AI กับมนุษย์- เมื่อสมองและอัลกอริทึมมาจับมือกันพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานและนวัตกรรมโดย อ.ศศิมา สุขสว่าง
สวัสดีเพื่อนๆ ทุกคนค่ะ อาจารย์เก๋เองก็เป็นคนที่สนใจ ทำงาน และสัมมนาเรื่องความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมมาตลอด 20 กว่าปีที่ทำงานในสายนี้ แต่ต้องยอมรับว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการนวัตกรรมที่ทุกคนพูดถึง นั่นก็คือ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) นั่นเองค่ะ
อาจารย์ศศิมา สุขสว่าง วิทยากรสอนความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม
หลายคนอาจกังวลว่า AI จะมาแย่งงานเรา แต่อาจารย์มองว่า ถ้าเรารู้จักใช้ AI เป็นเครื่องมือ มันจะเป็นเพื่อนคู่คิดที่ช่วยให้เราสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้มากขึ้น ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และที่สำคัญ ยังช่วยให้เราพัฒนานวัตกรรมได้เร็วขึ้นด้วย วันนี้อาจารย์เก๋เลยอยากมาแชร์ประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับการใช้ AI เพื่อช่วยสร้างไอเดียและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานกันค่ะ
AI คืออะไร และทำไมถึงสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรม
ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า AI หรือปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) คืออะไร ง่ายๆ คือ เทคโนโลยีที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเรียนรู้ คิด และตัดสินใจได้คล้ายมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบัน AI ได้พัฒนาไปไกลมากจนสามารถทำงานที่ซับซ้อนได้อย่างน่าทึ่ง
ทำไม AI ถึงสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรม? อาจารย์เก๋มองว่า AI เป็นเหมือน "ตัวเร่ง" ที่ช่วยให้เราคิดและทำสิ่งใหม่ๆ ได้เร็วขึ้น ดีขึ้น และในบางกรณีทำสิ่งที่เราคิดไม่ถึงด้วยซ้ำ เพราะ AI สามารถประมวลผลข้อมูลมหาศาล เห็นรูปแบบ (Pattern) ที่มนุษย์อาจมองข้าม และเสนอแนวทางใหม่ๆ ที่เราอาจไม่เคยนึกถึง อย่างเวลาที่อ.เก๋อยากได้ไอเดียใหม่ๆ เราคิดไอเดียออกมาได้ในระดับนึงแล้ว พอถาม Chat GPT ออกมา แล้วสั่งให้มองในมุมมองของอาชีพอื่นๆ ไอเดียออกมาหลายหลายมากเลยค่ะ
ทำไม AI ถึงช่วยสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ ได้?
พวกเราอาจจะเคยเจอปัญหา "คิดอะไรไม่ออก" หรือ "ติดกรอบความคิดเดิมๆ" กันใช่ไหมคะ? นี่เป็นปัญหาที่พบบ่อยในกระบวนการคิดสร้างสรรค์ (Creative Process) เพราะมนุษย์เรามักติดกับดักทางความคิด (Cognitive Bias) และประสบการณ์เดิมๆ เช่น เราเป็นสายวิศวะ ไอที เราอาจจะมองความคิดสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆ หรือการแก้ปัญหาด้วยการใช้เทคโนโลยี หรือเครื่องจักรต่างๆมาก แต่ถ้าเป็นสาย HR การตลาด อาจจะมองในมุมของการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า หรือการสร้างความสัมพันธ์มากกว่า
AI ช่วยเราได้ตรงนี้แหละค่ะ เพราะ AI มีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่าง:
- ไม่มีอคติ AI ไม่ติดกรอบความคิดเดิมๆ เหมือนเรา ทำให้มันสามารถเสนอมุมมองที่เราคาดไม่ถึงได้
- เข้าถึงข้อมูลมหาศาล - AI ได้เรียนรู้จากข้อมูลทั่วโลก ทำให้มันสามารถดึงความรู้จากหลากหลายศาสตร์มาผสมผสานกันได้
- ทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง - เมื่อเราเหนื่อยล้า ความคิดสร้างสรรค์ก็มักจะลดลง แต่ AI ไม่มีข้อจำกัดนี้
- เชื่อมโยงสิ่งที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกัน - การสร้างนวัตกรรมมักเกิดจากการเชื่อมโยงสิ่งที่ไม่เคยเชื่อมโยงกันมาก่อน ซึ่ง AI ทำได้ดีมากค่ะ
AI สามารถช่วยเราในกระบวนการนวัตกรรมได้อย่างไรบ้าง?
