5 ขั้นตอนคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) โดย ศศิมา สุขสว่าง
การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) หมายถึง ความสามารถในการคิดจำแนกแจกแจงองค์ประกอบต่างๆ ของข้อมูลหรือปัญหาต่างๆออกเป็นประเด็นย่อยๆ ในหลายๆแง่มุม รวมทั้งการหาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงของสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบ
5 ขั้นตอนการคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) เพื่อแก้ไขปัญหา ได้แก่
1. ระบุปัญหาหรือข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์ให้ชัดเจน (Define the problem)
2. รวบรวมและประมวลผลข้อมูล (Gather and interpret information)
3. พัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นไปได้ (Develop possible solution)
4. นำแนวทางการแก้ปัญหาไปทดสอบ (Test possible solutions)
5. เลือกแนวทางที่ดีที่สุดไปดำเนินการใช้ (Select and implement a solution)
ถ้าเกิดปัญหาขึ้น แล้วแก้ปัญหาในมุมมองของเราคนเดียวจะเกิดอะไรขึ้น
ก่อนจะตอบคำถามนี้ ผู้เขียนอยากเล่าเรื่องที่ได้อ่านเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งจากนิทานตาบอดคลำช้าง โดย เสฐียร์พงษ์ วรรณปก
เรื่องเล่าว่า ในอดีตกาลมี นิทานเรื่องตาบอดคลำช้าง เป็นนิทานที่พระพุทธเจ้าทรงเล่าให้สาวกของพระองค์ฟัง เรื่องมีอยู่ว่าในอดีตพระราชาพระองค์หนึ่งเรียกราชบุรุษคนหนึ่งให้หาช้างมาให้คนตาบอดแต่กำเนิดเก้าคนดู คนตาบอดทั้งเก้านั้น ต่างก็ใช้มือลูบคลำส่วนต่างๆ ของช้าง แล้วก็กำหนดว่า ช้างเป็นเช่นนี้ๆ
เมื่อถูกพระราชาตรัสถามว่า ช้างเหมือนอะไร
(1) คนที่คลำศีรษะช้างกราบทูลว่า "เหมือนหม้อน้ำ"
(2) คนที่คลำหูก็กราบทูลว่า "เหมือนกระด้ง"
(3) คนคลำงาก็ว่า "เหมือนเสาอินทขีล (หลักเมือง)"
(4) คนที่คลำงวงก็ว่า "เหมือนงอนไถ"
(5) คนที่คลำร่างกายก็ว่า "เหมือนฉางข้าว"
(6) คนที่คลำเท้าก็ว่า "เหมือนเสาเรือน"
(7) คนคลำหลังก็ว่า "เหมือนครกตำข้าว"
(8) คนคลำหางก็ว่า "เหมือนสาก"
(9) คนที่คลำปลายหางก็ว่า "เหมือนไม้กวาด"
แต่ละคนก็ว่า ตนเท่านั้นถูกต้อง คนอื่นผิดหมด ว่าแล้วก็ลงไม้ลงมือตลุมบอนกันอุตลุด
เห็นไหมคะว่าหากมีเหตุการณ์หรือปัญหาเกิดขึ้นมา แล้วเรามองมุมเดียวในความคิดของเรา หรือด่วนสรุปไปเลย จะได้เพียงมุมมองเดียว ซึ่งอาจจะไม่ใช่สาเหตุหรือปัจจัยที่แท้จริง ซึ่งเมื่อจะนำไปหาหนทางแก้ไข ปรับปรุง หรือเสนอแนะ อาจจะไม่เกิดประสิทธิภาพดีที่สุด
การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking) จึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ประในการหาความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ หรือหาทางแก้ไขปัญหาได้ค่ะ
..........................
