เข้าใจลูกค้าด้วยเทคนิค 10 Minute Time jump โดย อ.ศศิมา สุขสว่าง-เก๋
วันนี้เก๋มาแบ่งปัน เทคนิค 10-Minute Time-jump หรือการข้ามเวลา 10 นาที เป็นวิธีที่ใช้สังเกตพฤติกรรมของลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เข้าใจสภาวะ ความรู้สึก ปัญหา Pain , Gain ของลูกค้าได้ โดยการการตั้งคำถามที่มีประสิทธิภาพซึ่งให้มองเห็นภาพ และเก็บข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกระบวนการเดินทางของลูกค้า ก่อน และหลังจากที่มาเจอหรือมาใช้บริการของเรา โดยใช้เวลา 10 นาที ก่อน ระหว่าง หลัง กิจกรรมของเราค่ะ
ขั้นตอนที่ 1:
ก่อนอื่น เราสร้างคำถามเพื่อหาแนวทางบางอย่างที่จะมาช่วยเรา โดยกำหนดเวลา 10 นาที เพื่อหามุมมองของลูกค้า ตัวอย่างเช่น การชำระเงินของลูกค้าเคาเตอร์ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตของเรา
การข้ามเวลา 10 นาทีทำให้เราถามคำถามทั่วไปกับตัวเองว่า
- 10 นาทีก่อน เกิดอะไรขึ้นก่อนที่ลูกค้าจะมาชำระเงินที่เคาเตอร์ชำระเงิน
- สิ่งสุดท้ายที่ลูกค้าของเราทำก่อนจะจ่ายเงินคืออะไร?
- ระหว่างที่ชำระเงินที่ เคาเตอร์ชำระเงิน ลูกค้าทำอะไร
- ลูกค้าของเรามักจะทำอะไรใน 10 นาทีถัดไปหลังจากชำระเงิน?
- ใครจะพบกับลูกค้าของเราใน 2 นาทีถัดไปหลังจากชำระเงิน?
เมื่อทำแบบนี้ เราจะทำตัวเหมือนนักดูนก ที่คอยสังเกตและทำความเข้าใจ (ผู้คน – สภาพแวดล้อม – การใช้ผลิตภัณฑ์)
ขั้นตอนที่ 2
ตอบคำถามทีละคำถามและเขียนคำตอบที่พบทั้งหมดในแต่ละคำถามลงในรายการหรือบนกระดาน เพื่อให้มีความหลากหลายของไอเดีย ที่มาจากประสบการณ์ของแต่ละคน ในกรณีที่ไม่มีประสบการณ์โดยตรง ให้ไปสังเกตการณ์ในสถานการณ์จริงที่เราตั้งคำถามไว้ ซึ่งในขั้นตอนนี้ อาจจะต้องช่วยกันตอบคำถามในขั้นตอนที่ 1 หลายคน เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกของภาพใหญ่ของปัญหา หรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
ขั้นตอนที่ 3
ซึ่งเมื่อเราได้รับข้อมูลเชิงลึก จากขั้นตอนที่ 2 เราจะมาระดมสมองช่วยกันคิดสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่แนวคิดและวิธีแก้ปัญหาใหม่ๆได้ โดยตรง
– เราเห็นผลจากการสังเกตแล้ว มาพัฒนาแนวคิดที่ทำให้ประสบการณ์ของลูกค้าที่ชำระเงินน่าเพลิดเพลินหรือสนุกยิ่งขึ้นสำหรับลูกค้าได้อย่างไร?
– ปัญหาใดที่มีอยู่แล้วแต่ลูกค้ายังไม่รับรู้ ซึ่งอยู่เบื้องหลังรายละเอียดนี้ และเราจะแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ได้อย่างไร?
– รายละเอียดที่ได้จากการสังเกตหรือระดมสมองนี้ ช่วยในการสร้างสรรค์ได้อย่างไร?
– หากเราไม่สังเกต หรือเก็บข้อมูลดังกล่าว จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรหรือไม่
ประโยชน์ของวิธีการ 10-Minute Time-jump
– เพื่อค้นหาข้อมูลเชิงลึก เพื่อนำไปหาไอเดียสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมให้กับลูกค้าและกลุ่มเป้าหมาย
– สำหรับทีมที่อยู่ในสถานการณ์ที่สะดวกสบาย หรือไม่เคยอยู่ในสภาวะของลูกค้าในสภาวะนั้นมาก่อน ได้ลงไปพื้นที่จริง
– สำหรับทีมที่ไม่มีประสบการณ์ด้านวัฒนธรรม ภูมิภาค ที่แตกต่างกันไปได้สร้างความเข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง
– สำหรับทีมที่ไม่มีประสบการณ์ในในกิจกรรม หรือกระบวนการที่ต้องไปพัฒนา ให้สามารถคิดนอกกอรบได้
เก๋หวังว่า บทความนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจพัฒนาตัวเองด้านการคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนานวัตกรรม นะคะ มีความคิดเห็นอย่างไร อีเมล์มาแลกเปลี่ยนกันได้นะคะ
(21/08/2567)
.........................................