อาจารย์เก๋ขอแบ่งกระบวนการนวัตกรรมเป็น 4 ขั้นตอนหลักๆ และจะเล่าให้ฟังว่า AI ช่วยเราได้อย่างไรในแต่ละขั้นตอนค่ะ
1. การค้นหาโอกาสและปัญหา (Opportunity Finding)
ก่อนจะสร้างนวัตกรรมอะไร เราต้องรู้ก่อนว่าปัญหาคืออะไร หรือมีโอกาสอะไรบ้างที่เรายังไม่ได้มอง
AI ช่วยเราได้โดย:
- วิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าจำนวนมากเพื่อค้นหาแพทเทิร์นที่เรามองไม่เห็น
- สรุปเทรนด์จากข้อมูลจำนวนมาก
- ตั้งคำถามท้าทายที่เราไม่เคยคิดถึง เช่น "จะเกิดอะไรขึ้นถ้า..." (What if...)
- รวบรวมข้อมูลจากหลายๆ แหล่งเพื่อให้เห็นภาพรวมของโอกาส
2. การระดมความคิดและสร้างไอเดีย (Ideation)
เมื่อเราเจอปัญหาหรือโอกาสแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการคิดไอเดียใหม่ๆ
AI ช่วยเราได้โดย:
- เป็นคู่คิดให้เราระหว่างการระดมสมอง (Brainstorming)
- เสนอมุมมองที่หลากหลายจากหลายศาสตร์
- ช่วยต่อยอดไอเดียของเรา "แล้วถ้าเราเพิ่ม... จะเป็นอย่างไร?"
- ใช้เทคนิคการคิดแบบ Random Connection หรือ เชื่อมโยงสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันเพื่อสร้างไอเดียใหม่
- ใช้เทคนิคคิดสร้างสรรค์ เพื่อต่อยอดไอเดียเดิมได้ (อ่านบทความเกี่ยวกับการคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมเพิ่มเติม กดที่นี่)
3. การพัฒนาต้นแบบและทดสอบ (Prototyping & Testing)
หลังจากมีไอเดียแล้ว เราต้องพัฒนาต้นแบบและทดสอบก่อนนำไปใช้จริง
AI ช่วยเราได้โดย:
- ช่วยออกแบบภาพต้นแบบ (Visual Prototype)
- จำลองสถานการณ์การใช้งานผลิตภัณฑ์หรือบริการ
- วิเคราะห์จุดอ่อนและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
- เสนอวิธีการทดสอบที่มีประสิทธิภาพ
- วิเคราะห์ผลตอบรับจากการทดสอบกับกลุ่มทดลอง
4. การนำไปปฏิบัติและขยายผล (Implementation & Scaling)
ขั้นสุดท้ายคือการนำนวัตกรรมไปใช้จริงและขยายผล
AI ช่วยเราได้โดย:
- ช่วยเขียนคู่มือ E-Book หรือสื่อการสอนเพื่อเผยแพร่นวัตกรรม
- ติดตามและวิเคราะห์ผลลัพธ์หลังการนำไปใช้
- วิเคราะห์ตลาดเพื่อการขยายผล
เป็นต้น
แนวทางการนำ AI มาใช้เพื่อพัฒนานวัตกรรมในองค์กร
จากประสบการณ์ที่อาจารย์เก๋ได้ทำงานร่วมกับองค์กรหลายแห่ง อาจารย์มีคำแนะนำในการนำ AI มาใช้พัฒนานวัตกรรมดังนี้ค่ะ:
1. เริ่มจากทัศนคติที่ถูกต้อง
