้น  จุดประสงค์ในการเรียนรู้คือ

1. เข้าใจ Innovation Mindset การคิดเชิงนวัตกรรมจากภายใน (Inside out) เพื่อให้กล้าคิดอย่างสร้างสรรค์ กล้าทำอย่างมีเหตุผล และมีความรับผิดชอบด้วยตัวเอง (accountability) เพื่อการพัฒนาเชิงรุก (Proactive) ในการทำงานและพัฒนานวัตกรรมในองค์กรได้
2. เข้าใจองค์ประกอบของนวัตกรรมอย่างถูกต้อง สามารถก้าวข้ามความคิดที่ว่านวัตกรรมเป็นเรื่องยาก และเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร/คนเก่ง/ฝ่าย R&Dเท่านั้น ที่จะทำได้
3. มีแนวคิดในการพัฒนาตัวเอง ทีมงาน และต่อยอดไปเป็นการพัฒนานวัตกรรมระดับองค์กรได้
4. มีแนวทางในพัฒนานวัตกรรมในหลายรูปแบบ ตลอดจนได้เรียนรู้เครื่องมือ/เทคนิค/วิธีการที่นำไปประยุกต์ในการพัฒนานวัตกรรมได้

 

ส่วนประโยชน์ที่จะได้รับคือ

1. เข้าใจ Mindset และก้าวข้ามข้อจำกัด (Fixed Mindset) ด้วยวิธีและกระบวนการสัมมนาเพื่อการพัฒนาเชิงรุกขององค์กรได้
2. สามารถเข้าใจการทำงานเป็นทีม (Cross Functional Team) กับการอยู่รอด อยู่ร่วม อยู่อย่างมีความหมาย เพื่อพัฒนานวัตกรรมให้องค์กรอย่างต่อเนื่องได้
3. สามารถนำเทคนิค/วิธีการในการสัมมนาไปประยุกต์ใช้กับการทำงานเพื่อการแก้ปัญหาและสร้างสรรค์การทำงานใหม่ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. สามารถพัฒนา Mini-Innovation Project ออกมาเป็นต้นแบบแนวคิดเพื่อนำไปต่อยอดต่อไปได้ (ประมาณ 3-5 Projects/1 สัมนา)

 

แต่การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การสนับสนุน การเปิดโอกาสให้พนักงานได้ออกไอเดีย สร้างสรรค์งานใหม่ๆนั้น องค์กรยังต้องบ่มเพาะและพัฒนาอย่างต่อเนื่องนะคะ  ไม่ใช่เพียงแค่อบรมวันเดียวจะสามารถพลิกนวัตกรรมทั้งบริษัทได้   การพัฒนาองค์กรให้มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมได้นั้น ปัจจัยที่สร้างให้เกิดนวัตกรรม ก็คือ บุคคลากร ทักษะ ความรู้และการสนับสนุนของผู้บริหารที่จะขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างมั่นคง

 

ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรจะต้องพัฒนาและเตรียมความพร้อมให้เท่าทันเหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ด้วยการบ่มเพาะบุคคลากรให้เข้าใจและมีความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงนวัตกรรม (Creative thinking & Innovation Mindset) กล้าคิดอย่างสร้างสรรค์ กล้าทำอย่างมีเหตุและผล (from Fixed Mindset to Growth Mindset) เสริมสร้างความรู้ ทักษะ จนสามารถประยุกต์ใช้ในพัฒนาการทำงานกระบวนการทำงาน (Process Innovation) ให้ดีขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง

 

ตลอดจนการพัฒนาองค์กรสร้างนวัตกรรม สร้างบรรยากาศให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การเปิดโอกาสให้ทุกคนในองค์กร ได้คิดสร้างสรรค์ กล้าที่จะนำเอาเสนอแนวความคิดดี ๆ เพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นนวัตกรรม (Innovation) หรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ กระบวนการหรือบริการใหม่ๆ (Product, Process, Service Innovation) เป็นต้น ที่มีคุณค่ามีประโยชน์ ( Value Creation ) และสามารถนำมาส่งต่อหรือขยายได้ในเชิงพาณิยช์ (Commercial) ได้อย่างมั่นใจจนสามารถต่อยอดเป็นการพัฒนานวัตกรรมรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ (Business Model Innovation) ได้ในท้ายที่สุดค่ะ

 

 เก๋หวังว่า บทความนี้จะช่วยสร้างความเข้าใจในการพัฒนานวัตกรรมในองค์กร และเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืนค่ะ

 .........................................

- สนใจหลักสูตร " Creative to Innovation การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตร "  Design Thinking for Innovation Developmentวิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่ 

- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร  ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่ 

.................................

Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม  โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator)  และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม  โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)

.................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)

E-mail : sasimasuk.com@gmail.com

Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 

Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation

Tel. : 081-560-9994 

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

หรือส่งข้อมูลมาทาง sasimasuk.com@gmail.com ทางเราจะติดต่อกลับภายใน 1 วันค่ะ
Visitors: 351,992