- สนใจหลักสูตร " Design Thinking for Innovation Development" วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
- สนใจหลักสูตร " Analytical Thinking ทักษะการคิดวิเคราะห์ " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
- สนใจหลักสูตร " Critical thinking ทักษะการคิดวิพากษ์ " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
- สนใจหลักสูตร " Creative thinking to Innovation ทักษะการคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม " วิทยากร อ.ศศิมา สุขสว่าง ดูรายละเอียด กดที่นี่
- สนใจหลักสูตรอื่นๆ ในการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร ดูรายละเอียดทั้งหมด กดดูที่นี่
............................
ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่
ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
E-mail : sasimasuk.com@gmail.com
Website : www.sasimasuk.com
line ID : sasimasuk.com
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994
-
การคิด (Thinking skill) เป็นกิจกรรมที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลแก้ปัญหาตัดสินใจและสร้างแนวคิดใหม่ ๆ เรามักจะใช้ทักษะการคิดเมื่อพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับประสบการณ์ การจัดระเบียบข้อมู...
-
Design Thinkingเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการสร้างนวัตกรรมได้เป็นอย่างดี โดยเน้นเพื่อตอบโจทย์ผู้ใช้งานหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นจุดศูนย์กลาง (Human Centered) Design Thinkingเป็นกระบ...
-
การคิดเชิงระบบ ( Systems Thinking ) เป็นการคิดในภาพรวมที่เป็นระบบ และมีส่วนประกอบที่สัมพันธ์เชื่อมโยงจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ เป็นการคิดอย่างมีเหตุมีผล เน้นการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาดเพ...
-
เราอาจจะสงสัยว่า ทำไมบางคนเก่งเลข บางคนเก่งเรื่องของศิลปะ บางคนเก่งเรื่องทำอาหาร บางคนเก่งเรื่องกีฬา แตกต่างกันไป ปัจจัยอย่างหนึ่งที่สำคัญเรื่องนี้คือ การทำงานของสมองในแต่ด้านของคน...
-
การตัดสินใจ คือการเลือกทางเลือกที่ดีที่สุดจากทางเลือกหลายๆทางเลือก เพื่อให้องค์กรได้ประโยชน์สูงสุด และไม่มีความเสียหายผิดพลาดหรือมีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การตัดสินใจนั้นเป็น...
-
การคิดวิเคราะห์ปัญหาด้วย Root Cause analysisหรือเรียกย่อๆว่า RCA หรือบางครั้งก็เรียกว่า แผนภูมิก้างปลา เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกับก้างปลา เทคนิคนี้ ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาได้เป็นอย่าง...
-
Why-why diagram เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ใช้ในการคิดวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหา ร่วมกับ Root Cause analysis ค่ะบทความนี้เขียนโดยอ. ศศิมา สุขสว่าง www.sasimasuk.com เทคนิคนี้ มั...
-
เก๋ดูหนังเรื่อง 21 เกมเดิมพันอัจฉริยะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเบน แคมป์เบล เป็นนักศึกษา M.I.T. ขี้อายแต่ฉลาด กำลังหาทุนเรียนแพทย์ แล้วได้ไปเข้ากลุ่มกับศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติของ...
-
เก๋ได้ไปอ่านบทความหนึ่งที่น่าสนใจที่เขียนโดยคุณ RICHARD SELLERS เกี่ยวกับกลยุทธ์ป้องกันการแข่งขันที่ใช้ในเวลาที่เรามีคู่แข่งทางการตลาดขึ้นมาแบบ ทำสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ แบบเดียวกัน ห...
-
บทความนี้ อ.เก๋มาแบ่งปันเรื่อง การคิดวิพากษ์ (Critical thinking) ซึ่งเป็นทักษะการคิดหนึ่งใน 4 C คือ Communication, Collaboration, Creativity และ Critical Thinking ที่จำเป็นสำหรับค...
-
ในการทำงานในอนาคต คนทำงานต้องมีทักษะใหม่ๆ ซึ่งทักษะสำหรับการทำงานที่สำคัญคือ "การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)"หรือ “การคิดอย่างมีเหตุผลรอบด้าน” หรือภาษาไทย หลายท่านอาจจะใช้...