AI ไม่ใช่ทั้งผู้วิเศษหรือศัตรูที่จะมาแย่งงานเรา แต่เป็นเครื่องมือที่จะช่วยขยายศักยภาพของเราให้ทำงานได้ดีขึ้น (AI as Augmentation) เราต้องมองว่า AI เป็น "เพื่อนร่วมคิด" ไม่ใช่ "คู่แข่ง" หรือ "เครื่องมือวิเศษ" ที่จะแก้ปัญหาได้ทุกอย่าง
2. ฝึกตั้งคำถามและโจทย์ให้เป็น (Prompt Engineering)
การใช้ AI อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับการตั้งคำถามที่ดี ต้องฝึกฝนการตั้งคำถามที่ชัดเจน ระบุบริบท และให้ข้อมูลที่จำเป็น เพื่อให้ AI เข้าใจโจทย์ของเราได้ถูกต้อง แต่อาจารย์เก๋แนะนำอย่างนึงคือ เวลาเราใช้ AI เช่น Chat GPT , Claude, Gemini, Deepseek ยังไม่ต้องเครียดว่าจะสั่งถูกสั่งผิด ให้ลองสั่งไปก่อน เหมือนสั่งลูกน้องทำงาน ว่าเราอยากได้อะไร ถ้าเราสั่งชัดเจนเราก็จะได้ผลลัพธ์ที่เราต้องการ แต่ถ้ายังได้ไม่ครบก็ค่อยๆเพิ่มสิ่งที่เราอยากได้ไป ใช้ไปใช้มาเราจะรู้เองค่ะ อันนี้พูดตรงจากประสบการณ์อาจารย์เก๋เลยนะคะ เพราะเก๋ก็ไม่ใช่วิศวะสายคอมพิวเตอร์ หรือสายไอที (เก๋เป็นวิศวะสาย mechanical Engineer ค่ะ)
อีกอย่างสิ่งที่สำคัญมากๆคือ Domain Knowledge หรือความรู้เฉพาะของเรามีผลต่อการตั้งคำถามด้วยค่ะ เช่น เก๋จบวิศวะ แต่อยากจะถามคำถามเกี่ยวกับการเงิน การกำหนดกรอบ การให้ข้อมูลก็จะไม่ลึกเท่ากับคนทำงานสายการเงินถามค่ะ ดังนั้นใช้ไปก่อน เรื่อย เดี๋ยวจะค่อยๆเชี่ยวชาญและประยุกต์ใช้กับงานของเราเองได้ค่ะ
3. ผสมผสานความคิดมนุษย์กับ AI
นวัตกรรมที่ดีที่สุดเกิดจากการผสมผสานระหว่างความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์กับความสามารถในการประมวลผลของ AI ลองใช้เทคนิค "Human-in-the-loop" คือให้มนุษย์เป็นผู้กำหนดทิศทาง แล้วใช้ AI ช่วยขยายความคิดและต่อยอด
4. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดรับเทคโนโลยี
การนำ AI มาใช้ต้องได้รับการสนับสนุนจากทั้งผู้บริหารและพนักงาน ต้องสร้างวัฒนธรรมที่เปิดรับการเรียนรู้สิ่งใหม่ และไม่กลัวที่จะทดลอง
5. เริ่มจากโครงการเล็กๆ แล้วค่อยๆ ขยาย
ไม่จำเป็นต้องปฏิวัติทั้งองค์กรในครั้งเดียว ให้เริ่มจากโครงการนำร่องเล็กๆ เพื่อพิสูจน์คุณค่าและเรียนรู้จากประสบการณ์จริง แล้วค่อยๆ ขยายไปยังส่วนอื่นๆ ขององค์กรค่ะ
ตัวอย่างๆ เล็กๆน้อยๆ ในการนำ AI ที่ใช้ในกระบวนการพัฒนานวัตกรรม
จากประสบการณ์ที่อาจารย์เก๋ได้ทำงานกับหลายองค์กร อาจารย์เห็นว่ามี AI หลายประเภทที่ช่วยในการพัฒนานวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