ต้องการพัฒนาบุคคลากรในองค์กรให้มีความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาการทำงาน และพัฒนานวัตกรรมได้ เก๋มีหลักสูตรแนะนำดังนี้ค่ะ
- สนใจหลักสูตร " Creative to Innovation การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
- สนใจหลักสูตร " Design Thinking for Innovation Development" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่
......................................
Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator) และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)
.................................
ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่
ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com
line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994
-
หลักสูตร "Design Thinking for Innovation Developmentพัฒนานวัตกรรมด้วย Design Thinking" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง (เนื้อหาโดยอ.ศศิมา สุขสว่าง - อ. เก๋ - หากนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิช...
-
Design Thinking คือ กระบวนการคิดเชิงออกแบบสำหรับพัฒนานวัตกรรมที่ผสมผสานการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) และการคิดเชิงธุรกิจ (Business thinking) เพื่อพัฒนาสิ่งใหม่ๆและนวัตกรรมอย...
-
Design Thinking เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมได้เป็นอย่างดี โดยเน้นเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นจุดศูนย์กลาง (Human Centered) Design Thinking เป็นกร...
-
ในปัจจุบัน กระแสของ Design thinking ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรม ได้เป็นที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นเครื่องมือที่มีรวมกระบวนการทั้งด้านวิทย์และธุรกิจมารวมกัน ...
-
ปัจจุบัน Design thinking เป็นกระบวนการหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรม ที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นเครื่องมือที่มีรวมกระบวนการทั้งด้านวิทย์และธุรกิจมารวมกัน โดยโดยเน้นเพื่อตอบโจทย...
-
ปัจจุบัน Design thinking เป็นกระบวนการหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรม ที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นเครื่องมือที่มีรวมกระบวนการทั้งด้านวิทย์และธุรกิจมารวมกัน โดยโดยเน้นเพื่อตอบโจทย...
-
Design Thinking เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรมด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่ผสมผสานการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) และการคิดเชิงธุรกิจ (Business thinking) ที่เน้นคนแล...
-
ทักษะการฟังอย่างเข้าใจเชิงลึก (Empathic Listening)เพื่อค้นหาความต้องการของลูกค้าและพัฒนานวัตกรรมนั้นเป็นทักษะที่สำคัญอีกทักษะหนึ่งในกระบวนการการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เพื่...
-
Design Thinking เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมโดยเน้น การแก้ปัญหาเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นจุดศูนย์กลาง (Human Centered หรือ People Centered) (เนื้...
-
Empathize เป็น การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง เข้าใจในปัญหา ความกังวล (Pain Point) ความต้องการ (Gain Point) ความจำเป็น อารมณ์ความรู้สึก การกระทำที่ออกมา ความหมายในสายตาของก...
-
การระดมสมอง หรือการระดมความคิด (Brainstorm) เพื่อปลุกไอเดียสร้างสรรค์ เป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการระดมความคิดเพื่อหาไอเดียสร้างสรรค์ไหม่ๆ หรือใช้ในระดมความคิดเพื่อแก้ไขปัญหา ...
-
หลังจากที่เราได้พัฒนาต้นแบบใหม่ๆหรือนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อที่จะนำไปพัฒนาเพื่อเป็นนวัตกรรมของบริษัทนั้น คนแรกที่เราจะต้องขายไอเดียให้ได้ก่อน อาจจะเป็น หัวหน้าเรา ผู้จัดการ ผู้อำนวยการห...
-
เราเคยเห็นเกมโชว์ที่ มีคำอธิบายเป็นประโยค แล้วให้คนที่ 1 อ่าน แล้วคนที่ 1 ต้องถ่ายทอดต่อไปคนที่ 2 แล้วคนที่ 2 บอกต่อไปคนที่ 3 ต่อไปเรื่อยๆจนถึงคนสุดท้าย สรุปสุดท้ายประโยคที่กำหนด ก...
-
หลายครั้งที่เก๋ไปแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรื่องของการพัฒนานวัตกรรมโดยใช้ Design thinking ซึ่งหลักการคือต้อง Empathy ลูกค้า ลูกน้อง หรือ Stake holder เพื่อให้เข้าใจปัญหาและ Pain Point จ...
-
คุณค่า คือสัมการของการลดหรือบรรเทาจุดเจ็บปวดของลูกค้า + การสร้างสรรค์ผลตอบแทน + ผลิตภัณฑ์ / บริการที่พัฒนาให้กับลูกค้า หรือ เขียนเป็นสัมการ คือ Value = Pain Relief + Gain Creation...
-
หลายครั้งที่เราได้รับรู้ปัญหา และ Pain Point ของลูกค้าแล้ว ซึ่งมันอาจจะเยอะไปหมด จนไม่รู้ว่าจะแก้ไขปัญหาไหนก่อนหลัง ให้มีประสิทธิภาพและ impact ที่จะเกิดประโยชน์ที่สุดทั้งต่อลูกค้าแ...