1. AI สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics AI)
AI ประเภทนี้ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก หาความสัมพันธ์ (Correlation) ทำนายแนวโน้ม (Trend) และให้ข้อมูลเชิงลึก (Insights) ที่มนุษย์อาจต้องใช้เวลานานกว่าจะวิเคราะห์ได้ เช่น Google Analytics หรือ Chat GPT จะมี Function Deep search มาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ซึ่งเราสามารถใช้ได้ ข้อมูลที่ได้ ถือว่าใช้ได้ค่ะ จากที่อาจารย์ได้ลองดูแล้ว หรือ Microsoft Power BI และอีกมากมายค่ะ เลือกใช้ตามถนัดของเราค่ะ
2. AI สร้างสรรค์ (Generative AI)
AI สามารถสร้างไอเดียใหม่ๆ ระดมสมองไอเดียที่สร้างสรรค์ เนื้อหา รูปภาพ เสียง หรือสไลด์ ภาพโฆษณา ได้ เช่น ChatGPT, Claude, Midjourney, DALL-E, หรือ Canva ช่วยให้เราระดมความคิดและสร้างต้นแบบนวัตกรรมได้เร็วขึ้นมาก
ในส่วนของการระดมสมองให้ได้ไอเดียดีๆนั้น ในความคิดของอาจารย์เก๋ มีสิ่งที่สำคัญ 3 ส่วนคือ
Domain Knowledge x Creative and Innovation tools & Framework x Generative AI = Great Innovation Idea
- Domain Knowledge = ความรู้เฉพาะด้านของผู้เข้าสัมมนาแต่ละท่าน ไม่ว่าจะเป็นด้านวิศวะ การเงิน ตลาด logistic ผลิต ฯลฯ ) สำคัญต่อการกำหนดทิศทางในการทำงานคิดสร้างสรรค์และพัฒนานวัตกรรม
- Creative and Innovation tools & Framework = เครื่องมือ วิธีการ แนวทางการคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมที่ใช้เป็นไกด์ไลน์ในการสั่ง
- Generative AI = AI ต่างๆที่เข้ามาช่วยในการคิด ประมวลผล วิเคราะห์ให้ข้อมูล
- Great Innovation Idea = ความคิดสร้างสรรค์ที่ยอดเยี่ยมค่ะ
เก๋เคยให้ผู้เข้าสัมมนาลองใช้
1.ระดมสมองกันเองโดยผู้เข้าร่วมสัมมนา VS
2.AI ช่วยคิดไอเดีย หรือระดมสมองVS
3.ใช้ AI ร่วมกับ Creative & Innovation tools &Framework ที่เก๋สอนในสัมมนา
ปรากฏว่า ผู้เข้าสัมมนาที่ระดมสมองด้วยกัน โดยใช้ AI ร่วมกับ Creative & Innovation tools &Framework ที่เก๋สอนในสัมมนาคำตอบหรือไอเดียที่ออกมาเนี่ย ความลึก ความสร้างสรรค์ ความน่าสนใจของไอเดียต่างกันเลยค่ะแล้วคำสั่งที่สั่ง AI ก็ง่ายๆ ไม่ยาก เพราะเก๋ก็ไม่ใช่คนสาย IT เพราะงั้นใครก็เรียนรู้ได้ ถ้ารู้เทคนิคค่ะและเก๋มีสอนจริงมาแล้วในสัมมนาต่างๆค่ะ
.
ถ้าผู้จัดหรือ HR ท่านไหนสนใจนำหลักสูตร Innovation x AI ไปพัฒนาทีมงาน ทักมาคุยกันได้นะคะ ตอนนี้อาจารย์เก๋มีหลักสูตร Creative to Innovation development with Generative AI และ หลักสูตร Design Thinking and Generative AI for Innovation development สอนด้วยค่ะ สอนใช้แบบง่ายๆ คนไม่เป็นไอที ไม่เก่งคอมก็ใช้ AI มาช่วยในการคิดสร้างสรรค์ได้ค่ะ
3. AI สำหรับการทำงานอัตโนมัติ (Automation AI)
AI ประเภทนี้ช่วยทำงานที่ซ้ำซาก จำเจ แทนมนุษย์ ทำให้เรามีเวลาไปสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ มากขึ้น เช่น RPA (Robotic Process Automation) หรือ Automation Anywhere
4. พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ด้วย AI วิเคราะห์ข้อมูล
บริษัทแห่งหนึ่งอยากรู้ว่าควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อะไรที่ตอบโจทย์ตลาด การใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย รีวิวสินค้า และเทรนด์การค้นหาบนอินเทอร์เน็ต AI ช่วยวิเคราะห์ คำค้นหาบนเว็บที่เกี่ยวกับปัญหาผิวที่กำลังมาแรงความคิดเห็นและข้อติชมจากลูกค้าที่มีต่อผลิตภัณฑ์ปัจจุบัน แล้วสามารถสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ค่ะ
5. สร้างสรรค์แคมเปญการตลาดด้วย Generative AI
การสร้าง Content real time ที่ตอบโจทย์ลูกค้า โดยใช้ Generative AI เพื่อระดมความคิดและสร้างเนื้อหาให้ได้แนวคิดที่สดใหม่และแตกต่าง แต่ต้องมีการ Edit ด้วยมนุษย์อีกครั้ง เพราะบทความหรือ Content ที่เขียนโดย AI คนอ่านๆแล้วเขารู้ว่ามันคือ AI ค่ะ มันจะลงไปสัมผัสอารมณ์ความรู้สึก ของลูกค้าหรือคนอ่านไม่ได้ค่ะ ดังนั้นย้ำนะคะ AI มาช่วยเราทำงาน ไม่ได้มาแทนคนค่ะ
เป็นต้นค่ะ
อาจารย์เก๋หวังว่า บทความนี้จะมีประโยชน์ และเปิดใจหลายๆท่านที่ยังไม่แน่ใจเรื่องของ AI มาใช้ในการทำงาน ย้ำนะคะ AI ไม่ได้มาแทนเรา แต่มาช่วยทำให้เราทำงานได้เร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และขยายความคิดของเราให้กว้างขวางขึ้นค่ะ
............................
อ่านบทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
บทความ "เข้าใจความหมาย และองค์ประกอบของนวัตกรรม ด้วย VIN model for Innovation" อ่านต่อที่นี่ หรือกดที่รูป VIN model ด้านล่างนี้
- สนใจหลักสูตร " Creative to Innovation การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
- สนใจหลักสูตร " Design Thinking for Innovation Development" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่
......................................
Creative to Innovation เป็นพื้นที่แบ่งปันและแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องกระบวนการและเทคนิคการคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม โดยถ่ายทอดจากประสบการณ์การทำงานด้านการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ให้คำปรึกษา การสอนด้านการพัฒนานวัตกรรมของผู้เขียน (ศศิมา) ซึ่งเป็นนักพัฒนานวัตกรรมหรือนวัตกร (Innovator) และผันตัวมาแบ่งปัน อบรมสัมมนาให้คำปรึกษาด้านการพัฒนานวัตกรรม โดยการอบรมสัมมนาจะยึดหลัก 3Fs - Fun (สนุก) -Full (เต็มไปด้วยสาระ) - Friend (มิตรภาพการทำงานเป็น Team Work)
.................................
ศศิมา สุขสว่าง จบการศึกษาปริญญาโทด้านวิศวกรรมศาสตร์จาก Dresden University of Technology (https://tu-dresden.de) ประเทศเยอรมนี ทำงานด้าน Research & Development Engineer และนักวิจัยมาโดยตลอด จนได้มาเป็นผู้ก่อตั้งและบริหารศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์ของ THTI รวมเวลาทำงานด้านนวัตกรรมมามากกว่า 24 ปี และได้รับการอบรมด้านโค้ชทั้ง Mindfulness Coaching, Life Coach , Talent Coach และ NLP Coaching จากสถาบันสอนการโค้ชที่ได้รับการรับรองระดับสากล ปัจจุบันศศิมาเป็น วิทยากร ที่ปรึกษา และ Innovation Coach ที่มีความสุขและมุ่งมั่นที่แบ่งปันเรื่องพัฒนานวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างคุณค่าให้ผู้คน
...........................................
ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่
ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com
line ID : sasimasuk.com (ติดต่อทางนี้สะดวกสุดค่ะ)
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994
วันที่ 14-03-2568
-
การคิด (Thinking skill) เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลแก้ปัญหาตัดสินใจและสร้างแนวคิดใหม่ ๆ เรามักจะใช้ทักษะการคิดเมื่อพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ การจัดระเบียบข้อมู...
-
การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)หมายถึง ความสามารถในการคิดจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ ของข้อมูลหรือปัญหาต่างๆออกเป็นประเด็นย่อยๆ ในหลายๆแง่มุม รวมทั้งการหาความสัมพันธ์ระหว่...
-
Design Thinkingเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมได้เป็นอย่างดี โดยเน้นเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นจุดศูนย์กลาง (Human Centered) Design Thinkingเป็นกระบ...
-
การคิดเชิงระบบ ( Systems Thinking ) เป็นการคิดในภาพรวมที่เป็นระบบ และมีส่วนประกอบที่สัมพันธ์เชื่อมโยงจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ เป็นการคิดอย่างมีเหตุมีผล เน้นการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดเพ...
-
เราอาจจะสงสัยว่า ทำไมบางคนเก่งเลข บางคนเก่งเรื่องของศิลปะ บางคนเก่งเรื่องทำอาหาร บางคนเก่งเรื่องกีฬา แตกต่างกันไป ปัจจัยอย่างหนึ่งที่สำคัญเรื่องนี้คือ การทำงานของสมองในแต่ด้านของคน...
-
การตัดสินใจ คือการเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดจากทางเลือกหลายๆทางเลือก เพื่อให้องค์กรได้ประโยชน์สูงสุด และไม่มีความเสียหายผิดพลาดหรือมีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การตัดสินใจนั้นเป็น...
-
การคิดวิเคราะห์ปัญหาด้วย Root Cause analysisหรือเรียกย่อๆว่า RCA หรือบางครั้งก็เรียกว่า แผนภูมิก้างปลา เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับก้างปลา เทคนิคนี้ ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาได้เป็นอย่าง...
-
Why-why diagram เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการคิดวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหา ร่วมกับ Root Cause analysis ค่ะบทความนี้เขียนโดยอ. ศศิมา สุขสว่าง www.sasimasuk.com เทคนิคนี้ มั...
-
เก๋ดูหนังเรื่อง 21 เกมเดิมพันอัจฉริยะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเบน แคมป์เบล เป็นนักศึกษา M.I.T. ขี้อายแต่ฉลาด กำลังหาทุนเรียนแพทย์ แล้วได้ไปเข้ากลุ่มกับศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติของ...
-
เก๋ได้ไปอ่านบทความหนึ่งที่น่าสนใจที่เขียนโดยคุณ RICHARD SELLERS เกี่ยวกับกลยุทธ์ป้องกันการแข่งขันที่ใช้ในเวลาที่เรามีคู่แข่งทางการตลาดขึ้นมาแบบ ทำสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ แบบเดียวกัน ห...
-
บทความนี้ อ.เก๋มาแบ่งปันเรื่อง การคิดวิพากษ์ (Critical thinking) ซึ่งเป็นทักษะการคิดหนึ่งใน 4 C คือ Communication, Collaboration, Creativity และ Critical Thinking ที่จำเป็นสำหรับค...
-
ในการทำงานในอนาคต คนทำงานต้องมีทักษะใหม่ๆ ซึ่งทักษะสำหรับการทำงานที่สำคัญคือ "การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)"หรือ “การคิดอย่างมีเหตุผลรอบด้าน” หรือภาษาไทย หลายท่านอาจจะใช้...
-
ตอนที่เก๋ทำงานประจำ(เก๋ทำงานเป็นพนักงานเงินเดือนมา 4 บริษัท ก่อนจะออกมาตั้งบริษัทของตัวเอง)แล้วได้โปรโมทเป็นหัวหน้าทีม จากนั้นก็เริ่มมีลูกน้องเข้าทีมจากคนสองคน จนเป็นหลายสิบคนนั้น...
-
สวัสดีค่ะทุกคน บทความนี้อาจารย์เก๋ -ศศิมา สุขสว่าง มาแลกเปลี่ยนแบ่งปันทักษะที่สำคัญอีกทักษะหนึ่งที่ช่วยให้เราทำงานและตัดสินใจได้ดีขึ้น นั่นก็คือ "Critical Thinking" หรือการคิดเชิ...